ถอดบทเรียนกระบวนกร-3

โดย สาวตา เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2008 เวลา 23:51 ในหมวดหมู่ ประสบการณ์ชีวิต, เล่าสู่กันฟัง #
อ่าน: 1801

เมื่อวงสนทนาหมุนรอบไปเรื่อยๆ ฉันตามดูตามรู้ความเปลี่ยนแปลงของผู้คนในวง วงสนทนายุติลงเพราะเวลาและประเด็นที่แลกเปลี่ยนครบมุมมองทุกมุมแล้วเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของผู้คน

ตัวกวนหลักๆที่ใส่ลงไปให้เกิดการพูดคุยก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เหย้ากับผู้เยือน เป็นโจทย์ที่โยนใส่เพื่อให้คนทำงานได้ไตร่ตรอง ใคร่ครวญ จนเข้าใจความรู้สึกที่คนทำงานขององค์กรท้องถิ่นเขาแบกรับอยู่ และเรียนรู้ภาพการกระทำตัวเอง แล้วนำความรู้ที่เกิดขึ้นมาใช้ปรับสัมพันธ์ที่มีต่อคนทำงานต่างองค์กรเหล่านั้นให้เหมาะควรกว่าที่ผ่านมา

t3

รอบของการสนทนาที่หมุนเปลี่ยนต่อๆมานั้น มีเรื่องที่ฉันต้องปรับความที่ใช้พูดอยู่หลายครั้งเพื่อต่อให้เกิดการสนทนา จึงยังมีการตั้งคำถามย่อยๆชวนให้วงพูดคุยกัน บางคำถามฉันก็ร่วมให้ข้อมูลในมุมมองของฉันในฐานะผู้เหย้าและผู้เยือน

มีเรื่องที่ไม่น่าเชื่อก็ต้องเชื่อ ปรากฎว่าคนที่พูดสั้นที่สุดในวง เล่าเรื่องสั้นที่สุดในวง กลับเป็นคนที่เดินทางออกไปพบผู้คนอยู่เป็นประจำในหน้าที่การงาน มันชวนให้ฉงนว่า การทำงานที่เขาทำอยู่ทุกวัน มันเกิดจากจินตนาการของตนเองแล้วเกิดพลังขับดันหรือว่าเกิดจากการลอกเลียนเอาอย่างจากการเห็นที่อื่นๆเขาทำๆกันมาจึงจำมาทำ  มันเป็นเรื่องที่ควรตามดูตามรู้ต่อไป ไม่ควรตัดสินอะไร ณ เวลานี้  

t1

ผู้คนในวงสนทนา 3 คน เริ่มคุ้นชินกับกระบวนการ คนหนึ่งพูดขึ้นทันทีที่ถึงรอบของตน และพูดยาวมากๆๆ คำพูดที่บอกเล่ามา มีการวิเคราะห์และบอกถึงจุดด้อยซะมากกว่าจุดดี อีกคนใคร่ครวญก่อนจะพูดออกมา คนที่กลัวจะบอกผ่านไม่พูดบ่อยที่สุดจนจบวงสนทนาก็ยังคงพูดน้อยที่สุดอยู่ดี คนที่ไม่อยากเข้าร่วมเริ่มสนุก กล้าพูดมากขึ้น พูดแลกเปลี่ยนมากขึ้น เวลาผ่านไปกว่าค่อน จึงได้ยินคนพูดว่า “จบ” ให้ได้ยิน แล้วในที่สุดคน 3 คนก็พูดคำนี้ออกมาสม่ำเสมอ คนที่ยังไม่พูดคำว่าจบเมื่อพูดจบเป็นคนที่กลัวนะเอง

เมื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างผู้เหย้ากับผู้เยือนจบแล้ว ฉันก็โยนตัวกวนลงไปใหม่ให้เขาได้เก็บไปใตร่ตรอง ใคร่ครวญ มองตัวเอง คำถามที่โยนใส่ก็เพียงแค่ถามง่ายๆว่า “ทำงานผ่านมาแล้วเกือบครึ่งวัน ลองเล่าสู่กันฟังว่า วันนี้ทำความดีเล็กๆอะไรแล้วบ้าง”  ตอนที่โยนตัวกวนตัวนี้ลงไป ทั้งหมดเงียบไปอึดใจจนรับรู้ได้ค่ะ 

คำเล่าที่บอกออกมา บอกให้รู้ว่า บางคนยังคงอยู่ในคลื่นเบต้า ทั้งๆที่ท่าทีดูสงบ  ฉันตัดสินอย่างนี้จากภาษากายและคำพูดที่เขาเล่าออกมา ในรอบแรกของการคุยในเรื่องนี้  คนแรกพูดอะไรออกมามากมายตามลำดับเป็นข้อๆสี่ข้อ จึงต้องขอให้หยุดเพื่อเผื่อพื้นที่ไว้ให้คนอื่น  คนที่สองเล่าว่า วันนี้เขาได้ช่วยทำงานให้เพื่อนในหน่วยงานอีกคนจนงานชิ้นนั้นของเพื่อนสำเร็จลงได้โดยง่าย  คนที่สามเล่าขึ้นหลังจากฟังเพื่อนๆสองคนเล่าแล้ว เขาเล่าว่าวันนี้เขาส่งของขวัญวันเกิดให้แม่ ดีใจที่ได้ทำอย่างนี้ให้แม่ และรู้ว่าแม่ก็ดีใจ คนสุดท้ายเล่าว่า วันนี้เขาตั้งใจจะทำอะไรตอนบ่ายค่ะ   ส่วนตัวฉัน ฉันเล่าว่า ฉันได้ทำตามคำพูดที่สัญญาไว้กับคนทำงานในสำนักงานสาธารณสุขอำเภอว่าวันนี้จะไปกินอาหารเช้าและพูดคุยงานด้วยกัน 

