ราดน้ำหมักลงน้ำเน่ารับช่วงกันมาตามลำน้ำ
ในวันที่ลองราดน้ำหมัก จุดที่เลือกราดรับช่วงกันลงมาตามลำน้ำ ต้นน้ำกับปลายน้ำมีผลไม่เหมือนกัน
แถวที่ 1
หลังราดน้ำหมักที่ต้นทางของภาพซ้ายสุดผ่านไป 24 ชั่วโมง สภาพน้ำที่เห็นไหลเรื่อยต่ำลงมาเจอสิ่งกีดขวาง ตั้งแต่ต้นทางลงมาหาปลายทาง ก็มีสภาพตามภาพแถวที่ 1( เรียงจากต้นทางไปหาปลายทางจากซ้ายไปขวา ) ความขุ่นของน้ำยังเหมือนน้ำซาวข้าวบางๆ คราบขาวที่ปลายน้ำกว่ามีจำนวนไม่น้อยกว่าจุดที่อยู่เหนือกว่า กลิ่นเหม็นปลายทางบางกว่าต้นทาง
แถวที่ 2
ในวันเดียวกับที่ราดน้ำหมักตรงจุดต้นทางของภาพแถวบน ก็ราดน้ำหมักลงไปที่ใต้ท่อในภาพซ้ายสุดของแถวที่ 2 เป็นจุดต่อมาด้วย
24 ชั่วโมงผ่านไป น้ำที่ไหลผ่านสิ่งกีดขวาง (อยู่ในจุดตามภาพขวาสุดของแถวที่ 1) แล้วเลี้ยวมุมเพื่อไหลลงต่ำไปอีก ก็รับของเสียสดๆลงมาปนด้วยวันละ 2 รอบ ตำแหน่งที่ของเสียลงมาปนอยู่ตรงใต้ท่อรั่ว ต่ำไปจากท่อรั่วมีสิ่งกีดขวางอยู่จุดหนึ่งด้วย (จุดในภาพขวาสุดของแถวที่ 2)
แถวที่ 3
เลยจากจุดที่มีสิ่งกีดขวาง น้ำที่รับน้ำหมัก 2 แกลลอน ราดที่จุดห่างกันต่ำลงมา 10 เมตร ไหลลงมาพร้อมน้ำเสียต้นทางก็มีสภาพตามในภาพซ้ายสุดของแถวที่ 3 นั่นแล น้ำที่จุดเหนือสิ่งกีดขวางใสกว่าน้ำที่ไหลผ่านสิ่งกีดขวางไปแล้ว (ภาพขวาสุดของแถวที่ 2 เปรียบเทียบกับภาพซ้ายสุดของแถวที่ 3)
น้ำที่รับน้ำหมักมาปน 2 แกลลอนมีคราบขาวเหลือบางกว่าน้ำที่รับน้ำหมักมาปน 1 แกลลอน (ภาพขวาสุดของแถวที่ 2 เปรียบเทียบกับภาพขวาสุดของแถวแรก)
ระดับความลึกของน้ำต้นทาง กับน้ำปลายทาง ต่างกันอยู่ครึ่งนิ้ว ความลึกที่ต้นทาง 2 นิ้ว (ภาพซ้ายสุดแถวที่ 1) ปลายทางลึก 3 นิ้ว (ภาพขวาสุด แถวที่ 2)
แถวที่ 4
วันที่ 6 นับจากวันราดน้ำหมักลงไป 1 แกลลอน น้ำที่ไหลจากต้นทางลงมา ก็มีสภาพเรียงจากภาพซ้ายสุดไปยังขวาสุดของแถวที่ 4 เป็นน้ำที่ไม่มีของเสียใหม่ลงมาปน น้ำที่อยู่ปลายกว่ามีก๊าซปุดขึ้นมา (ภาพขวาสุด แถวที่ 4)
แถวที่ 5
วันที่ 6 นับจากวันราดน้ำหมัก น้ำเหนือสิ่งกีดขวางกับน้ำหลังไหลผ่านสิ่งกีดขวางก่อนไปเจอของเสีย เป็นตามภาพในแถวที่ 5 ไหลเรียงจากภาพซ้ายไปขวา
แถวที 6
เมื่อไหลต่ำลงมาอีก ก็รับของเสียที่ออกมาจากท่อรั่ว น้ำซึ่งมีของเสียใหม่ลงมาปนทุกวันตลอด 6 วันนับจากวันที่ราดน้ำหมัก มีสภาพเรียงจากภาพซ้ายสุดไปขวาสุดของแถวที่ 6 ปลายทางมีฟองก๊าซปุดขึ้นมาด้วย (ภาพขวาสุดและซ้ายสุดของแถวที่ 6)
