ตอบหมอเจ๊ เรื่องสืบเนื่องอ่อมจนแซบจริงๆนะ

โดย sutthinun เมื่อ 16 ธันวาคม 2009 เวลา 4:54 ในหมวดหมู่ มหาชีวาลัยอีสาน, สวนป่าฮาเฮ #
อ่าน: 25599

(ผักบุ้งพันธุ์อ่อนหวานรอวันลงกะทะ) พันธุ์นี้มีที่นี่แห่งเดียว

หมอเจ๊ให้แง่คิดละเอียดลึกซึ้งเรื่องการมองผลข้างเคียง ทุกอย่างมีคุณ-มีโทษ โดยเฉพาะการสอดคล้องกับอาการหรือธาตุไฟแต่ละคน เรื่องนี้ศีรษะอโศกเป็นประจำด้านการเรียนและแหล่งเรียนเรื่องนี้ ยามที่เขามาเยี่ยม จะขนอาหารมาเองแล้วลงมือปรุงให้เรารับประทาน(เขาคงตั้งใจมาแนะนำเราทั้งทางตรงและทางอ้อม) ผมก็แอบสังเกตุวิธีปรุง ระหว่างรับประทานร่วมกันเขาก็จะอธิบายสาระเกี่ยวกับการกินการทำ บางทีเขาก็มองหาสิ่งที่เรามีอยู่เอามาทำให้เรากิน-ให้เรารู้ อาจารย์ขวัญดินกับลูกมือจะคอยบอกว่าเจ้านี่กินไ้ด้นะ ดีด้วย ทำยังงี้ๆๆๆๆ..เป็นการเรียนลัดที่ได้ประโยชน์มหาศาลจากกัลยาณมิตร เรายังมีโปรแกรมเย้าเยือนกันอีกหลายยกครับ ใครสนใจเอามือลง อิ อิ..

ไม่ป่วยใกล้ตายก็ไม่ใส่ใจกับตัวเองเท่าไหร่หรอกคนเรา

ยังอวดเก่งทำ-และกินเมนูสารพัดพร่าวิญญาณเหมือนผมที่ผ่านมา

เรารักตัวเองแบบไหน รักแค่ไหน บอกหน่อยคนดี

(ผักชนิดไหนน่าสนใจก็จะนำมาใส่ถังปลูกไว้ตามดูใกล้ๆ)

ตอนที่ผมไปเยี่ยมกลุ่มอาจารย์ขวัญดินที่ศรีสะเกษ เขาก็เตรียมทำอาหารตามตำรับให้เราชิมหลากหลาย พาเราเดินชมแปลงผัก กิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะการดูแลสุขภาพ กิจกรรมเพื่อสังคม เขาอยากให้เราไปนอน5คืน เพื่อเข้าครอสสุขภาพ เร็วๆนี้ชาวเฮมา มีเวลาบ้างอยากจะชวนไปดู พวกเราเหนื่อยกับการเดินทาง จึงขอบายอยากอยู่ในสวนไม่ออกไปไหน แต่ก็อยากให้มวลมิตรเห็นอะไรดีๆจึงชวนไปเยี่ยมฤๅษี ตามแนวทางจัดคนดีให้เจอกัน แต่ก็สัญญากับชาวอโศกว่าจะหาเวลาไปนอนเข้าคร๊อสล้างพิษให้ได้ ทั้งๆที่คิวเขาก็แน่น ใช่จะว่างง่ายๆ แต่สำหรับชาวเฮเขาก็ยินดีจะจัดตารางพิเศษให้ เรื่องนี้จึงยังค้างคาใจ ในหมู่พวกเราจะมีใครมีเวลาว่างถึง7วันนั้นแทบไม่มีเลย เว้นแต่โลกจะแตก พวกเราถึงจะหยุดกันได้ แต่ผมก็จะพยายามนะเผื่อในหมู่เราใครอาจจะมีวาสนา พอมีเวลาให้ตัวเอง สิ่งที่ผมกำลังทำอยู่นี้..เป็นการทำการบ้านก่อนที่จะบุกศีรษะอโศกในเดือนสองเดือนนี้ขอรับ


(ผักบุ้งถังนี้ หลานชูชกมาต้ดไปผัด อีก14 วันต่อมาก็ผัดได้อีกรอบ)

