พงศาวดารล้านนายืนยันว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากกัมพูชา
พงศาวดารล้านนายืนยันว่าพระเจ้าอู่ทองมาจากกัมพูชา
หนังสือ “ชินกาลมาลีปกรณ์” เป็นพงศาวดารล้านนาที่ได้รับการเชื่อถือมากเล่มหนึ่ง ได้กล่าวถึงพระเจ้าอู่ทอง ดังนี้
“…ครั้งหนึ่ง เมืองชัยนาทเกิดทุพภิกภัย พระเจ้ารามาธิบดีกษัตริย์อโยชชปุระเสด็จมาจากแคว้นกัมโพช ทรงยึดเมืองชัยนาทนั้นได้ โดยทำทีว่าเอาข้าวมาขายครั้นยึดได้แล้วทรงตั้งอำมาตย์ของพระองค์ชื่อว่าวัตติเดช ซึ่งครองเมืองสุวรรณภูมิให้มาครองชัยนาท… เมื่อพระเจ้ารามาธิบดีผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพชและอโยชชปุระสวรรคตแล้ว วัตติเดชอำมาตย์มาจากเมืองสุวรรณภูมิยึดแคว้นกัมโพชได้…”
พระเจ้ารามาธิบดี ก็คือพระเจ้าอู่ทอง ส่วน พระวัตติเดช นั้นเชื่อกันว่าคือขุนหลวงพะงั่ว (พระบรมราชาธิราช ๑) เรื่องยกทัพไปตีชัยนาทนี้ตรงกันกับพงศาวดารกรุงศรีฯ ..สุวรรณภูมิ นั้นนักวิชาการส่วนใหญ่สรุปว่าคือ สุพรรณบุรี
นักวิชาการประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่ตีความกันว่า กัมโพช เป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งของ ลพบุรี แต่ผมขอแย้งว่าไม่ใช่ โดยผมเห็นว่ากัมโพช หมายถึงอาณาจักรกัมพูชาโบราณเสียมากกว่า (ซึ่งไม่ใช่เขมรในวันนี้หรอกนะ)
ผมเห็นว่า..มันไม่มีน้ำหนักอะไรเลยที่ลพบุรี..ซึ่งมีตัวตนเป็นที่รู้จ้กไปทั่วว่า ลวปุระ (และ ละโว้ด้วย) มานนาน 500 ปี..จู่ๆจะไปใช้ชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า ”กัมโพช” ซึ่งเป็นชื่อที่ นครวัด ก็ได้ใช้มาจนเป็นที่รู้จักกันทั่วมานานกว่าสามร้อยปีอีกแล้วด้วย
จู่ๆเมืองสองเมืองที่ยิ่งใหญ่ด้วยกันทั้งคู่จะไปใช้ชื่อเหมือนกัน เช่น ลอนดอน จะไปใช้ชื่อว่า ปารีส อีกชื่อหนึ่งด้วย..มันจะเป็นไปได้หรือ
มีคำว่า “กัมโพช” ปรากฏในชินกาลมาลีปกรณ์อีกตอนหนึ่งว่า “…ทหารหาญชาวหริภุญชัยได้ทราบการมาของสิริคุตตะอำมาตย์ จึงไล่ติดตามพวกทหารชาวเมืองลวปุระเหล่านั้น ฝ่ายทหารชาวเมืองกัมโพชามีความกลัวเป็นที่สุด…”
หริภุญชัยคือ ลำพูน ส่วนลวปุระก็คือ ลพบุรี (เป็นที่ยอมรับกันกว้างขวางรวมทั้งผมด้วย) จากเนื้อความท่อนนี้จะเห็นได้ชัดว่ามีทหารสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งเป็น ทหารชาวเมืองลพบุรี อีกกลุ่มเป็นทหารชาวเมืองกัมโพชา ดั้งนั้นลพบุรี ไม่ใช่กัมโพช แน่นอน
กัมโพชหรือกัมโพชาต้องหมายถึงเมืองอื่นนอกจากลพบุรีอย่างแน่นอน …โดยอย่างน้อยที่สุดหมายถึงอยุธยา และอย่างมากที่สุดหมายถึง กัมพูชาเดสา หรือ นครวัดนั่นเอง (ศิลาจารึกที่นครวัดเรียกตนเองว่า กัมพูชาเดสา ที่ซึ่งเขมร (ที่ไม่ใช่ขอมแน่นอน) นำมาอ้างเป็นชื่อประเทศตนเองในทุกวันนี้)
เมื่อได้สะกิดใจในประเด็นนี้แล้ว ก็ต้องกลับไปอ่านชินกาลฯ ใหม่ที่ว่า “…พระเจ้ารามาธิบดีกษัตริย์อโยชชปุระเสด็จมาจากแคว้นกัมโพช” และ “… เมื่อพระเจ้ารามาธิบดีผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพชและอโยชชปุระสวรรคตแล้ว วัตติเดชอำมาตย์มาจากเมืองสุวรรณภูมิยึดแคว้นกัมโพชได้…”
