ปรากฏการณ์นกกะปูด
อ่าน: 4422ที่ตั้งเมืองในอีสานหลายแห่งอยู่ใกล้เคียงกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษที่เลือกสถานที่เช่นนี้ ประโยชน์เกิดขึ้นมากมายจนถึงปัจจุบัน เมืองดังกล่าว เช่น ขอนแก่น โคราช นครสวรรค์ อุดรธานี ร้อยเอ็ด……
ที่ขอนแก่นเองมีแหล่งน้ำซึ่งเป็นที่ลุ่มอยู่รอบเมือง เช่นตะวันตกกมีหนองโคตร ทิศใต้มีบึงแก่นนคร ทิศเหนือมีบึงทุ่งสร้าง ตะวันออกมีบึง…. แหล่งน้ำขนาดใหญ่เหล่านี้ในสมัยโบราณเป็นแหล่งน้ำอุบโภค บริโภค ใน ปัจจุบันพัฒนาเป็นแหล่งพักผ่อน สวนสาธารณะ เป็นแหล่งรับน้ำเสีย น้ำทิ้ง น้ำโสโครกของตัวเมืองทั้งหมด
และที่สำคัญอีกประการปนึ่งคือเป็นแก้มลิง… รองรับน้ำส่วนเกินยามฝนตกมาก เขื่อนอุบลรัตน์จำเป็นต้องระบายน้ำทิ้งเพราะเกินกำลังความสามารถในการเก็บกัก หรือระบายตามหลักการจัดการน้ำเพื่อให้มีพื้นที่รับน้ำใหม่ที่ไหลเข้ามาตลอด ยามเกิดมีพายุใหญ่เข้าช่วงปลายฤดูกาลฝน น้ำก็จะท่วมบึงทุ่งสร้าง เจิ่งนอง ภาพข้างบนนั้น บริเวณว่างๆนั้นคือแหล่งรับน้ำดังกล่าว
บริเวณบึงทุ่งสร้างนี้เป็นที่สาธารณะ ยามฤดูแล้งก็เป็นที่เลี้ยงวัวควายของชาวบ้าน (เมืองรุกหมู่บ้านเดิม)ของหมู่บ้านใกล้เคียง เมื่อเป็นที่สาธารณะก็เป็นที่หมายตาของกลุ่มคนยากจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน หรือไม่มีที่พักอาศัย เริ่มเข้ามาสร้างเพิงเล็กๆ จาหนึ่งหลังเป็นสอง เป็นสาม….
เทศบาลเมืองขอนแก่นไหวทันจึงเข้ามาจัดการไม่อนุญาตให้คนยากจนเหล่านั้นเข้ามาพักอาศัย แต่ผมไม่ทราบว่าเขาจัดการทางออกให้กลุ่มคนเหล่านั้นอย่างไร แต่เศบาลก็เอาแทรกเตอร์ใสขุดร่องน้ำใหญ่รอบขอบบึงเพื่อสร้างอุปสรรคในการที่คนจะเข้าไปอีก
การกระทำดังกล่าวเกิดผลหลายอย่าง ขอกล่าวในสิ่งที่ผมคิดว่าดี คือ เมื่อเป็นพื้นที่ว่างเปล่าไม่มีวัวควายเข้ามาอีก ไม่มีชาวบ้านบุกรุกเข้าไปสร้างเพิงพัก นานวันเข้าต้นไม้ก็เติบโต สารพัดชนิด ตั้งแต่ไมยราบยักษ์ ไปจนถึงต้นจามจุรี โดยเฉพาะจามจุรี ใหญ่เอ๊า ใหญ่เอา รอบๆรั้วบ้านจัดสรรที่ผมอาศัยอยู่ติดบึงนี้ ต้นไม่สารพัดเล็กใหญ่ เติบโตตามธรรมชาติของเขา บ่อยครั้งที่เห็นชาวบ้านมาเก็บเอาไปกิน บ่อยๆ เด็กๆก็มายิงกะปอมบ้าง ….
สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามการเพิ่มขึ้นของจำนวนและชนิดต้นไม้ในบึงแห่งนี้คือ สัตว์ มีมาอยู่อาศัย และมากขึ้น มากขึ้น ต่างบ่งบอกการมาอยู่โดยการส่งเสียงให้ผู้อาศัยในบ้านจัดสรรแห่งนี้ได้เสพสุขตั้งแต่เช้ามืดยันค่ำมืด ทั้งที่อยู่อาศัยประจำ จนถึงผู้มาเยือน แล้วจากไป
หนึ่งในผู้อยู่อาศัยประจำคือนกกะปูด สองสามคู่…
วันนั้นฝนตกหนัก ต้นมะขามหวานเตี้ยๆใต้ต้นจามจุรีที่ผมปล่อยให้ต้น “มันสามสี” ที่ผมขอแบ่งเอามาจากชาวบ้านดงหลวง เอามาปลูกใว้หลังบ้าน งอกงามเลื้อยขึ้นไปปกคลุมต้นมะขามหวานจนมองไม่เห็นต้นมะขามเลย กลายเป็นพุ่มใหญ่ นี่คือบ้านจัดสรรของเจ้ากะปูด ตัวนี้ วันนั้นเขาเปียกฝน เมื่อฝนหยุดเขาก็โผล่ออกมาตรงช่อง สลัดน้ำฝน แล้งยืนผึ่งขนปีกอยู่พักใหญ่ เมื่อเขารู้ตัวว่าเราแอบมองเขา และถ่ายรูปเขา ก็หลบเข้าไป
นกกะปูดจะอยู่ในพื้นที่ที่มีความอุดมของสัตว์เล็กสัตว์น้อยทั้งหลาย เพราะนกกะปูดจะกินสัตว์เล็กๆ …
การปรากฏตัวของนกกะปูด แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่บึงทุ่งสร้าง หลังบ้านพักผม..