ตามลม(๑๗) : เตรียมตัวตามรอยก๊าซเรือนกระจก

อ่าน: 2347

๗๐% ของรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์เดินทางมาถึงยังผิวโลกโดยการดูดซับผ่านวัตถุต่างๆลงมาในรูปของรังสีอินฟราเรด มาสร้างความอบอุ่นให้กับสิ่งมีชีวิตบนโลกและทำให้เกิดการระเหยของน้ำเกิดเป็นวัฏจักรของการเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น ฝนตก ความชื้นในอากาศ  อีก ๓๐% สะท้อนกลับไปในบรรยากาศ

ก๊าซและละอองต่างๆที่อยู่ในอากาศ คือ วัตถุที่เข้ามาขวางเส้นทางเดินของความร้อน ปรากฎการณ์การดูดกลืนความร้อนและสะท้อนความร้อนของก๊าซเหล่านี้จึงมีส่วนเกี่ยวข้องเพิ่มความร้อนด้วย

เวลาที่ความร้อนแผ่รังสีลงมา ๙๐% จะแผ่ลงมาเป็นแนวดิ่งลงมาหาหลังคาอาคารและสะสมอยู่ที่ช่องใต้หลังคา  แต่ตึกนี้อยู่ชั้นล่างสุดของอาคาร ความร้อนในตึกไม่น่าจะมาจากความร้อนที่สะสมใต้หลังคา

ถ้าดูภาพความสัมพันธ์ข้างล่างแล้ว รังสีความร้อนที่แผ่ลงมาถึงตึกชั้นล่างอย่างนี้น่าจะเป็นส่วนที่ดูดซึมไว้โดยวัตถุที่เข้ามาขวางอยู่ในอากาศที่รังสีเดินทางผ่านมากกว่า

ใต้ถุนตึกมีน้ำเสียขังอยู่ ก็เลยนึกถึงกลุ่มก๊าซเรือนกระจกที่อาจสะสมอยู่ในอากาศแถวรอบตึกได้ แล้วดูดซับความร้อนไว้ทำให้น้ำระเหยเป็นไอ เติมไอน้ำให้แก่พื้นที่ตรงนี้

เพื่อวิเคราะห์ว่ามีก๊าซเรือนกระจกซึ่งมีทั้งคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน โอโซน ไนตรัสออกไซด์ สารซีเอฟซี ก๊าซไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFC) ก๊าซเพอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFC) และก๊าซซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF6) เหล่านี้อยู่ร่วมเป็นแหล่งดูดซับความร้อนหรือเปล่า ก็เลยคิดว่าจะตามรอยหาตัวมันดู

กำเนิดของก๊าซเรือนกระจกที่เป็นไปได้ที่พื้นที่ตึกนี้ที่ไปตามรอยดูแล้ว มีอาทิ ซากพืชซากสัตว์ที่ย่อยสลายจากของเสียที่คนปล่อยลงท่อสุขา สารหล่อเย็นในตู้เย็น เครื่องปรับอากาศที่อยู่ในพื้นที่ตึก การใช้เครื่องกระป๋องที่เป็นสเปรย์ที่เจ้าหน้าที่นำมาใช้ดูแลสถานที่  ขยะอินทรีย์ที่หล่นไปอยู่ในน้ำขังอันเนื่องมาจากฝีมือคนที่สัญจรเข้ามาในพื้นที่ เศษอาหารที่เหลือทิ้งในถังขยะของตึก เหลือแต่การหาเครื่องมือมาตรวจวัดดูเท่านั้นแหละ

พูดถึงเรื่องปรากฏการณ์โลกร้อน มีคนระบุว่าผลสำรวจล่าสุดพบระดับน้ำทะเลในอ่าวไทยเพิ่มขึ้น ๑-๒ มิลลิเมตรต่อปี เป็นระดับปกติ แต่ในทะเลฝั่งอันดามันสูงขึ้น ๘-๑๒ มิลลิเมตรต่อปี ส่งผลมากต่อการกัดเซาะชายฝั่ง โดยบอกไว้ด้วยว่าปริมาณน้ำทะเลที่สูงเพียง ๕๐ เซนติเมตร สามารถกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างรุนแรง

ในฐานะที่อยู่ริมฝั่งทะเลอันดามัน ถ้ารอบตึกนี้มีก๊าซเรือนกระจกอยู่แล้วจัดการซะก็คงจะช่วยชะลอความรุนแรงของการกัดเซาะชายฝั่งไปได้บ้าง ถึงจะไม่มากก็ยังดีกว่าไม่ทำอะไรซะเลย

« « Prev : ตามลม(๑๖) : ระบายอากาศแบบกะเอาด้วยตา…จะดีหรือ

Next : น้ำท่วม (๑) » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม(๑๗) : เตรียมตัวตามรอยก๊าซเรือนกระจก"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.1279730796814 sec
Sidebar: 0.10568499565125 sec