พลาสติก (๑๔) : อย่าซน

อ่าน: 1704

มีอยู่วันหนึ่งที่ผ่านไปเห็นคนกำลังซ่อมหลังคารั่วแล้วแปลกใจ เขากำลังใช้ไฟแช๊กลนอะไรบางอย่าง พอมันเหลวก็หยดลงไปตรงรูรั่วของหลังคา พอเข้าไปใกล้ๆจึงรู้ว่า เจ้าของเหลวๆนั้นหน้าตาเหมือนกาว หยอดลงไปแล้วก็เห็นจับตัวแข็งอุดรูหลังคาเอาไว้พอดี เหลียวมองในมือของเขาก็เห็นกำอะไรบางอย่างสีขาวๆไว้

และอีกวันหนึ่ง ผ่านไปเจอเด็กชายกำลังเล่นอะไรบางอย่าง ในมือของเขาถือขวดใส่น้ำสีแดงๆ แล้วเขาก็นั่งลง มือควานหาอะไรบางอย่างเข้าไปในกล่อง เมื่อเขาดึงมือกลับออกมาก็มีวัสดุสีขาวกำติดมือมาจำนวนหนึ่ง

เขาค่อยๆหย่อนสิ่งที่กำไว้นั้นลงไปในขวด มหัศจรรย์เจ้าวัสดุสีขาวๆนั้น ลอยเท้งเต้งได้สักครู่แล้วก็หายตัวไปเฉยเลย  แล้วเขาก็ใส่มันลงไปอีกจนหมดกำมือ เจ้าสิ่งนั้นก็หายไปหมดเช่นกัน

หลังจากนั้นเขาก็นำของเหลวในขวดไปส่งให้กับชายคนหนึ่ง ชายคนนั้นหย่อนไม้ลงไปในขวด เมื่อยกไม้ขึ้นมา ของเหลวก็ติดไม้ขึ้นมา

เอ๊ะทำไมมันยืดเป็นยางอย่างนั้น ได้ยินเสียงของชายคนนั้นบอกเด็กว่า กาวนี้มันเหลวไป  อ้าว..กาวหรอกรึ ทำจากอะไรนะ เข้าไปดูใกล้ๆ  เจ้าวัสดุขาวๆเป็นโฟมนี่เอง

เมื่อเข้าใกล้ขวด เอ๊ะ กลิ่นน้ำมันเบนซินนี่  อ้อ พ่อลูกคู่นี้ทำกาวใช้เองจากโฟมนี่เอง  อย่างนี้ต้องชวนมารู้จักวัตถุที่ใช้ผลิตโฟมที่ชื่อว่า “สไตรีน” กันหน่อยแล้ว

สไตรีนคือสารที่นำมาใช้ผลิตโฟม เป็นสารที่มีคุณสมบัติทางกายภาพเป็นของเหลวใส คล้ายน้ำมัน มีกลิ่นเฉพาะ และระเหยได้  ตัวมันมีฤทธิ์ทำละลาย ในอุตสาหกรรมจึงใช้มันบ่อย  ในกระบวนการผลิตมีสารก่อมะเร็งปล่อยมาด้วย ตัวที่คุ้นชื่อคือ “เบนซีน” และมีอีก 3-4 ตัว ได้แก่ สไตรีนโมโนเมอร์ , 1,3-บิวทาไดอีน  คาร์บอนเตตระคลอไรด์ โครเมี่ยมและออกไซด์

อุตสาหกรรมที่พบบ่อยว่าใช้มันมีทั้งอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ (ผสมอยู่ในน้ำมันเติมรถยนต์ น้ำมันก๊าด) และอุตสาหกรรมพลาสติก (ใช้เป็นสารตั้งต้นในการจัดโครงสร้างของพลาสติก)

สไตรีนเข้าร่างกายคนได้โดยการสูดดม สัมผัส และเปื้อนอาหารที่ใส่ลงท้อง เหมือนกับสารเคมีส่วนใหญ่

เข้าไปแล้วจะออกฤทธิ์กดสมอง ระคายเคืองเยื่อบุ เช่น ตา จมูก วิงเวียนศีรษะเหมือนคนเมา อ่อนเพลีย มึนงง ทำให้สัตว์หัวใจเต้นผิดจังหวะ แต่ไม่เคยพบในคน (ไม่พบ ไม่ได้แปลว่าไม่สามารถทำให้เกิด)

มันเป็นสารที่สามารถติดไฟง่ายแม้ในความเข้มข้นต่ำ กลิ่นจะหอมจางๆ  ที่ความเข้มข้นสูง กลิ่นจะเข้มข้นจนฉุนเหม็น กลิ่นนี่แหละที่ใช้ประโยชน์ บอกระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพให้รับรู้ได้

รู้อย่างนี้แล้ว ทีหลังอย่าซนนะ นำโฟมกับน้ำมันผสมกันแบบสมัครเล่นให้โทษร้ายมากนะคะ

« « Prev : พลาสติก (๑๓) : โฟม

Next : พลาสติก (๑๕) : ตรวจสอบ » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

ความคิดเห็นสำหรับ "พลาสติก (๑๔) : อย่าซน"

ไม่มีความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.027605056762695 sec
Sidebar: 0.15855288505554 sec