ตามลม (๘๘) : มีอะไรช่วยได้บ้าง ถ้าเกิดน้ำมีสารประกอบปรอทอยู่

อ่าน: 1451

เวลาที่มีการวิเคราะห์น้ำ เขามีค่าหนึ่งไว้ใช้แปลคุณภาพน้ำ เรียกว่า ซีโอดี (COD)  ค่านี้สื่อให้รู้ว่าน้ำนั้นปนเปื้อนสารเคมีมากน้อยเพียงใด ยิ่งน้ำปนเปื้อนมาก ค่าซีโอดีก็ยิ่งมาก นึกได้ว่าวัดค่านี้ไว้ จึงไปย้อนดู อืม ค่าที่ตรวจเดือนที่แล้ว ซีโอดีอยู่ในเกณฑ์ จะสบายใจกับค่านี้หรือเปล่ากับเรื่องสารปรอท ก็ต้องหาคำตอบแล้วละ

ไปได้ความรู้มาว่า เมอคิวริกคลอไรด์ ละลายน้ำอยู่ได้ไม่มาก สารประกอบซัลไฟด์ของกำมะถันทำให้มันตกตะกอนได้ และถ้าตกตะกอนที่ pH ไม่เป็นกลาง จะมีก๊าซไข่เน่าเกิดขึ้น  ถึงแม้จะใช้สารตัวอื่นอย่างเช่น โซดาไฟ ปูนขาว ก็ต้องใช้สารประกอบของกำมะถันด้วยอยู่ดี ที่ใช้กันก็คือสารโซเดียมไธโอซัลเฟต

ถ้าเป็นน้ำที่ไหลวนช้าๆ และมีสารประกอบของเหล็กอยู่ การตกตะกอนก็เกิดได้เช่นกัน

โซดาไฟ ให้ pH คงที่กว่าปูนขาว และปรับ pH ไปถึงค่าที่ทำให้ปรอทตกตะกอนได้ดี   pH ที่ปรอทตกตะกอนได้ดีอยู่ที่ 10.5

จะเรียกว่าโชคดีหรือเปล่าที่ใต้ตึกมีท่อเหล็กที่ผุกร่อนแช่น้ำอยู่ ในน้ำมีก๊าซไข่เน่าโชยขึ้นมา ใส่ปูนขาวลงไปแล้วจนน้ำใส จึงใส่อีเอ็มย้อนไปทวนสิ่งที่ทำไป ก็พอสบายใจขึ้นบ้างว่าได้ช่วยลดสารปรอทในส่วนน้ำใสแล้ว

ปรอทระเหิดได้ ส่วนของตะกอนก็ไม่น่าจะมีปรอทอยู่ด้วย จะอย่างไรเพื่อให้แน่ใจและสบายใจ ตรวจวัดด้วยวิธีนิติวิทยาศาสตร์ด้วยดีกว่า

หมดเรื่องปรอทแล้ว ก็หาต่อไปว่ายังมีเรื่องแคดเมี่ยมหรือไม่ สังเกตลักษณะหลอดไฟและตามหาข้อมูลหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ในรพ.มาดู อ้อ ไม่มีหลอดที่ให้ไฟสีชมพู  อย่างนี้ไม่ห่วงแล้ว ด้วยว่าหลอดที่เห็นเป็นหลอดสีขาว

รู้เพิ่มเรื่องปรอทแล้ว  ก็นึกไปถึงวิธีจัดการกับน้ำเสียที่เจ้าตัวจิ๋วทำงานให้ อยากรู้ว่าตัวไหนที่ทำให้เกิดสารประกอบซัลเฟอร์ได้  ไปถามอากู๋มาก็ได้ความว่า ทั้งตัวที่ใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ ต่างก็สร้างสารประกอบของกำมะถันได้  กลุ่มที่ใช้ออกซิเจน จะสร้างกรดกำมะถันกลุ่มที่ไม่ใช้ออกซิเจนจะสร้างก๊าซไข่เน่า

แล้วอีเอ็มที่ใส่ลงไปเล่าจัดการกับสารปรอทได้ยังไง อีเอ็มลดแรงตึงผิวในน้ำ ออกซิเจนจึงละลายน้ำได้มากขึ้น แดดส่องถึงมากขึ้น เจ้าตัวจิ๋วที่ใช้ออกซิเจนจึงเพิ่มจำนวนขึ้นได้ อย่างนี้ก็แปลว่าอีเอ็มเพิ่มกรดกำมะถันในน้ำงั้นรึ

ไปดูมาเพิ่มดีกว่า กรดกำมะถันเจอปรอทแล้วจะเป็นยังไง รู้แล้วก็ตกใจ เจอกันแล้วก็จะเกิดก๊าซซัลเฟอร์ได้ออกไซด์ที่เป็นต้นเหตุของฝนกรด  ฝนกรดตกลงมาแล้วก็ละลายก๊าซให้กลายเป็นกรดกำมะถันใหม่ เจอแคดเมียมก็ทำให้เกิดสารละลายแคดเมียมที่อยู่ในน้ำได้นานขึ้น

งั้นถ้าจะใช้อีเอ็มใส่ลงน้ำ ก็ต้องใช้ปูนขาวด้วย ไม่งั้นผลที่ไม่ต้องการเรื่องฝนกรด ก็อาจจะเกิดได้ถ้าในน้ำนั้นมีปรอทอยู่มาก มิน่า ในสถานการณ์น้ำท่วมใหญ่ในคราวนี้ วิศวกรจึงแนะนำให้ใช้ปูนขาวในถุงเมล์

« « Prev : ตามลม (๘๗) : จะทำยังไงกับตะกอนดีนะ

Next : เมื่อลองใช้น้ำหมักราดน้ำเน่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๘๘) : มีอะไรช่วยได้บ้าง ถ้าเกิดน้ำมีสารประกอบปรอทอยู่"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.01495099067688 sec
Sidebar: 0.10470485687256 sec