ตามลม(๖๕) : สารลดแรงตึงผิว

อ่าน: 1705

ดูๆไปแล้วนับแต่มีอุตสาหกรรมน้ำมันเกิดขึ้น มีการนำเอาสารที่เกิดระหว่างการผลิตมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ตั้งแต่ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา น้ำมันก็กลายเป็นอะไรบางอย่างที่มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตของผู้คน

วันนี้ถ้าหันไปทางไหน ทั้งพลาสติก ทั้งสบู่ ผงซักฟอก สารทำความสะอาด ฯลฯ ล้วนมีต้นตอที่มาที่ไปเกี่ยวในวงจรอุตสาหกรรมน้ำมัน และวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมนี้แหละ ที่นำพาสารเคมีเข้ามาอยู่ใกล้ตัวคน ขยายผลให้มีการนำธาตุสำคัญ 5 ธาตุที่ธรรมชาติควบคุมไว้ดีแล้วไม่ให้เกิดโทษเปลี่ยนสมดุล

เฉพาะผงซักฟอกที่เป็นสารลดแรงตึงผิวสังเคราะห์อย่างเดียวก็มีธาตุสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วยมากมาย น้ำ กำมะถัน ฟอสฟอรัส คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน คลอรีน

ความสัมพันธ์ของธาตุกับจุลินทรีย์ที่เพิ่งประจักษ์ เพิ่มความเข้าใจคำว่า “ผลกระทบต่อความหลากหลายทางชีวภาพ” ให้เยอะเลย

วันนี้ผู้คนจะหลีกเลี่ยงการไม่ใช้สารลดแรงตึงผิวเป็นเรื่องยาก เพราะไม่ว่าจะเป็นการทำความสะอาดร่างกายและของใช้ เครื่องสำอาง การย่อยอาหาร กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม กระบวนการบำบัดน้ำเสีย การกำจัดคราบน้ำมันและสิ่งสกปรก การกำจัดสารแขวนลอยหรือคอลลอยด์ในน้ำ การผลิตยา กระบวนการทางการแพทย์ เครื่องใช้ประจำวัน เช่น ยาสีฟัน ฯลฯ ล้วนแต่มีสารลดแรงตึงผิวเข้ามาเกี่ยวข้อง

ความเป็นไปได้ที่จะช่วยเปลี่ยนสมดุลธรรมชาติที่เอียงไปให้คืนมา น่าจะมีแต่ “รู้จักมันทุกแง่มุมก่อนเลือกใช้” การใช้เหมาะสมประสิทธิภาพสูงสุดที่ต้องการโดยไม่สร้างปัญหาเพิ่มให้กับสิ่งแวดล้อมทั้งเชิงปริมาณและการย่อยสลายจึงจะเป็นไปได้

สิ่งสำคัญในด้านสุขภาพ ที่ควรคำนึงสำหรับการใช้สารลดแรงตึงผิวก็ไม่พ้นการปนเปื้อนในน้ำดื่ม ปริมาณสารลดแรงตึงผิวที่เจือปนได้โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายในน้ำดื่มที่อเมริกาและยุโรปกำหนดไว้เท่ากับ 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ส่วนบ้านเรากำหนดไว้อย่างไรหายังไม่เจอ

สารลดแรงตึงผิวมีชื่อแรกเป็นภาษาเยอรมันว่า Tensid  นักเคมีชาวเยอรมันเป็นคนให้ชื่อกับมัน การมีขั้วของมัน ทำให้เกิดคุณสมบัติ “ชอบน้ำ” และ “หนีน้ำ”

ขั้วชอบน้ำทำให้เกิดฟอง เปียก นุ่มและสะอาด และอยู่ในน้ำได้ เข้าได้ดีกับสารละลายพวก คาร์โบไฮเดรต (แป้ง น้ำตาล) กรดคาร์บอกซิลิก ( กรดน้ำส้ม กรดมด) ฟอสเฟต เปบไทด์วงแหวน และแอลกอฮอล์

ขั้วหนีน้ำจะเกาะกับพื้นผิวที่ว่าง เช่น อากาศ เข้าได้ดีกับตัวทำละลายอินทรีย์ กลุ่มของสารละลายไฮโดรคาร์บอน ไขมันไม่อิ่มตัว ไขมันอิ่มตัว