ส่วนเรื่องอ่อมแซบนั้น ตามข้อมูลมาได้นิดหน่อย ดังนี้

  • กลุ่มผักฤทธิ์เย็น เช่น อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ตำลึง ก้านตรง หวานบ้าน หวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่างๆ มะละกอดิบ-ห่าม พญายอ (เสลดพังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ว่านหางจรเข้ ว่านมหากาฬ มะรุม ทูน (ตูน) ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล็อคเคอรี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ผักกาดหอม (ผักสลัด) อีหล่ำ อีสึก (ขุนศึก) ย่านางเขียว-ขาว หมอน้อย ใบเตย รางจืด เหงือกปลาหมอ ลิ้นปี่ ผักแว่น ผักโหบเหบ มังกรหยก ผักติ้ว ดอกสลิด (ดอกขจร) มะเดื่อ มะอึก ดอกแค ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ก้างปลา ใบมะยม ปวยเล้ง ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ เป็นต้น
  • สำหรับผักพาย ใบบัวบก และมะเขือพวง หรือพืชรสขมทุกชนิด เป็นร้อนดับร้อน ถ้าพืชรสขมชนิดนั้นๆ สามารถดับร้อนในตัวเราได้ ร่างกายก็เย็นลง แต่ถ้าดับร้อนไม่ได้ ร่างกายจะยิ่งร้อนมากขึ้นสำหรับพืชรสฝาดและรสเปรี้ยว บางชนิดที่มีฤทธิ์เย็น ถ้ารับประทานมากไป ก็จะทำให้ร้อน และพืชที่มีรสฝาดก็ควรรับประทานคู่เปรี้ยวสำหรับในกรณีที่อากาศร้อน หรือตอนเที่ยงวัน หรือตอนที่ร่างกายกำลังร้อนมาก ต้องระวังอาหารที่หวานจัด เปรี้ยวจัด มันจัด เผ็ดจัด เค็มจัด เพราะจะทำให้ร้อนมากขึ้น อาหารดังกล่าว ถ้ารับประทานในปริมาณที่พอเหมาะในช่วงที่อากาศเย็น เช่น ตอนเช้า หรือในตอนที่ร่างกายเย็น ก็จะเป็นประโยชน์กับร่างกาย
  • กลุ่มผลไม้ฤทธิ์เย็น เช่น มังคุด มะยม แตงโม แตงไทย แคนตาลูป สับปะรด ส้มโอ ส้มเช้ง ส้มซ่า ส้มเกลี้ยง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก แก้วมังกร กะท้อน ลูกหยี เชอรี่ สมอไทย ชมพู่ มะขวิด มะดัน มะละกอดิบ-ห่าม (มะละกอสุกจะร้อนเล็กน้อย) มะม่วงดิบ มะขามดิบ มะขามสุก (ร้อนเล็กน้อย) หมากเม่า หมากผีผ่วน น้ำมะนาว น้ำมะพร้าว ลูกท้อ แอปเปิ้ล สาลี่ ลางสาด สตรอเบอรี่ ทับทิมขาว ระกำ (ร้อนเล็กน้อย)

