เมืองไทยใหม่เอี่ยม๓ (นิวไทยแลนด์ ตอน แก้น้ำท่วมแบบเหนื่อยใจ)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 3 December 2011 เวลา 6:44 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1643

เมืองไทยใหม่เอี่ยม๓ (แก้น้ำท่วมแบบเชื่อมโยงทั่วประเทศ)

ผมได้นำเสนอแนวคิดต่อปัจเจกและสาธารณะชนในเวทีต่างๆอย่างต่อเนื่องมายาวนานนับสิบปี ในเรื่องแก้น้ำท่วมอย่างถาวรที่เชื่อมโยงทั่วประเทศ (ไม่แต่เฉพาะกทม. ..เมืองคนรวย เท่านั้น) แต่ความคิดของผมไม่ดังเป็นพลุแตกเหมือนของท่านอื่นๆ

อาจเพราะผมเป็นเพียง “ครูบ้านนอก…ดร.รากหญ้า” ที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักในวงกว้าง ซึ่งทำให้การนำเสนอไม่น่าเชื่อถือไปโดยปริยาย ..แม้ในวงแคบๆที่พอมีเวทีอยู่บ้าง

ผมได้สังเกตมานานแล้ว เห็นว่าเมืองไทยเรา form สำคัญกว่า substance เสมอ (ดจร. ออกอุงกิดกะเขาซะหน่อย เด๋วจะหาว่าพูดเป็นแต่ไทย ลาว และขอมโบราณ ดังที่ชอบศึกษา)

แนวคิดหลักในการป้องกันน้ำท่วมในอดีตดังกล่าวเหล่านั้นผมคิดเอาเองทั้งสิ้น ไม่ได้ลอกหรือเลียนแบบผู้ใดมา แต่ในวันนี้ได้อ่านฟังซ้ำแนวคิดของ “ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำ” หลายท่านในสื่อต่างๆ ก็จำได้ว่ามันคล้ายกับความคิดเก่าของเรา เพียงแต่มันเป็นมุมมองย่อยเฉพาะช่องของท่าน ที่ผมได้เสนอแบบเชื่อมโยงกันไว้หมดแล้ว (บุคคลระดับท่านเหล่านั้นคงไม่ลอกเลียนแนวคิด”ครูบ้านนอก”อย่างผมหรอก มันคงเป็นเรื่องบังเอิญเสียมากกว่า)  

แนวคิดป้องกันน้ำท่วมที่ผมได้นำเสนอมานานดังกล่าว วนเวียนอยู่สามสี่ห้าหกประเด็น ..เช่น

1) ขุดคลองก้างปลาเชื่อมแม่น้ำลำคลองสายสำคัญทั่วประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อการผันน้ำซึ่งกันและกัน  (น้ำท่วมลุ่มน้ำใด ก็ผันออกไปสู่ลุ่มน้ำอื่นได้ แถมเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำและการชลประทานไปในตัว)

2) วางแผนให้คลองก้างปลาเหล่านี้ไหลผ่านแอ่งน้ำธรรมชาตินับหมื่นแห่งที่กระจายตัวอยู่ตามภูมิประเทศ ซึ่งอาจเป็นแอ่งน้ำขัง หรือ แอ่งน้ำแห้งก็เป็นได้ (ส่วนใหญ่เป็นแอ่งน้ำแห้งที่ถูกล้อมด้วยขอบสูง…ซึ่งต้องทำการเจาะระยะสั้นอ้อมเข้าไปหา)  จะเท่ากับว่าเรามีอ่างกักเก็บน้ำนับหมื่นแอ่งทั่วประเทศ ที่จะคอยซับน้ำท่วมยามวิกฤต ส่วนยามปกติก็เป็นแอ่งชลประทาน และป้อนอุตสาหกรรมท้องถิ่น

3) ก่อนสร้างถนนสูง ต้องศึกษาเส้นทางน้ำ และความลาดเอียงของภูมิประเทศในภาพรวม ถ้าไม่คิดล่วงหน้า ถนนยิ่งสูงน้ำจะยิ่งท่วมถนน ช่วยให้น้ำท่วมบ้านเมืองมากขึ้น และยังดัดแปลงเชิงทำลายสิ่งแวดล้อมได้มากหลายด้าน เช่น แล้งกว่าปกติ ดินเค็มกว่าปกติ (ทำให้นักวิชาการถนนและนักเสียดสีอาชีพเย้ยหยันผมหลายคน แต่วันนี้เริ่มพัฒนาสมองมาฟังกันบ้างแล้ว เพราะเห็นตัวอย่างจะๆกันมากครั้ง)  แต่การดัดแปลงให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็ย่อมทำได้..ถ้ารู้จักคิดสักหน่อย

