น้ำเน่าหลังราดน้ำหมัก-ไหลผ่านท่อ
ลองด้วยน้ำหมักไปแล้ว 1 แกลลอนลดเหม็นไม่นาน ลองใหม่ เก็บกลิ่นด้วยท่อ กลิ่นหายไปกว่าครึ่ง อธิบายไม่ได้เกิดอะไรขึ้น แต่ก็ทำให้ได้ไอเดีย ไปจัดการกับท่อเหล็กผุที่ปล่อยกลิ่นในอีกที่ ได้เรียนรู้สีน้ำที่สัมพันธ์กับแสง ใส่ท่อหลังจากราดน้ำหมักผ่านไปแล้ว 3 วัน
ภาพที่ 1a ภาพที่ 2a
ภาพที่ 1a เป็นสภาพแอ่งน้ำที่รับน้ำไหลล้น ซึ่งเดิมมีสภาพดังในภาพที่ 2a น้ำสีดำๆดูเหมือนสะอาดขึ้นจากคราบไคล
ภาพที่ 1b ภาพที่ 2b
ภาพที่ 1b น้ำในแอ่งยังเป็นสีดำหลังใส่ท่อปรับรูปร่างคู เติมคันดินไม่ให้น้ำที่เอ่อล้นลงมาจากคูตามภาพที่ 2b ไหลมาปนกับแอ่งที่รับน้ำจากโพรง ตัดท่อของเสียที่เป็นเหล็กผุๆทิ้งไปด้วย
ภาพที่ 3 ภาพที่ 4 ภาพที่ 4.1
ภาพที่ 3 สภาพก่อนราดน้ำหมักชีวภาพ ภาพที่ 4 หลังราดน้ำหมักผ่านไป 4 วัน ภาพที่4.1 สภาพหลังราดน้ำหมักวันแรก
ภาพที่ 5 ภาพที่ 6
ภาพที่ 5 หลังใส่ท่อใหม่ๆน้ำในแอ่งน้ำที่ขังค้างเป็นสีดำสนิท ภาพที่ 6 ผ่านไป 2 วัน น้ำที่ขังค้างในแอ่งมีสีขาวแซมประปราย
ภาพที่ 9 ภาพที่ 10
ภาพที่ 9 หลังใส่ท่อ ท่อก็พาตะกอนสีดำไหลปนน้ำออกมา สภาพคูเปลี่ยนไปเพราะตะกอนในคูถูกรบกวน หลังจากนั้น 2 วัน ท่อก็พาน้ำกับคราบขาวๆเหมือนใยแมงมุมหนามากๆออกมาด้วย ดังในภาพที่ 10
ส่วนของน้ำในคูบริเวณในร่มตามภาพ 1b ยังเหมือนเดิมทุกประการ
สรุปได้ว่าสีขาวเกิดกับน้ำที่โดนแสง อยู่ในที่ร่มเกิดยาก อยู่ในที่โดนแสงเกิดง่าย น้ำตื้นเกิดง่ายเช่นเดียวกับน้ำอยู่ในที่โดนแสง
ภาพที่ 11a ภาพที่ 11b
ภาพที่ 11a และ 11b หลังราดน้ำหมักลงไปในน้ำขังที่ไหลเอื่อยตามความลาดของคู คราบสีขาวลดขนาดลง สีน้ำดูขุ่นขาว
ภาพที่11c ภาพที่ 11d
หลังราดน้ำหมักที่ต้นน้ำผ่านไป 4 วัน สภาพของคราบสีขาวในน้ำขัง ไหลเอื่อยๆ มีสิ่งกีดขวางที่ปลายน้ำ และมีน้ำเติมลงไปจากน้ำฝน (ภาพ 11c) หายไปเป็นหย่อมๆ
ที่ปลายน้ำกว่า ซึ่งอยู่ในที่หลบฝน น้ำไหลเอื่อยๆเหมือนกัน ลึกพอกัน สภาพคราบสีขาวดูบางตา (ภาพที่ 11d) สีน้ำดูใสกว่า 4 วันก่อนหน้า(ภาพ 11a และ b)
คนที่อยู่แถวๆปลายน้ำบอกว่า แทบจะไม่ได้กลิ่น ยกเว้นเวลาลมพัดมาหา ลมพัดจากกลางๆคูเข้าไปหา คนที่อยู่แถวๆต้นน้ำบอกว่า ยังเหม็นอยู่ แต่เบาลง เหม็นมากขึ้นเมื่อฝนตก
« « Prev : เมื่อลองใช้น้ำหมักราดน้ำเน่า
Next : เมื่อลองหยอดลูกบอลน้ำหมักในน้ำเน่า » »
ความคิดเห็นสำหรับ "น้ำเน่าหลังราดน้ำหมัก-ไหลผ่านท่อ"