เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

2 ความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 13 November 2011 เวลา 1:14 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1287

เตือนภัยหนาว (ตอน ๒) …แม่คะนิ้ง

 

ลองอ่านข่าว ผจก. ออนไลน์ ข้างล่าง ดูสิครับ …ซึ่งผมได้เตือนภัยหนาวมาแล้วในตอนที่ ๑ …ลองคิดสิครับ แม่คะนิ้ง ต้น พย. ทั้งที่มันควรจะเกิดปลาย ธค. เสียมากกว่า …ผมเตือนแล้ว แม่คะนิ้งก็เตือนแล้ว แต่นักวิชาการไทย กำลังทำอะไรอยู่ …….

 

ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - นักท่องเที่ยวแห่ขึ้นดอยอินทนนท์ ไม่ผิดหวังได้ชมแม่คะนิ้งเกิดขึ้นเป็นวันที่สองติดต่อกันแล้ว แถมมากกว่าเดิม เนื่องจากอากาศที่หนาวเย็นยิ่งขึ้น อุณหภูมิยอดหญ้าเฉียด 0 องศาเซลเซียสแล้ว
       
       รายงานข่าวจากจังหวัดเชียงใหม่แจ้งว่าช่วงเช้ามืดวันนี้(12 พ.ย.54) บริเวณเส้นทางศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ได้เกิดน้ำค้างแข็ง หรือ แม่คะนิ้ง หรือ เหมยขาบ ต่อเนื่องเป็นวันที่สองต่อกันแล้ว โดยในครั้งนี้เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้างมากกว่าเดิมด้วย เนื่องจากเมื่อคืนที่ผ่านมามีอุณหภูมิที่ลดต่ำลงกว่าเดิม ซึ่งอุณหภูมิยอดหญ้าวัดได้ 1 องศาเซลเซียส ต่ำกว่าวันก่อนที่วัดได้ 1.4 องศาเซลเซียส    
       
       ขณะที่บรรยากาศการท่องเที่ยวบนดอยอินทนนท์นั้น รายงานข่าวแจ้งว่า ตั้งแต่คืนที่ผ่านมาต่อเนื่องถึงวันนี้ มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์เป็นจำนวนมาก ทั้งที่เดินทางไปกลับและพักค้างแรม ซึ่งเป้าหมายของนักท่องเที่ยวนอกจากการได้ไปยืนอยู่บนจุดที่สูงที่สุดในประเทศไทย สัมผัสอากาศหนาวเย็นและธรรมชาติที่สวยงามแล้ว ก็คือการได้ชมและสัมผัสกับน้ำค้างแข็งด้วยตัวเองนั่นเอง       

…คนถางทาง (๑๒ พย. ๒๕๕๔)


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 12 November 2011 เวลา 10:59 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1554

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก)

 

ในตอนที่ ๒ ผมได้เสนอให้ขุดคลอง เอาดินมาทำเป็นถนนเกือกม้า พร้อมกักประตูน้ำ สูบน้ำลงคลองเกือกม้าที่ขุด เพื่อป้องกันน้ำท่วมกทม. (ทั้งที่ลึกๆแล้ว ผมอยากเอาเงินมาช่วยบ้านนอกไทยมากกว่า เพราะคนกทม.รวยแล้ว ศ.ดร. ก็เต็มเมืองอีกต่างหาก คงช่วยตัวเองได้อยู่หรอก) 

 

เพื่อนรุ่นพี่ วิศวโยธา อดีตผู้บริหารระดับสูงกฟผ.  ตอบกลับมาว่า เห็นด้วย น่าเป็นไปได้ แต่รัฐบาลคงทำไม่ได้หรอกเพราะมันจะเป็นเมกะโปรเจค ที่แพง ติดขัดเรื่องผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวของนักการเมือง ที่จะมาพร้อมกับการโกงกิน ..พี่ท่านติงต่อว่า ขุดดินมาถมถนนอาจไม่ดีนัก ต้องเอาดินแข็งจากที่อื่นมาทำ (เช่นดินลูกรัง..ผมเดา)

