ตามลม(๖๔) : แม้แต่ผงซักฟอกก็ยังแบ่งขั้วเลย

อ่าน: 1830

เวลานักวิทยาศาสตร์คุยกันเรื่องผงซักฟอก จะมีคำว่า “ขั้ว” คำนี้เขาใช้บอกตำแหน่งของการออกฤทธิ์ของผงซักฟอกในโครงสร้างทางเคมีและใช้ แบ่งชนิดของผงซักฟอก

รวมๆแล้วเขาแบ่งมันออกเป็น 3 ประเภท จากส่วนที่มีขั้วและไม่มีขั้ว และความต่างตรงขั้ว

ส่วนที่มีขั้วจะชอบน้ำ ละลายน้ำได้ ส่วนที่ไม่มีขั้วชอบน้ำมัน สารเคมีที่ทำให้มีขั้ว คือ โซเดียมซัลโฟเนต สารเคมีที่ทำให้ไม่มีขั้ว คือ สารไฮโดรคาร์บอน ซึ่งจะมีคาร์บอนอยู่ระหว่าง 12-18 อะตอม

ชนิดที่ 1 และ 2 มีส่วนที่ไม่มีขั้วเหมือนกัน คือ เป็นไฮโดรคาร์บอนชนิดโซ่ตรงทั้งหมด จุลินทรีย์ในแม่น้ำลำคลองช่วยย่อยให้สลายตัวได้อย่างสมบูรณ์ ชนิดที่ 3 เป็นไฮโดรคาร์บอนที่มีกิ่งตลอดสาย การมีกิ่งมากมาย ทำให้จุลินทรีย์ไม่สามารถย่อยส่วนที่มีกิ่งได้ ชนิดนี้ลงสู่แม่น้ำลำคลองเมื่อไร ก็ส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมมาก เกิดภาวะมลพิษทางน้ำ

อืม อย่างนี้ถ้าไม่ต้องการผลลบจากฟอสเฟต ก่อนซื้อผงซักฟอก ก็ต้องละเอียดละออกับชนิดของมัน แต่ถ้าบรรจุภัณฑ์ไม่มีฉลากระบุก็ไม่รู้อยู่ดี มีวิธีทดสอบยังไงจึงจะรู้ได้ละว่าฟองที่เห็นในน้ำเกิดจากผงซักฟอกกลุ่มไหน

อากู๋เล่าด้วยว่า เวลาสารลดแรงตึงผิวทำงานจะทำให้เกิดความเปียก  สิ่งสกปรกทั่วๆไปจะมีฤทธิ์เป็นกรด น้ำซักผ้าจะทำงานได้ดีต้องมีความเป็นด่าง สารลดแรงตึงผิวจึงจะไปลดแรงดึงดูดกันระหว่างสิ่งสกปรกและพื้นผิวได้ดี

การแปรสภาพเป็นสบู่ของน้ำ เกิดจากไขมันต่างๆทำปฏิกิริยากับด่างแล้วแปรสภาพเป็นสบู่ ละลายและแขวนลอยในน้ำ

ที่สามารถขจัดผลิตภัณฑ์จากน้ำมันปิโตรเลียมอื่นๆที่ไม่ละลายน้ำได้ ก็เพราะว่ามันเอาส่วนที่ไม่มีขั้วเข้าไปทำให้น้ำมันแขวนลอยและกระจายอยู่ในน้ำ

เมื่อสิ่งสกปรกที่ไม่ละลายน้ำ เช่น ฝุ่นละอองต่างๆถูกขจัดออกมาแล้ว จะรวมตัวกันเองจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจนกลับไปจับเส้นใยได้อีก ก็จะมีสาร Sodium Carboxy Methylcellulose ไปทำให้สิ่งสกปรกเหล่านี้รวมตัวกันไม่ได้  ป้องกันการกลับเข้าไปจับใหม่จนกว่าจะมีการซักล้าง

สำหรับคราบเลือดบนผ้าซึ่งเป็นโปรตีน ถ้าเพิ่งเปื้อนใหม่ๆ คราบขจัดได้โดยน้ำที่แช่อยู่ หรือกรดมะนาว ถ้าเป็นคราบที่เปื้อนและแห้งกรังมานานและคราบมาก อย่างผ้าที่ใช้ในโรงพยาบาล วิธีขจัดนี้ขจัดได้ไม่หมด จะยังคงมีคราบเลือดเป็นด่างดวงจางๆ สารฟอกขาวที่มีคลอรีนที่ผสมก็เพื่อเสริมในการขจัดคราบเหล่านี้และฆ่าเชื้อ

ความเป็นกรดของทั้งกรดมะนาวและคลอรีนทำลายเส้นใยผ้า ทำให้อายุการใช้งานของเส้นใยลดลง ฤทธิ์ฟอกของคลอรีนทำให้ผ้าสีไม่สดใส  มิน่าผ้าของโรงพยาบาลเมื่อซักบ่อยๆจึงขาดง่าย และสีไม่ขาวสดใสอย่างใจ ผลที่มีโดยตรงต่อเส้นใยนี่เองที่ส่งผล

เพิ่งรู้จากอากู๋นี่แหละว่า สารอินทรีย์ถูกขจัดได้ดีในสภาวะที่เป็นด่าง และคลอรีนในผงซักฟอกไปลดประสิทธิภาพของการขจัดคราบลงด้วย  อืม การขจัดคราบเลือดและดูแลเส้นใยผ้านี้ไม่ง่ายอย่างที่เคยเข้าใจแฮะ

