การเกษตรรีไซเคิล
ก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางคือเดลี ยิ่งห่างออกจากใจกลางรัฐราชสถานเท่าไร ระหว่างเส้นทางที่ผ่านจะยิ่งเห็นแปลงเกษตรเพิ่มขึ้นๆ ส่วนใหญ่ของแปลงที่เห็นเป็นการปลูกพืชแบบเชิงเดี่ยว พืชที่ปลูกเป็นจำพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยวซะมากกว่า ไม่ใคร่เห็นพืชใบเลี้ยงคู่เช่นเดียวกับเส้นทางขามา
แปลงเกษตรตรงไหนที่เป็นแปลงนา จะเห็นอะไรอย่างหนึ่งหน้าตาคล้ายกองฟางหรือยุ้งเก็บข้าวคล้ายที่มักเห็นบนถิ่นแดนชาวเขาบนภูสูง ที่ฝาของยุ้งจะมีก้อนกลมๆสีฟางแปะเรียงไว้ทำให้เกิดลวดลายคล้ายๆใครขีดลายเส้นกลมๆลงบนปูน ปรากฏว่าเจ้าก้อนๆที่เห็นนั้นเป็นขี้วัวที่เขาจับปั้นแล้วแปะตากแดดไว้
เจ้าก้อนๆที่แปะไว้นี้คนอินเดียเขาใช้มันทำฟืน วิธีคิดก่อนที่จะเกิดสิ่งนี้น่าสนใจ เขาเล่าว่าหากพวกเขาตัดต้นไม้ก็เท่ากับเขาทำบาปมาก เขาจะไม่ทำ และไม่เคยคิดจะนำต้นไม้มาทำฟืนเหมือนบ้านเรา เขามีความเชื่อว่าใครทำลายต้นไม้ คนๆนั้นเท่ากับฆ่าพ่อแม่ของตนเอง
ใครตัดต้นไม้มาทำฟืนก็ผิดกฎหมายเขาด้วยนะ
ที่เห็นไกลลิบๆในนานั้นมีฝาเหมือนขี้โคลนที่มีลวดลาย ที่กองๆก็นึกว่าเป็นฟาง ขอบคุณภาพจากเว็บไซด์ที่ทำให้เห็นชัดว่ามูลวัวควาย
ความเชื่อนี้ทำให้เขาหาวัสดุมาทำเชื้อเพลิงแทนฟืนต้นไม้ซึ่งเป็นวัสดุที่คนโดยมากไม่ต้องการและมองข้ามแล้วความเป็นคนคิดนอกกรอบของเขาก็ทำให้เขาเห็นคุณค่านี้จากสัตว์ที่อยู่ใกล้ตัวอย่างวัวควาย
เจ้าก้อนที่เขาแปะไว้นั้นคือมูลวัวควายซึ่งเป็นซากพืช สามารถใช้ทำเชื้อเพลิงแทนฟืนต้นไม้ได้นั่นเอง ที่จริงเขาใช้ฟืนต้นไม้เหมือนกันแต่จะใช้เมื่อต้นไม้ตายแล้ว
ได้เห็นการใช้หน้าบ้านและหลังคาบ้านเป็นแหล่งเศรษฐกิจได้จากคนอินเดียนี่แหละ ที่โกลกาตาเห็นคนไม่มีบริเวณบ้านใช้หลังคาบ้านปลูกพืชสวนครัวประเภทไม้เลื้อย เมืองที่ผ่านเห็นการใช้หน้าบ้านเลี้ยงควาย ม้า มาเมืองนี้เห็นการใช้ฝาบ้านแปะมูลวัวควายไว้เป็นเชื้อเพลิง
สิ่งเหล่านี้คนบ้านเราปฏิเสธมันว่าเป็นเรื่องของคนจน แต่คนอินเดียกลับใช้มันแบบเศรษฐกิจพอเพียง อายเขานะนี่
เป็นความกล้าคิด กล้าทำเห็นประโยชน์ของความเชื่อที่ทำให้เกิดความกล้าคิด กล้าทำ ความต้องการอยู่รอดที่ทำให้ไม่ยอมแพ้ต่อข้อจำกัดของตน คนอินเดียเคาะกระโหลกให้ตาสว่าง คนอินเดียเข้าใจเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าคนบ้านเราซะอีกแฮะ