 

 ทำให้ผมมาคิดต่อว่า จะทำให้โครงการนี้มันถูกลงสามเท่าได้อย่างไร (รวมแล้วคงไม่เกินแสนล้าน)  ก็เลยคิดไปว่า งั้นไม่ต้องทำถนนก็ได้ เพียงแค่ขุดดินมาทำคลองก็พอแล้ว

 

คลองรูปเกือกม้าล้อมกทม. ยาวสัก 100 กม. ลึกสัก 5 เมตร โดยการขุดหน้าดินลึก 1 เมตร แล้วเอาดินมาทำทำนบสูง 4 เมตร. สองด้าน กว้าง 12.5 เมตร ก็จะกลายเป็นคลองลึก 5 เมตร พอทำนบตัดผ่านแม่น้ำลำคลอง ก็ทำประตูนำ พร้อมทำสถานีสูบน้ำ …การบริหารน้ำท่วมที่เหลือ ขอให้ไปอ่านตอน ๒ ดูนะครับ

 

บนสันทำนบกว้าง ๑๒.๕ เมตร ให้ปลูกไม้ที่ชอบน้ำ และมีกิ่งก้านสาขามาก ทั้งนี้เพื่อให้ร่มรื่น เป็นสวนสาธารณะที่พักผ่อนหย่อนใจคนกรุงได้  พร้อมให้นกน้ำมาเกาะพักอาศัย เพื่อหากินกับคลองส่งน้ำ  (กลายเป็นสวรรค์คนดูนกไปเลย)

 

คลองลึกห้าเมตร ยาว 100 กม. นี้ ยามน้ำหลาก ถ้าสูบน้ำเข้าแล้วน้ำไหลด้วยความเร็ว 0.25 เมตร ต่อวินาที จะสามารถระบายน้ำออกทะเลได้ด้วยอัตรา  450 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อ ชม. หรือ  10,800 ล้าน ลบ. เมตร ต่อวัน  ซึ่งถือว่าเกินพอพอในการป้องกันน้ำท่วม กทม.

 

แถมเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำ เพื่อระบายสินค้า ได้มากหลาย แต่ระบายอารมณ์ คงยาก

 

..คนถางทาง (๑๑ พย. ๒๕๕๔ ปีน้ำท่วมใหญ่)


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง…ถนนเกือกม้ากันน้ำท่วม)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 6 November 2011 เวลา 11:37 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1748

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง)

 

ผมได้เขียนเรื่องเมืองไทยใหม่เอี่ยม (หรือนิวไทยแลนด์ตามศัพท์เรียกของรัฐบาล) ในตอนแรกไว้แล้ว โดยเสนอให้รัฐแก้น้ำท่วมแบบบูรณาการด้วยการขุดคลองก้างปลาเชื่อมต่อแม่น้ำสายสำคัญเข้าด้วยกัน โดยขุดผ่านเอาน้ำไปกักเก็บไว้ตามแอ่งน้ำธรรมชาติด้วย ซึ่งมีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ (ซึ่งน้ำแห้งในฤดูแล้ง) เท่ากับว่าเรามีแก้มลิงนับหมื่นแก้มคอยเก็บกักน้ำยามน้ำหลากในที่ใดที่หนึ่ง แถมกลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกด้วย

 

ตอนที่สองนี้ จะเน้นมาที่เมืองใหญ่ เช่น กทม. นครราชสีมา หาดใหญ่ ในกรณีที่แก้มลิงทั้งหลายเอาไม่อยู่แล้ว  ที่ขอเสนอคือให้ทำถนนเกือกม้าสองชั้นโอบอ้อมเมืองไว้ โดยปลายเปิดของเกือกม้านั้นหันไปในทางลาดต่ำของเมือง ก็คือทางด้านท้ายของแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองนั่นเอง  ระยะห่างระหว่างถนนสองสายนี้แล้วแต่จะกำหนด สำหรับกทม. เสนอให้ห่าง สัก 1 กม. โดยยกถนนสูงประมาณ 2 เมตร   ดังนั้นถ้าถนนยาวสัก 100 กม.  และสูง 2 ม. “คลอง” หว่างถนน จะกักน้ำได้ถึง  200 ล้านลบ.เมตร. และยังระบายลงสู่ทะเลตลอดเวลา

