อะไรจะขนาดนั้น?

อ่าน: 1066

เรื่องราวในห้องเรียน ๔ส.๒ มีโจทย์งานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ ๔ส.๑ ทิ้งไพ่ไว้ให้จัดสำรับ การปูพื้นทำความเข้าใจเรื่องราวของจังหวัดชายแดนใต้ในเดือนมิถุนายนจึงเข้มข้น

ในวันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓ เรื่องที่ผู้รู้มาแบ่งปันจึงยังคงเป็นเรื่องของจังหวัดชายแดนใต้ ผู้รู้ที่มาแบ่งปันในวันนี้มี ๓ ท่าน ในหัวข้อแนวทางการเสริมสร้างสังคมสันติสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้จากมุมมองของภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ขอเล่าสู่กันฟังเริ่มจาก ศจ.ดร.ประเสริฐ ชิตพงศ์ อดีตสว.สงขลา อดีตอธิการบดีและผอก.สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นท่านแรก

อาจารย์เกริ่นว่า การผลักดันสันติวิธีไม่ใช่เรื่องง่าย แล้วเล่าถึงปัจจัยที่กล่าวกันว่าเป็นสาเหตุแห่งความไม่สงบเหล่านี้

ความรู้สึกว่าเป็น outsider (คนส่วนใหญ่ไม่ยอมรับ)  รู้สึกและเชื่อว่าไม่ได้รับความยุติธรรม ถูกกดดัน ถูกปลุกปั่นยุยง ต้องการแยกดินแดน มีผลประโยชน์แอบแฝง (๑๒ ลักษณะ) ถูกแทรกแซงจากต่างประเทศ

ดูวิทยากรซิ…แต่ละท่านเคร่งขรึมจริงๆ

ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องที่อาจารย์ชวนไปสัมผัสมีหลากหลายฝ่าย  ฝ่ายความมั่นคง ( ทหาร ตำรวจ หน่วยงานด้านความมั่นคง ฝ่ายปกครอง อาสาสมัคร)  เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง (รัฐ เอกชน ศาสนา การเมือง)  วิชาการ กลุ่มผลประโยชน์ ต่างประเทศ

อาจารย์แลกเปลี่ยนว่า นโยบายและความเอาจริงเอาจังของรัฐเป็นเรื่องสำคัญ ศาสนาเป็นปัจจัยหลักที่ไปเกี่ยวข้อง และย้ำว่า “ต้องเข้าใจอัตลักษณ์ของศาสนา”

ส่วนการเมืองสำคัญที่การเมืองท้องถิ่น มีทั้งการใช้ประโยชน์จากความไม่สงบและเสียประโยชน์จากความไม่สงบ  ต่างประเทศ NGO OIC มีส่วนสำคัญที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ลักษณะของประเทศที่อยู่ใกล้-ไกลก็มีส่วนสำคัญ

มีคำทิ้งท้ายที่คล้ายอาจารย์เตือนว่า “ความนิ่งเฉยหรือระมัดระวังหรือกระแอมก็เป็นเรื่องสำคัญแล้วต่อเหตุการณ์สงบหรือรุนแรง”  ด้วย

ความเป็นไปฝ่ายประชาชนที่อาจารย์นำมาถ่ายทอดมีหลากหลาย ไม่พอใจ ต่อต้าน เป็นกลาง ก่อเหตุเอง กลัวผู็้ก่อเหตุ (กลุ่มนี้สำคัญ เพราะว่าถูกกดดัน) เข้าข้างผู้ก่อเหตุ ร่วมมือกับผู้ก่อเหตุ สนับสนุนผู้ก่อเหตุ ได้ประโยชน์จากผู้ก่อเหตุ เอนเอียง  รับรู้อย่างนี้เห็นทางออกว่าจะทำอะไรได้บ้างในเวลาอันสั้นมั๊ยค่ะ

ส่วนฝ่ายผู้ก่อการไม่สงบ ที่อาจารย์เล่าให้เห็นภาพมีทั้ง มีอุดมการณ์ (ไปต่อสู้อยู่ในต่างประเทศ ทั้งในยุโรปหรือประเทศใกล้ๆ) มีผลประโยชน์ร่วม (ด้านการเมือง เช่น การเมืองท้องถิ่น) มีภาวะกดดัน (ภาวะการรอ กลัว ยุยง ท้าทาย ฯลฯ ใช้ประชาชนมีส่วนร่วมลำบาก)  มีพฤติกรรมชอบความรุนแรง มีอามิส (ทั้งในรูปเงิน ยาเสพติดและรูปแบบอื่นๆ) มีคดีติดตัว

ในส่วนของการเสริมสร้างสันติสุข อาจารย์แบ่งปันว่ามีแนวทางทำได้  ยอมรับตัวตน (เข้าใจอัตลักษณ์) ยุติธรรม มีความเป็นธรรม  ไว้เนื้อเชื่อใจ เยียวยา การศึกษา อาชีพ เศรษฐกิจ ปลอดภัยในชีวิต-ทรัพย์สิน คุณภาพชีวิต เหล่านี้แหละที่อาจารย์แนะนำไว้