  • การปรุงอาหารฤทธิ์เย็นถอนพิษร้อนการทำอาหารให้มีฤทธิ์เย็นเพื่อแก้ภาวะร้อนเกิน มีเทคนิคที่สำคัญก็คือ ใช้เมนูอาหารที่เราเคยรับประทานปกติทั่วไป แต่ลดปริมาณของสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนลงหรือลดความเข้มข้นของรสชาติอาหารลงมาให้เหลือ 10-30% ของที่เคยปรุงปกติทั่วไปยกเว้นในผู้ป่วยบางคนอาจต้องใช้สิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนหรือการปรุงรสชาติน้อยกว่า 10-30% หรืออาจไม่ใช้เลย ถ้าการปรุงฤทธิ์ร้อน 10-30% หรือมากกว่า ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยแย่ลง แต่ถ้าการปรุงฤทธิ์ร้อนน้อยกว่านั้น ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยดีขึ้น ควรใช้การปรุงน้อยไปก่อน จนกว่าร่างกายจะปรับสภาพ สามารถรับการปรุงที่มากได้ จึงค่อยๆ ปรับเพิ่ม ถึงกระนั้นก็ตาม ก็ไม่ควรจะปรุงรสจัดมากเกินไป เพราะอาหารรสจัดจะเป็นผลเสียต่อร่างกายผู้เขียนพบว่า อาหารที่ทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งสามารถบำบัดรักษาโรคและฟื้นฟูสุขภาพได้ดีที่สุดในยุคปัจจุบันนี้คือ อาหารที่ปรุงด้วยสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนหรือปรุงรสชาติไม่เกิน 30% ของที่เคยปรุงปกติทั่วไป โดยลดโปรตีนเนื้อสัตว์และผลิตผลของสัตว์ให้เหลือน้อยเท่าที่จะทำได้ เพราะโปรตีนจากสัตว์มีฤทธิ์ร้อนมาก ถ้าไม่ใช้โปรตีนจากสัตว์ หันมาใช้โปรตีนจากพืชแทน ก็จะยิ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพ เพราะโปรตีนจากพืชมีฤทธิ์เย็นกว่าโปรตีนจากสัตว์ แต่สำหรับผู้ที่ยังหลีกเลี่ยงหรืองดโปรตีนจากเนื้อสัตว์ไม่ได้ ก็ควรจะลดเนื้อสัตว์ใหญ่ หรือเนื้อสัตว์ที่มีไขมันมาก หรือเนื้อสัตว์ที่ใช้สารเร่ง-สารเคมี-ยาปฏิชีวนะ เพราะเนื้อสัตว์เหล่านี้มีฤทธิ์ร้อนมาก จะเผาทำร้ายร่างกายเรา ถ้าเลี่ยงหรืองดเนื้อสัตว์ไม่ได้ ก็ควรจะใช้สัตว์เล็กสัตว์น้อย เช่น ปลา เป็นต้น ควรปรุงในลักษณะต้มหรือนึ่ง จะมีน้ำมาช่วยไม่ให้แห้งหรือร้อนมากเกินไป
  • สำหรับการปรุงอาหารให้มีฤทธิ์ร้อนนั้น ก็ใช้เมนูอาหารที่มีทั่วไป เพียงแต่เพิ่มสิ่งที่มีฤทธิ์ร้อนเข้าไปมากขึ้น และปรุงโดยใช้การผัด ทอด ปิ้ง ย่าง อบ คั่ว หรือเผา ใช้ไฟแรง ผ่านไฟนานๆ หรือปรุงผ่านไฟหลายๆครั้ง หรือทำให้อาหารมีลักษณะแห้ง กรอบ อาหารก็จะมีฤทธิ์ร้อนมากขึ้นส่วนการปรุงอาหารให้มีฤทธิ์เย็นนั้น ควรปรุงโดยเน้นการใช้ของสดฉ่ำน้ำ หรือปรุงผ่านไฟอ่อนถึงปานกลาง ใช้ระยะเวลาผ่านไฟสั้นแค่พอสุก (ระยะเวลานับจากน้ำเดือดประมาณ 5-15 นาที ตามวัตถุที่นำมาปรุงว่าสุกเร็วหรือช้า) เป็นการปรุงในลักษณะยำ (ไม่ใส่ของหมักดอง หรือใส่แต่น้อย เพราะมีฤทธิ์ร้อน), ซุป, ก้อย, ลาบ (ไม่ใส่พริกหรือข้าวคั่ว หรือใส่แต่น้อย เพราะมีฤทธิ์ร้อน) ลวก, ต้ม, นึ่ง หรือผัดด้วยน้ำ
  • ข้อสังเกตที่ควรรู้ในการใช้ความเค็ม ซึ่งจะมีฤทธิ์ร้อนในการปรุงอาหาร เรียงลำดับจากร้อนน้อยไปหามาก ดังนี้ เกลือ-ซีอิ๊ว-เต้าเจี้ยว-ปลาร้าเจ-กะปิเจ-แทมเป้-แหนม-ปลาจ่อม-ปลาเค็ม -เนื้อเค็ม-น้ำปลา-ปลาร้าจากปลา-กะปิจากสัตว์ ดังนั้น คนในยุคนี้หรือผู้ที่มีภาวะร้อนเกิน ควรใช้เกลือหรือซีอิ๊วในการปรุงอาหาร ถ้าจะให้ดีที่สุด คือใช้เกลือปรุงอย่างเดียว ควรงดหรือลดตัวอื่นๆ เท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ทำได้ไม่ง่ายนัก เพราะต้องฝืนกับความเคยชิน และกิเลสติดรสชาติของแต่ละคน แต่ก็ไม่เกินความสามารถของคนที่จะฝึกให้ชิน และมีความสุขกับการใช้เกลืออย่างเดียวในการปรุงอาหาร ผู้เขียนพบว่า ผู้ป่วยที่ฟื้นฟูสุขภาพได้เร็ว ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงและอายุยืน ส่วนใหญ่รับประทานอาหารที่ปรุงด้วยเกลือเป็นหลัก โดยปรุงรสไม่เค็มจัด

    อ่อมแซบ(เบ็ญจรงค์) โด๊ปน้ำไว้แล้ว มาเมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