 

เมื่อถนนตัดผ่านแม่น้ำ (เช่น เจ้าพระยา) และคลองต่างๆ  ต้องทำสะพานและมีการสร้างประตูน้ำเปิดปิดได้  ที่ประตูน้ำด้านนอกมีสถานีสูบน้ำติดตั้งไว้ด้วย  พอน้ำหลากเข้ามามาก จะปิดประตูน้ำทั้งด้านนอกและด้านใน สำหรับประตูด้านนอกให้ทำการสูบน้ำเข้ามาในช่องวงแหวนระหว่างถนนสองสาย

 

ดังนั้นน้ำที่สูบเข้ามาจะถูกบังคับให้ไหลไปตามช่องถนน แล้วไประบายออกทะเล หรือ ออกทางด้านปลายแม่น้ำ น้ำก็จะไม่ท่วมเมือง

 

ดินที่ทำถนนสูงไม่ต้องไปเอาจากไหน ก็ขุดเอามาจากริมถนนนั่นแหละ  พื้นที่ว่างระหว่างถนนให้ปลูกต้นไม้ที่ทนน้ำท่วม เช่น มะดัน ลำภู แสม โกงกาง  ซึ่งป่ากึ่งชายเลนนี้จะช่วยเป็นปอดให้คนเมืองด้วย และกลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนถนนก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคม

 

ถ้าขุดคลองเลียบถนนไปด้วย (เอาดินมาทำถนน) คลองก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำอย่างดี เช่น รถบรรทุกห้ามเข้ากทม. แต่เอาสินค้าเข้ามาลงที่สถานีริมถนนวงแหวนด้านนอก แล้วบรรทุกเรือเล็กไปออกท่าเรือ หรือ เอาเข้ามายังตัวเมืองชั้นใน ก็จะช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัดได้มาก

 

มีความเป็นไปได้สำหรับเมืองปากแม่น้ำคือ ที่ดินวงแหวนนี้จะกลายเป็นป่าชายเลนในที่สุด กลายเป็นแหล่งอภิบาลลูกกุ้งลูกปลาเป็นอย่างดี ทำให้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเลไทย

 

…คนถางทาง (๖ พย. ๕๔)

ปล. การสูบน้ำ ปริมาณ 200 ล้าน ลบ. ม. ต่อวัน ข้ามประตูน้ำสูง 2 ม.  ผมได้คำนวณดูคร่าวๆ ว่า จะใช้พลังงานประมาณ 50 เมกะวัตต์ หรือใช้เงินค่าไฟประมาณ 3 ล้านบาทต่อวัน ถ้าน้ำหลากมาท่วมสักเดือนหนึ่งก็ใช้ 90 ล้านบาทเท่านั้น นับว่าคุ้มมากๆ ถ้าต้องเกิดการเสียหายนับแสนล้าน


ป้องกันรถยนต์จากภัยน้ำท่วม (วิธีที่ ๒)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 7:39 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1187

เตือนภัยหนาวหลังน้ำท่วม

1 ความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 12:39 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1339

ทราบว่าน้ำท่วม เวียตนาม และ จีนตอนใต้ หนักหน่วง รุนแรงพอกับประเทศไทย  ผมเลยขอเตือนภัยหลังน้ำท่วมว่า ปีนี้อาจหนาวผิดปกติ 

เหตุผลคือดินจะอมน้ำไว้มาก พอลมหนาวตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่าน ลมจะเย็นลงได้อีก 3-7 องศา (แล้วแต่ระดับการระเหยของน้ำผิวดินสู่ลม)

 

ตามหลักการ evaporative cooling พอน้ำระเหย ไอน้ำจะดูดความร้อนแฝงออกจากอากาศ ทำให้อภ. อากาศลดลง  

 