กลิ่นเหม็นที่น้ำต้นทาง เทียบกับที่ปลายทางซึ่งมีของเสียใหม่ลงมาปน ไม่แตกต่างกันในช่วงเวลาเช้า ช่วงเย็นที่แดดวายลงแล้ว ปลายทางจะมีกลิ่นให้รู้สึกบางๆ
แถวที่ 7
8 วันหลังราดน้ำหมัก น้ำที่ต้นทางคราบขาวบางตาลง น้ำเหนือสิ่งกีดขวางยังมีคราบขาว มีการเปลี่ยนแปลงความลึกของน้ำด้วยน้ำฝนที่ตกลงมาปน (แถวที่ 7 ภาพซ้ายสุด ถ่ายตอนไม่มีฝน ภาพกลาง ถ่ายตอนฝนตก)
น้ำก่อนถึงท่อรั่วมีความลึกเพิ่มขึ้น เมื่อขยะไปติดขวางทางน้ำ ขนาดของเสียที่ปนอยู่เล็กกว่าที่เคยขังอยู่ ( ภาพขวาสุด แถวที่ 7)
แถวที่ 8
น้ำเหนือสิ่งกีดขวาง มีคราบขาวในน้ำบางกว่าน้ำที่อยู่ต่ำกว่าสิ่งกีดขวาง ของเสียที่ค้างมีขนาดเล็ก กลิ่นยังมีบางๆ น้ำที่ไหลผ่านสิ่งกีดขวางได้แล้ว มีความใสกว่าน้ำที่ขังอยู่เหนือสิ่งกีดขวาง ( ภาพแถวที่ 8 น้ำไหลผ่านจากภาพซ้ายสุดลงไปหาขวาสุด ลงไปหาจุดปลายสุดในภาพซ้ายสุดของแถวที่ 9) ฟองก๊าซปุดขึ้นมากกว่าเมื่อ 3 วันก่อน
แถวที่ 9 ภาพขวาสุด คราบขาวบางตัวตรงจุดที่มีแสง หนากว่าที่จุดอยู่ที่ร่ม หลบแดด วัตถุที่เห็นเป็นชิ้นๆในภาพ คือกระดาษชำระ
ได้ข้อสรุปว่า น้ำหมักช่วยลดกลิ่นในน้ำเน่าได้ทันทีที่ราดลงไป ลดกลิ่นในน้ำเน่าที่ไม่มีของเสียใหม่ลงมาปน ได้มากกว่าน้ำเน่าที่มีของเสียใหม่สดลงมาปนทุกวัน
หลังราดน้ำหมักลงในน้ำเน่า น้ำจะมีฟองอากาศปุดขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ยิ่งผ่านไปหลายวัน ยิ่งมีก๊าซปุดมากขึ้น
ตำแหน่งที่มีฟองอากาศมากกว่ามีกลิ่นเหม็นมากกว่า ตำแหน่งที่เป็นที่ร่มเห็นฟองอากาศเกิดมากกว่าที่โดนแดดส่องถึง
ได้ข้อเตือนใจจากภาพสุดท้ายว่า ให้ระวังการเกิดภาวะแอลจีบลูมหลังการใช้น้ำหมัก (ตำแหน่งที่ลูกศรชี้ มีเงาสีเขียวของอะไรบางอย่างปรากฏแทรกอยู่ประปราย) มีขยะขวางทางไหลของน้ำที่จุดสำคัญ เพิ่มความลึกของน้ำขัง
น้ำไหลผ่านไม่สะดวก น้ำที่ขังเหนือสิ่งกีดขวางเกิดแอลจีบลูมได้ ตรงที่มีก๊าซปุด ตรงนั้นก็เห็นแอลจีเกิดขึ้น
« « Prev : เมื่อลองใช้น้ำหมักราดน้ำเน่า+ของเสียสดๆ
Next : ลูกบอลน้ำหมักในน้ำที่ขังในแอ่งย่อมๆ น้ำไหลได้ » »
1 ความคิดเห็น
ขอบคุณครับที่ช่วย prove อีกแห่งหนึ่ง เพราะมีคำถามมากมายของคนในสังคม