4) ลดพื้นที่ทำไร่นาลงให้เหลือเพียงพอกินในประเทศ (ก็ถูกนักเกษตรด่าเอาอีก) แล้วเอาพื้นที่มาปลูกสวนผลไม้หรือป่าไม้พรรณหลากหลาย โดยเฉพาะตามแหล่งพื้นที่รับและซับน้ำ ทำแบบนี้นอกจากกันน้ำท่วมได้มากแล้วยังลดสภาวะโลกร้อน ได้คาร์บอนเครดิท และมีรายได้มากขึ้นด้วย (ทำนาได้กำไรไร่ละ 2000 บาท (ในอีสาน) แต่ปลูกป่า แล้วตัดขายแบบตัดสาง ทำให้ดีจะได้กำไรไร่ละ 100,000 บาท…ทำให้ดีที่สุดจะได้เป็นล้านบาทก็ยังได้ ซึ่งประเด็นนี้ผมก็ได้นำเสนอไว้ในรายละเอียดมามากหลายและยาวนาน ..แล้วอย่างนี้เราจะไปทำนาแข่งกับเพื่อนบ้านประชิดอยู่ทำไม ..ประกันราคาหรือจำนาดี เถียงกันได้อยู่แค่นั้นแหละ)  

ยังมีอีกมากนับร้อยข้อ สงสารท่านผู้อ่าน ขอพอก่อน  

เพิ่งได้รับรู้ว่ามีการเสนอให้สร้างอุโมงค์น้ำยาว 100 ม. เพื่อผันน้ำหลากจากด้านนอกกทม. ไปลงทะเล ซึ่งแนวคิดนี้มาจากสภาวิศวกรเสียด้วย

ในฐานะเพื่อนร่วมอาชีพเดียวกันผมเลยต้องขอค้านแนวคิดดังกล่าวเป็นกรณีพิเศษ ผมถามว่า..นักการเมืองไทยเราใช้ภาษีราษฎรจนๆเดินทางไปท่องเที่ยว เอ๊ย ดูงานต่างประเทศกันมามากหลาย..เคยเห็นประเทศรวยๆเขาสร้างอุโมงค์ในพื้นที่รอบนอกๆมหานครบ้างไหม (นอกจากจำเป็นจริงๆ เช่นลอดภูเขา หรือ แม่น้ำ ทะเล ในช่วงสั้นๆ) ..เขาไม่ทำกันหรอกครับ เพราะคิดสารตะรอบด้านแล้วมันไม่คุ้ม แต่ในมหานครอาจคุ้มก็เป็นได้เพราะเงื่อนไขปัจจัยมันต่างกันฟ้ากะเหว

พื้นที่รอบกทม. ไร่ละสามแสน..เทียบกับสีลม 300 ล้าน ..มันต่างกัน 1000 เท่า แต่ราคาการขุดอุโมงค์ที่รอบนอกกะที่สีลมเท่ากัน นอกจากนี้การขุดคลองรอบนอกยังมีผลดีอีกมากหลายตามมา (ดังที่ผมได้เสนอไว้ใน “เมืองไทยใหม่เอี่ยม” ตอนก่อนๆ แล้ว)

ส่วนการเวนคืนที่ดินยาว 100 กม.กว้าง 300 เมตร เพื่อสร้างคลองยกคันคูสูง 10 เมตร (หรือ “บาราย” ตามภาษาขอมโบราณ )  จะใช้เงินเวนคืนที่ดินเพียงประมาณ 6 พันล้านเท่านั้นเอง (เงินจำนวนนี้สร้างอุโมงค์ขนาดเดียวกันได้สักสอง กม. กระมัง)

การเมือง (และมหาวิทยาลัย) คือ ต้นธารแห่งการพัฒนา ดังนั้น เมืองไทยใหม่เอี่ยม (หรือนิวไทยแลนด์..ตามสำเนียงเห่อฝรั่งที่ปั้นกันมาตามค่านิยม)  ต้องเริ่มที่ การเมืองใหม่ (มหา‘ลัยใหม่)  

ถ้าการเมืองและการมหา‘ลัย ยังเป็นระบบเก่า ที่อิงอำนาจมากกว่าปัญญา ก็คงไม่พ้นวงจรเก่าน้ำเน่าเดิมไปได้หรอก ดังนั้น “น้ำเน่าทางการเมืองและการศึกษา” ก็คงจะยังท่วมประเทศไทยไปอีกนาน แม้อุทกภัยจากธรรมชาติจะแห้งไปหมดแล้วก็ตาม

 


เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

2 ความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 13 November 2011 เวลา 1:14 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1377

เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

 

ลองอ่านข่าว ผจก. ออนไลน์ ข้างล่าง ดูสิครับ …ซึ่งผมได้เตือนภัยหนาวมาแล้วในตอนที่ ๑ …ลองคิดสิครับ แม่คะนิ้ง ต้น พย. ทั้งที่มันควรจะเกิดปลาย ธค. เสียมากกว่า …ผมเตือนแล้ว แม่คะนิ้งก็เตือนแล้ว แต่นักวิชาการไทย กำลังทำอะไรอยู่ …….

