เหยียบเดลี
เส้นทางเหินฟ้าของวันนี้มุ่งไปทางเหนือกว่าเดิม เป้าหมายคือเมืองเดลี เมืองที่มีอดีตเป็นที่ประกอบพิธีราชาภิเษกของพระเจ้ายอร์ชที่ ๕ ของอังกฤษ
ระหว่างเส้นทางไม่เจอฝนเลย ฟ้าโปร่ง แดดดี มองลงไปที่พื้นดินก็เห็นความกว้างใหญ่ไพศาลของพื้นที่เมืองโกลกาตา มองเท่าไรก็ไม่เห็นบริเวณของท่าเรือ ระหว่างการบินไม่มีฝนเลย ความหนาแน่นของเมฆมีเยอะเหมือนกัน
องค์ประกอบในเครื่องบินอำนวยความสะดวกให้คนนั่งแบบพอดีตัว โชคดีที่ตัวเล็กทำให้นั่งได้สบายๆ พนักงานบนเครื่องมีแค่ ๒ คนทำทุกอย่าง เวลาเธอเดินเสิร์ฟอาหาร ไม่มีที่ว่างให้เดินสวนทางได้เลย
แผนที่บอกว่าไปเดลีต้องขึ้นไปทางเหนือ
สักครู่พนักงานก็เริ่มบริการเครื่องดื่มกล่องและหูฟัง ทีแรกว่าจะไม่ดื่มแล้ว แต่พอพลิกฉลากโภชนาการอ่านดู เห็นระบุว่าใส่โปตัสเซียมไว้ ไร้โซเดียม และเป็นน้ำมะนาว ชักสนใจ บอกตัวเองให้ชิมดูหน่อยเหอะจะได้รู้จักรสชาด ดูดเข้าปากแล้วรสชาดประหลาด มีรสเค็มที่ไม่คุ้นลิ้น
ไม่รู้จะทำอะไรดี จึงเปิดทีวีดู จนกระทั่งพนักงานเดินมาแจกอาหารและน้ำ ก่อนบริการเขาถามว่าจะกินไก่หรือกินมังสะวิรัต ฉันเลือกมังสะวิรัตและน้องจ๋าเลือกไก่ อาหารมาแล้วลองชิมดู อือหือ ไม่อร่อยเลย มื้อนี้จึงได้ฝึกการกินเพื่อยังชีพ
ต่ำลงไปก็กว้างใหญ่มากกกก สูงขึ้นไปที่เวิ้งว้างอย่างที่เห็น
มีเครื่องเคียงหนึ่งในเมนูน่าสนใจ ทีแรกที่เห็นเข้าใจว่าเป็นนมสดซดเข้าไปเต็มเปา ที่ไหนได้กลับเป็นกะทิเคี่ยว รสชาดเหมือนกะทิเคี่ยวความร้อนที่ไม่ปรุงรส แปลกลิ้นมากเลย
ระหว่างฉันเปิดทีวีดู คนนั่งข้างๆแอบงีบ มีหนังการ์ตูนด้วย พูดเรื่องหนังการ์ตูนอินเดียเขาทำเรื่องรามายนะไว้น่าดูนะ ใครชอบชวนไปดูตัวอย่าง ตอนกำเนิดหนุมาน และตอนพระลักษณ์บาดเจ็บ นี่เป็นหลักฐานยืนยันว่าคนอินเดียเขาใช้ไอทีให้เข้ากันกับวัฒนธรรมของเขา แล้วรามายนะ นั่นคือคัมภีร์สอนศาสนาฮินดูด้วยนี่ซิ เห็นแง่มุมที่น่าสนใจนำมาใช้บ้านเราบ้างหรือยัง
หน้าตาภายในห้องโดยสารและเครื่องอำนวยสะดวกบนเครื่ืองบินโลว์คอสอินเดีย
ที่หน้าตาดูเหมือนนมเป็นน้ำกะทิสดเคี่ยว ในชุดอาหารมีน้ำดื่มขวด ๒๐๐ มล.มาให้ด้วย ไม่มีกาแฟ-ชาเสิร์ฟให้
มักได้ยินคำนี้บ่อยมาก “์No Photograph” เดาเหตุผลว่าเป็นเรื่องเฝ้าระวังการก่อการร้ายหรือเปล่า
วันก่อนเล่าเรื่องใบกะเพราเป็นเครื่องเซ่นไหว้เทพ คนอินเดียจึงไม่ใช้เป็นอาหารไว้ ถือโอกาสนำตำนานมาฝากซะเลยที่นี่
มีคนอินเดียที่กินใบกะเพราด้วยนะ คนที่กินใบกะเพราไม่ใช่ฮินดู คนอินเดียเรียกใบกะเพราว่า “ตุลสี”
เรื่องกินมังสะวิรัตผู้รู้เขาเล่าว่าเกิดขึ้นในสมัยที่ ๒ ศาสนา ฮินดู พุทธ แข่งกันดึงคนเข้าวัด เิกิดในช่วงที่ศาสนาพุทธสายมหายานรุ่งเรืองมาก หัวหน้าพราหมณ์ที่ชื่อสังกราจารย์จึงรับเอาคำสอนและแนวปฏิบัติหลายๆ อย่างไปใช้ด้วยเพื่อดึงคนนับถือฮินดูไว้ เช่น เริ่มมีนักบวช มีธรรมเนียมโกนหัวบวช 1 วัน ไม่ฆ่าและกินเนื้อสัตว์ใหญ่เพราะถือเป็นบาปและกินเจเหมือนชาวพุทธ
คนที่เบื่อก็ลุกเดินมาคุยกัน คนที่หิวก็คว้าอาหารใส่ท้องเท่าที่พอกินได้ ลุงเอกได้ที่นั่งอยู่ตรงไหนไม่รู้
ในเมนูที่เขาเสิร์ฟเห็นเจ้าอาหารที่เป็นแผ่นแป้งสีเหลืองม้วนๆนั่นไหม น่าจะเป็นนาน (Nan) มั๊ง ที่เห็นสีเหลืองๆอยู่ข้างๆเป็นซาร์บาค่ะ
โจทย์ของการดูงานคราวนี้ ลุงเอกให้ทีมอินเดียสังเคราะห์ความคิดเรื่องเศรษฐกิจเพื่อนำมาต่อยอดใช้ในบ้านเราด้วย ฉันว่าเมืองไทยมีช่องทางที่จะแทรกธุรกิจส่งออกเข้าไปในตลาดอินเดียได้ถ้าศึกษาตลาดและความต้องการของเศรษฐีอินเดียให้ดีๆ
จากสิ่งที่เห็นตรงสนามบินและผ่านมาหลายวัน ตลาดเฟอร์นิเจอร์หนึ่งละที่น่าสนใจ ตลาดกะทิสดแปรรูปก็ไม่เบานะว่ามั๊ย
และแล้วเครื่องก็พาเราร่อนลงที่สนามบินเดลีในเวลาใกล้บ่าย สภาพอากาศภายนอกแดดแรงจ้าทีเดียวเชียว
บรรยากาศหน้าสนามบินเดลี อุณหภูมิน่าจะใกล้เคียงกับเมืองไทยในช่วงเที่ยงค่ะ
๖ สิงหาคม ๒๕๕๓
2 ความคิดเห็น
จะพบท่านทูตพบเดช วรฉัตรรึเปล่าครับ
ท่านทูต พลเดช วรฉัตร เขียนผิดไป