จ๊าก..ว๊าก..อืม

อ่าน: 1598

ขนลุกกับภาพที่ผุดขึ้นมาในหัวเมื่อลองนึกภาพเปรียบเทียบคนถือครองหรือทำมาค้าขายอุปกรณ์อีเล็กโทรนิคส์ในอินเดียกับไทยเมื่อลองวาดภาพคร่าวๆขึ้นมาจากเรื่องราวเหล่านี้

เครื่องพีซี จอคอมพิวเตอร์ (๒๕ กก.) โน๊ตบุ๊ค (๕ กก.) ใช้งาน ๕-๘ ปี

เครื่องพิมพ์ (๘ กก.) ใช้งาน ๕ ปี

มือถือ (๐.๑ กก.) ใช้งาน ๔ ปี

โทรทัศน์(๓๐ กก.) ใช้งาน ๘ ปี

ตู้เย็น(๔๕ กก.) ใช้งาน ๑๐ ปี

ขยะที่เกิดขึ้นเป็นแสนตันต่อปีสร้างรายได้คืนให้อินเดียได้เลยนะเออ แค่แยกสิ่งที่มีประโยชน์เช่น เงิน ทอง แพลเลเดียม ทองแดงและอินเดียมจากขยะเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่  บริหารให้เป็นอาชีพของคนอินเดียที่ยากจน เศรษฐกิจในบ้านเขาก็เปล่ยนแปลงได้แล้ว คนจนจำนวนมากบ้านเขาหายจนมีกินมีใช้ได้เลยนะนี่

ความเก๋าของบรรดายานพาหนะที่เห็นๆนี่เกี่ยวข้องกับขยะโลหะมีพิษอยู่เห็นๆ

รัฐบาลท้องถิ่นบริหารยังไงกับระบบขยะที่นี่ คนที่นี่เรียนรู้ผ่านทางไหน เสียดายที่ไม่รู้

แต่ขยะอีเล็็กโทรนิค “อีเวสต์” (e-waste) พวกนี้มีเรื่องที่อินเดียกังวลละ ก็ชิ้นส่วนหลายชิ้นในอุปกรณ์ถือว่าเป็นพิษ ไม่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อายุการใช้งานสั้นเท่าไรขยะก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย

ลองคิดดูว่าเขาจะไม่กังวลได้ยังไง แค่ข้อมูลของผู้ใช้มือถือที่ตัวเลขจากยูเอ็นระบุว่ารวมทั่วโลกมีจำนวนไม่น้อยกว่า ๕,๐๐๐ ล้านคนก็สะดุ้งแล้ว ก็อินเดียเป็นแหล่งทิ้งซากอิเล็กทรอนิคส์เหล่านี้ นอกจากไอวอรีโครสต์, ไนจีเรีย,จีน,ไทยนี่นา

อย่าเพิ่งงงเลยน่าว่าทำไมบ้านเราเป็นที่ทิ้งซากด้วย ก็ที่ไหนเป็นปลายทางนำเข้าสินค้าคอมพิวเตอร์และมือถือที่ใช้แล้วจากต่างประเทศซึ่งมีอายุการใช้งานสั้น ที่นั้นก็พร้อมเป็นสุสานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ที่จะสร้างปัญหามลพิษต่อไปนี่นา

นอกจากกลัวผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมก็มีอีกเหตุที่เจ๋งกว่าที่ทำให้อินเดียคัดค้านการเปิดเสรีการค้าในการนำสินค้าเก่ามาผลิตซ้ำหรือทำเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปใหม่ตามที่ประเทศพัฒนาแล้วเสนอ เขากลัวว่าจะเป็นอันตรายต่ออุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ เช่น รถยนต์และไอทีที่สินค้าสำเร็จรูปราคาถูกจะเข้ามาตีตลาดจนท้ายที่สุดก็เป็นการฆ่าอุตสาหกรรมของตัวเองค่ะ