 

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์ ไม่ผิดหวังได้ชมแม่คะนิ้งเกิดขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันแล้ว แถมมากกว่าเดิม เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นยิ่งขึ้น อุณหภูมิยอดหญ้าเฉียด 0 องศาเซลเซียสแล้ว
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่าช่วงเช้ามืดวันนี้(12 พ.ย.54) บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เกิดน้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง หรือ เหมยขาบ ต่อเนื่องเป็นวันที่สองต่อกันแล้ว โดยในครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างมากกว่าเดิมด้วย เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีอุณหภูมิที่ลดต่ำลงกว่าเดิม ซึ่งอุณหภูมิยอดหญ้าวัดได้ 1 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าวันก่อนที่วัดได้ 1.4 องศาเซลเซียส    
       
       ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่คืนที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงวันนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เดินทางไปกลับและพักค้างแรม ซึ่งเป้าหมายของนักท่องเที่ยวนอกจากการได้ไปยืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย สัมผัสอากาศหนาวเย็นและธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ก็คือการได้ชมและสัมผัสกับน้ำค้างแข็งด้วยตัวเองนั่นเอง       

…คนถางทาง (๑๒ พย. ๒๕๕๔)


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 12 November 2011 เวลา 10:59 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1652

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

 

ในตอนที่ ๒ ผมได้เสนอให้ขุดคลอง เอาดินมาทำเป็นถนนเกือกม้า พร้อมกักประตูน้ำ สูบน้ำลงคลองเกือกม้าที่ขุด เพื่อป้องกันน้ำท่วมกทม. (ทั้งที่ลึกๆแล้ว ผมอยากเอาเงินมาช่วยบ้านนอกไทยมากกว่า เพราะคนกทม.รวยแล้ว ศ.ดร. ก็เต็มเมืองอีกต่างหาก คงช่วยตัวเองได้อยู่หรอก) 

 

เพื่อนรุ่นพี่ วิศวโยธา อดีตผู้บริหารระดับสูงกฟผ.  ตอบกลับมาว่า เห็นด้วย น่าเป็นไปได้ แต่รัฐบาลคงทำไม่ได้หรอกเพราะมันจะเป็นเมกะโปรเจค ที่แพง ติดขัดเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวของนักการเมือง ที่จะมาพร้อมกับการโกงกิน ..พี่ท่านติงต่อว่า ขุดดินมาถมถนนอาจไม่ดีนัก ต้องเอาดินแข็งจากที่อื่นมาทำ (เช่นดินลูกรัง..ผมเดา)

 

 ทำให้ผมมาคิดต่อว่า จะทำให้โครงการนี้มันถูกลงสามเท่าได้อย่างไร (รวมแล้วคงไม่เกินแสนล้าน)  ก็เลยคิดไปว่า งั้นไม่ต้องทำถนนก็ได้ เพียงแค่ขุดดินมาทำคลองก็พอแล้ว

 

คลองรูปเกือกม้าล้อมกทม. ยาวสัก 100 กม. ลึกสัก 5 เมตร โดยการขุดหน้าดินลึก 1 เมตร แล้วเอาดินมาทำทำนบสูง 4 เมตร. สองด้าน กว้าง 12.5 เมตร ก็จะกลายเป็นคลองลึก 5 เมตร พอทำนบตัดผ่านแม่น้ำลำคลอง ก็ทำประตูนำ พร้อมทำสถานีสูบน้ำ …การบริหารน้ำท่วมที่เหลือ ขอให้ไปอ่านตอน ๒ ดูนะครับ

 

บนสันทำนบกว้าง ๑๒.๕ เมตร ให้ปลูกไม้ที่ชอบน้ำ และมีกิ่งก้านสาขามาก ทั้งนี้เพื่อให้ร่มรื่น เป็นสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจคนกรุงได้  พร้อมให้นกน้ำมาเกาะพักอาศัย เพื่อหากินกับคลองส่งน้ำ  (กลายเป็นสวรรค์คนดูนกไปเลย)

 

คลองลึกห้าเมตร ยาว 100 กม. นี้ ยามน้ำหลาก ถ้าสูบน้ำเข้าแล้วน้ำไหลด้วยความเร็ว 0.25 เมตร ต่อวินาที จะสามารถระบายน้ำออกทะเลได้ด้วยอัตรา  450 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อ ชม. หรือ  10,800 ล้าน ลบ. เมตร ต่อวัน  ซึ่งถือว่าเกินพอพอในการป้องกันน้ำท่วม กทม.