ความหลากหลายและชื่อวิทยาศาสตร์ของมันทำให้งง ใช้การจัดกลุ่ม ชนิดผลิตภัณฑ์ และผลที่มันทำให้เกิดตามหาเพื่อจะรู้ว่าเป็นอะไร และซ่อนตัวอยู่ที่ไหนบ้างในระบบ drain ง่ายกว่า

ขั้วชอบน้ำเป็นหลักในการแบ่งประเภทกลุ่มเป็น 4 ประเภท ประเภทของผลิตภัณฑ์ทำให้รู้ว่าเป็นสารลดแรงตึงผิวคนละตัว

กลุ่มแรก  มักจะพบในผลิตภัณฑ์ยาสีฟัน ครีมนวดผม และน้ำยาปรับผ้านุ่ม กลุ่มนี้เป็นพวกประจุบวก

กลุ่มที่ 2  มักจะเป็นส่วนประกอบในผงซักฟอกและสบู่  กลุ่มนี้เป็นพวกประจุลบ

กลุ่มที่ 3  มักจะนำไปผสมในสบู่เหลวล้างหน้า กลุ่มนี้เป็นพวกไม่มีประจุ

กลุ่มที่ 4  เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอาง สารป้องกันการกัดกร่อน และสารยับยั้งแบคทีเรีย  กลุ่มนี้เป็นพวกกระเทย มีทั้ง 2 ประจุ

ความสามารถในการทำให้เกิดฟอง การซักล้าง และการทำให้พื้นผิวเกิดความอ่อนนุ่ม ก็พอจะอาศัยไปใช้ได้ ฝรั่งเขาสรุปไว้อย่างนี้ :

สารลดแรงตึงผิว  การเกิดฟอง    การซักล้าง          การทำให้นุ่ม

ประจุลบ             ดีที่สุด          ค่อนข้างดี           ไม่แน่นอน

ไม่มีประจุ           ดี                 ดี                      ดี

ประจุบวก           ไม่ดี             ปานกลาง            ไม่ดี

ประจุบวกและลบ  ค่อนข้างดี     ดี                       ดีที่สุด

อย่าคิดว่าสารลดแรงตึงผิวเป็นสารสังเคราะห์เท่านั้น ในธรรมชาติก็มีนะ ที่คุ้นมากๆและเห็นบ่อยๆแต่นึกไม่ถึง ก็เป็น lecithin ในไข่แดง lecithin ที่มีอยู่ประมาณ 10% ทำให้ได้น้ำสลัดอร่อยมากินจากน้ำมันรวมตัวกับน้ำ

« « Prev : ตามลม(๖๔) : แม้แต่ผงซักฟอกก็ยังแบ่งขั้วเลย

Next : ตามลม (๖๖) : ตรวจตะกอนก่อนนำทิ้ง…น่าจะเป็นทางออกได้ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 12 กันยายน 2011 เวลา 3:05

    พอแรงตึงผิว (เซอร์เฟส เทนชึ่น) ลด มันก็ต้องขยายพื้นที่ผิว เพื่อสร้างสมดุลแรง เพื่อให้เกิดสมดุลสถิตตามกฎข้อที่ ๑ ของ เสอร์ไอแซ็ค แหละครับ (จำมา + วิเคราะห์เอาเอง)

    พท.ผิวทีเพิ่ม มีทั้งผลดีและเสีย ..ไม่ต่างอะไรกับอินตะเน็ต ..อิอิ

    แต่ถ้าคำขวัญที่ว่า “ธรรมะ ย่อม ชนะอธรรม” ยังคงใช้ได้แล้วไซร้ การเพิ่มพื้นที่นั้นธรรมะย่อมได้เปรียบอธรรมเสมอ (เพราะโดยนิยาม ธรรมะ ต้อง เก่งกว่าอธรรมอยู่แล้ว)

    ยกเว้นธรรมะดันขี้เกียจ ไม่ยอมทำหน้าที่อันชอบธรรมแห่งตน

    แล้วเจอกันนะหมอเจ๊..คงดวลข้อมูล/ความรู้ กัน จนดาบหักกลางสมรภูมิแน่ๆ อิอิ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.49359512329102 sec
Sidebar: 0.74230980873108 sec