    วิธีการทำยำสมุนไพร
    ผักยำ 24 ชนิด ได้แก่
    1.ใบเม็ก มีรสฝาดและมีเบต้าแคโรทีนสูง
    2.ใบกระโดนน้ำ มีรสฝาดและมัน มีเบต้าแคโรทีนสูง ควรทานคู่กับอาหารที่ให้โปรตีน
    3.ใบมะยม มีรสมันและจืด มีสรรพคุณแก้ไข บำรุงประสาท ขับเสมหะ บำรุงอาหาร
    4.ผักลิ้นปี่ แก้ท้องเสีย แก้ไข้ ขับเสมหะ แก้หืด แก้ไอ
    5.ใบชะพลู มีรสเผ็ดเล็กน้อย แก้ธาตุพิการ ปวดท้อง จุกเสียด บำรุงธาตุ คุมเสมหะให้ปกติ

    6.ใบว่านกาบหอย มีรสจืดและเย็น มีสรรพคุณแก้ช้ำใน
    7.ใบขนุนอ่อน ช่วยให้เจริญอาหาร
    8.หัวปลี มีรสฝาด มีสรรพคุณแก้ท้องเสีย บำรุงน้ำนม แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้โรคเกี่ยวกับลำไส้ แก้โรคโลหิตจาง
    9.ผักอ่อมแซบ มีรสจืดและเย็น ประกอบด้วยสารต้านอนุมูลอิสระสูง
    10.ดอกสะเดา มีรสขมจัด ช่วยแก้ไข้ บรรเทาความร้อน ช่วยให้เจริญอาหาร มีเบต้าแคโรทีนและวิตามินซีสูง

    11.ผักสลัด มีรสจืดและเย็น ช่วยแก้ท้องผูก

    12.แตงกวา มีรสเย็น เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยบำรุงธาตุ แก้ไข้ แก้กระหายน้ำและขับปัสสาวะ
    13.ถั่วพุ่ม มีรสมันและโปรตีน ช่วยให้เจริญอาหาร
    14.ถั่วงอก มีรสเย็น วิตามินซี วิตามินบี 12 สารเลซินทินที่ช่วยบำรุงประสาท สารชะลดความแก่ที่เรียกว่า “ออซินัน” มีกรดโปรตีนย่อยง่าย
    15.คะน้า มีสารต้านมะเร็งสูง ทั้งวิตามินซีและเบต้าแคโรทีน นอกจากนี้ ยังมีโฟเลตและธาตุเหล็ก

    16.ยอดมันแกวลวก มีรสมันและมีวิตามินเอสูง
    17.ยอดบวบลวก มีรสจืดและเย็น ช่วยแก้ร้อนใน
    18.ยอดฟักข้าวลวก มีรสหวานเย็น บรรเทาความร้อยในร่างกายและมีสารต้านมะเร็งสูง

    19.ยอดเสาวรสลวก เป็นยาบำรุงหัวใจและเลือด แก้โรคเหน็บชาและเป็นยาถ่ายพยาธิ
    20.ดอกแคกะทิและแคหางลิง ดับพิษร้อน ช่วยถอนไข้

    21.สะระแหน่ มีกลิ่นหอมเย็น แก้หวัด ช่วยขับเหงื่อ ระบายความร้อน แก้ปวดท้อง ขับลมในลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร รักษาอาการอ่อนเพลีย บรรเทาอาการปวดไมเกรน หลอดลมอักเสบและหอบหืด
    22.ต้นหอม แก้หวัดคัดจมูก
    23.กระเทียม ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด
    24.มะเขือเทศ เป็นยาระบายอ่อนๆ ช่วยย่อย แก้กระหาย ช่วยลดรอยเหี่ยวย่นทำให้ผิวพรรณสวยงาม มีวิตามินสูง มีสารไลโคปีน ซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็งและโรคหลอดเลือดหัวใจ


    เครื่อ
    งปรุงรส
    1.มะนาว 1-2 ผล
    2.มะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ (คั้นเอาแต่น้ำ)
    3.ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
    4.เกลือ 1-2 ช้อนโต๊ะ
    5.น้ำตาล 1-2 ช้อนชา
    6.ถั่วลิสงคั่ว 1-2 ช้อนโต๊ะ
    7.น้ำเปล่า 1/2 - 1 ถ้วย


    วิธีทำ
    1.นำผักสดทั้งหมดมาล้างน้ำให้สะอาด พักไว้ให้สะเด็ดน้ำ (ส่วนปริมาณและชนิดของผักให้ใส่ตามความชอบ)
    2.หั่นผักสด (ยกเว้นถั่วงอก) และผักที่ลวกแล้วให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมาใส่รวมกันในชาม
    3.ปรุงรสด้วยเครื่องปรุงที่เตรียมไว้
    4.
    หั่นมะเขือเทศใส่ คลุกให้เข้ากัน และปรุงรสเพิ่มเติมตามใจ