 

แถมเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เพื่อระบายสินค้า ได้มากหลาย แต่ระบายอารมณ์ คงยาก

 

..คนถางทาง (๑๑ พย. ๒๕๕๔ ปีน้ำท่วมใหญ่)


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง…ถนนเกือกม้ากันน้ำท่วม)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 6 November 2011 เวลา 11:37 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1835

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง)

 

ผมได้เขียนเรื่องเมืองไทยใหม่เอี่ยม (หรือนิวไทยแลนด์ตามศัพท์เรียกของรัฐบาล) ในตอนแรกไว้แล้ว โดยเสนอให้รัฐแก้น้ำท่วมแบบบูรณาการด้วยการขุดคลองก้างปลาเชื่อมต่อแม่น้ำสายสำคัญเข้าด้วยกัน โดยขุดผ่านเอาน้ำไปกักเก็บไว้ตามแอ่งน้ำธรรมชาติด้วย ซึ่งมีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ (ซึ่งน้ำแห้งในฤดูแล้ง) เท่ากับว่าเรามีแก้มลิงนับหมื่นแก้มคอยเก็บกักน้ำยามน้ำหลากในที่ใดที่หนึ่ง แถมกลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกด้วย

 

ตอนที่สองนี้ จะเน้นมาที่เมืองใหญ่ เช่น กทม. นครราชสีมา หาดใหญ่ ในกรณีที่แก้มลิงทั้งหลายเอาไม่อยู่แล้ว  ที่ขอเสนอคือให้ทำถนนเกือกม้าสองชั้นโอบอ้อมเมืองไว้ โดยปลายเปิดของเกือกม้านั้นหันไปในทางลาดต่ำของเมือง ก็คือทางด้านท้ายของแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองนั่นเอง  ระยะห่างระหว่างถนนสองสายนี้แล้วแต่จะกำหนด สำหรับกทม. เสนอให้ห่าง สัก 1 กม. โดยยกถนนสูงประมาณ 2 เมตร   ดังนั้นถ้าถนนยาวสัก 100 กม.  และสูง 2 ม. “คลอง” หว่างถนน จะกักน้ำได้ถึง  200 ล้านลบ.เมตร. และยังระบายลงสู่ทะเลตลอดเวลา

 

เมื่อถนนตัดผ่านแม่น้ำ (เช่น เจ้าพระยา) และคลองต่างๆ  ต้องทำสะพานและมีการสร้างประตูน้ำเปิดปิดได้  ที่ประตูน้ำด้านนอกมีสถานีสูบน้ำติดตั้งไว้ด้วย  พอน้ำหลากเข้ามามาก จะปิดประตูน้ำทั้งด้านนอกและด้านใน สำหรับประตูด้านนอกให้ทำการสูบน้ำเข้ามาในช่องวงแหวนระหว่างถนนสองสาย

 

ดังนั้นน้ำที่สูบเข้ามาจะถูกบังคับให้ไหลไปตามช่องถนน แล้วไประบายออกทะเล หรือ ออกทางด้านปลายแม่น้ำ น้ำก็จะไม่ท่วมเมือง

 

ดินที่ทำถนนสูงไม่ต้องไปเอาจากไหน ก็ขุดเอามาจากริมถนนนั่นแหละ  พื้นที่ว่างระหว่างถนนให้ปลูกต้นไม้ที่ทนน้ำท่วม เช่น มะดัน ลำภู แสม โกงกาง  ซึ่งป่ากึ่งชายเลนนี้จะช่วยเป็นปอดให้คนเมืองด้วย และกลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนถนนก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคม

 

ถ้าขุดคลองเลียบถนนไปด้วย (เอาดินมาทำถนน) คลองก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำอย่างดี เช่น รถบรรทุกห้ามเข้ากทม. แต่เอาสินค้าเข้ามาลงที่สถานีริมถนนวงแหวนด้านนอก แล้วบรรทุกเรือเล็กไปออกท่าเรือ หรือ เอาเข้ามายังตัวเมืองชั้นใน ก็จะช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัดได้มาก

 

มีความเป็นไปได้สำหรับเมืองปากแม่น้ำคือ ที่ดินวงแหวนนี้จะกลายเป็นป่าชายเลนในที่สุด กลายเป็นแหล่งอภิบาลลูกกุ้งลูกปลาเป็นอย่างดี ทำให้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเลไทย

 

…คนถางทาง (๖ พย. ๕๔)

ปล. การสูบน้ำ ปริมาณ 200 ล้าน ลบ. ม. ต่อวัน ข้ามประตูน้ำสูง 2 ม.  ผมได้คำนวณดูคร่าวๆ ว่า จะใช้พลังงานประมาณ 50 เมกะวัตต์ หรือใช้เงินค่าไฟประมาณ 3 ล้านบาทต่อวัน ถ้าน้ำหลากมาท่วมสักเดือนหนึ่งก็ใช้ 90 ล้านบาทเท่านั้น นับว่าคุ้มมากๆ ถ้าต้องเกิดการเสียหายนับแสนล้าน


ป้องกันรถยนต์จากภัยน้ำท่วม (วิธีที่ ๒)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 7:39 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1276

เตือนภัยหนาวหลังน้ำท่วม

1 ความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 12:39 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1429

ทราบว่าน้ำท่วม เวียตนาม และ จีนตอนใต้ หนักหน่วง รุนแรงพอกับประเทศไทย  ผมเลยขอเตือนภัยหลังน้ำท่วมว่า ปีนี้อาจหนาวผิดปกติ 

เหตุผลคือดินจะอมน้ำไว้มาก พอลมหนาวตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ลมจะเย็นลงได้อีก 3-7 องศา (แล้วแต่ระดับการระเหยของน้ำผิวดินสู่ลม)

 

