คนดื่ม-คนดู…มีส่วนให้การดื่มไม่กลายเป็นมากเกิน

อ่าน: 2362

เมื่อคืนนี้ง่วงนอนซะก่อนก็เลยเขียนเล่าเรื่องน้ำไม่จบ บันทึกนี้ขอมาต่อก็แล้วกัน

ที่เล่าเอาไว้ว่าพิษจากน้ำเกิดขึ้นได้จากกลไกออสโมซิสที่เกิดขึ้นในระหว่างผนังเซลที่ผิดแปลกไป แล้วทำให้สมดุลน้ำระหว่างเซลไม่สมดุลนั้นมีที่มา หมอพยาบาลแนะนำเรื่อง “งดเค็ม ลดเค็ม” ก็เพราะกลัวเรื่องน้ำเป็นพิษนี่แหละคะ

ที่จริงร่างกายต้องการปริมาตรของน้ำไปใช้สำหรับเป็นการบำรุงรักษาขั้นพื้นฐาน เป็นขั้นพื้นฐานของการใช้น้ำเพื่อดำรงชีวิตอย่างธรรมดาๆ หายใจธรรมดาๆ เสียเหงื่อธรรมดา ไม่มีการเสียน้ำออกจากร่างกายที่ผิดธรรมดา ไต  หัวใจ ปอดทำงานปกติ

การเติมน้ำเข้าไปในร่างกายในจำนวนตามที่เขียนไว้ที่นีเป็นเกณฑ์น้ำพื้นฐานที่คนธรรมดาๆต้องการใช้งานเพื่อดำรงชีวิต เกณฑ์พื้นฐานนี้เหล่าหมอพยาบาลใช้ดูแลคนป่วยที่ไม่มีความเสื่อมของอวัยวะหลัก 3 อย่าง : ไต หัวใจ ปอด กันอยู่ค่ะ

มีข้อแม้ของการใช้อยู่ตรงนี้ค่ะ : คนป่วยที่มีความเสื่อมของอวัยวะสำคัญๆ มีหลักเกณฑ์ของการให้น้ำที่แตกต่างไป ขึ้นกับปัจเจกคน ไม่สามารถใช้เกณฑ์นี้ได้อย่างอัตโนมัติ

คงเคยเห็นกันอยู่นะคะ ว่าเวลานำเกลือทะเลใส่ถ้วยวางไว้ ผ่านเวลาไปไม่นานเกลือจะเยิ้ม ยิ่งวางไว้่นานเกลือจะกลายเป็นน้ำเกลือใสๆอยู่ตรงหน้า

การปรับสมดุลเคมีในร่างกายที่ไม่เคยหลับ มีการขับโซเดียมเป็นกลไกหนึ่งอยู่้ การขับโซเดียมทิ้งใช้เวลาเป็นวันๆจึงมีบางส่วนค้างอยู่ในร่างกายอยู่ร่ำไป เกลือดูดน้ำเอาไว้กับตัวฉันใด โซเดียมก็ดูดน้ำไว้กับตัวฉันนั้นด้วย  มีตัวช่วยดูดน้ำมาส่งให้คือไตน้อยๆที่พึงถนอมของผู้คนนั่นเอง

ลองนึกถึงความเข้มข้นของน้ำเกลือที่ใช้ดองพืชดูนะคะ เกลือเยอะๆน้ำน้อยงวดน่าดูไหม งวดแล้วหนืดเทยากหน่อยใช่หรือไม่ ไม่ต้องการให้หนืดก็ต้องการน้ำเติม  เรื่องอย่างนี้เกิดมีขึ้นในร่างกายด้วยนะ ช่วงที่งวดจะเกิดขึ้นเมื่อมีเกลือโซเดียมจำนวนมากอยู่ในร่างกาย ช่วงที่มีการเติมน้ำเพื่อลดหนืดเกิดโดยไตดูดน้ำเก็บคืนไม่ปล่อยทิ้ง

การดูแลสมดุลน้ำให้ร่างกายเกิดความปลอดภัยใช้ 2 กลไกหลัก  กลไกหนึ่งเตือนเมื่อเริ่มมีน้ำเยอะกว่าธรรมดา้ ไม่ให้น้ำเหลือเยอะเกินก็ขับทิ้งผ่านออกไปซะ  อีกกลไกเตือนเมื่อน้ำไม่พอเพื่อให้มีการหาน้ำมาเติมเพิ่มให้หน่อย กลไกหลังดูดน้ำเก็บคืนไม่ทิ้งออก และอาจรวมถึงการสะกิดเตือนให้ดื่มเพิ่มเข้าไป  อวัยวะที่ถูกสะกิดให้จัดการสมดุลน้ำ็ด้วย 2 กลไกนี้มีไตเป็นหลัก ลำไส้เป็นรอง

ปริมาตรน้ำที่แนะนำให้ดื่ม 30 เท่าของน้ำหนักตัวนั้น ปรับตัวเลขกลมๆมา้ให้ใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายๆ เพื่อไ่ม่ให้ชีวิตแขวนอยู่กับตัวเลขกะปิแบบคณิตศาสตร์เป๊ะๆแม้แต่เรื่องการกินการดื่มตามปกติค่ะ

