ยำถั่วพูของครูบา

อ่าน: 3890

วันนี้ไปชวนเหล่าแม่ครัวของร.พ.คุยเรื่องขั้นตอนคุณภาพในการผลิตอาหารตามแนวทางสากล แล้วก็เลยได้คุยเรื่องการสอนคนไข้ตามสโลแกนของคนสวยแต่เจ็บที่มีอักษรตัวแรกนำหน้าชื่อว่า “ส”  สโลแกนนี้ในยุคทองของเธอหลายท่านคงเคยได้ยินกรอกหูอยู่ทุกๆวัน  คุยแล้วก็นึกแวบถึงการกินมังสวิรัติของพ่อครูบาและพี่บู๊ดไปด้วย อืม อาหารมังสวิรัตินี่เข้าแก๊ปกับสโลแกนนี้ได้อย่างลงตัวเลยเชียว

นึกถึงแล้วก็เอ๊ะ สโลแกนนี้จะช่วยอะไรพี่ท่านทั้งสองได้อีกหรือเปล่า  วันก่อนนี้ตั้งใจจะนำเรื่องเมนูยำถั่วพูของพ่อครูบามาแยกแยะดูหน่อย วันนี้็ใช้โอกาสคุยเรื่องนี้ยกมาใช้เรียนรู้ประโยชน์ของสโลแกนนี้ดูหน่อยซะเลยดีกว่า

พ่อครูบาบรรยายว่าสูตรยำถั่วพูที่ปรุงขึ้นนั้นใส่ถั่วพู กุ้งลวก งาดำคั่ว ไข่ต้ม หอมซอย ตะลิงปลิง พริกสด ใบสะระแหน่ ใบชะพลูเป็นส่วนผสม ใช้น้ำปลาเป็นเครื่องปรุงรส

จะชวนให้ตามมาเรียนรู้วิธีใช้สโลแกนและวิธีแปลงสโลแกนนำไปใช้ ลืมบอกเล่าเก้้าสิบกันไปว่าสโลแกนนี้นำหลักการวิเคราะห์อาหารของนักโภชนาการมาประยุกต์ใช้อย่างง่ายๆไว้ค่ะ

มาดูวิธีของนักโภชนาการกันค่ะ เวลาที่เขาจะปรุงอะไรให้ได้แคลอรี่อย่างไร เขาใช้การตวงส่วนผสมค่ะ เวลานำวิธีของเขามาประยุกต์ใช้ต่อตามหลักสโลแกนดังกล่าวก็ใช้วิธีเขี่ยๆวัตถุดิบมารวมๆกันให้มองเห็นภาพของหมวดอาหารก่อนถูกนำมาผสมกันค่ะ

เมื่อใช้หลักนี้ไปเขี่ยๆยำถั่วพูตามภาพจะได้ส่วนของผัก ไข่ และกุ้ง เขี่ยเแล้วก็มองเห็นหมวดอาหารหลักๆ 3 หมวดด้วยกันเนอะค่ะ

การเขี่ยด้วยตาแล้วมองๆจนเห็นหมวดอาหารที่ต้องการแล้วตักกับข้าวเป็นสัญชาตญาณติดตัวของผู้คนอยู่โดยอัตโนมัติ  สำหรับคนกินมังสวิรัติ โชคดีกว่าที่ไม่ต้องเขี่ย แค่ไม่ปนกุ้งลงไปผสม ก็มองเห็นหมวดอาหารง่ายแล้วเนอะค่ะ

ทีนี้มาดูเวลา่กินข้าว  ส่วนใหญ่จะตักข้าวใส่จานก่อน ตักกับข้าวราดลงบนข้าวทีหลัง เป็นกันอย่างนี้ส่วนใหญ่เช่นเดียวกันไม่ว่าจะกินมังหรือไม่มัง

ทีนี้มาดูเคล็ดลับที่ฉันแนะนำให้ใช้ว่าให้กินพืชหนักกว่าสัตว์  เมนูนี้ของพ่อครูเข้าเค้าเป๊ะกับความหมายพืชมากกว่าสัตว์ที่แนะนำไว้ แล้วยิ่งตักกับราดข้าวยิ่งเข้าเค้าหนักพืชแน่ๆอยู่แล้ว   ยิ่งใครกินข้าวมากกว่ากับยิ่งไม่พูดถึงทำตรงเคล็ดลับที่บอกได้ร้อยปูเซ็งเต็ม

อ้าวแล้วมีอะไรอีกยังงั้นหรือจึงนำเรื่องสโลแกนมาเล่า มีอีกค่ะมีอีก ไม่งั้นก็คงไม่นำมาเล่าสู่กันฟังค่ะ เรื่องที่มีอยู่คือ สำหรับคนที่หนักกินพืช(รวมข้าว)นั้น ยังมีเรื่องต้องระวังกับอาหารหมวดข้าว แป้งกันต่่อ

ใช่แล้วฉันกำลังบอกว่า เคล็ดลับเรื่อง “กินพืชหนักกว่าสัตว์” นั้นยังมีเรื่องต่อ ในประเด็นของเรื่องอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของกรดยูริกนะคะ

วันนี้นำมาเพิ่มให้เพื่อปรับต่อ แล้วจะได้ไม่ต้องลุ้นกับผลตรวจสุขภาพเรื่องเลือดหวานขึ้นกัน คนที่เลือดไม่หวานอยู่แล้วยิ่งดีใหญ่พาตัวห่างออกมาได้อีกไกลเลยค่ะ

