ตามลม (๗๒) : ควรพอใจกับตัววัดน้ำตัวไหน

อ่าน: 1611

เมื่อไนโตรเจนแปรรูปเป็นสารประกอบ ลักษณะกายภาพของน้ำก็มีเรื่องเปลี่ยน แอมโมเีนียไม่ได้มาจากสัตว์ขนาดใหญ่ปล่อยของเสียลงน้ำเท่านั้น แต่สามารถแปรรูปจากไนโตรเจนที่อยู่ในน้ำตรงๆได้จากฝีมือจุลินทรีย์

แอมโมเนียเป็นก๊าซที่มีกลิ่นติดทนนานกว่าจะหมดไป แถมยังอยู่ทนในน้ำได้นานอีก ยิ่งละลายอยู่เยอะ น้ำนั้นก็ยิ่งมีความเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ

ในขณะที่ไนโตรเจนแปรรูปได้ถึง 7 รูปแบบ โดยจะมีหรือไม่มีออกซิเจนก็เป็นไปได้ และมีขั้นตอนการเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ร่วมเป็นตัวแปรที่ทำให้เกิดสารประกอบต่างไป  ความเป็นพิษในน้ำจากแอมโมเนียก็ลดลงเมื่อน้ำมีออกซิเจนละลายอยู่สูง

สารอินทรีย์หรือสารอนินทรีย์ในน้ำไม่ได้มีแต่สารอาหารหลัก 3 กลุ่ม แต่มีสารแปรรูปของโลหะหนักและสารพิษอื่นๆอยู่ด้วย สารเหล่านี้สามารถสะสมอยู่ในห่วงโซ่อาหารจนทำให้สิ่งมีชีวิตเกิดอันตรายได้

โลหะหนักในที่นี้หมายถึงธาตุที่มีความหนาแน่นเกินกว่า 5 มิลลิกรัม/ลบ.ซม. ความถ่วงจำเพาะมากกว่า 4 (หนักกว่าน้ำเกิน 4 เท่า)

ทั้งหมดมี 22 ตัว ได้แก่ ทองแดง เงิน ทองคำ ทองคำขาว สังกะสี ตะกั่ว ดีบุก โครเมียม ทังสเตน แคดเมียม ปรอท บิสมัส พลวง ไททาเนียม แทนทาลัม โคบอลต์ ยูเรเนียม นิเกิล แมงกานีส โมลีเดียม เหล็ก และเบอร์มัสเนียม

ร่างกายเผาผลาญโลหะหนักเหล่านี้ไม่ได้ และปรากฏแล้วว่ามันทำให้คนป่วยเมื่อเข้าไปสะสมในร่างกาย

โลหะหนักสำคัญ ได้แก่ ปรอท โครเมียม ทองแดง สารหนู ตะกั่ว แมงกานีส แคดเมียม นิเกิล

ทั่วๆไปน้ำเสียที่มีโลหะพวกนี้จะมาจากโรงงานอุตสาหกรรม น้ำทิ้งจากการเกษตรที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช แต่ก็มีอุตสาหกรรมในครัวเรืืือนบางประเภทที่พบเห็นอยู่ทุกวันเช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ เป็นต้นแหล่งได้

น้ำทิ้งของรพ.จะมีโลหะหนักปนเปื้อนได้ จากขยะเครื่องมือแพทย์หรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

ต้นแหล่งขยะที่ปล่อยปรอทลงมาปนในน้ำได้ก็มี ขยะหลอดไฟนีออน เทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ที่แตก เศษอมัลกัมที่ใช้อุดฟัน เครื่องวัดความดันโลหิต และ จอคอมพิวเตอร์แบบจอแบน

มลสารอีกส่วนที่มีความสำคัญ คือ ไขมัน น้ำมันและกรีส (Fat Oil and Grease) ต้นแหล่งของมันมาจากน้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ในการขนส่ง น้ำมันและไขมันจากบ้านเรือน ร้านอาหาร และภัตตาคารต่างๆ

ไม่น่าเชื่อว่าปัญหาท่ออุดตัน ท่อแตก และออกซิเจนในน้ำที่ลดลงเกิดได้จากมลสารส่วนนี้

เมื่อปนอยู่ในน้ำและลอยอยู่บนผิวน้ำ มันจะเป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสงของพืชน้ำ และขวางการถ่ายเทออกซิเจนลงสู่แหล่งน้ำ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำจึงลดลงๆ

การกำจัดแบบ “กันไว้ก่อน” ด้วยบ่อดักไขมัน จึงเป็นอีกส่วนหนึ่งของการบำบัดน้ำที่พึงมี

รู้เพิ่มมาอีกเรื่องว่า ความร้อนก็ทำให้น้ำเหม็นได้ กลไกนี้อากู๋บอกว่า เกิดจากอุณหภูมิน้ำที่สูงขึ้นทำให้ออกซิเจนละลายน้ำยากขึ้น มีการแบ่งชั้นน้ำ จุลินทรีย์ถูกเร่งให้ใช้ออกซิเจนมากขึ้น  จนออกซิเจนที่ละลายในน้ำลดลง

อุณหภูมิน้ำที่เหมาะสำหรับบำบัดน้ำเสียจะอยู่ที่ราวๆ 25-35 องศาเซลเซียส

น้ำเสียที่ร้อนทำให้จุลินทรีย์บางชนิดที่ทำหน้าที่ย่อยสลาย ตายหรือเติบโตช้าลง ทำให้ประสิทธิภาพของระบบบำบัดน้ำเีสียเปลี่ยนไปได้

ขบวนการที่ทำให้น้ำทิ้งร้อนต่างๆ จึงควรปรับให้น้ำมีอุณหภูมิเหมาะสมก่อนปล่อยทิ้งจริง  บางหน่วยของรพ.ก็มีน้ำเสียประเภทนี้

อากู๋ทำให้เห็นชัดขึ้นว่า การย่อยสลายสารอินทรีย์ การแปรรูปสารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ การปลดฤทธิ์แอมโมเนีย จำนวนและการทำงานของจุลินทรีย์สำคัญ กลิ่นของน้ำ ความร้อนของน้ำ เอี่ยวอยู่กับออกซิเจนยังไง

อืม เข้าใจมากขึ้นแล้วละว่าเหตุใด ตัววัดน้ำจึงกำหนดออกซิเจนในน้ำต่ำสุดที่ยอมรับได้ที่ค่า 5-7 พีพีเอ็ม

ก็กว่าจะมีออกซิเจนเหลืออยู่ในระดับนี้ กระบวนการภายในต้องฝ่าด่านอรหันต์อยู่นั่นแล้วตั้งหลายด่าน

อย่างนี้นี่เล่า ออกซิเจนละลายน้ำจึงเป็นตัววัดน้ำสำคัญที่มักใช้กันอยู่ทั่วไป

« « Prev : ตามลม (๗๑) : แม้จะละลายน้ำได้น้อยนิด…แต่ก็เป็นผู้ทรงอิทธิพลนะ..ขอบอก

Next : ตามลม (๗๓) : โลหะหนักอีกกลุ่ม…ที่ไม่ควรละเลยการจัดระบบ….ของเหลือใช้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๗๒) : ควรพอใจกับตัววัดน้ำตัวไหน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.017863035202026 sec
Sidebar: 0.11440300941467 sec