ตามลม (๗๔) : ตะกอน…ตะกอน…ตะกอน…จะทำให้หมดไปได้มั๊ย

อ่าน: 1344

ในวันหนึ่งของปีที่แล้ว มีข้อปรึกษาส่งมาว่าบ่อดักไขมันร้านค้าเอกชนล้นจะทำยังไงดี  ทำให้มีการรื้อบ่อและจัดการกับคราบไขมันที่ก่อน้ำเหม็น ตลอดจนตะกอนดินมากมายที่ก้นบ่อกันไปยกหนึ่ง

เหตุการณ์นั้นทิ้งคำถามว่า “ตะกอนมาได้ยังไง” ค้างไว้ให้ ตะกอนดำที่เห็นในคูก็ฝากคำถามนี้ไว้เช่นกัน ตามหาคำตอบซะหน่อยจะได้เข้าใจภาพที่ปรากฏกับตาซะที

ในหลักการใหญ่ๆของการบำบัดน้ำเสีย 3 ประการ ได้แก่ การรวบรวมน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสีย และการนำน้ำมาใช้ประโยชน์ มีขั้นตอนบำบัดอยู่ 4 ขั้น ทุกขั้นตอนมีเรื่องเกี่ยวกับตะกอนที่ต่างกันไป

ขั้นเริ่มเป็นการแยกตะกอนขนาดใหญ่ที่ไม่ละลายน้ำออกจากน้ำ  3 ขั้นตอนต่อมาจริงจังต่อการใช้ธรรมชาติจัดการตะกอนมากกว่าใช้สารเคมี

ขั้นที่ 2 ใช้แรงโน้มถ่วงทำให้ตะกอนตกอยู่ในที่กัก

ขั้นที่ 3 ให้จุลินทรีย์ที่ใช้อากาศย่อยสลายสารในน้ำ ทำให้เกิดตะกอนใหม่ขนาดใหญ่ก่อน จึงตกตะกอนแยกตัวออกจากน้ำด้วยแรงโน้มถ่วง

ขั้นสุดท้าย ใช้ธรรมชาติทางกายภาพและเคมีแยกตะกอนออกจากน้ำ เป็นขั้นเสริมประสิทธิภาพของ 3 ขั้นแรก และมีประเด็นเฉพาะของความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำ เช่น จะนำน้ำไปใช้บริโภค เป็นทางเลือก

การบำบัดน้ำมีทั้งการใช้และไม่ใช้อากาศ  น้ำหลังบำบัดแบบใช้อากาศจะเหลือสารอินทรีย์ซึ่งต้องการออกซิเจน ไม่เกิน 10% ของสารตั้งต้น โดยส่วนใหญ่แปรรูปไปเป็นมวลชีวภาพของจุลินทรีย์  มีตะกอนเกิดมากและเสถียรน้อยกว่าแบบไม่ใช้อากาศ

ตะกอนจึงเป็นผลงานของจุลินทรีย์กับปริมาณอากาศในน้ำ กลิ่นเหม็นเกิดจากออกซิเจนต่ำ

ลำดับเหตุการณ์ของปีที่แล้วใหม่ก็ได้คำตอบที่ค้างว่า ตะกอนก้นบ่อเกิดก่อนที่น้ำในบ่อดักไขมันจะเหม็น กลิ่นเหม็นเป็นผลจากคราบไขมันลงไปลอยที่ผิวน้ำในบ่อจำนวนมาก อากาศลงไปละลายน้ำไม่ได้ ออกซิเจนในน้ำลดลงๆ จนบ่อกลายสภาพเป็นที่อับอากาศ

อืม เห็นภาพแม่ค้าที่กำลังผัดอาหาร เข้าใจฉับพลันว่า ทำไมจึงต้องกักไขมันจากครัวและตักไขมันขึ้นจากน้ำทุกวัน

จำได้ว่าในรายงานผลตรวจน้ำที่ลูกน้องเคยให้ดู มีคำว่า “ของแข็ง” อยู่  ตรงนี้ควรทำความเข้าใจว่าสื่ออะไรเรื่องตะกอนบ้าง