ตามหลักการ evaporative cooling พอน้ำระเหย ไอน้ำจะดูดความร้อนแฝงออกจากอากาศ ทำให้อภ. อากาศลดลง  

 

และถ้าอากาศมีความชื้นมากๆ แล้วก่อตัวเป็นเมฆ โอกาสฝนตกหน้าหนาวก็มีสูง จะยิ่งทวีความหนาวขึ้นอีกด้วย

 

ดังนั้นควรมีมีการเตรียมการณ์เพื่อรองรับภัยหนาวกันไว้ด้วย

 

…คนถางทาง

 

 


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (นิวไทยแลนด์)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 11:31 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1446

 

 

เรื่องนี้กำลังติดตลาด เลยต้องเขียนเสียหน่อย เพราะผมเองได้เขียนเรื่องนี้ไว้มากและนานนับสิบปีแล้ว  วันนี้สบโอกาสเลยขออนุญาตท่านผู้อ่านเอาของเก่าแกะกระดาษออกแล้วห่อใหม่นะครับ

 

ก่อนอื่นขอกระเซ้ารัฐบาลหน่อยว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลคือการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และเอกลักษณ์ของชาติ (ดังนั้นจึงมีกระทรวงวัฒนธรรม) และวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของชาติไทยก็คือ ภาษาไทยนี่แหละครับ เพราะชาติใดที่สิ้นภาษาก็ถือได้ว่าสิ้นชาติเมื่อนั้น ดังนั้นขอเถอะครับ จะตั้งชื่อโครงการใดๆ ขอให้ใช้ภาษาไทยเถอะครับ อย่าเอาแบบเก่าที่ตั้งชื่อเป็น  SME, ICL, OTOP ฯลฯ

 

ช่วงสิบปีที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความหลายบทนำเสนอ “เมืองไทยใหม่เอี่ยม” ทั้งที่เกี่ยวโดยตรงและโดยอ้อมต่อเรื่องน้ำท่วม แต่ส่วนใหญ่จะเขียนเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะชาวชนบท

 

ที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือการปฏิวัติอุตสาหกรรมไทย โดยการจัดตั้งการอุตสาหกรรมขึ้นทุกตำบล เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง มีคนงานสัก 500 คน ไม่ใช่การหัตถกรรมย่อยหรืออุตสาหกรรมครัวเรือนแบบ ๑ต๑ผ (โอทอป) โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าก่อนส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ  แต่อีกส่วนหนึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมที่ท้องถิ่นมีวัตถุดิบและมีความถนัด เช่น เฟอร์นิเจอร์ ทอผ้า หัตถกรรมอื่นๆ

 

การทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนอยู่ในท้องถิ่น ไม่ต้องทิ้งไร่นาและลูกเต้าไปอยู่ไกลในนิคมอุตสาหกรรมชายทะเล  ทำให้ลดความผิดเพี้ยนของพฤติกรรมเยาวชนไทยในชนบท (ซึ่งขณะนี้น่าเป็นห่วงมากเพราะไม่มีพ่อแม่คอยดูแล)

 

อุตสาหกรรมนี้ให้ทำงานสองช่วง ช่วงละ 3 วัน ดังนั้นจะจ้างแรงงาน 1000 คน อีก 3 วันที่เหลือก็เอาไปพักผ่อน และทำการเกษตร ดังนั้นครอบครัวจะมีรายได้สองทางคือการเกษตรและค่าจ้างแรงงาน รายได้จากท้องถิ่นนี้จะไปสร้างงานภาคบริการอีก 3 เท่า เช่น ร้านอาหาร ร้านของชำ ร้านตัดผม ตัดเสื้อ ซ่อมมอไซค์ เป็นต้น ทำให้เงินสะพัดหล่อเลี้ยงท้องถิ่นหลายรอบ   (ต้องมียุทธศาสตร์กันร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างชาติด้วย ไม่งั้นดูดเงินออกนอกหมด)

 

ถ้าโครงการเมืองไทยใหม่เอี่ยมทำได้เพียงแค่นี้ ผมเชื่อว่าจะได้รับการกล่าวขานสรรเสริญไปอีกชั่วกาลนาน และจะเป็นเนื้อนาบุญสำคัญของประเทศไทย  พร้อมกันนี้รัฐต้องเลิกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติด้วย ต้องยืนด้วยตนเองเสียที  ยิ่งส่งเสริมต่างชาติมากเท่าไรอุตสาหกรรมไทยยิ่งอ่อนแอ แถมยังมีปัจจัยลบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ

 

สำหรับทุนในการจัดตั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากภาครัฐ อีกส่วนหนึ่งเป็นการระดมทุนในท้องถิ่นเอง รวมถึงการ “ลงทุนด้วยแรงงาน” ของประชาชน วิธีนี้จะทำให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโรงงาน จะทำงานด้วยความทุ่มเทในฐานะเจ้าของ  เป็นการเอาข้อดีของระบบคอมมูนมาผสมกับระบบทุนนิยม

 