ที่มาของมูลวัวควายที่แปะๆไว้นั้นเป็นผลงานร่วมกันของคนใน ครอบครัวที่ช่วยกันขยำ ขยี้ปั้นๆตากเรียงแปะ เจ้าสิ่งนี้เป็นศรษฐกิจของบ้านด้วยเพราะว่าสามารถนำไปขายในท้องตลาดด้วยราคา ท่อนละ ๓-๕ รูปีได้
เห็นแล้วนึกถึงการปลูกข้าวเมืองไทยสมัยที่ยังใช้ ควายไถนา ภูมิปัญญาอย่างนี้ยังมีเหลือในหมู่บ้านชาวเขา แต่มันก็กำลังจะหมดไปเพราะสังคมเมืองเริ่มผ่องถ่ายอารยธรรมเมืองเข้าไปสู่ชีวิตชาวเขา
เขาว่าเจ้ามูลวัวที่แปะไว้นี้ เป็นตัวบอกฐานะของเกษตรกรด้วยนะ ใครปะไว้มากคนนั้นฐานะดีกว่า
บรรยากาศยามเช้าบนถนนในกรุงเดลีวันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๔๔๓
ที่เมืองเดลีในตอนเช้าอากาศกำลังสบายๆ ไม่ร้อนมาก และไม่หนาว พวกเรากลับมาพักที่โรงแรมเดียวกับเมื่อวันก่อน จัดการรวบรวมสัมภาระเรียบร้อยแล้วก็คืนห้องเดินทางกันต่อ
โปรแกรมแรกของวันนี้เหมือนสวนสาธารณะ แต่จริงๆเป็นศาสนสถานของศาสนาหนึ่งที่คนกลุ่มหนึ่งในอินเดียนับถือ เป็นศาสนาที่ฉันเพิ่งเคยได้ยินชื่อเมื่อมาถึงอินเดียนี้แหละ
ศาสนานี้แปลก ไม่มีนักบวช ไม่รับบริจาคเงินจากบุคคลภายนอก แต่มีสภาบริหารการเผยแพร่ศาสนกิจ แถมมีสภาอยู่ใกล้ชิดถึงระดับหมู่บ้านเป็นสภาท้องถิ่น มีสภาในระดับประเทศ และสภาในระดับสากลแล้วด้วย
ความแออัดบนท้องถนนบริเวณชานเมืองของกรุงเดลี เวลาประมาณ ๙ น. วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ที่แปลกใจเข้าไปอีกก็คือสภาศาสนาบาไฮนี้มีอยู่ในบ้านเราแล้วด้วย อยู่ที่ซอยหลังสวน กรุงเทพฯ ในภูมิภาคก็มีแล้วที่เชียงใหม่ สงขลา ยโสธร และชลบุรี
ถ้านับพื้นที่ของการเผยแพร่ศาสนา เขาว่ากันว่าศาสนาบาไฮสามารถเผยแพร่กว้างเป็นอันดับสองรองจากศาสนาคริสต์
ต้นกำเนิดของบาไฮอยู่ที่ประเทศอิสราเอล สหประชาชาติรับรองสถานะความเป็นศาสนาอิสระนี้แล้วด้วย
เคยมีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับบาไฮในระดับโลกที่สร้างความวุ่นวาย ยังจำคนๆนี้ได้มั๊ยอยาตอลละห์ รุฮอลลาห์ โคไมนี่แห่งอิหร่าน สมัยนั้นแหละที่เปนเหตุการณ์เกี่ยวกับบาไฮละ
อ้อ ลืมไป คนอินเดียเขาเรียกมูลวัวควายแบบข้างบนว่า “ดั้ง (Dung)” นะจ๊ะ
๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๓
ความคิดเห็นสำหรับ "การเกษตรรีไซเคิล"