สืบเนื่องจากอ่อมแซบ
บันทึกนี้ขอเอื้อมไปหยิบเมนูยำสมุนไพรที่ลานสวนป่านำเสนอไว้มาแยกแยะดูในแง่ของอาหารเฉพาะโรคดูกันหน่อย เมนูนี้น่าสนใจกับความเป็นอาหารสุขภาพ มองว่าเป็นเมนูที่ชวนให้ใครที่อยากได้ฤทธิ์อะไรที่เชื่อว่าตัวเองกินขาดกินไม่พอทำกินกันไปได้ ด้วยว่าวัตถุดิบสามารถหาได้จากผักพื้นบ้านหลายอย่าง
สิ่งที่จะแยกแยะก็คงจะเป็นเครื่องปรุงรสกับผักบางตัวที่อยากจะชี้ชวนให้เล็งมุมเพิ่มในการเลือก จะได้แลกเปลี่ยนกับเมนูอาหารชนิดอื่นๆแบบมีทางเลือกได้มากขึ้น อีกทั้งเพื่อเตือนให้ยั้งมือเวลาจะหยิบตักใส่ปากหรือเลือกเปลี่ยนชนิดให้แลกกันได้ลงตัวเหมาะกับตนค่ะ
การยั้งมือในที่นี้มีความหมายอยู่ที่ “ลดตักมาใส่ปากให้น้อยลง มิใช่ยุติการตักมากิน” นะคะ
ลองมาแยกที่เครื่องปรุงรสกันก่อนว่ามีอะไรลบๆที่พึงระวังบ้างไหม เป็นลบในแง่ของโรคสำคัญที่พบบ่อยๆเกี่ยวข้องอยู่ก็แล้วกัน :
เปรี้ยว (มะนาว น้ำมะขามเปียก) : แหล่งให้รสเปรี้ยว 2 แหล่งนี้โอค่ะ…สำหรับคนเป็นเบาหวานที่ไม่มีปัญหาของไต ตา
แต่ถ้ามีปัญหาของไตเสื่อม ตาเสื่อม งดมะขามเปียก หาน้ำผลไม้สดรสเปรี้ยวอย่างอื่นมาใช้แทนซะดีๆ
เค็ม (ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ เกลือ 1-2 ช้อนโต๊ะ) : แหล่งให้รสเค็มนี้ ถ้า้ปรับแยกไว้ให้เติมแบบน้ำจิ้มแทนการใส่คลุกลงไปจะเอื้อโอกาสแห่งความปลอดภัยต่อสุขภาพมากขึ้น มีใครที่ติดรสชาดเค็มจัดก็จะได้คอยดูแลกัน ใครที่ดูแลตัวเองได้เวลากินก็จะปลอดภัยมากขึ้น
ถ้าคลุกปนลงไปในยำทั้งหมดตามปริมาณนี้ เกลือเกินมากกว่าที่กำหนดให้มากมายหลายเท่าเลยเชียว
หวาน (น้ำตาล 1-2 ช้อนชา) : ถ้าทำได้แบบเดียวกับเครื่องปรุงรสเค็ม ก็เหมาะสำหรับการดูแลคนเป็นเบาหวานและว่าที่เบาหวาน ตรงที่ไม่เผลอไปทำให้เกิดน้ำตาลในเลือดเกินให้เสียใจที่ไปเบียดเบียนกันโดยไม่ได้เจตนา ถึงแม้ว่าปริมาณที่กำหนดไว้นี้ไม่ได้มากไปกว่าที่ควรแล้วก็ตาม
มัน (ถั่วลิสงคั่ว 1-2 ช้อนโต๊ะ) : แยกออกจะดีเช่นเดียวกันตรงที่เอื้อโอกาสให้คนเบาหวานที่มีตา ไตแล้ว คนอ้วน คนไตเสื่อมจากอะไรก็แล้วแต่ได้มีโอกาสเลือกไม่ใส่เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับตัวเองได้
ทีนี้มาแยกดูเรื่องผักกันหน่อยน่าจะดีไม่น้อย รายการของยำเมนูที่เสนออยู่นี้มีผักสมุนไพรผสมอยู่ถึง 24 ชนิดทีเดียวเชียวนะ ส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้านซะด้วย ซึ่งดีมากๆ :
