ตามลม(๕๗) : จะจัดการน้ำทิ้งที่มีคลอรีนปนอยู่ มีเรื่องให้ระวังนะ
ตามรอยมาเรื่อยๆ น้ำทิ้งที่พบก็สอนว่า มีเรื่องราวที่ไ่ม่รู้ซ่อนอยู่ในระบบ drain อีกมาก การจับจุดเล็กๆมาปรับแก้ให้ตรงเรื่อง มีเทคโนโลยีง่ายๆให้เลือกใช้
เริ่มทำเรื่องง่ายๆต่อด้วยการตามรอยประเภทของระบบ drain ที่นักวิชาการเขาแบ่งเป็น 2 ระบบ หนึ่งเป็นระบบเปิด และอีกหนึ่งเป็นระบบปิด ยังไม่เจอระบบปิด น้ำทิ้งที่รู้ตำแหน่งแล้วอยู่ในระบบเปิดทั้งหมด
ที่คิดจะจัดการแยกน้ำทิ้งปนสารเคมีบำบัดก่อนแล้วทิ้งร่วม (ซึ่งนอกจากสารประกอบแล้ว ยังมีธาตุสำคัญๆที่มีผลต่อสุขภาพอยู่ด้วย) จำเป็นต้องหาความรู้มาเติมก่อนลงมือทำ
ระหว่างทางที่ตามรอย พบสารเหล่านี้แล้ว แอมโมเนีย ก๊าซไข่เน่า มีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ออกซิเจน น้ำ ฟอสฟอรัส เหล็ก ไนเตรท ไนไตรท์ ไนโตรเจน คลอรีน ไฮโดรคาร์บอน และพอจะรู้ว่าจะตามรอยไปหาที่ซ่อนได้อย่างไร
ถ้านำหลักเฝ้าระวังทางการแพทย์มาใช้ร่วม ก็ยังมี ตะกั่ว ปรอท แคดเมียม ดีบุก สารหนู ทองแดง สังกะสี ที่ยังไม่รู้ว่ามีเอี่ยวอยู่ในน้ำทิ้งอย่างไร
จะตามรอยสารเคมีที่เหลือ อาจจะไปก่อกวนเวลางานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นอะไรที่ต้องหาความลงตัวเรื่องเวลากันไว้ก่อน
หลังจากไปพบน้ำทิ้งปนเปื้อนคลอรีน คำถามที่คาใจก็พบคำตอบที่เคยฉุกใจ ยืนยันสิ่งที่ฉุกใจว่าการใช้คลอรีนในระบบน้ำมีเรื่องที่พึงระวังและใส่ใจกับสารพลอยได้จากการนำคลอรีนไปฆ่าเชื้อโรคในน้ำ (Disinfectant by product , DBP ) ซึ่งวันนี้รู้จักแล้ว 11 ตัว และหนึ่งในนั้นเป็นเจ้านี่ “Phthalates” สารก่อมะเร็ง
คำถามที่คาใจมาตลอด “ปริมาณตะกอนสำคัญอย่างไรจึงต้องวัด ติดตาม และกำจัดให้เหมาะควร” ได้คำตอบมาว่า
“ยิ่งมีปริมาณสารอินทรีย์ปนกับน้ำธรรมชาติจำนวนมาก น้ำดิบที่นำมาบำบัดเพื่อบริโภค อุปโภค ยิ่งเสี่ยงกับการหลงเหลือของสาร DBP มากขึ้นๆ สารในกลุ่ม DBP มีทั้งสารพิษและสารก่อมะเร็ง” (สนใจตามอ่านได้ที่นี่)
คำตอบนี้เติมคำในช่องว่างให้ว่า ตะกอนในคูเจ้าปัญหาที่ยังค้างคาเมื่อน้ำนำพาลงมารวมที่ปลายน้ำ ยังมีเรื่องต้องจัดการก่อนเติมคลอรีน น้ำทิ้งที่มีคลอรีนปน ก่อนปล่อยทิ้งก็มีอะไรที่ต้องจัดการกับสาร DBP
« « Prev : ตามลม(๕๖) : ไม่เคยคิดเลยว่า ท่อน้ำทิ้งแอร์ก็ปล่อยน้ำเสีย
Next : ตามลม (๕๘) : มีประเด็นให้หวนกลับไปที่จุดเดิมอีกครั้ง » »
ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม(๕๗) : จะจัดการน้ำทิ้งที่มีคลอรีนปนอยู่ มีเรื่องให้ระวังนะ"