ตามลม(๓๙) : เกลือในน้ำสำคัญยังไงกับปลา…รู้ไว้หน่อยก็ดีนะ

อ่าน: 1542

ระหว่างทำงานในพื้นที่ตึกเจ้าปัญหา คนที่สัญจรผ่านมามักจะหยุดดูกัน  บ้างถาม บ้างบอกกล่าวเมื่อเจอหน้า  คำบอกกล่าวทำให้รู้ว่าชาวบ้านเขารู้เห็นความสกปรกของคูและห่วงใยอยู่เหมือนกัน ก็ดีใจนะที่ตัดสินใจลงมือจับแก้ แม้ว่าจะเห็นอุปสรรคข้างหน้าอยู่มากมาย

หลังจากจับแก้และรู้จักความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ คน กระบวนงาน และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ก็พอสรุปได้ว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดนั่นแหละที่เป็นต้นเหตุทำให้น้ำเสีย ไม่ใช่มีเพียงคน  ความสัมพันธ์แบบห่วงโซ่อาหาร คือห่วงที่ผูกโยงสิ่งมีชีวิตทั้งหมดเข้ามาอยู่วงจรเดียวกัน และช่วยกันเติมของเสียลงในน้ำและดิน

ด้วยน้ำมีความสำคัญที่สุดกับทุกชีวิต และระยะทางนำน้ำไปทิ้งยาวไกลกว่าจะถึงปากน้ำที่เป็นทะเล  วันนี้ปลา และพืชต่างๆ ทั้งพืชน้ำและพืชบกเป็นอาหารยอดนิยมของคน  ความสัมพันธ์ในห่วงโซ่อาหารนี้ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับคุณภาพน้ำก่อนทิ้งไปจากรพ. เมื่อคูเจ้าปัญหา 2 แห่ง สะท้อนบทเรียนว่า คุณภาพน้ำที่ว่านี้ จะสนใจแต่เชื้อโรคมุมเดียวไม่ได้เลย

สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่บนบกรวมทั้งคนมีร่างกายที่ประกอบไปด้วยน้ำราวๆร้อยละ 70  สัตว์เลือดอุ่นที่อยู่บนบกอย่างเรามีเกลืออยู่ในเลือด มีการสูญเสียน้ำจากร่างกายทางเหงื่อและการขับถ่าย แล้วมีการดื่มน้ำทดแทนน้ำที่สูญเสีย เมื่อไรเพลียแปลว่าเกลือไม่พอ ก็ต้องเติมเกลือเข้าไปพร้อมน้ำในรูปน้ำเกลือแร่ดื่มทางปากหรือน้ำเกลือให้ทางเส้นเลือด

ปลาเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในน้ำ มีเกลืออยู่ในเลือดเหมือนกัน เกลือในเลือดของปลาน้ำจืดกับน้ำเค็มต่างกัน  น้ำทะเลเค็มกว่าเลือดปลาน้ำจืดอยู่ 2 เท่า และปลาน้ำเค็มอยู่ราวๆ 3 เท่า  การดำรงชีวิตของปลาน้ำจืดและน้ำเค็มในน้ำจึงต่างกัน

น้ำเป็นของเหลวที่มีแรงดัน ธรรมชาติของน้ำจะไหลจากที่มีความหนาแน่นต่ำไปยังที่มีความหนาแน่นสูงกว่า จนความหนาแน่นเท่ากันจึงหยุดไหล

การไหลของน้ำที่มีความเค็มก็เช่นกัน ไหลจากที่มีความเค็มน้อยกว่าไปหาน้ำที่มีความเค็มมากกว่า  เมื่อปลาอยู่ในน้ำที่มีความเค็ม และน้ำนั้นเค็มมากกว่าเลือดของมัน ก็มีสิทธิที่จะเกิดปรากฏการณ์น้ำในตัวปลาซึมออกจากตัวมาหาน้ำนอกตัวอย่างต่อเนื่องจนปลาตัวแห้ง

ปลาหางนกยูงเป็นปลาน้ำจืด ใส่ลงไปในบ่อน้ำทิ้งที่ไตเทียมแล้วหายจ้อย เกิดหนอน จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดจากปรากฏการณ์นี้ อย่างนี้หนอนที่เห็นก็เกิดจากซากปลาถูกย่อยไ้ด้นะ  ที่ยังเห็นมันอยู่ในคูหลังตึกเจ้าปัญหาได้ยั้วเยี้ยไปหมด น้ำตรงคูเจ้าปัญหาก็น่าจะเป็นน้ำที่เค็มน้อยกว่าเลือดของมัน

ในกรณีของไนเตรท ก็น่าสนใจว่าปลาปล่อยแอมโมเนียออกจากตัวหรือเปล่า คนที่เข้าใจปลาบอกว่า เพราะเลือดปลาน้ำจืดมีเกลือมากกว่าน้ำจืดที่มันอยู่ มันจึงต้องมีกลไกปล่อยน้ำออกจากตัว ไม่งั้นน้ำจืดที่มีเกลือน้อยที่ซึมเข้าตัวจะทำให้ตัวมันโป่งน้ำทำอะไรไม่ได้ ปลาน้ำจืดมีฉี่ด้วยนะ วันละ 20%  ของน้ำหนักตัวเชียวแหละ แต่ว่าฉี่ออกทางไหน ลืมถามมาบอกค่ะ

ปลาทะเลกลับต่างไป น้ำที่มันอยู่มีเกลือมากกว่าเลือดของมัน 3 เท่า แทนที่น้ำจากภายนอกจะซึมเข้าตัวมันกลับตรงกันข้าม น้ำที่มันเสียออกไปทำให้มันต้องหาน้ำเติมเข้าตัวเพื่อไม่ให้น้ำไหลออกจนตัวมันแห้ง  ปลาทะเลจึงดื่มน้ำทะเลเข้าไปเรื่อยๆในจำนวนที่มากทีเดียว โดยอาจจะมากถึงวันละ 35% ของน้ำหนักตัวในแต่ละวัน และเพื่อไม่ให้เลือดมันมีเกลือลดลง ธรรมชาติก็สร้างระบบจัดการมาให้ ปลาทะเลจึงมีไตไว้ถ่ายเบาแบบปล่อยน้ำน้อยที่สุด และใช้เหงือกช่วยขจัดเกลือส่วนเกินผ่านออกไปจากตัว  อเมซซิ่งจริงๆธรรมชาติ

« « Prev : ตามลม(๓๘) : แค่ทำให้น้ำไหลวนช้าๆ…ก็ช่วยเพิ่มคุณภาพน้ำได้บางส่วนแล้ว

Next : ตามลม(๔๐) : อะไรทำให้ปลาตายนะ….แอมโมเนีย????? » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม(๓๙) : เกลือในน้ำสำคัญยังไงกับปลา…รู้ไว้หน่อยก็ดีนะ"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.033454895019531 sec
Sidebar: 0.12261199951172 sec