เอาไว้เตือนใจ

โดย สาวตา เมื่อ 13 กันยายน 2008 เวลา 7:57 ในหมวดหมู่ การจัดการ, ประสบการณ์ชีวิต, สร้างนิสัย, สังคม, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 2385

การทำงานประจำให้เดินไปได้ด้วยดี จนได้นวตกรรมใหม่ๆมานั้น มีเบื้องหลังที่น่าสนใจเรียนรู้แนวทางความคิดที่เกิดขึ้น ความคิดคือรากของวัฒนธรรมที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จและความล้มเหลวที่เกิดขึ้น

เรื่องราวในการสนทนาที่ผู้คนมีต่อกันในชีวิตประจำวันเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกในวิธีคิด ส่วนการลงมือกระทำการใดๆลงไปของผู้คนเป็นส่วนหนึ่งที่แสดงออกมาของความคิด

ในรากศัพท์ที่มาของความคิด มีคำว่า “ความคิดเชิงวิพากษ์” และ “ความคิดเชิงสะสม”

คำ 2 คำนี้มาจากภาษาอังกฤษ 2 คำ ที่มีความหมายแปลได้ตรงกัน และคำ 2 คำนี้เมื่อมาปรากฏอยู่ในระบบงานใด ก็จะทำให้เกิดการวัฒนธรรมของการทำงานนั้นๆ

ที่แปลได้ว่า เชิงวิพากษ์ กับ ซึ่งหมายถึงเชิงสะสม ทำทีละน้อย อย่างค่อยเป็นค่อยไป สะสมเป็นผลใหญ่ ฉะนั้นแท้จริงแล้ววิธีคิดทั้ง 2 อย่างนี้จึงเป็นรากของวัฒนธรรมการทำงานที่ปรากฏขึ้นในระบบงานใดๆ ซึ่งมีรูปธรรมที่จับต้องในรูปของ สไตล์การทำงาน

ก่อนที่ใครๆจะแสดงสไตล์ในการทำงานออกมา ฉันเชื่อว่าจะมีการใช้ “หลักฐาน” และ “เหตุผล” มาเป็นหลักในการโต้แย้งก่อนสรุปออกมาเป็นการลงมือทำ การคิดใช้หลักฐานและเหตุผลยัง “เปิดโอกาส” ให้กับการโต้แย้งโดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องฐานะทางสังคมด้วย คนที่เกี่ยวข้องกับสไตล์การทำงานนั้นๆสามารถลุกขึ้นมาตั้งข้อสงสัยและโต้แย้งได้โดยไม่ต้องกังวล

หากระบบเหตุผลของตนรัดกุม หลักฐานน่าเชื่อถือ และมากพอก็ไม่ควรต้องเครียดเมื่อต้องตอบคำถามว่า จะทำกิจกรรมนี้ไปทำไม มีเหตุผลอะไร มีหลักฐานอะไรสนับสนุนบ้าง มีทางเลือกใดให้ตัดสินใจได้บ้าง คาดว่าผลจะเป็นอย่างไร

ก่อนลงมือทำงานสไตล์ใดๆก็ตามในงานที่มีผู้คนมากหลายเกี่ยวข้องและรับผลจากสไตล์เหล่านั้น ผู้รับผิดชอบควรนำเรื่องที่จะลงมือทำไปปรึกษาผู้นำที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะลงลึกเข้าไปสู่การลงมือทำที่แท้จริงพร้อมหลักฐานและเหตุผลที่นำมาซึ่งการตัดสินใจ เพราะส่วนนี้จะบอกให้รู้ว่าหลักฐานที่ใช้สนับสนุนการตัดสินใจนั้นควรเชื่อถือเพียงใด และยิ่งสามารถอภิปรายก็จะชวนสนใจพอๆกับส่วนของผลงาน ด้วยว่าระบบเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังผลที่ออกมาสามารถอธิบายได้

การนำเรื่องไปปรึกษาก็คือการหาคนช่วยเหลือและตรวจสอบว่า สิ่งที่จะทำ สอดคล้องกับระบบเหตุผลที่เราได้สถาปนาไว้อย่างมั่นคงแล้วหรือยัง และแน่นอนว่าเมื่อมีการปรึกษา ก็จะมีการให้คำปรึกษา

การให้คำปรึกษาจึงไม่ใช่การบอกว่า ทำอย่างนี้ไม่ได้ ทำอย่างนี้สิดีและหากผู้ให้คำปรึกษานั้น เป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมรับผิดชอบในผลงานที่เกิดขึ้น