และถ้าอากาศมีความชื้นมากๆ แล้วก่อตัวเป็นเมฆ โอกาสฝนตกหน้าหนาวก็มีสูง จะยิ่งทวีความหนาวขึ้นอีกด้วย

 

ดังนั้นควรมีมีการเตรียมการณ์เพื่อรองรับภัยหนาวกันไว้ด้วย

 

…คนถางทาง

 

 


เมืองไทยใหม่เอี่ยม (นิวไทยแลนด์)

ไม่มีความคิดเห็น โดย withwit เมื่อ 4 November 2011 เวลา 11:31 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1351

 

 

เรื่องนี้กำลังติดตลาด เลยต้องเขียนเสียหน่อย เพราะผมเองได้เขียนเรื่องนี้ไว้มากและนานนับสิบปีแล้ว  วันนี้สบโอกาสเลยขออนุญาตท่านผู้อ่านเอาของเก่าแกะกระดาษออกแล้วห่อใหม่นะครับ

 

ก่อนอื่นขอกระเซ้ารัฐบาลหน่อยว่า หน้าที่สำคัญประการหนึ่งของรัฐบาลคือการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทย และเอกลักษณ์ของชาติ (ดังนั้นจึงมีกระทรวงวัฒนธรรม) และวัฒนธรรมที่สำคัญที่สุดของชาติไทยก็คือ ภาษาไทยนี่แหละครับ เพราะชาติใดที่สิ้นภาษาก็ถือได้ว่าสิ้นชาติเมื่อนั้น ดังนั้นขอเถอะครับ จะตั้งชื่อโครงการใดๆ ขอให้ใช้ภาษาไทยเถอะครับ อย่าเอาแบบเก่าที่ตั้งชื่อเป็น  SME, ICL, OTOP ฯลฯ

 

ช่วงสิบปีที่ผ่านมาผมได้เขียนบทความหลายบทนำเสนอ “เมืองไทยใหม่เอี่ยม” ทั้งที่เกี่ยวโดยตรงและโดยอ้อมต่อเรื่องน้ำท่วม แต่ส่วนใหญ่จะเขียนเกี่ยวกับการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนไทยโดยเฉพาะชาวชนบท

 

ที่ผมเห็นว่าสำคัญที่สุดคือการปฏิวัติอุตสาหกรรมไทย โดยการจัดตั้งการอุตสาหกรรมขึ้นทุกตำบล เป็นอุตสาหกรรมขนาดกลาง มีคนงานสัก 500 คน ไม่ใช่การหัตถกรรมย่อยหรืออุตสาหกรรมครัวเรือนแบบ ๑ต๑ผ (โอทอป) โดยอุตสาหกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่จะเป็นอุตสาหกรรมการเกษตร เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าก่อนส่งออกจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ  แต่อีกส่วนหนึ่งจะเป็นอุตสาหกรรมที่ท้องถิ่นมีวัตถุดิบและมีความถนัด เช่น เฟอร์นิเจอร์ ทอผ้า หัตถกรรมอื่นๆ

 

การทำเช่นนี้จะทำให้ประชาชนอยู่ในท้องถิ่น ไม่ต้องทิ้งไร่นาและลูกเต้าไปอยู่ไกลในนิคมอุตสาหกรรมชายทะเล  ทำให้ลดความผิดเพี้ยนของพฤติกรรมเยาวชนไทยในชนบท (ซึ่งขณะนี้น่าเป็นห่วงมากเพราะไม่มีพ่อแม่คอยดูแล)

 

อุตสาหกรรมนี้ให้ทำงานสองช่วง ช่วงละ 3 วัน ดังนั้นจะจ้างแรงงาน 1000 คน อีก 3 วันที่เหลือก็เอาไปพักผ่อน และทำการเกษตร ดังนั้นครอบครัวจะมีรายได้สองทางคือการเกษตรและค่าจ้างแรงงาน รายได้จากท้องถิ่นนี้จะไปสร้างงานภาคบริการอีก 3 เท่า เช่น ร้านอาหาร ร้านของชำ ร้านตัดผม ตัดเสื้อ ซ่อมมอไซค์ เป็นต้น ทำให้เงินสะพัดหล่อเลี้ยงท้องถิ่นหลายรอบ   (ต้องมียุทธศาสตร์กันร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่ต่างชาติด้วย ไม่งั้นดูดเงินออกนอกหมด)