ต้นอ่อมแซบ (เบญจรงค์ ๕ สี หรือ ตำลึงหวาน หรือ บุษบาริมทาง)
ชื่อวิทยาศาสตร์        Justicia Gangetica
ชื่อวงศ์                   Acanthaceae
สรรพคุณ                บำรุงเลือด บำรุงกำลัง บำรุงสายตา
ปรุงอาหาร              ผัดไฟแดง แกงจืด แกงอ่อม ชุปแป้งทอด ลวก-กินสดจิ้มน้ำพริก
ส่วนที่กินได้            ดอก ใบ ยอดอ่อน ก้าน ใบ

วิธีการปลูก
๑) นำกระถางกระดาษมาเจาะรูที่ก้นเพื่อระบายน้ำ
๒) ใส่ดินให้พอดี
๓) เลือกต้นอ่อมแซบที่จะมาปลูกโดยการเลือกกิ่งแก่ๆ ริดใบที่แก่ออก เหลือใบอ่อนบ้าง
๔) ปักลงดิน พร้อมรดน้ำ

เนื่องจากพี่โสภาเกรงว่าเด็กๆ จะไม่ทราบถึงความอร่อยในการทานผัก เราจึงมีการจัดการสอนการทำอ่อมแซบชุบแป้งทอดให้เด็กๆ ได้มีโอกาสลองชิมกันด้วยคะ

วิธีการทำอ่อมแซบชุบแป้งทอด
๑) เลือกยอดอ่อน นำมาล้าง ซับให้แห้ง
๒) นำแป้งทอดกรอบ ผสมน้ำเย็น (อันหลังเป็นเคล็ดลับที่ป้าปทุมบอกเด็กๆ ค่ะ)
๓) รอน้ำมันร้อน ไฟกลางๆ
๔) ดำเนินการจิ้มจุ่ม (นำยอดอ่อน จุ่มลงแป้งที่ผสมไว้ แล้วลงน้ำมันทอด)

ตอนนี้ถ้าทราบว่าผักอะไรกินได้  อันดับแรกจะเลือกกลุ่มร้อนหรือเย็น  ถ้ากลุ่มเย็นจะเด็ดใบมากลวกชิม เพื่อหาคุณสมบัติเบื้องต้น เรื่องรสชาติ ความอ่อนนิ่ม หรือกรอบ หรือเหนียว ฯลฯ เรียกว่าเอาลิ้นสัมผัส แล้วค่อยคิดวิธีนำมาประกอบอาหาร เพื่อจะได้หลุดพ้นจากเมนูดั่งเดิมทั่วไป ต่อไปอาจเป็นเมนูเฉพาะตัวเฉพาะโรคของแต่ละคน กำลังสนุกกับการทำเรื่องนี้ แต่ความรู้เรายังไปไม่ถึงเรื่องแร่ธาตุและคุณสมบัติด้านลบอย่างที่หมอเจ๊เตือน จะพยายามสืบถามผู้รู้มาให้คำตอบต่อไปนะครับ

« « Prev : อ่อมแซบจานร้อน

Next : จดหมายรักถึงลุงเอก » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 เวลา 8:54

    ขออนุญาตเก็บข้อมูลค่ะ  ขอบพระคุณพ่อครูค่ะ  ผักเหล่านี้น่าจะปลูกง่าย อยุู่ง่ายตามสภาพอากาศบ้านเรา แถมมีประโยชน์หลากหลาย  ป้าหวานอยากจะปลูกบ้างแล้ว และเชื่อว่า หลายๆคนอ่านแล้วอยากทำเหมือนกันค่ะ แคว๊กๆๆ
    รู้สึกว่าชีวิตนี้ทำให้ง่ายก็ง่าย ทำให้ยากก็ยาก จากบันทึกต่างๆของพ่อครู  ขอบคุณอีกขอรับ..เจ้าแห้วจะไม่ลืมเลย (พวกเจ้าแห้วจากพล นิกร กิมหงวน คนละคนกับ แห้วศรี ณ บ้านเฮ ขอรับ)

  • #2 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 16 ธันวาคม 2009 เวลา 13:25

    จ๊าก แคว๊กๆๆ มีแห้วพิเศษมาร่วมขบวนแหล่ว แห้วศรีเอ๊ย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.27458214759827 sec
Sidebar: 0.45799398422241 sec