เรื่องอุตสาหกรรมท้องถิ่นนี้มันมาโยงกับเรื่องน้ำท่วมอย่างเหลือเชื่อ เพราะอุตสาหกรรมต้องการน้ำ การเกษตรในท้องถิ่นก็ต้องการน้ำ น้ำนี้จะมาจากการขุดคลองก้างปลาโยงใยแม่น้ำสายสำคัญทั้งประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อการผันน้ำซึ่งกันและกันยามน้ำหลากในสายใดสายหนึ่ง มีระบบเขื่อนเตี้ย  1-3 เมตรกั้นเป็นระยะตามชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำท่วมและผันน้ำไปยังชัยภูมิที่เป็นแอ่งธรรมชาติ (อาจมีการขุดลอกเสริมบ้าง)

 

เชื่อได้ว่าแอ่งธรรมชาตินี้มีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ผมเองได้ประสบเห็นแอ่งเหล่านี้มากมายหลายหมู่บ้าน เพียงแต่มันมีน้ำธรรมชาติป้อนเข้าไม่เพียงพอ จึงแห้งขอดยามหน้าแล้ง  แอ่งเหล่านี้จะเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมเต็มทั่วประเทศในยามน้ำหลาก ส่วนในยามปกติก็เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุตสาหกรรมท้องถิ่นและการเกษตร  

 

ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่อยากเสนอให้รัฐบาลนำไปพิจารณาครับ แต่วันนี้ขอเพียงเท่านี้ก่อน คงต้องต่อตอนสองนะครับ

 

ก่อนจบขอฝากเตือนรัฐบาลว่าโปรดอย่าคิดเอาเรื่องถมทะเลมาใช้แก้น้ำท่วมอีกนะครับ มันได้ไม่คุ้มเสียเอามากๆ (ซึ่งผมได้เขียนบทความวิเคราะห์ไว้แล้วเมื่อตอนรัฐบาลเข้ารับหน้าที่ใหม่ๆ….เตือนพรรคเพื่อไทย…เลิกปิดปากพระคงคาและปิดตาพระสมุทรhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000096901

)

…คนถางทาง

ปล. บทความนี้ได้นำลง ผจก.ออนไลน์ ในวันที่ ๓ พย. ๕๔


น้ำท่วมมือถือ

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 29 October 2011 เวลา 2:51 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1416

บริษัทมือถือทำอะไรอยู่ ในสภาวะน้ำท่วมเช่นนี้ (หรือว่า กำไรท่วมล้น)

 

ในสภาวะน้ำท่วมเช่นนี้ ประชาชนที่ถูกน้ำท่วม ต่างไม่มีหนทางไปเติมเงิน ทั้งที่ต้องการใช้เงินในการโทรขอความช่วยเหลือมากที่สุด

 

ดังนี้แล้ว บริษัทที่ขายบัตรเติมเงินมือถือทั้งหลายจะมีจิตสำนึกช่วยเหลือผู้ตกยากอย่างไรบ้างหนอ หรือว่า เร่งฉวยโอกาสขึ้นราคา เหมือนกับร้านขายเรือ ???

 

…คนพายเรือ


ป้องกันรถจากภัยน้ำท่วมด้วยการห่อผ้าใบ

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 29 October 2011 เวลา 1:02 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1844

ป้องกันรถจากภัยน้ำท่วมด้วยการห่อผ้าใบ

 

ผมได้คิดค้นวิธีการป้องกันรถจากภัยน้ำท่วมโดยใช้วิธีการที่ไม่พ้นวิสัยของบุคคลทั่วไปจะพึงกระทำได้ และได้ทำการทดลองได้ผลประจักษ์แล้ว  ดังนี้

 

1) นำผ้าใบหรือผ้าพลาสติกที่กันน้ำได้ เช่น ผ้าใบคลุมรถกระบะสิบล้อขนาดที่กว้างกว่าความกว้างยาวกว่าตัวรถสัก 2 เมตร มาวางปูไว้กับพื้นราบ  โดยควรทำผ้าใบให้ย่นหย่อน (อย่าขึงให้ตึง…เหตุผลทางวิศวกรรมศาสตร์ อ่านได้ที่หมายเหตุด้านท้าย)….

 

http://www.youtube.com/watch?v=iM2zZYbHt34

 

 

2) นำตาข่ายที่แข็งแรงถักด้วยเชือกในล่อน ขนาดพอประมาณกับผ้าใบ มาวางซ้อนทับพลาสติก  (ตาข่ายนี้ควรเป็นตาข่ายเส้นใหญ่ รูตาข่ายประมาณ 2×2 นิ้วหรือเล็กกว่า  เป็นตาข่ายที่ใช้ในการคลุมรถปิ๊คอัพเพื่อกันสิ่งของที่บรรทุกหล่น  หรือ ใช้ในการประมงเพื่อดักปลาขนาดใหญ่)  ตาข่ายนี้ต้องขึงให้ตึงมากพอควร เช่น ใช้คนสี่คนดึงมุมทั้งสี่ให้ตึง ในขณะที่ขับรถทับเข้ามา  ถ้าไม่มีคน อาจต้องใช้เชือกดึงมุมทั้งสี่เข้ากับสิ่งยึด เช่น เสาสี่ต้นในโรงจอดรถของบ้าน  (หรืออาจใช้วิธีพลิกแพลงอื่นใดก็ได้)  ถ้าไม่มีกำลังจริงๆ ไม่ต้องขึงตึงก็ได้ แต่ในกรณีนี้ควรให้ผ้าใบหย่อนย่นมากสักหน่อยเพื่อเป็นการชดเชย