ท้องฟ้าในยามบินสูงเหมือนเห็นอะไรชัด แต่ยากกับการไขว่คว้าจับต้อง

ผู้รู้ท่านต่อมาเป็น สส.นราธิวาส นัจมุดดิน อูมา ท่านเริ่มต้นด้วยการเล่าเหตุการณ์หนึ่ง เหตุการณ์อะไร ลองตามอ่านดูแล้วกันค่ะ

ท่านเล่าว่า ปัญหามีมา ๑๖๐ ปี หายไปเป็นช่วงๆ จนปี ๒๕๔๗ เกิดเหตุรุนแรง ปล้นปืนปี ๒๕๔๗ ทำให้เกิดเหตุรุนแรง มีคำถามทำไมถูกปล้น ใครปล้น แต่ผมถูกกล่าวหาแล้ว ถูกตั้งข้อหากบฏปล้นปืน ตอนนั้นมีการไล่จับประชาชนอย่างผิดตัว มีการซ้อมประชาชนหน้าพระตำหนัก นี่คือปัญหา คนคิดว่ารัฐบาลในประเทศเห็นด้วย ไกลกว่านั้นเป็นการชี้ว่าพระองค์ท่านรับรู้ด้วย คนหนีก็มาก ถูกซ้อมก็เยอะ

ด้านเจ้าหน้าที่มองปัญหาไม่แตก เยาวชน BRN เตรียมตัวมาพอสมควร การก่อตัวอย่างนี้มีจริง ที่ไม่น่าเกิดคือ เจ้าหน้าที่รัฐหลงทาง เดินตามกระแสที่ถูกสร้างโดยผู้ก่อการไม่สงบ

ยอมรับว่าผลประโยชน์แอบแฝงในประเทศและต่างประเทศมีจริง  ในประเทศมากกว่าต่างประเทศ ผลประโยชน์ของฝ่ายรัฐคืออะไร ผลประโยชน์ในพื้นที่ (ผิดกฏหมายเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้)

ก่อนปี ๒๕๔๖ งบใช้ ๕ พันล้านในพื้นที่ ๓ จังหวัด และ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา เดี๋ยวนี้ ๒ หมื่นกว่าล้าน ซึ่งปี ๕๔ ลดเหลือหมื่นเก้าพันกว่าล้านบาท ตัวเลขการใช้งบเพิ่มขึ้นทุกปี ประชาชนถามว่าเขาได้อะไรบ้าง อยู่เหมือนเดิม เงินไปอยู่ที่ไหน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน โต๊ะอิหม่าม เจ้าอาวาสอยู่เหมือนเดิม

อำนาจนอกระบบในประเทศและต่างประเทศ กองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากรเดิมตั้งเพื่อกำกับ ๓ จังหวัด ๓ กรม ๙ กองพันเป็นอะไรที่ประชาชนรับได้

แต่ละกรมมี ๓ กองพัน กองพลละราวหมื่นคน มีคนตั้งคำถามว่า กองพลนี้มีความจำเป็นแค่ไหนที่ทหารจากทัพภาค ๑-๓ ลงไป ๓ จังหวัด การไปอยู่ในพื้นที่ที่ไม่เคยอยู่จะมีความรู้สึกเหมือนไปรบในต่างประเทศอย่างติมอร์ แตกต่างจากสมัยหนึ่ง

ผู้กำกับ ปลัดฝ่ายป้องกันเดินทางออกจากพื้นที่โดนตรวจเป็นประจำเพราะไม่รู้จัก การทุ่มงบแค่ไหนก็แก้ยาก ถ้าทำแค่ให้ภาค ๔ นำ ผสมกองพลพัฒนาดึงคนในพื้นที่เข้ามาช่วยกันพอแล้ว

กำนันผู้ใหญ่บ้านช่วยน้อย เพราะว่าน้อยใจ ทั้งตระกูลช่วยตลอดชีวิต วันดีคืนดีโดนทำร้ายร่างกาย โดนพรก. ก็เลยไม่มีใครช่วยชาวบ้าน

นำภาพมาให้ดูหน่อย ผู้ร่วมสร้างสีสันต์ให้กับการเรียนทุกๆรอบ…วันนี้เป็นยังไง

ผลประโยชน์ทับซ้อนด้วยเรื่อง OIC ไม่เข้าที่ประชุมเรื่อง ๓ จังหวัด มาจากผลการบังคับใช้กฏหมายดีกว่าเดิม เปลี่ยนไปสู่การบังคับใช้ที่ดีขึ้น รัฐบาลพร้อมหรือเปล่า สส.พร้อมแล้ว

เจ้าหน้าที่ด้านการข่าวจะเลือกคนกลัวทหาร ตำรวจไปทำ ก็จะทำให้การข่าวเพี้ยน   รัฐบาลใช้การเมืองนำการทหารจริงหรือเปล่า