แม้จะค้านแต่เขาก็แสดงสปิริตเข้าร่วมกำหนดสินค้าที่จะนำกลับมาผลิตใหม่ในเวทีดับบลิวทีโอและบอกตรงๆว่ายังไม่พร้อมเปิดเสรีสินค้ามือสอง เขาร่วมมือแค่ยอมให้นำเข้าสินค้าที่ต่อต้านภายใต้การอนุญาตเป็นบางชนิดเท่านั้น เช่น สินค้าทุน สินค้าอื่นๆยังต้องห้ามอย่างเข้มงวดในขณะที่อาร์เจนตินา บราซิล เอกวาดอร์และเวเนซูเอล่าตอบรับและหนุนเต็มร้อย

นำบรรยากาศริมทางในเขตเมืองอีกมุมมาให้ดูกัน

ภาคอุตสาหกรรมอินเดียเห็นด้วยกับการตัดสินใจของรัฐบาลที่ไม่เสี่ยงกับการลดมาตรฐานความปลอดภัย และไม่ขอเป็นแหล่งดัมพ์ขยะอิเล็กทรอนิคส์ด้วยการนำเข้าสินค้าราคาถูก คุณภาพต่ำ ที่ลึกๆ แล้วเป็นการถ่ายเท “ขยะไฮเทค” จากประเทศพัฒนาแล้วมาสู่ประเทศกำลังพัฒนา

ไม่น่าเชื่อเรื่องการผลิตซ้ำว่ามีมูลค่าทั่วโลกถึง ๑๐๐,๐๐๐ ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฯ มิน่าบริษัทยักษ์ใหญ่ เช่น จีอี ซีร็อกซ์ และแคปเปอร์พิลลาร์และประเทศที่ส่งเสริมการค้าในการผลิตซ้ำจึงหนุนโดยอ้างว่า “เป็นการช่วยทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนาในการเพิ่มการเข้าถึงสินค้าต้นทุนต่ำแต่มีคุณภาพสูง และยังเป็นการช่วยบริหารของเหลือใช้และสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญด้านนี้อีกด้วย”

เรื่องนี้ก็ไม่น่าเชื่อค่ะ อินเดียมีขยะอีเวสน์นำเข้าจากการบริจาคคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษารวมไปถึงบริจาคให้สถาบันต่างๆ และโรงพยาบาล รวมทั้งการนำเข้าอย่างผิดกฎหมายประมาณ ๕๐,๐๐๐ ตันต่อปี

ลองคิดเล่นๆกับตัวเลขขยะอีเวสน์ ๓๓๐,๐๐๐ ตันที่เกิดในอินเดียในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ แล้วก็สะดุ้ง โอ้โหเท่าจำนวนแล็ปท็อป ๑๑๐ ล้านเครื่องเลยแหละ

ข้อมูลที่อินเดียถอดบทเรียนตัวเองไว้อย่างนี้แหละที่ทำให้เขามองว่าถ้าไม่มีการเปิดเสรีนำเข้าสินค้าผลิตซ้ำ ขยะอีเวสน์ของเขาอาจหมดไปได้

เห็นความตื่นตัวของอินเดียแล้วสะท้อนบ้านเรา บ้านเราดูเหมือนตื่นแล้วหลับต่อหรือเปล่า ดูเหมือนไม่ห่วงกับการจะกลายเป็นแหล่งขยะอีเวสน์ของโลกเลยแฮะ ทั้งเสาโทรทัศน์ จานดาวเทียม มือถือ คอมพิวเตอร์ สินค้าอีเล็กโทรนิคส์ต่างๆแค่มองด้วยตาก็เห็นปริมาณที่สื่อไปถึงขยะที่ทำให้ชวนขนลุกแล้วนะ

เมืองนี้มีขยะน้อยกว่าเมืองที่เคยผ่านมาจริงๆ แปลกตากับพื้นที่อาศัยของคนมุสลิมกับจำนวนสุนัขที่เห็น