 

3) เมื่อขับรถเข้าทับตาข่ายและผ้าใบแล้ว ให้เอาเชือกขนาดปานกลาง (ขนาดเท่าแท่งดินสอ) ร้อยรูตาข่าย อ้อมหลังคารถยนต์ ทำสลับไปมาสัก 15-20 ครั้ง ..ดึงเชือกให้ตึงมาก  เชือกเหล่านี้จะทำหน้าที่รับน้ำหนักรถที่ถ่ายโอนจากแรงดันน้ำด้านล่างขึ้นสู่โครงรถยนต์ทั้งคัน ทำให้ไม่เกิดการบุบย่นของตัวถัง ส่วนการถลอกของสีรถก็จะไม่เกิดขึ้น ถ้ามีเชือกจำนวนมากพอในการเฉลี่ยแรงจากนน.รถไม่ให้กดแรงเฉพาะจุด

 

4) จากนั้นทำการร้อยรัดผ้าใบเข้ากับตัวถังรถในทำนองเดียวกัน  แต่คราวนี้ไม่ต้องรัดแน่น ..ให้รัดเพียง “หลวมๆ” เท่านั้น  ควรให้มีรอยย่นมากๆ ขอบด้านล่างของผ้าใบควรสูงจากพื้นมากกว่า 50 ซม.

 

5) ผูกรถเข้ากับหลักเสา อย่างน้อยสองหลัก (เช่น เสาสี่เสาของโรงจอดรถ เสาไฟฟ้า หรือ ในกรณีลานจอดรถ อาจผูกเข้ากับถุงทรายที่จมน้ำอยู่  )   เพื่อป้องกันรถลอยหายไป หรือ ไปกระแทกกับเสา  อาจกันการกระแทกด้วยล้อยาง แบบเรือเมล์ที่เข้าเทียบท่า

 

6.)  อาจคลุมรถด้วยพลาสติกบางกันฝนอีกชั้น เพื่อกันน้ำฝนรั่วเข้าไปในพลาสติกด้านใน

 

เท่านี้เป็นเสร็จ พอน้ำหลากมา น้ำจะไม่เข้าไปด้านใน ถ้าน้ำหลากมาสูงมากประมาณ 1 ฟุต รถจะลอยขึ้น เหมือนเรือ (ระวังว่าเชือกที่ผูกยึดกับเสาจะไม่สั้นไป จนไปดึงเรือไม่ให้ลอยได้ หรือยาวเกินไป จนเรือไปกระทบกับเสา ทำให้บุบ หรือ ถลอกได้

 

หมายเหตุ

 

1) ประสิทธิผลการใช้งานจากแนวคิดนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการและวิจารณญาณของผู้ปฏิบัติเอง สำหรับเรื่องการลอยตัวได้ โดยน้ำไม่เข้านั้น ทีมงานของเราได้ทดลองเป็นที่ประจักษ์แล้ว ดังที่ได้รับการเผยแพร่ทางยูทูบและหน้าเว็บต่างๆ อย่างไรก็ดีวิธีการทำ และการใช้วัสดุที่แตกต่างออกไปนั้น ก็อาจทำให้เกิดการเสียหายต่อรถยนต์ได้

 

 

2) ผ้าหุ้มที่ได้ทดลองแล้วได้ผลคือ ก. ผ้าใบชั้นดีที่ใช้หุ้มกระบะรถสิบล้อ (ราคาค่อนข้างแพง ผืนละ 5-6 พันบาท)  ข. พลาสติกใสอย่างหนา ที่ใช้กันฝนหน้าร้านค้า (ราคา 3000 บาท)  โดยมีการต่อผ้าสามผืนเข้าด้วยกันด้วยการรีดร้อน   ค. พลาสติกบุบ่อน้ำ หรือ บ่อเลี้ยงกุ้ง (หาซื้อได้ตามร้านการเกษตร)   (ราคา 350 บาท) พบว่าสามารถลอยรถได้เช่นกัน 

 

3) หลักการทดสอบว่าพลาสติกใดใช้ได้หรือไม่ ให้เอาพลาสติกมาขยุ้มทำเป็นถุง แล้วเอาน้ำเทลงไป พร้อมเอามือบีบรัดแรงๆ เป็นเวลาสัก 10 วินาที ถ้ำไม่มีการรั่วซึมก็ถือว่าอาจใช้ได้ แต่ถ้ามีการซึมก็ใช้ไม่ได้แน่นอน  เช่น พลาสติกทึบบางชนิดที่ใช้บังแดดฝนตามชายคาร้านค้า ปรากฏว่ากันน้ำฝนได้ แต่ทนแรงดันน้ำแบบขังแช่ไม่ได้