 

ถ้าโครงการเมืองไทยใหม่เอี่ยมทำได้เพียงแค่นี้ ผมเชื่อว่าจะได้รับการกล่าวขานสรรเสริญไปอีกชั่วกาลนาน และจะเป็นเนื้อนาบุญสำคัญของประเทศไทย  พร้อมกันนี้รัฐต้องเลิกนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติด้วย ต้องยืนด้วยตนเองเสียที  ยิ่งส่งเสริมต่างชาติมากเท่าไรอุตสาหกรรมไทยยิ่งอ่อนแอ แถมยังมีปัจจัยลบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของชาติ

 

สำหรับทุนในการจัดตั้งนี้ส่วนหนึ่งเป็นเงินกู้จากภาครัฐ อีกส่วนหนึ่งเป็นการระดมทุนในท้องถิ่นเอง รวมถึงการ “ลงทุนด้วยแรงงาน” ของประชาชน วิธีนี้จะทำให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของโรงงาน จะทำงานด้วยความทุ่มเทในฐานะเจ้าของ  เป็นการเอาข้อดีของระบบคอมมูนมาผสมกับระบบทุนนิยม

 

เรื่องอุตสาหกรรมท้องถิ่นนี้มันมาโยงกับเรื่องน้ำท่วมอย่างเหลือเชื่อ เพราะอุตสาหกรรมต้องการน้ำ การเกษตรในท้องถิ่นก็ต้องการน้ำ น้ำนี้จะมาจากการขุดคลองก้างปลาโยงใยแม่น้ำสายสำคัญทั้งประเทศเข้าด้วยกัน เพื่อการผันน้ำซึ่งกันและกันยามน้ำหลากในสายใดสายหนึ่ง มีระบบเขื่อนเตี้ย  1-3 เมตรกั้นเป็นระยะตามชัยภูมิที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำท่วมและผันน้ำไปยังชัยภูมิที่เป็นแอ่งธรรมชาติ (อาจมีการขุดลอกเสริมบ้าง)

 

เชื่อได้ว่าแอ่งธรรมชาตินี้มีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ผมเองได้ประสบเห็นแอ่งเหล่านี้มากมายหลายหมู่บ้าน เพียงแต่มันมีน้ำธรรมชาติป้อนเข้าไม่เพียงพอ จึงแห้งขอดยามหน้าแล้ง  แอ่งเหล่านี้จะเป็นแก้มลิงป้องกันน้ำท่วมเต็มทั่วประเทศในยามน้ำหลาก ส่วนในยามปกติก็เป็นแหล่งน้ำสำหรับอุตสาหกรรมท้องถิ่นและการเกษตร  

 

ยังมีอีกมากมายหลายเรื่องที่อยากเสนอให้รัฐบาลนำไปพิจารณาครับ แต่วันนี้ขอเพียงเท่านี้ก่อน คงต้องต่อตอนสองนะครับ

 

ก่อนจบขอฝากเตือนรัฐบาลว่าโปรดอย่าคิดเอาเรื่องถมทะเลมาใช้แก้น้ำท่วมอีกนะครับ มันได้ไม่คุ้มเสียเอามากๆ (ซึ่งผมได้เขียนบทความวิเคราะห์ไว้แล้วเมื่อตอนรัฐบาลเข้ารับหน้าที่ใหม่ๆ….เตือนพรรคเพื่อไทย…เลิกปิดปากพระคงคาและปิดตาพระสมุทรhttp://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000096901

)

…คนถางทาง

ปล. บทความนี้ได้นำลง ผจก.ออนไลน์ ในวันที่ ๓ พย. ๕๔



Main: 0.90749311447144 sec
Sidebar: 0.02282190322876 sec