วิชาน้ำเขาระบุว่า “ของแข็ง(Solids)”  หมายถึง สารอินทรีย์ และสารอนินทรีย์ที่เหลืออยู่ในรูปตะกอนหลังจากระเหยด้วยไอน้ำแล้วทำให้แห้งที่อุณหภูมิ 103-105 องศาเซลเซียส

การตรวจปริมาณของสารนี้ทำได้หลากหลายขึ้นอยู่กับจะนำไปแปลผล น้ำดิบ น้ำประปา น้ำทิ้งจากครัวเรื่อน และน้ำจากแหล่งอื่นๆ มุมไหน

ที่ตรวจกันอยู่มี 3 ชนิด : ของแข็งตกตะกอน ของแข็งทั้งหมด และของแข็งแขวนลอย

ทั้งหมดบอกถึงความสกปรกของน้ำนั้นๆ ยิ่งค่าสูง น้ำนั้นยิ่งสกปรกมาก  แต่ละชนิดมีประโยชน์ที่ต่างกันด้วย

ชนิดแรก ตรวจแล้วช่วยให้ได้ความคิดในการออกแบบถังตะกอน (Sedimemtation Tank) ในระบบบำบัดน้ำเสีย วิธีตรวจตัวนี้ง่าย แค่ใช้กรวยขนาดใหญ่ซึ่งมีขีดบอกปริมาตรเป็นมิลลิลิตรไว้ ใส่ตัวอย่างน้ำงไปตั้งทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก็รู้แล้ว หน่วยวัดที่ใช้อยู่ในรูปมิลลิลิตร/ลิตรของของแข็งที่ตะกอน กรวยนี้ชื่อว่า Imhoff Cone

ชนิดต่อมา ตรวจแล้วช่วยตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของน้ำเสียที่มีผลต่อการตกตะกอน

ชนิดสุดท้าย  ตรวจแล้วบอกถึงสารแขวนลอยในของเหลว และประสิทธิภาพของขั้นตอนบำบัดน้ำเีสียต่างๆ ค่าของมันมีความสำคัญพอๆกับค่า BOD  วัดด้วยเยื่อกรอง

เป็นค่าที่บอกถึงความขุ่นของน้ำ ที่สามารถขัดขวางกระบวนการสังเคราะห์แสงในน้ำได้กลายๆ  ส่วนใหญ่แล้วน้ำที่มีสารแขวนลอยเยอะจะขุ่น

น้ำขุ่นไม่ได้เกิดจากการมีสิ่งแขวนลอยในน้ำเป็นเหตุเท่านั้น เมื่อสารเคมีบางอย่างในน้ำสัมผัสอากาศก็เป็นเหตุได้ เช่น เหล็ก แมงกานีส การเพิ่มจำนวนของแบคทีเีรียบางชนิดก็เป็นต้นเหตุได้

ว้าวววว! ตรงนี้โอเลย สีบอกอายุน้ำเสียได้ด้วย สีเทาปนน้ำตาลอ่อนแปลว่าน้ำเสียนั้นอายุเพียงเอ๊าะๆ สีที่เปลี่ยนโทนไปหาสีเทาแก่ จนเป็นดำ บอกถึงความแก่ของน้ำเสียนั้น

ซัลไฟด์ของโลหะหนักในสีทำให้น้ำเสียเปลี่ยนได้เมื่อมีคนเติมสีลงไป  ลิกนินเป็นอีกตัวที่ทำให้น้ำเกิดสี อย่างหลังมาจากสารอินทรีย์ในใบไม้ ใบหญ้า และซากสัตว์ และทำให้น้ำธรรมชาติเกิดสี

« « Prev : ตามลม (๗๓) : โลหะหนักอีกกลุ่ม…ที่ไม่ควรละเลยการจัดระบบ….ของเหลือใช้

Next : ตามลม (๗๕) : การยอมให้มีใบไม้ ดอกไม้ร่วงลงในระบบบำบัดน้ำเสียไม่ดียังไง » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "ตามลม (๗๔) : ตะกอน…ตะกอน…ตะกอน…จะทำให้หมดไปได้มั๊ย"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.30081105232239 sec
Sidebar: 0.30106592178345 sec