มีเรื่องที่อากู๋ทำให้แปลกใจด้วยเรื่อง Salicylate ในยาแอสไพรินว่าช่วยทำลายการเกาะตัวของเลือด และใช้ลดคราบเลือดในใยผ้าได้ วิธีใช้ก็ให้เอายามาถูตรงคราบก่อนซัก

สำหรับคราบเลือดและอุจจาระที่เปื้อนและแห้งกรังมานาน สารซักฟอกที่มีเอนไซม์ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป และผสมน้ำแล้วเป็นด่างมากกว่า 10 ( pH > 10)  เครื่องซักที่ตั้งโปรแกรมเครื่อง Prewash ที่ 3 รอบ แล้วต่อด้วยโปรแกรมที่ใช้น้ำร้อน 71 องศาเซนติเกรด 25 นาที จะขจัดคราบได้ผลดี

ส่วนคราบที่เปื้อนไอโอดีน ก็แค่ทำให้คราบเปียก ป้ายด้วยแป้งเปียก ทิ้งไว้จนแป้งซึมเข้าเนื้อผ้า จึงซักตามปกติ

การแช่ผ้าในน้ำ หรือแช่น้ำซักผ้าก่อนซัก 30 นาที ช่วยขจัดคราบเปื้อนจากปากกาลูกลื่นให้ง่ายขึ้น  กรดมะนาวในผงซักฟอก จะช่วยขจัดคราบต่อ

อากู่แถมเคล็ดมาด้วยว่า ถ้าถูคราบด้วยแอลกอฮอล์ น้ำมะนาวผสมเกลือ นมเปรี้ยว หรือ นมที่เป็น Curds ก่อนซัก คราบเปื้อนจากปากกาลูกลื่นจะหลุดง่ายขึ้น

แอลกอฮอล์ยังช่วยขจัดคราบปัสสาวะ ถ้าป้ายตรงคราบแล้วปล่อยให้แห้ง ก่อนนำไปซัก ไม่มีแอลกอฮล์ก็ให้ใช้ คลอโรฟอร์ม

ถ้ามีคราบสนิม ก็ให้จุ่มน้ำเย็นผสม 1% Oxalic Acid ประมาณ 15 นาที ก่อนซัก

ส่วนคราบเปื้อนโคลน ถ้ามีก็ให้ปล่อยให้แห้ง แปรงโคลนที่แห้งออกให้หมด ก่อนนำผ้ามาจุ่มในน้ำด่าง (สัดส่วน20กรัม /ลิตรของ Sodium Carbonate) 2 ชั่วโมง จึงซักตามปกติ

คราบกาแฟและน้ำชาถ้ามีเปื้อน ก็ให้ป้ายน้ำประสานทอง(Borax Solution) ที่คราบเปื้อนและทิ้งให้แห้ง แล้วซักตามปกติ

คราบเครื่องแกง ก็ใช้สบู่และผงซักฟอกป้าย แล้วนำไปตากแดดจนแห้ง ถ้ายังไม่หายให้จุ่มน้ำแล้วนำไปตากแดดใหม่

จะไม่ให้ผ้าสีเหลือร่องรอยของคราบน้ำผลไม้ ก็ให้ใช้ตัวขจัดรอยคราบที่ต่างไป ผ้าขาวจุ่มในน้ำผสมสารฟอกขาว ผ้าสีให้จุ่มในน้ำอุ่นที่ผสมน้ำประสานทอง( Borax Solution ) ก่อนนำไปซักตามปกติ

คราบไอศกรีมและนมก็ให้ใช้น้ำเย็นล้างก่อนซัก หรือ ป้ายคราบเปื้อนด้วยน้ำมันเบนซินหรือคาร์บอนเตรทตระคลอไรด์แล้วซัก

ถ้าผ้าเปื้อนหมากฝรั่งให้แกะออกให้มากที่สุดด้วยมีดทื่อๆ ผ้าไม่เสียหาย แล้วใส่ก้อนน้ำแข็งวางที่คราบ หรือแช่ในน้ำผสมน้ำแข็ง 2 - 3 นาที ก่อนซัก

อืม เรื่องซักผ้าในโรงพยาบาลนี่มีเรื่องจุกจิกไม่น้อย สารเคมีที่เข้ามาเกี่ยวเพิ่มก็มี ไอโอดีน แอลกอฮอล์  คลอโรฟอร์ม และบอแรกซ์

« « Prev : ตามลม(๖๓) : โอ้โฮ สารพัดสารเคมีเลยนี่

Next : ตามลม(๖๕) : สารลดแรงตึงผิว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 11 กันยายน 2011 เวลา 2:53

    แรงทั้งหลายในโลก มีแรงดูด แรงผลัก …แล้วแต่จะหาเจอ และเลือกใช้เสมอแหละนะหมอเจ๊

    ตาดีได้ ตาร้ายเสีย
    ส่วน”ได้” แล้วจะ “ดี” กว่าคนไม่มีตา ก็คงต้องมาว่ากันต่อไป อิอิ

    กลางตุลานี้ เจอกัน นะหมอเจ๊ กะไว้ว่าต้องสร้างเมล็ดพันธุ์เล็กๆฝากไว้ให้โลกได้รำลือแน่ๆ
    ถ้าไม่กล้าฝันมันก็ไม่วันเกิดได้หรอก..รพ.สีขาว เหมือนเสื้อกาวน์หมอและนางพยาบาล


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.27933406829834 sec
Sidebar: 0.50388193130493 sec