ชวนพ่อครูบาทำน้ำปรุงรสจากผักต้ม

อ่าน: 4593

ขอบคุณพ่อครูที่ช่วยเติมเต็มเรื่องอ่อมแซบค่ะ ลองจัดกลุ่มดูแล้วพอจับประเด็นนำมาบอกต่อได้เพิ่มบ้าง

ก่อนอื่นขอนำตัวอย่างเมนูทำน้ำซุปผักมาบอกกันเพื่อให้นึกภาพได้รางๆ  เผื่อจะลองนำไปประยุกต์สูตรใช้ทำน้ำปรุงรสอาหารที่เหมาะสมกับการใช้ปรุงอาหารเพื่อลดกินเค็มค่ะ

ส่วนประกอบน้ำซุปผัก :

พืชที่มีความหวาน( ระวังเลือดหวานขึ้น เวลานำเนื้อไปกินเป็นกับข้าวอีกต่อ ) :  มะเขือเทศ แครอท หอมใหญ่  มันฝรั่ง  จำนวนเท่าๆกัน

พืชที่หวานน้อย : กระหล่ำดอก ดอกบรอกโคลี  จำนวนเท่าๆกัน แต่ใช้น้อยกว่าพวกแรกครึ่งหนึ่ง

พืชปรุงกลิ่น หรือมีน้ำมันหอมระเหย : ผักชีฝรั่ง ต้นกระเทียม พริกไทยดำเม็ด ใบกระวาน ประมาณหยิบมือ  พริกไทยป่น 1 ช้อนชา

เครื่องปรุงรสเค็ม : เกลือ (ไม่ระบุจำนวน ให้ปรับจำนวนตามความเหมาะสมได้เอง)

น้ำสำหรับเคี่ยว ประมาณ 20 เท่าของพืชทั้งหมด

เคี่ยวจนเดือด ช้อนฟองทิ้ง แล้วเคี่ยวไฟอ่อน 1 ชั่วโมง  ยกลงกรองน้ำซุปไว้ใช้งาน

ปรุงวิธีนี้ เก็บไว้ตู้เย็นช่องธรรมดาได้นาน 3 วัน

ชวนพ่อครูลองเอาผักที่ใช้ทำผงนัวที่พี่บู๊ดนำมาบอกลองทำน้ำซุปผักสูตรสวนป่าดูค่ะ : ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะมวง, ใบกุยช่าย เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป โดยผสมผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมากคือผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือใบน้อยหน่า

โดยหลักของแมโครไบโอติกส์จะถือว่า อาหารที่ให้น้ำตาล(รวมน้ำตาล) อาหารที่มีโปตัสเซียม(แร่ธาตุอีกตัว)สูง อาหารเหลวที่มีฤทธิ์ด่าง ผักที่มีเส้นใยเยอะ เป็นอาหารที่มีฤทธิ์เย็น

ในสูตรน้ำซุปที่นำมาบอกข้างบนก็ใช้ผักที่มีฤทธิ์เย็นอยู่หลายตัว  ลองเทียบกับรายการผักที่พ่อครูบอกไว้ในเรื่องอ่อมแซบ :

อ่อมแซบ (เบญจรงค์) ผักบุ้ง ตำลึง ก้านตรง หวานบ้าน หวานป่า บวบ ฟัก แฟง แตงต่างๆ มะละกอดิบ-ห่าม พญายอ (เสลด พังพอนตัวเมีย) สายบัว หยวกกล้วย ก้านกล้วย กล้วยดิบ หัวปลี ยอดฟักข้าว ยอดฟักแม้ว หญ้าปักกิ่ง ว่านกาบหอย ว่านหางจรเข้ ว่านมหากาฬ มะรุม ทูน (ตูน) ถั่วงอก มะเขือเทศ กะหล่ำดอก บล็อคเคอรี่ กวางตุ้ง ผักกาดขาว หัวไชเท้า (ผักกาดหัว) ผักกาดหอม (ผักสลัด) อีหล่ำ อีสึก (ขุนศึก) ย่านางเขียว-ขาว หมอน้อย ใบเตย รางจืด เหงือกปลาหมอ ลิ้นปี่ ผักแว่น ผักโหบเหบ มังกรหยก ผักติ้ว ดอกสลิด (ดอกขจร) มะเดื่อ มะอึก ดอกแค ฟักทองอ่อน ยอดฟักทอง ดอกฟักทอง ผักโสมไทย ยอดมะม่วงหิมพานต์ ก้างปลา ใบมะยม ปวยเล้ง ตังโอ๋ ข้าวโพด ขนุนดิบ ใบมะขาม ใบส้มป่อย ส้มเสี้ยว ส้มรม ส้มกบ

ผักพวกนี้น่าจะประยุกต์ต่อได้เป็นผงนัวสูตรสวนป่า หรือน้ำซุปผักสูตรสวนป่าค่ะ

มีเคล็ดเล็กๆที่พอกล้อมแกล้มใช้เพื่อกำหนดสัดส่วนของผักที่จะเป็นส่วนประกอบ ใช้รสผักเป็นหลักแล้วกลั่นกรองคุณสมบัติของธาตุคร่าวๆเพื่อการปรับสัดส่วนก่อนลงมือค่ะ