สโลแกนที่ว่าคือคำนี้ “ผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่ง”  เป็นเคล็ดลับที่นำมาบอกต่อจาก “กินพืชมากกว่าสัตว์”  2 เคล็ดลับนี้้เมื่อนำมาใช้ร่วมกันให้แปลความเข้าใจอย่างนี้นะคะ  “ในส่วนผักครึ่งหนึ่งเป็นผักล้วนๆไม่รวมข้าวและผลไม้อยู่ด้วย”

กินพืชมากกว่าสัตว์ จึงมาสู่การได้อาหารจากผักครึ่งหนึ่ง โดยมีข้าว ผลไม้และอย่างอื่นอยู่ในส่วนอีกครึ่งหนึ่งของมื้อนั้นๆนะคะ

กินอย่างนี้ได้ เลือดที่หวานจะลดหวานลงไปได้มากมายค่ะ

ปรับลดกินอย่างนี้ได้ ทีละมื้อ คนที่อ้วนจะลดอ้วนลงไปได้อีกมากมายค่ะ

กลับไปดูที่การตักยำถั่วพูราดข้าวกันอีกทีสำหรับคนว่าที่เบาหวานนะคะ  จะกินให้ได้ผักครึ่งหนึ่งอย่างอื่นครึ่งหนึ่งแบบเมนูมังสวิรัติ ก็ต้องลดข้าวลง เพิ่มยำถั่วพูที่เคยกินขึ้นไปอีกให้กลายเป็นยำถั่วพูมากกว่าข้าวใช่ไหมละคะ และเพื่อไม่ให้โปรตีนขาด มื้อนี้ก็จำเป็นต้องเพิ่มไข่เข้าไปแทนส่วนของข้าวที่ลดลงไปด้วยเช่นกัน

อ้อ แล้วก็อย่าลืมนะคะ ดูเรื่องผักเอาไว้ให้ห่างเรื่องของไตซะด้วย สำหรับคนที่เสี่ยงโรคไตหรือเป็นโรคไตไปแล้ว

ขอชวนกันมาดูเมนูที่เคยทักท้วงพ่อครูไว้ในเรื่องเติมฟักทองลองวิชากันดูหน่อย

พอมองออกกันหรือยังว่าทั้งๆที่เมนูนี้ได้กินพืชมากกว่าสัตว์อยู่แล้ว ทำไมฉันจึงยังทักและท้วงว่าอย่ากินอย่างนี้เลยเพราะจะทำให้เลือดมันหวาน

ก่อนจบขอชวนพ่อครูไปอ่านเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงอีกครั้งค่ะ ตอนนี้ลองใคร่ครวญใหม่กับเรื่องนี้ในอีกมุมจะดีมากๆ ขอชวนให้ใคร่ครวญจนเข้าใจหลักคิดที่พ่อหลวงได้แฝงนัยไว้  ใคร่ครวญให้หลายมุมแล้วจะเข้าใจว่าทำไมฉันจึงพูดเรื่องเบาหวานและเศรษฐกิจพอเพียงในวันที่ไปเยี่ยมคณะของอุ๊ย

หลักคิดนี้แหละค่ะที่กำลังชี้ชวนให้ใคร่ครวญกับมัน “ความพอประมาณ ความมีเหตุมีผล การมีภูมิคุ้มกัน” เป็นหลักคิดที่ฉันใช้กับงานฉันมาตลอดเลยนะคะ ขอบอก

ฉันเคารพองค์่พ่อหลวงก็เป็นเพราะพระองค์ท่านลึกซึ้งยิ่งนัก ในทุกห้วงอณูของความคิดพระองค์ท่านมีแต่ความรักที่มอบให้กับทุกผู้คน สมแล้วที่เป็นพระราชบุตรของสมเด็จพระบิดาแห่งการแพทย์ไทย

แล้วทุกๆความคิดของพระองค์ช่วยคนและสังคมได้ในทุกสถานการณ์ได้ด้วย ขอเพียงแต่คนเข้าใจความนัยของความคิดที่พระองค์ท่านได้แฝงเอาไว้เท่านั้นเอง

บันทึกอื่น

1. เคยได้ยินคำนี้ไหม “ผักครึ่งหนึ่ง อย่างอื่นครึ่งหนึ่ง”

2. ชวนมาทำความรู้จักพืชอาหารเพื่อปรับฐานความเข้าใจให้ตรงกันก่อนค่ะ

3. สุดแต่ใจจะไขว่คว้า

3. รวบยอดไว้หน่อย….กินยังไงให้ห่างไกลเก๊าท์

« « Prev : ชา กาแฟ ช็อกโกแลต ไอติม…เกี่ยวกับอะไรกรดยูริกบ้าง

Next : ไมโครเวฟกับไข่ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 7 มกราคม 2010 เวลา 9:31 (เช้า)

    ความรู้-ความก้าวหน้า ในเรื่องอาหารการกินนั้นสำคัญนัก เพราะมันเป็นที่มาของ “พลัง” และ “พัง” มานักต่อนักแล้ว
    การเรียนเชิงปฏิบัติโดยมีผู้สันทัดกรณีคอยตะล่อม
    ช่วยให้การปรับเปลี่ยนเรียนรู้ตามสภาพจริงปลอดโปร่งแถมสนุกด้วย
    นับเป็นก้าวหนึ่งของชาวเฮ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.032938957214355 sec
Sidebar: 0.058635950088501 sec