เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

โดย withwit เมื่อ 13 November 2011 เวลา 1:14 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1326

เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

 

ลองอ่านข่าว ผจก. ออนไลน์ ข้างล่าง ดูสิครับ …ซึ่งผมได้เตือนภัยหนาวมาแล้วในตอนที่ ๑ …ลองคิดสิครับ แม่คะนิ้ง ต้น พย. ทั้งที่มันควรจะเกิดปลาย ธค. เสียมากกว่า …ผมเตือนแล้ว แม่คะนิ้งก็เตือนแล้ว แต่นักวิชาการไทย กำลังทำอะไรอยู่ …….

 

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์ ไม่ผิดหวังได้ชมแม่คะนิ้งเกิดขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันแล้ว แถมมากกว่าเดิม เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นยิ่งขึ้น อุณหภูมิยอดหญ้าเฉียด 0 องศาเซลเซียสแล้ว
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่าช่วงเช้ามืดวันนี้(12 พ.ย.54) บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เกิดน้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง หรือ เหมยขาบ ต่อเนื่องเป็นวันที่สองต่อกันแล้ว โดยในครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างมากกว่าเดิมด้วย เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีอุณหภูมิที่ลดต่ำลงกว่าเดิม ซึ่งอุณหภูมิยอดหญ้าวัดได้ 1 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าวันก่อนที่วัดได้ 1.4 องศาเซลเซียส    
       
       ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่คืนที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงวันนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เดินทางไปกลับและพักค้างแรม ซึ่งเป้าหมายของนักท่องเที่ยวนอกจากการได้ไปยืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย สัมผัสอากาศหนาวเย็นและธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ก็คือการได้ชมและสัมผัสกับน้ำค้างแข็งด้วยตัวเองนั่นเอง       

…คนถางทาง (๑๒ พย. ๒๕๕๔)

« « Prev : เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

Next : เมืองไทยใหม่เอี่ยม๓ (นิวไทยแลนด์ ตอน แก้น้ำท่วมแบบเหนื่อยใจ) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 November 2011 เวลา 6:20 am

    อมยิ้มเลยค่ะ เพราะคนโบราณทางนี้สอนกันต่อๆมานานแล้วว่าถ้าปีไหนน้ำมาก ปีนั้นหนาวจัด…เป็นภูมิปัญญาโบราณที่ส่งต่อกันมานาน แม้แต่คนโบราณทางภาคกลางก็ทราบ ซึ่งจริงๆก็มีเหตุผลรองรับทางวิทย์ฯอยู่อย่างที่อาจารย์อธิบายก่อนหน้านี้ เรื่องน้ำในดินและการส่งความชื้น เพียงแต่คนโบราณใช้การสังเกต

    ส่วนเรื่องหนาวนั้น จริงๆหลังๆนี้หนาวหายไปเยอะค่ะ ถ้าสักสามสิบ-สี่สิบปีที่แล้ว แม่คะนิ้งที่อาจารย์เล่านั้น มีตั้งแต่พย.ก็ไม่แปลกอะไร เพราะ เม.ย.ช่วงสงกรานต์รดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ ยังใส่เสื้อกันหนาวตัวบางกันอยู่เลย จำได้ว่าสักสิบกว่าปีที่แล้วมั้ง รถจอดอยู่กลางแจ้ง ตอนเช้าน้ำค้างแข็งเกาะหลังคาเลยค่ะ นี่ขนาดในเมืองนะ และช่วง ตค.ก็หนาวขนาดที่หมอกจัดในช่วงเช้า จนไปถวายพวงมาลาวันที่ 23 ตค. เวลาสักเจ็ดโมงกว่า ยืนห่างกัน 10 เมตรนี่ไม่รู้ว่าเป็นใครกันแล้ว เพราะหมอกคลุม

    และที่ทำเอาหัวเราะ เพราะน้ำท่วมกำลังหลาก ทางนี้ประกาศเืตือนเรื่องภัยหนาวพร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์ฯช่วยเหลือเรื่องภัยหนาวกันตั้งแต่ปลายเดือนตค.แล้วค่ะ เรียกว่าชร.รับมือทั้งหนาว และส่งกำลังไปช่วยน้ำท่วม รวมทั้งการฟื้นฟูกันเลย (ทำเอาคนทำงานมึนตึ้บ เพราะมันหลายเรื่องพร้อมๆกัน แต่ต้องการข้อมูล-การวางแผน-ความช่วยเหลือในรูปแบบที่ต่างกัน)

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 November 2011 เวลา 10:40 pm

    คนภาคอื่นๆตื่นเต้นกับแม่คะนิ้ง แล้วก็ตั้งกำหนดการว่าต้องขึ้นไปสัมผัส ก็เป็นเรื่องทั่วไปที่ใครๆก็อยากหาโอกาสเช่นนั้น แต่ การลงทุนไปสัมผัสปรากฏการณ์ธรรมชาติเช่นนั้น ควรที่จะมีอะไรสักอย่างหรือมากกว่าหนึ่งอย่างที่ไปกระตุกให้คนได้คิดถึงธรรมชาติมากขึ้น และมีส่วร่วมในการเสริมสร้างความอุดมของธรรมชาติมากขึ้น อย่างน้อยที่สุดร่วมมือทุกวิถีทางที่จะไปทำร้ายธรรมชาติ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.36961102485657 sec
Sidebar: 0.042744159698486 sec