ใบแม็ก ใบกระโดนน้ำ ใบมะยม ผักลิ้นปี่ ใบชะพลู ใบว่านกาบหอย ใบขนุนอ่อน หัวปลี ผักอ่อมแซบ ดอกสะเดา ผักสลัด
แตงกวา ถั่วพุ่ม ถั่วงอก คะน้า ยอดมันแกว ยอดบวบลวก ยอดฟักข้าวลวก ยอดเสาวรสลวก ดอกแคกะทิ ดอกแคหางลิง
สะระแหน่ ต้นหอม กระเทียม มะเขือเทศ
แยกแล้วก็พอมีข้อชี้มุมให้มองได้บ้างอย่างนี้เพื่อป้องกันทีเผลอจากความอร่อยของผักของผู้กิน :
สำหรับคนที่เป็นเบาหวาน หรือว่าที่เบาหวาน ก็ให้เล็งระวังจำนวนบริโภคของมะเขือเทศ ต้นหอม ถั่วพุ่มให้มากไว้ เพราะว่าเจ้าผักพวกนี้เพิ่มน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นจากความหวานของตัวมันให้
สำหรับคนที่มีเรื่องกรดยูริกสูงในเลือด ก็ให้เล็งระวังเรื่องของผักยอด ผักหน่อให้มากไว้
สำหรับคนที่ไตเสื่อมนั้น เพื่อให้ได้กินผัก ก็ให้เลือกผักที่จะนำมาทำยำให้เหมาะควรกับตัวก็แล้วกัน สามารถเลือกดูโดยเทียบกับรายการผักที่เคยนำมาเล่าสู่กันฟังก่อนหน้าแล้ว อย่าลืมมองทั้งในแง่่มุมของการมีฟอสฟอรัสต่ำและการมีโปตัสเซียมต่ำกันนะคะ
บันทึกอื่น
1. ชวนมาเรียนรู้เรื่องเค็มๆกันหน่อย
2. ผักที่คนโรคไตวายกินได้ คนเบาหวานควรระวังอะไรมั๊ย
3. กลัวไตไม่่ดี กินผักก็ให้ระวังด้วย
4. สมุนไพรปรุงกลิ่น-รสที่มีผลต่อไต
5. ข้าวเมนูไหนเหมาะกับคนไข้เบาหวาน
6. อีกมุมของผัก-ผลไม้ที่คนเป็นโรคไต-หัวใจ-ความดันโลหิตสูงควรรู้จักไว้
« « Prev : อีกมุมของผััก-ผลไม้ที่คนเป็นโรคไต-หัวใจ-ความดันโลหิตสูงควรรู้จักไว้
Next : ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ไอติม…เกี่ยวกับอะไรกรดยูริกบ้าง » »
2 ความคิดเห็น
อ่อมแซบยังไม่จบครับ
จะทดลองอีกหลายเมนู อิิ อิ
สวัสดีค่ะพี่หมอที่เคารพ ขอบคุณสำหรับเมนูผู้เบาหวานนะคะ ขอนำไปแนะนำคุณพ่อสามีนะคะ
แต่น้องมีเรื่องขอความกรุณาปรึกษาพี่หมอตาค่ะ มีอาการชาผิวหนังที่ขาทั้งสองข้าง รู้สึกหนาคล้ายฉีดยาชา รู้สึกมาหลายวันแล้ว ไม่ทราบว่าเป็นอะไร อ่านในเน็ตก็ไม่แน่ใจ วันนี้จะไปหาหมอที่รพ.มน คิวก็เต็ม อีกอย่างเกรงหมอดุ ว่าขี้กังวล โดนที่รพ.พุทธมาแล้วเรื่องไวรัสตับอักเสบบี เลยแหยงๆๆ อิอิ เรื่องตับอักเสบบี ตรวจซ้ำหลังจากครั้งแรก 6 เดือนไม่พบแล้ว แต่ยังไม่ไม่มีภูมิคุ้มกัน ก็โดนนัดอีก 6 เดือน ขอบคุณพี่หมอตาล่วงหน้าอย่างสูง นะคะ ขอบคุณค่ะ