ตามลม (๘๑) : ยังต้องจัดการกับก๊าซที่เป็นผลผลิตจากการบำบัด

อ่าน: 1314

วนเวียนกลับไปดูคูใหม่ เพื่อเปรียบเทียบระบบกรอง และระบบเติมออกซิเจนที่ไปรู้เพิ่มมาจากระบบน้ำของอะควาเรียม เพิ่งรู้ว่าในระบบอะควาเรียมเขาใช้ระบบกรองแบบชีวบำบัดด้วย

หลักการก็มีว่า เขาเลือกใช้วัสดุที่มีพื้นผิวพอเพียงในช่องกรอง วัสดุที่ใช้จะเป็นของมีรูพรุน เป็นร่อง เป็นวัสดุทรงกลมเล็ก อย่างไหนก็ได้ เพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวให้จุลินทรีย์เกาะและทำหน้าที่บำบัดของเสีย

ระบบกรองนี้วางไว้ในที่รับแสงที่ไม่มากเกินไปในรอบวัน เพื่อช่วยลดปัญหาน้ำเขียว และไม่ทำลายแพลงค์ตอนพืช

ถ้ามีไนเตรทในน้ำ ก็ใช้พืชน้ำกำจัดออกไป เช่น ใช้สาหร่ายเป็นตัวดูดซับไป หรือ ทำให้น้ำสัมผัสกับออกซิเจนแล้ว ให้ออกซิเจนดูดซับออกไป  ถ้ามีก๊าซไข่เน่าคงค้างในน้ำก็กรองแบบใช้ฟองละเอียดแยกไป

ในระบบอะควาเรียมก็มีเจ้าตัวจิ๋วที่ไม่ใช้ออกซิเจน เป็นผู้ย่อยสลายไนเตรทให้กลายเป็นไนโตรเจนซึ่งจะระเหยไปในอากาศ

ถ้าตรงพื้นมีกรวดละเอียด หรือทรายอยู่ ก็มีทั้งมุมบวกและมุมลบ มุมบวกก็อยู่ตรงที่กลายเป็นคอนโดให้เจ้าตัวจิ๋วนี้พักอยู่ มุมลบก็คือจะกลายเป็นแหล่งหมักหมม เชื้อโรค สิ่งสกปรก จนถึงระดับกลายเป็นแก๊สไข่เน่าได้

เข้าใจแล้วว่ากลิ่นในคูเกิดได้ยังไง  ที่ก้นคูมีตะกอนหนาบ้าง บางบ้าง ลองใช้ไม้ลงไปแหวกตะกอนในคู มีกลิ่นคลุ้งขึ้นมาให้สัมผัส แสดงว่าใต้ลงไปจากตะกอนมีความหมักหมม

เพิ่มการไหลเวียนของน้ำให้มากขึ้นเพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจน ทำให้เจ้าตัวจิ๋วใช้ไนเตรทได้ และช่วยป้องกันการไปใช้ซัลเฟตแทน ตรงนี้เท่ากับลดการผลิตก๊าซไข่เน่า น้ำที่เห็นไหลวนช้าๆทำหน้าที่ตรงนี้เอง

ตอนนี้รู้แล้วละ ว่าตะกอนที่ตักขึ้นมาจากน้ำที่กองไว้บางๆ ทำไมจึงเปลี่ยนสี ออกซิเจนเข้าไปทำปฏิกิริยากับก๊าซไข่เน่าในกองนี่เอง

อย่างนี้ต้องดีใจว่างานก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่งแล้ว เจ้าวัสดุประดิษฐ์ ซึ่งมีแค่ฟองน้ำกับเศษพลาสติก ช่วยทำให้สามารถจัดการลดไนไตรท์ลงจนไม่มีในน้ำได้อย่างน่าดีใจ

ยังเหลือก็แต่ ความหนาของตะกอนในน้ำ ที่มีภาวะหมักหมม สะสมก๊าซที่เป็นพิษ ที่ต้องจัดการต่อไป เพื่อจะได้ปิดฝาคูเพื่อปรับพื้นที่ให้สวยงามกว่าเดิมได้ ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาใหญ่

« « Prev : ตามลม(๘๐) : น้ำไหลช้าๆ……แก้ปัญหาเรื่องน้ำเสียได้ระดับหนึ่ง

Next : ตามลม (๘๒) : ปิดคู….ลอกตะกอน….อย่างไรจึงเหมาะ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๘๑) : ยังต้องจัดการกับก๊าซที่เป็นผลผลิตจากการบำบัด"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.015548944473267 sec
Sidebar: 0.10548901557922 sec