เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง…ถนนเกือกม้ากันน้ำท่วม)

โดย withwit เมื่อ 6 November 2011 เวลา 11:37 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1842

เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง)

 

ผมได้เขียนเรื่องเมืองไทยใหม่เอี่ยม (หรือนิวไทยแลนด์ตามศัพท์เรียกของรัฐบาล) ในตอนแรกไว้แล้ว โดยเสนอให้รัฐแก้น้ำท่วมแบบบูรณาการด้วยการขุดคลองก้างปลาเชื่อมต่อแม่น้ำสายสำคัญเข้าด้วยกัน โดยขุดผ่านเอาน้ำไปกักเก็บไว้ตามแอ่งน้ำธรรมชาติด้วย ซึ่งมีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ (ซึ่งน้ำแห้งในฤดูแล้ง) เท่ากับว่าเรามีแก้มลิงนับหมื่นแก้มคอยเก็บกักน้ำยามน้ำหลากในที่ใดที่หนึ่ง แถมกลายเป็นแหล่งน้ำสำหรับการเกษตรและอุตสาหกรรมท้องถิ่นอีกด้วย

 

ตอนที่สองนี้ จะเน้นมาที่เมืองใหญ่ เช่น กทม. นครราชสีมา หาดใหญ่ ในกรณีที่แก้มลิงทั้งหลายเอาไม่อยู่แล้ว  ที่ขอเสนอคือให้ทำถนนเกือกม้าสองชั้นโอบอ้อมเมืองไว้ โดยปลายเปิดของเกือกม้านั้นหันไปในทางลาดต่ำของเมือง ก็คือทางด้านท้ายของแม่น้ำที่ไหลผ่านเมืองนั่นเอง  ระยะห่างระหว่างถนนสองสายนี้แล้วแต่จะกำหนด สำหรับกทม. เสนอให้ห่าง สัก 1 กม. โดยยกถนนสูงประมาณ 2 เมตร   ดังนั้นถ้าถนนยาวสัก 100 กม.  และสูง 2 ม. “คลอง” หว่างถนน จะกักน้ำได้ถึง  200 ล้านลบ.เมตร. และยังระบายลงสู่ทะเลตลอดเวลา

 

เมื่อถนนตัดผ่านแม่น้ำ (เช่น เจ้าพระยา) และคลองต่างๆ  ต้องทำสะพานและมีการสร้างประตูน้ำเปิดปิดได้  ที่ประตูน้ำด้านนอกมีสถานีสูบน้ำติดตั้งไว้ด้วย  พอน้ำหลากเข้ามามาก จะปิดประตูน้ำทั้งด้านนอกและด้านใน สำหรับประตูด้านนอกให้ทำการสูบน้ำเข้ามาในช่องวงแหวนระหว่างถนนสองสาย

 

ดังนั้นน้ำที่สูบเข้ามาจะถูกบังคับให้ไหลไปตามช่องถนน แล้วไประบายออกทะเล หรือ ออกทางด้านปลายแม่น้ำ น้ำก็จะไม่ท่วมเมือง

 

ดินที่ทำถนนสูงไม่ต้องไปเอาจากไหน ก็ขุดเอามาจากริมถนนนั่นแหละ  พื้นที่ว่างระหว่างถนนให้ปลูกต้นไม้ที่ทนน้ำท่วม เช่น มะดัน ลำภู แสม โกงกาง  ซึ่งป่ากึ่งชายเลนนี้จะช่วยเป็นปอดให้คนเมืองด้วย และกลายเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ ส่วนถนนก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคม

 

ถ้าขุดคลองเลียบถนนไปด้วย (เอาดินมาทำถนน) คลองก็กลายเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำอย่างดี เช่น รถบรรทุกห้ามเข้ากทม. แต่เอาสินค้าเข้ามาลงที่สถานีริมถนนวงแหวนด้านนอก แล้วบรรทุกเรือเล็กไปออกท่าเรือ หรือ เอาเข้ามายังตัวเมืองชั้นใน ก็จะช่วยบรรเทาการจราจรที่ติดขัดได้มาก

 

มีความเป็นไปได้สำหรับเมืองปากแม่น้ำคือ ที่ดินวงแหวนนี้จะกลายเป็นป่าชายเลนในที่สุด กลายเป็นแหล่งอภิบาลลูกกุ้งลูกปลาเป็นอย่างดี ทำให้เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ท้องทะเลไทย

 

…คนถางทาง (๖ พย. ๕๔)

ปล. การสูบน้ำ ปริมาณ 200 ล้าน ลบ. ม. ต่อวัน ข้ามประตูน้ำสูง 2 ม.  ผมได้คำนวณดูคร่าวๆ ว่า จะใช้พลังงานประมาณ 50 เมกะวัตต์ หรือใช้เงินค่าไฟประมาณ 3 ล้านบาทต่อวัน ถ้าน้ำหลากมาท่วมสักเดือนหนึ่งก็ใช้ 90 ล้านบาทเท่านั้น นับว่าคุ้มมากๆ ถ้าต้องเกิดการเสียหายนับแสนล้าน

« « Prev : ป้องกันรถยนต์จากภัยน้ำท่วม (วิธีที่ ๒)

Next : เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอน ๓…คลองเกือกม้ากันน้ำท่วมราคาถูก) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "เมืองไทยใหม่เอี่ยม (ตอนสอง…ถนนเกือกม้ากันน้ำท่วม)"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.074501037597656 sec
Sidebar: 0.018358945846558 sec