คำว่า”แคว้น”ในสมัยโน้นน่าจะหมายถึง “ประเทศ” ในสมัยนี้ จากท่อนความนี้จึงชัดเจนว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นมาจากประเทศกัมพูชาและยังเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาอีกด้วย (อโยชช ..ตัวธอาจกร่อนเป็น ช ไปนะ) (สมัยก่อนนั้นแต่ละแคว้นมีกษัตริย์ได้หลายองค์ เพราะกษัตริย์ครองเมือง ไม่ได้ครองแคว้น) แต่การใช้ภาษาต่อมาว่า “ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพช” แสดงว่ากรุงศรีฯเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศกัมพูชาอีกด้วย
การที่ชินกาลฯใช้ภาษาเช่นนี้ เป็นเพราะเกิดจากความเข้าใจของกษัตริย์ล้านนาว่า…
1) พระเจ้าอู่ทองเป็นชาวกัมพูชาที่อพยพมาจากนครวัด เมืองหลวงเก่า
2) อยุธยา เป็นเมืองหลวงใหม่ของแคว้นกัมโพชา แสดงว่ายอมรับว่า นครวัด ไม่ใช่ “ผู้เป็นใหญ่แห่งแคว้นกัมโพช” อีกต่อไปแล้ว ตรงนี้อาจเนื่องเพราะความฉลาดทางการทูตของพระเจ้าอู่ทองที่ทำให้ทั้งลพบุรี หริภุญชัย ล้านนา ยอมรับว่าพระองค์ยังคงเป็น “ผู้ยิ่งใหญ่” ในกัมพูชา แม้นว่าจริงๆแล้วถูก ทาสแตงหวาน ไล่ฆ่า จนต้องกระเจิงหนีมาพึ่งใบบุญ ลพบุรี ที่ศรีอยุธยา
หลักฐานตรงนี้เสริมทฤษฎีของผมที่ว่า พระเจ้าอู่ทองทรงมาจากนครวัด..ไม่เช่นนั้นล้านนาคงไม่บันทึกเหตุการณ์ไว้ด้วยภาษาเช่นนั้น
…ทวิช จิตรสมบูรณ์ (๒๗ มกราคม ๒๕๕๔)
« « Prev : ยาแก้งูกัด..ว่าชะงัดนักแล
Next : พม่าโบราณเรียกประเทศไทยว่า “กัมโพชา” ? » »
5 ความคิดเห็น
ที่พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ (มิวเซียมสยาม) พูดถึงท้าวอู่ทองในทำนองว่ามีประวัติความเป็นมาที่ “ลึกลับ” ครับ สัณนิษฐานไว้ห้าทาง คือเจ้าชายจากเมืองเพชรบุรี กษัตริย์จากเมืองอโยธยา กษัตริย์จากเขมร โอสรพระเจ้ากรุงจีน และโอรสท้าวแสนปม
http://picasaweb.google.com/105625714857025338966/MuseumSiam20100928#5521895664132381714
แต่ไม่ได้สรุปไว้ว่าให้น้ำหนักกับทางใด (ซึ่งดีแล้ว) ผมคิดว่าในเมื่อตั้งเป็นข้อสัณนิษฐานได้ ก็คงมีหลักฐานให้เชื่อได้บ้าง แต่ผมก็ยอมรับว่าสะดุดกึ๊กเลยเวลาเห็นข้อสัณนิษฐานว่าเป็นกษัตริย์จากเขมร เพราะตอนที่พาพ่อแม่ไปเที่ยวนั้น http://lanpanya.com/wash/archives/1890 ผมอ่านอีเมลของพี่ที่ส่งมาครั้งก่อนแล้วครับ
ยังมีอีกทฤษฎีครับ คือ เป็นสุลต่านมุสลิม มาจากกลันตัน และพระศพ ยังฝังอยู่ที่นั่นจนบัดนี้ เอ..แต่ที่ว่าเป็นกษตริย์เขมรนี้ผมเพิ่งได้ยินเป็นครั้งแรก (แหม..นึกว่าผมก่อนใครแล้วเจียว เอ๊ะ หรือว่าเขาเพิ่ง add ทฤษฎีใหม่ที่ผมเสนอเข้าไปเร็วๆนี้เอง)
การสำรวจวงปีของต้นไม้ เปิดเผยเรื่องน่ากลัว http://lanpanya.com/wash/archives/1881
อิอิอิ อาจารย์มีชินกาลมาลีปกรณ์ด้วยเหรอคะนี่ เก่งจัง เบิร์ดว่ามันอ่านยากสำหรับคนไม่สันทัดภาษาและบกพร่องด้านการเชื่อมโยงอย่างเบิร์ดชะมัดเลย
มีตำนานล้านนาอีกหลายฉบับที่น่าจะพูดถึงเรื่องเหล่านี้อยู่ค่ะ เช่นตำนานลำพูน ตำนาน 15 ราชวงศ์ของเชียงใหม่ แต่ขอเวลาไปสอบถามผู้รู้ก่อน เพราะการอ่านตัวเมืองของเบิร์ดออกไปทางแตกร้าวมากกว่าแตกฉาน
ธ่อ..ใครว่าผมไปอ่านตัวยึกยือต้นฉบับ เล่า สมัยนี้เขาพัฒนาแล้วไม่ใช่เหรอ