การบอกให้ทำอย่างนี้อย่างนั้นที่ว่าคือข้อเสนอแนะที่ผู้ให้คำปรึกษาได้บอกเป็นนัยๆว่า ควรทบทวนหลักฐานและเหตุผลที่ตัดสินใจให้มั่นใจอีกครั้งก่อนการลงมือ ด้วยเข้าใจระบบเหตุผลและได้ผ่านหูผ่านตามามากกว่าจึงรับรู้ว่าผลที่จะเกิดขึ้นนั้น จะส่งผลอย่างไร

กระบวนการทั้งหมดที่เล่ามานี้ใช้ความคิดเชิงวิพากษ์ทั้งสิ้น

ทุกหน่วยงานต่างก็มีความฝันที่จะได้ผลการบริหารงาน ที่เรียกว่า งานได้ผล คนเป็นสุข

บทเรียนรู้ประสบการณ์ที่ได้สะสมจากส่วนเล็กๆค่อยเป็นค่อยไป เติมลงไปในเรื่องใหญ่ๆ ทำให้ความคิดเชิงสะสมที่ค่อยๆทำด้วยความเชื่อว่าผลงานที่ตนทำนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวงการ เป็นผลงานส่วนเล็กๆที่ค่อยๆเติมไปบนเรื่องใหญ่ที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ใดๆด้วยจากการที่ไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาจากความว่างเปล่า ทุกเรื่องล้วนอาศัยฐานจากงานชิ้นก่อนๆที่ทำมาแล้วทั้งสิ้น

วิธีคิดเชิงสะสมจึงไม่มีคำว่า “ข้าเก่ง one man show” และไม่มีแม้แต่ เ”พื่อท่านคนเดียว All for One”

แต่จะมี “หนึ่งเดียวนี้ทำเพื่อทุกคน One for All” และ “ทุกอย่างเพื่อทุกคน All for All”

การใช้ความคิดเชิงสะสมสามารถช่วยขัดเกลาความอหังการของผู้ทำงานที่มักจะเริ่มต้นงานด้วยความคิดที่ว่า “ฉันจะเปลี่ยนแปลงโลก” ให้กลายมาเป็น “งานของฉันอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเกิดสิ่งดีๆ กับโลก” เสมือนการเติมหยดน้ำอีกหยดหนึ่งลงไปในมหาสมุทรแห่งความรู้

บันทึกนี้เขียนขึ้นเพื่อใช้เตือนใจคนทำงานว่า ความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลก สามารถเป็นจริงได้ ถ้ามีการปลูกฝังวิธีคิดเชิงวิพากษ์และเชิงสะสมไว้เป็นวัฒนธรรมการทำงานแห่งตนอยู่ทุกเมื่อ แล้วความอหังการที่มีก็จะสามารถเปล่งประกายสูงสุดออกมาจนเป็นสไตล์แห่งตนที่ควรค่าแก่การชื่นชมและภูมิใจ ควรค่าและเป็นแบบอย่างที่ควรเอาอย่างสำหรับผู้ตามและผู้อยู่เคียงข้าง

ทีมงานใดก็ตามที่ผู้คนในทีมทำงานได้อย่างนี้ ทีมงานนั้นจะเป็นทีมงานที่ให้งานที่มีประสิทธิผลได้อย่างใจ แถมต่อมาด้วยประสิทธิภาพในการทำงาน

« « Prev : เรื่องสะท้อนใจ

Next : ศรัทธาเปี่ยมล้น » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 Sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กันยายน 2008 เวลา 22:25

    ค่ะ ความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงโลก สามารถเป็นจริงได้ ถ้ามีการปลูกฝังวิธีคิดเชิงวิพากษ์และเชิงสะสมไว้เป็นวัฒนธรรมการทำงานแห่งตนอยู่ทุกเมื่อ

    แ ต่คงต้องมีการปลูกฝัง ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะมาปลูกฝังเมื่อ หยั่งรากลึกแล้ว ก็อาจเหนื่อยค่ะ http://gotoknow.org/blog/goodliving/123555

  • #2 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กันยายน 2008 เวลา 2:28

    สิ่งที่ควรปลูกฝังให้มากๆคืด เรื่อง ความมีวินัยต่อตัวเองค่ะ เมื่อไรมีวินัยต่อตัวเอง ก็จะทำให้รู้จักปลูกฝังวิธีคิดที่เป็นระบบได้ง่ายๆ

    ขอบคุณสำหรับความรู้จากบทความของพี่ค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.14973187446594 sec
Sidebar: 1.185359954834 sec