เครื่องมือที่สะดวกที่สุดของผู้คนซึ่งมีติดตัวมาตั้งแต่เกิดในเรื่องอาหารก็คือลิ้น ถ้าลิ้นรับรสไวก็จะสะดวกที่สุด เมื่อใช้ทำงานกับสมอง ตา และมือ เลือกอาหารกินก็ป้องกันโรคได้

จึงลองจับกลุ่มให้ตามชนิดผักที่รู้จักตามคุณสมบัติที่นักวิทยาศาสตร์เขาบอกไว้บ้างแล้วมาใช้  ก็จะได้กลุ่มผักและการครองธาตุที่ใช้ดูแลสุขภาพสำหรับคนคุ้นเคยกับพืชผักมาให้อย่างนี้ค่ะ

น่าจะสะดวกในการใช้งานนะคะ

ผักรสหวาน ผักที่ใช้ทำแป้งได้—–น้ำตาลมาก

ผักรสฝาด ——-โปแตสเซียมสูง

ผักรสจืด น้ำเยอะ เส้นใยเยอะ อมน้ำ——-ฟอสเฟตต่ำ

ผักรสจืดกรอบหรืองอก——กรดยูริกสูง

ผักรสหวานอมเปรี้ยวกรอบ——-ฟอสเฟตสูง  น้ำตาลสูง

ผักรสเผ็ด นิ่ม มีกลิ่นเฉพาะตัวหรือมีน้ำมันหอม——ฟอสเฟตต่ำ

ผักรสจืด นิ่ม รสซ่า หรือกินแล้วเมือกลิ้น——-ฟอสเฟตต่ำ

ผักพืชน้ำ——-ฟอสเฟตต่ำ

ผักจืดที่ใช้รากเป็นอาหาร——-ฟอสเฟตต่ำ

ผักรสขม—–น้ำตาลน้อย

ยังไม่จบ แต่ง่วงนอนแล้ว ขอนอนก่อนค่ะ

« « Prev : จัดการการกินให้อ่อนเค็ม…ไม่ง่ายๆ

Next : เมนูตามใจฉันของครูบา » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 เวลา 10:33 (เช้า)

    ออกมาทานอาหารนอกบ้านนี่ไม่อร่อยเลย
    เจองานเลี้ยงหลายมื้อ
    เว้นแต่มื้อรับเสด็จเขาจัดเป็นอาหารญวนล้วนๆ
    ผักเยอะ อร่อยดี

    • ช่วงปีใหม่ว่างๆจะลองทำน้ำปรุงรส และผงนัวดูนะครับ เท่าที่ดูรายชื่อผัก 30-40 ชนิด ที่สวนมีเกือบครบ ขาดเพียง 3-4 เท่านั้น

    มีแนวโน้มที่จะคิดอาหารง่ายพกติดตัว ไว้สำรองในยายมเดินทาง หรือไปที่ๆมีอาหารขยะมากๆ แล้วจะรายงานนะครับ แคว๊กๆ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 22 ธันวาคม 2009 เวลา 22:50 (เย็น)

    ถ้าจะให้อร่อยก็ต้องฝึกตาและหัวไว้เอ็กซเรย์อาหารก่อนใส่ปาก แล้วค้นหาวิธีใช้เครื่องปรุงรสสำหรับแต่งรสอาหารให้เหมาะกับสถานการณ์

    พกเสบียงติดตัวยากกว่าพกเครื่องปรุงรสติดตัวนะคะ

    ไหนๆก็จะลองดูแล้ว ลองนึกถึงผงปรุงรสในมาม่านะคะ รูปแบบอย่างนั้นแหละค่ะ พกง่ายเบาสบาย ใช้สบาย แค่นำออกมาโรยๆข้าวก็ใช้ได้แล้ว

    ปิ๊งกับมันจากการถอดบทเรียนการไปญี่ปุ่นเมื่อตอนลูกชาย ลูกสาวยังเล็กอยู่ค่ะ นึกถึงตั้งกะตอนที่พี่บู๊ดเล่าถึงผงนัวนะแหละค่ะ

    ดูผักตามสูตรผงนัวแล้ว ถ้าเข้าใจวิธีผสมรสชาดมัน ก็จะได้อาชีพใหม่ ทางออกใหม่ของการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนเกษตรกรด้วยค่ะ 

    ผักหลายอย่างก็เป็นผักริมรั้ว ริมทาง มีไม่กี่อย่างที่ต้องปลูก ต้องลงแรงดูแลเนอะค่ะ

    ถ้ามองข้ามช็อตไปถึงการสร้างรายได้ ฝากศึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยปลูกผักด้วยนะคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.038341999053955 sec
Sidebar: 0.070256948471069 sec