 

4) ให้แน่ใจว่าพื้นที่ปูพลาสติกนั้นเป็นพื้นเรียบราบ และปราศจากเม็ดหิน อีกทั้งล้อรถยนต์ก็ไม่มีเม็ดหินติดอยู่ เพราะหินเหล่านี้อาจมีความคมจนทำให้เกิดรอยฉีกบนผ้าใบได้เมื่อได้รับแรงอัดจากล้อรถ

 

5) การปูผ้าบนพื้นนั้นในทำเป็นแบบย่นๆ โดยให้มีระยะย่นตัวในแนวขวางสัก 20 ซม. และ ย่นตัวในแนวยาวสัก 30 ซม. (แต่ตาข่ายให้ขึงให้ตึง) การย่นตัวจะทำให้ผ้าใบไม่ถูกดึงให้ตึงจนฉีกขาดได้ แต่แรงดันน้ำจะดันตัวอัดกับตาข่ายแบบเฉลี่ยน้ำหนักไปทั่ว แล้วผ้าใบนี้จะส่งแรงไปดันรถที่ล้อทั้งสี่ ทำให้รถลอยขึ้นได้ (ดังนั้นถ้าเราไม่ขึงตาข่าย ผ้าพลาสติกจะรับน้ำหนัก ทำให้ฉีกขาดได้)

 

6) ตามที่มีกระแสข้อมูลว่า การหุ้มรถยนต์ด้วยผ้าพลาสติกคลุมรถ (ที่นำมากลับทางบนลงล่าง)  หรือ การหุ้มคลุมด้วยพลาสติกใดๆ ในลักษณะใด ก็ตาม  (ตามที่เป็นข่าวทั่วไป)   อาจไม่สามารถป้องกันความเสียหายได้ เพราะผมเชื่อว่าจะเกิดการฉีกขาดของพลาสติกด้วยแรงดันน้ำเสียก่อน   นอกเสียจากว่า มีการทำให้เกิดความย่นอย่างมาก จนกระทั่งผ้าพลาสติกถูกดันขึ้นไปจนถึงพื้นล่างของตัวถังรถยนต์  (จนไม่เกิดแรงกระทำเป็นจุดที่ล้อทั้งสี่) ซึ่งถ้าเป็นเช่นนี้ จะต้องใช้พลาสติกที่ใหญ่มาก และระดับน้ำจะสูงมากขึ้นกว่าวิธีในที่นี้ ก่อนที่รถจะลอยตัวขึ้น  เช่นในวีธีนี้รถจะลอยตัวเมื่อระดับน้ำสูงประมาณ 25-30 ซม. แต่วิธีการไม่มีตาข่าย  ถ้าผ้าไม่ขาดเสียก่อนรถจะลอยที่ความลึกประมาณ 60 ซม. (สำหรับรถเก๋ง) และสูงกว่านั้นสำหรับรถปิ๊คอัพ

 

เขาเอาใจช่วยให้ชีวิต สวัสดิภาพ และทรัพย์สินของทุกท่านจงปลอดจากภัยน้ำท่วมครับ

 …คนถางทาง


เจาะถนนเพื่อลดน้ำท่วม

4 ความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 28 October 2011 เวลา 2:54 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1340

ผมได้เขียนบทความเรื่องถนนเป็นเขื่อนกักน้ำให้ท่วมเมืองมานาน หลายบทความ โดนด่ามาก็มาก วันนี้รู้สึกดีใจเล็กๆ ที่ไปถึงหูรัฐบาล ทำให้นายกฯยิ่งลักษณ์ กำลังจะให้มีการ “ลองเจาะถนน” แต่ท่านกลัวว่ามันจะไม่เวิร์ค

 

ผมจึงขอเสนอว่า การเจาะถนนนั้น อย่าเจาะแบบ “ลองผิดลองถูกดู” สิครับ แต่ให้ใช้หลักวิชาง่ายๆ คือ เอาแผนที่มากาง (แผนที่ทหารที่มีเส้นความลาดชันระบุด้วย) แล้วดูว่าถนนเส้นไหนไปขวางแนวลาดชันของภูมิประเทศ  ก็เจาะ โดยเจาะเป็นระยะอย่างมียุทธศาสตร์ในการระบายน้ำ จากไหน ไปไหน ปริมาณเท่าไร มันคำนวณได้หมดตามหลักชลศาสตร์ครับ

 

ถนนที่เจาะขาดแล้ว ก็เอาเหล็กตัว I มาพาดเรียงกันเป็นสะพานให้รถข้ามไปได้ โดยเอาถุงทรายมาหนุนเป็นเนินตรงขอบตัวเหล็ก เพื่อให้รถไต่ขึ้นไปได้

 

..คนถางทาง  (๒๘ ตค. ๒๕๕๔)



Main: 0.15324401855469 sec
Sidebar: 0.05157995223999 sec