เคยได้ยินว่ามีการยกร่างกฏหมายที่จะใช้ควบคุมปัญหาของขยะอีเวสน์ภายใต้ความรับผิดชอบของกรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมบ้านเราอยู่บ้าง แต่ก็เงียบไปนะ ไปถึงไหนแล้วไม่รู้ มีกฏหมายหรือระเบียบว่าด้วยเศษซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิคส์ (WEEE) กี่ฉบับที่ใช้บังคับได้แล้วก็ไม่รู้กันเลย ใครรู้บอกกันบ้างนะคะ

รถวิ่งไปเรื่อยๆ ไกลจากเมืองมาแล้ว ทิวทัศน์ ๒ ข้างทางเริ่มเปลี่ยน มีไร่เกษตรสลับไปกับตลาดชาวบ้านเป็นระยะๆ ผ่านตลาดแห่งหนึ่งก็แวบเห็นแผ่นผ้าประชาสัมพันธ์หลักสูตรการศึกษาหราอยู่กลางตลาด วิธีชวนให้เข้าเรียนอย่างนี้ไม่ใคร่เห็นในบ้านเรา

เพิ่งรู้อีกเรื่องมาก็เล่าไว้ตรงนี้ซะเลย ระบบว๊าก (Ragging) ในสถาบันศึกษาค่ะ เขามีเหมือนบ้านเราแหละ เขาว่าใช้มาตั้งแต่ก่อนสงครามครั้งที่ ๒ เป็นเรื่องของการล้อเล่นระหว่างรุ่นน้องกับรุ่นพี่

แต่พอหลังสงครามก็เปลี่ยน ทหารบกและโรงเรียนกินนอนซึ่งอังกฤษ เจ้าอาณานิคมนำเข้ามานำเข้าไปใช้

ทีแรกก็เป็นกิจกรรมอ่อนๆ จนเมื่อนักศึกษาจากวรรณะต่ำและศาสนาอื่นๆที่ไม่ใช่ฮินดูเข้าเรียนในสถานศึกษากันมากขึ้นก็ถูกปรับให้เข้มขึ้นเพื่อใช้ลดปัญหาความเกลียดชังระหว่างวรรณะ ศาสนาและถิ่นฐาน ประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๐ ใช้เป็นบททดสอบความกล้าบ้าบิ่นของนักศึกษารุ่นพี่  และใช้กดดันให้นักศึกษารุ่นพี่หลายคนที่ไม่เต็มใจว๊ากน้องต้องร่วมว๊ากน้องด้วย

จนเริ่มมีวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และแพทย์ศาสตร์ของเอกชนเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ดในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ก็มีการนำระบบว๊ากเข้าไปใช้แล้วก็เริ่มมีสถิติการฆ่าตัวตายของน้องใหม่เพิ่มขึ้น จนในที่สุดรัฐที่มีสถิติการตายจากการรับน้องสูงสุดก็ต้องออกกฎหมายต่อต้านการรับน้อง (Anti-Ragging Law) ออกใช้ รัฐทมิฬนาดูเป็นรัฐแรกในอินเดียที่ออกกม.มาใช้ในปี พ.ศ. ๒๕๔๐

ศาลฎีกาอินเดียเข้มามีบทบาทวินิจฉัยตัดสินให้การรับน้องระบบว๊ากเป็นสิ่งผิดกฎหมายทั่วอินเดียในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และทำให้การว๊ากน้องช่วงกลางวันมุดลงลงใต้ดินไปเกิดตามหอพักต่างๆในช่วงกลางคืนแทนจนถึงวันนี้

๘ สิงหาคม ๒๕๕๓

« « Prev : ดูไม่ออก

Next : มีความสุขง่ายๆอย่างนี้เองรึ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

1 ความคิดเห็น


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.097166061401367 sec
Sidebar: 0.43416690826416 sec