ผู้รู้ท่านนี้ให้ความเห็นว่าเห็นด้วยว่าโครงสร้างทางการเมืองไม่ชัดเจน แล้วเล่าว่า กรรมาธิการทำงานแค่มาตราเดียวก็มีปัญหาแล้ว นิยาม ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ กรรมาธิการเสนอ ๓ จังหวัดและ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา แต่สภาสรุปกันเป็น ๕ จังหวัด   (ปี ๒๕๔๙ สมััยนายกสุรยุทธ์ ศอบต.ถูกรื้อ การกำหนดขอบเขตอำนาจให้นิยามจังหวัดชายแดนใต้คือ ๓ จังหวัดและ ๔ อำเภอในจังหวัดสงขลา)

ต่อคำถามรูปแบบแนวทางการปกครองที่ดีของ ๓ จังหวัดภาคใต้เป็นแบบไหนดี ท่านแนะนำให้ดูเนื้อในคืออะไร มาตรา ๓ คิดต่าง มาตรา ๔ ดี  สภาความมั่นคง(สมช.) เป็นคนเขียนนโยบาย เสนอครม. เห็นชอบ เสนอรัฐสภาเพื่อทราบ รัฐสภาให้ความเห็น เสนอต่อสภาสมช.ต่อ (ศอบต.)

ท่านเล่าว่าทหารที่มีปัญหาเป็นระดับนายร้อย/จ่า ก่อปัญหาระดับตำบล/หมู่บ้าน องค์กรทำงานซ้อนองค์กร

แล้วเอ่ยเรื่องให้เห็นภาพบางอย่างที่สร้างความรู้สึก ๓ มาตรฐาน เสื้อเหลือง ชุมนุม ๑๙๓ วัน อยู่ได้ เสื้อแดง ๒ เดือนกว่า มอบตัว กุญแจมือไม่ใส่ ตากใบ ครึ่งวันโดนถล่ม

ก่อนจบลงด้วยการบอกเล่าว่าแนวทางการสร้างสันติสุขในความเห็นของท่านทำได้ด้วยการทำเรื่องเหล่านี้ การเมืองนำการทหารที่ใช้จริงๆ (ชี้ให้ดูตัวอย่างไอร์แลนด์เหนือ) การเข้าถึงบริการยุติธรรม การเคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ แผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (สิทธิทางการเมือง ชีวิต ร่างกาย การไม่เป็นทาส)

เมื่อยามที่ความสูงลดลงก็มีความชัดมากขึ้น แต่ก็ยังยากกับการไขว่คว้าจับต้องอยู่ดี

ผู้รู้ท่านสุดท้ายที่ได้มาแบ่งปันในวันนี้ คือ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อดีตอธิบดีดีเอสไอค่ะ  ท่านพูดไม่มาก ท่านพูดให้มองเรื่อง กรมราชฑันฑ์ คดี คนจนกับคนจน กรมบังคับคดี กู้ ๕ พันบาท ลงโทษปรับ หมื่นห้า คนคิดยังไง หนี้ในระบบ บัตรเครดิต คดีล้มละลาย มูลค่ารวม ๓.๘ ล้านๆบาท แล้วตบท้ายไว้เป็นโจทย์ว่า “ทำยังไงให้คนไม่รู้กฏหมาย มีแต้มต่อ”

ก่อนจบลงด้วยชี้เรื่อง “การข่าวที่แม่นยำ คือ หัวใจของการเพิ่มความสามารถในการแก้ปัญหา”

ในชั่วโมงเรียนนี้ มีเพื่อนฝากโจทย์ที่ยังไม่ได้คำตอบกันไว้ด้วย:

วิธีคิดเชิงอัตลักษณ์เป็นเรื่องการเมืองหรือเปล่า ดอกไม้หลากสี นิรโทษกรรม เรือนจำ ความมั่นคงมีอัตลักษณ์หรือเปล่า  ใครจะช่วยตอบก็ไม่ว่ากันนะคะ

« « Prev : สร้างได้ก็เปลี่ยนได้

Next : เยี่ยม Deep South Watch » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 6:24

    งมีหลายทฤษฎี แต่ก็ยังจบไม่ลง คงต้องคิด-ทำ-ใหม่-ต่อไป
    เป็นมรดกที่ส่งมอบให้รุ่นหลังไปทำการบ้าน

  • #2 ป้าหวาน ให้ความคิดเห็นเมื่อ 13 กรกฏาคม 2010 เวลา 9:03

    สิ่งเชื่อมโยงระหว่างฟ้ากับดิน  คือ สายฝน คือ สายลม คือ แสงแดด
    ทุกสิ่งล้วนยุติธรรมไม่เลือกหน้า
    ทุกสิ่งล้วนให้โดยไม่หวังตอบแทน
    ธรรมชาติเป็นเช่นนั้น มิอาจบังคับ

  • #3 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 กรกฏาคม 2010 เวลา 9:17

    #1  ตีโจทย์กันอุตลุดเลยค่ะพ่อครู ว่าจะต่อยอดจากรุ่น ๑ ยังไงดี
    #2  ธรรมชาตินั้นยังมี ยุติธรรมที่เลือกหน้า หวังตอบแทนอีกนะคะ  แง่มุมนี้เกิดขึ้นเมื่อไร มิอาจบังคับได้ถึงผลกระทบเช่นกันค่ะ ป้าหวาน


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.056752920150757 sec
Sidebar: 0.27308821678162 sec