ตามลม (๖๖) : ตรวจตะกอนก่อนนำทิ้ง…น่าจะเป็นทางออกได้

อ่าน: 1764

ไม่ได้คิดว่าจะเป็นหมอดินอีกเรื่องหรอก เพียงแต่มีแผนการจะลอกตะกอนในคูขึ้นมาทิ้งเพื่อไม่ให้สภาพคูเป็นสลัม และมีผู้หวังดีเตือนมาว่า ไม่ควรที่จะตักตะกอนทิ้งสู่ชุมชนโดยตรง  จึงจำเป็นต้องรู้ว่ามีอะไรควรจัดการดินก่อนทิ้ง 

ดินเปรี้ยวทำให้ดินกลายเป็นดินเสื่อมโทรม รู้ว่า pH ของดินเป็นกรดหรือเปล่า ก็จะช่วยได้เยอะในการวางแผนจัดการขั้นต่อมา

ผู้ที่คลุกอยู่กับดินเขาว่า มีวิธีตรวจสภาพดินอยู่ 2 วิธี วิธีแรกใช้กระดาษลิสมัส วิธีที่ 2  ใช้เครื่องมือตรวจ pH โดยตรง  ไม่มีกระดาษลิสมัส ก็ให้ใช้สีของดอกไม้แทน

ดอกชบาซ้อน อัญชัน กระเจี๊ยบ ใช้เป็นวัตถุดิบผลิตกระดาษลิสมัสได้  เพียงขยี้ดอกไม้ในน้ำเปล่า แล้วแช่กระดาษวาดเขียนขนาด 1x 4 เซนติเมตร ลงไปสักพัก แล้วนำมาตากแดดให้แห้งสนิท นำมาทดสอบโดยหยดน้ำส้มสายชูลงไป ถ้ากระดาษเปลี่ยนสีก็ใช้ได้แล้ว

มีอีกวิธีที่ใช้ทดสอบดินได้ คือ ตักดิน 1 ช้อนโต๊ะใส่น้ำฝน 1 แก้ว แล้วเติมแอมโมเนียลงไป 2/3 ของแก้ว คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมง ถ้าได้น้ำใส ดินนั้นเค็ม ถ้าน้ำยังขุ่น ดินนั้นเป็นดินเปรี้ยวและมี pH เป็นกรด

ชุดตรวจสอบความเป็นกรด-ด่าง ของดิน มีน้ำยาตรวจสอบ pH ได้ 3 ช่วง วิธีอ่านใช้เทียบสีกับตัวอย่างซึ่งจะเป็นแถบสี ค่าสามารถคลาดเคลื่อนได้  0.3 หน่วย pH

ชุดที่ 1 วัดค่า pH 3.0 - 4.5  เทียบสีได้ 6 แถบจากสีเหลือง-เขียวขี้ม้า
ชุดที่ 2 วัดค่า pH 4.5 - 6.4  เทียบสีได้ 7 แถบจากสีเหลือง-ม่วงแดง
ชุดที่ 3 วัดค่า pH 6.0 - 8.0  เทียบสีได้ 6 แถบจากสีเขียวอ่อน-ฟ้า

วันนี้ยังไม่สบายใจกับเจ้าฟอสเฟตหากจะลอกดินขึ้นมาทิ้ง ลอกแล้วจึงควรจัดการต่อ  อากู๋ให้ความรู้มาว่า ความเป็นกรด-ด่างของดินมีผลต่อการละลายตัวง่ายยากของสารประกอบฟอสเฟตในดิน ตรงนี้ใช้ประโยชน์ต่อได้เมื่อรู้ pH ดิน

จัดการเปลี่ยนฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ให้ละลายน้ำไม่ได้ น่าจะเป็นทางออกสำหรับตะกอนในคูที่พบฟอสเฟตเยอะ  ใช้ธาตุตัวอื่นมาจับเป็นสารประกอบฟอสเฟตที่ไม่ละลายน้ำได้

ธาตุพวกนี้  มีเหล็ก อลูมิเนียม แคลเซียมและแมกนีเซียม   2 ธาตุแรกจะเปลี่ยนฟอสเฟตให้ไม่ละลายน้ำเมื่อสภาพดินเป็นด่าง  2 ตัวหลังทำได้ในสภาพดินที่มีสภาพตรงกันข้าม

ดินเหนียวและสารไฮดรอกไซด์ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ในการจัดการเปลี่ยนฟอสเฟตที่ละลายน้ำให้ไม่ละลายน้ำ

อย่างนี้ก็ใช้ปูนขาวปรับปรุงตะกอนก่อนทิ้งไปได้ มิน่า เกษตรกรจึงใช้ปูนขาวปรับคุณภาพดินก่อนปลูกพืชแต่ละรอบ (เขาใช้ปูนขาว ๓ กิโลกรัม ต่อ ๑ ไร่)

« « Prev : ตามลม(๖๕) : สารลดแรงตึงผิว

Next : ตามลม (๖๗) : EM จะช่วยได้มั๊ยนะ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 25 กันยายน 2011 เวลา 0:00

    หมอคนเป็นได้ หมอดินเป็นดี อิอิ

  • #2 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 26 กันยายน 2011 เวลา 10:42

    ปรับวิกฤตเป็นโอกาสดีไหมครับหมอเจ๊ เพราะฟอสเฟตนั้นได้ยินว่า เป็นสารอาหารสำคัญของพืช (ให้ดอก) ก็โกยเอาไปรดต้นไม้ดอกในรพ.ดีไหมครับ ละลายน้ำได้ดีก็ยิ่งดีไปใหญ่


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.01992392539978 sec
Sidebar: 0.10583901405334 sec