ตามลม(๖๐) : ตามรอยท่อน้ำแอร์
ท่อน้ำทิ้งที่เห็นน้ำหยดเป็นส่วนไหนของเครื่องปรับอากาศนั้นไม่รู้หรอก เพิ่งไม่กี่วันนี้เองที่ฟังมาว่าท่อนี้ออกมาจากส่วนของคอนเดนเซอร์
น้ำที่หยดออกมาเกิดจากอากาศผ่านไปกระทบผิวคอยล์เย็นแล้วทำให้ความชื้นในอากาศที่มีอยู่กลั่นตัวหยดเป็นน้ำไหลลงมา ที่เห็นมีถาดน้ำทิ้งใต้คอยล์เย็นก็เพื่อรองรับน้ำที่กลั่นตัวมาจากความชื้นไม่ให้หยดเลอะเทอะ รับแล้วก็ปล่อยออกไปที่ท่อน้ำทิ้ง (Condensate Drain)
ที่ท่อจะมีฉนวนหุ้มเพื่อไม่ให้มีน้ำเกาะที่ท่ออีก ถ้ามองข้าม ไม่ละเอียดละออกับทางที่ทำให้น้ำไหล ตำแหน่งทิ้ง และความลาดเอียงของท่อเวลาเดินท่อน้ำทิ้งนี้ ก็จะมีผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการตามมา
เวลาติดตั้งยังต้องติดคอห่านเล็กๆ (Trap) ไว้เพื่อป้องกันลมจากภายนอกห้องถูกดูดย้อนเข้ามาตามท่อ ซึ่งจะทำให้มีกลิ่น ทำให้น้ำไหลไม่สะดวก
ใบพัดลมระบายความร้อนที่วักน้ำมาสาดไปที่คอยส์ร้อนเพื่อให้น้ำระเหยไป เป็นความคิดที่เกิดขึ้นจากความต้องการตัดปัญหาการเดินท่อน้ำทิ้ง ซึ่งพอเครื่องเก่า น้ำก็ยังจะหยดจากเครื่องได้เหมือนกัน
ทั้งหมดที่เล่าข้างบนก็ได้มาจากหัวหน้าช่างของรพ. ฟังเขาเล่าจบแล้วก็ปิ๊งว่าอะไรที่น่าจะเป็นต้นเหตุให้มีแอมโมเนียปนในน้ำทิ้งของท่อแอร์
อย่างนี้แค่สำรวจคงไม่พอ อายุการใช้งาน ระบบการบำรุงรักษา ความสูงต่ำของตัวแอร์จากพื้น ก็เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องรู้ด้วย รู้แล้วก็จะได้ชวนบรรดาช่างมาคุยร่วมกัน จะได้รู้ว่าอะไรเป็นอุปสรรคในระบบบำรุงรักษาแอร์อยู่บ้าง
การได้รู้ตรงนี้ทำให้โล่งใจไปเปลาะหนึ่ง ว่าการจัดการเรื่องราวต่อเกี่ยวกับท่อน้ำทิ้งแอร์ยังมีวิธีง่ายๆ แต่การเกิดความลงตัวในทุกจุดต้องให้เวลากับการ “เปิดเวทีคุย”
« « Prev : ตามลม(๕๙) : ก็ไม่ได้นึกว่าจะเป็นน้ำปนเปื้อนคลอรีนหรอก
Next : ตามลม (๖๑) : ที่คิดว่าเป็นน้ำทิ้งปนคลอรีนนั้นกลับไม่ใช่เลย » »
2 ความคิดเห็น
อ่านแล้วทำให้เกิดวาบความคิดว่า น้ำ condensate นั้นน่าเอาไปทิ้งใส่ตรงคอยล์ร้อนนะครับ (ที่หมอว่าเขาวักน้ำมาสาดน่ะ) ถ้าทำแบบนี้จะได้สองต่อเลย
แอร์เมืองไทยส่วนใหญ่แล้วติดกันชุ่ย โดยเฉพาะเสียงพัดลม ดังมากๆ
ไล่ท่อไปหาตัวแอร์แล้ว ก็พบว่าเป็นแอร์เก่าจริงๆด้วยที่มีปัญหา พบอย่างนี้ก็คิดกันว่าควรทบทวนเรื่องอายุแอร์กับการใช้พลังงานไปด้วยเลยค่ะอาจารย์