ตามลม(๔๔) : รู้จักฤทธิ์ปูนขาวกันหน่อย…ช่วยอะไรได้บ้างเมื่อใส่ในน้ำ

อ่าน: 3429

มัวแต่ดีใจว่าใส่ปูนขาวลงในน้ำแล้วกลิ่นหาย เพิ่ม pH ให้น้ำที่มีสภาพเป็นกรดจนกลายเป็นด่างได้ จนเมื่อมีคำถามว่าใส่แล้วเกิดสารอะไร กำจัดสารอะไรไปบ้าง จึงนึกได้ว่ายังไม่รู้เลยว่าปูนขาวช่วยจัดการกับสารอะไรได้บ้างในน้ำเสีย

ลองไปรวบรวมมาก็พบว่า ไม่ได้มีแต่ปูนขาวที่ถูกใช้งานกับเรื่องน้ำเสีย แต่มี สารประกอบซัลเฟต ซัลไฟด์ เหล็ก และเกลือด้วย มาดูรายละเอียดกันว่าตัวไหนทำอะไรได้บ้าง และทำงานได้ดีที่ pH เท่าไรกัน  ( ที่ว่าดีนั้น ขึ้นกับว่าต้องการจัดการสารตัวไหน )

ปูนขาว กำจัดสารโลหะหนักได้หลายตัว ได้แก่ อลูมิเนียม เหล็ก แคดเมียม  ทองแดง แมงกานีส โครเมียม ฟลูออไรด์ นิเกิล ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก

ค่า pH เหมาะสมที่ทำให้โลหะแต่ละตัวตกตะกอนเมื่อเติมปูนขาวมีดังนี้

ดีบุก  pH 4-4.5  สังกะสี  pH 5-6   ตะกั่ว pH 6-10

เหล็ก pH 7

โครเมียม pH 8-9.5   ทองแดง pH 9-10 แมงกานีสและนิเกิล pH 10 แคดเมียม  pH 9.5-12 ฟลูออไรด์ pH 12

เกลือแกงใช้เติมเพื่อจัดการเงินที่ปนอยู่ในน้ำ pH 8 เป็น pH ที่เหมาะ

จะจัดการกับสารหนูให้เติม สารประกอบเหล็ก Ferric chloride ที่ pH 8  สารประกอบเหล็กตัวนี้จัดการกับฟอสเฟตได้ดีที่ pH 7

จะจัดการกับสารปรอท ให้เติมสารประกอบซัลไฟด์ Sodium sulfide ที่ pH 8.5

Sodium sulfide จัดการกับสารซิลิเนียมได้ดีที่ pH 6.5

สารอีกตัวที่อาจจะมีในน้ำเสียรพ. คือ แบเรียม ที่ pH 10 ถ้าเติมสาร Sodium sulfate ลงไปจัดการจะเปลี่ยนแปลงมันเป็น Barium sulfate

ข้อมูลทั้งหมดนี้ได้มาจาก องค์การจัดการน้ำเสีย

« « Prev : ตามลม(๔๓) : เขาบำบัดน้ำกันยังไง…หลักคิดที่ใช้

Next : ตามลม (๔๕) : ขยายผลเทคโนโลยีง่ายๆ…..ลดปัญหากลิ่น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม(๔๔) : รู้จักฤทธิ์ปูนขาวกันหน่อย…ช่วยอะไรได้บ้างเมื่อใส่ในน้ำ"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.01944899559021 sec
Sidebar: 0.10660290718079 sec