t2

เริ่มรอบสองของการคุย ปรากฎว่า มีคนเคาะผ่านไม่มีอะไรเล่า 2 ในสี่คน  ฉันเล่าในรอบนี้ไปว่า ฉันตั้งใจว่าจะไม่สระผมเช้านี้ ว่าจะมาสระเมื่อถึงกรุงเทพฯ แต่แล้วก็เปลี่ยนใจสระมันซะก่อนมาทำงาน ฉันดีใจที่ร่างกายฉันสบายด้วยความสะอาดค่ะ  พอผ่านเข้ารอบสาม คนทั้งหมดเริ่มเงียบนึกเรื่องเล่าไม่ออกแล้ว  บ่งบอกว่าก่อนพูดเขามีคำตัดสินที่ให้ค่ากับมันอยู่ในใจ

แล้วก่อนยุติวง ฉันจึงมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละคนไปทำงานต่อในเรื่องการเตรียมเรื่องเข้าสู่การประชุมที่จะมีขึ้นต่อไป

บทสรุป :  คนที่พูดน้อยที่สุด หรือ เงียบที่สุด อาจจะเป็นคนที่อยู่ในคลื่นเบต้ามากที่สุด  และยังไม่ผ่อนคลาย

              คนที่พูดสรุปจากคำพูดคนอื่น แสดงว่าการฟังเริ่มมีคุณภาพมากขึ้น เริ่มฟังคนอื่นได้ยิน 

              วงสนทนาที่ทักษะการฟังของคนในวงยังด้อยคุณภาพอยู่ ควรใจเย็น ให้เวลากับการจัดวงให้มีการสนทนากันบ่อยๆ

              ข้อสังเกตที่พึงวิเคราะห์ วงสนทนาที่มีการไตร่ตรอง ใคร่ครวญ ของผู้ร่วม และมีข้อมูลคุณภาพแลกเปลี่ยนออกมา กับวงสนทนาที่มีการคุยกันโดยอิสระของผู้เข้าร่วม และมีข้อมูลแลกเปลี่ยนออกมาคล้ายๆจะเป็นข้อมูลคุณภาพ มีความต่างอย่างไร จะใช้เป็นข้อสรุปว่า วงสนทนามีคุณภาพได้มากน้อยอย่างไร

              แปลกนะ เมื่อให้คนเล่าเรื่องความดีกลับเล่าไม่ได้ แต่พอให้เล่าปัญหากลับเล่าออกมาได้มากมายจนต้องให้หยุดเล่า   บางคนเล่าเรื่องความดีแล้วยังต่อด้วย “แต่…” ทำให้น้ำหนักของความดีที่เล่ามาด้อยลง       

t4  t5        

Keywords :  พลิกแพลงตัวกวน เพื่อต่อบรรยากาศวงสนทนาให้ผ่อนคลายต่อเนื่อง

                   ตัวกวนที่เป็นกลางๆ ไม่แตะต้องตัวใครตรงๆ ช่วยเรื่องผ่อนคลาย

                   โยนตัวกวนใหม่เมื่อวงสนทนาเริ่มฝืด เฝือ          

                   เลือกจังหวะร่วมพูด  ใช้คำพูดกวนให้ เอ๊ะ! เอ๋! ระวัง อ๋อ! อ้อ!

                   พูดจากใจ พูดอย่างใคร่ครวญ ต่างจาก ใคร่ครวญแล้วพูด 

                   พูดอย่างใคร่ครวญสำคัญกว่ามากๆๆๆๆ เป็นการพูดให้ตัวเองได้ยิน ได้ฟัง แล้วเห็น

                   อิทธิพลของคลื่นเบต้า กดการรับรู้ความดีของตนที่สะสมไว้ของคน 

« « Prev : ถอดบทเรียนกระบวนกร-2

Next : เซ็ง เหงา เบื่อ คนละเรื่องหรือเรื่องเดียวกัน » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sompornp ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 เวลา 18:19

    ตามมาอ่านบันทึกพี่หมอ
    ย้อนรอยตัวเอง
    เอ….บันทึกเราจะออกมาลักษณะไหนหนอ
    “ใคร่ครวญ”
    เมื่อถึงเวลา
    มันจะมาเอง
    หนูคิดเช่นนั้น
    อิอิอิ

  • #2 Sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 เวลา 19:42

    มาอ่านค่ะ และรูปดอกไม้สวยมากค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.59466505050659 sec
Sidebar: 0.89463496208191 sec