ปริมาตรน้ำตามจำนวนนี้ คนไตดี คนไตเสื่อมที่ยังไม่ต้องจำกัดปริมาณน้ำดื่มปลอดภัยค่ะ  ด้วยว่าเป็นปริมาณที่ต่ำกว่าจำนวนน้ำขั้นพื้นฐานที่ร่างกายผู้ใหญ่ต้องการอยู่้ 20-30%

ส่วนที่ขาดหายไปเผื่อไว้รองรับจำนวนน้ำที่จะถูกดูดเก็บคืนไม่ทิ้งออกของไตเมื่อกินเค็มจัด โซเดียมสูงเพื่อความปลอดภัยเพิ่มขึ้นจากน้ำเป็นพิษไว้ให้คนที่ไม่รู้ตัวว่ากินเค็มแล้วค่ะ

คนไตเสื่อมที่หมอสั่งจำกัดน้ำดื่มแล้ว ใช้เกณฑ์นี้ไม่ได้

พ่อครูบาเข้ามาแลกเปลี่ยนว่าเรื่องดื่มน้ำมีเรื่องยุ่งไม่น้อยกว่าจะดื่มได้ถูกต้อง เป็นเรื่องต้อง เฮ้อจริงๆ…..เห็นด้วยๆ

คำว่า “ดื่มน้ำมากเกินไปจะมีผลเสีย” ที่ป้าจุ๋มมาหยอดคำไว้ มีเบื้องหลังมากมาย ซึ่งได้เล่าไว้ที่นี่และที่อื่น แล้ว

เห็นด้วยกับป้าจุ๋มที่ว่ายังมีความรู้เรื่องคุณภาพของน้ำและเวลาที่ควรดื่มที่ควรรู้ด้วยค่ะ

ไม่รู้ว่าคำแนะนำเกี่ยวกับการดื่มน้ำ 8-10 แก้วหายไปจากประเทศไทยเมื่อไร เพิ่งสังเกตอีตอนจะไปค้นเพื่อลิงค์มาให้อ่านกันค่ะ

ณ บัดนี้ สุขศึกษาที่เคยสอนคนรุ่นเก๋าให้จำกันได้มาจนบัดนี้  ควรดื่มน้ำ 8-10 แก้วต่อวัน  ไม่มี๊ไม่มีแล้ว  หายไปแล้ว ทั้งโภชนบัญญัติและสุขบัญญัติแห่งชาติ ไม่ได้กำหนดไว้เลย

น่าแปลกใจจังซี่เนอะค่ะว่ามันหายตกกระป๋องไปด้วยเหตุใด อย่างนี้คนรุ่นใหม่ เด็กรุ่นใหม่ จะนำความรู้เรื่องการดื่มน้ำที่ควรเป็นสุขนิสัยมาจากที่ไหนกันหนอ

« « Prev : การดื่มน้ำ….มีเรื่องที่ควรรู้และพิจารณาอยู่นะ

Next : อ่านเอง…แปลเอง…จะปรับได้เร็วกว่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

4 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 9:10 (เช้า)

    ลองนึกถึงความเข้มข้นของน้ำเกลือ ที่ใช้ดองพืชดูนะคะ เกลือเยอะๆน้ำน้อยงวดน่าดูไหม งวดแล้วหนืดเทยากหน่อยใช่หรือไม่ ไม่ต้องการให้หนืดก็ต้องการน้ำเติม เปรียบเทียบตรงนี้เห็นภาพเลย หลังจากสนใจเรื่องน้ำ นอกจากเลิกน้ำอัดลม100~%แล้ว ระวังเรื่องน้ำอย่างอื่นมากขึ้น ถ้าอยู่บ้านจะดื่มน้ำมะพร้าวตามที่อาม่า-ป้าจุ๋มแนะนำ ส่วนน้ำดื่มประจำใช้น้ำฝนมากรอง ดื่มบ่อยๆโดยใส่ขวดมาตั้งไว้บนโต๊ะ จะได้รู้ว่าวันหนึ่งๆเราดื่มน้ำไปปริมาณเท่าใด ถ้าอากาศเย็นมากๆก็จะดื่มน้ำชาบ้าง เช่นตื่นมาดึกๆ/หนาว ดื่มน้ำอุ่นสักถ้วย

    จะเล่ามาให้แนะนำอีกเป็นระยะๆ  นะครับ
    แคว๊กๆ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 10:21 (เช้า)

    มีเรื่องโซเดียม(เกลือ)กับน้ำมะพร้าว และชา กาแฟ ที่จะเขียนเล่าให้อ่านเพื่อใช้พิจารณาเรื่องปริมาณน้ำดื่มค่ะ พ่อครู แวบมาบอกก่อนจะแวบไปทำงานค่ะ วันนี้ พรุ่งนี้มีงานเข้าค่ะ จะได้กลับมาเขียนเล่าก็คงเป็นตอนดึกๆแล้วค่ะ จะทะยอยเขียนเล่าตามเวลาที่พอไหวค่ะ

  • #3 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 เวลา 10:42 (เช้า)

    ขอบคุณครับ

  • #4 ป้าจุ๋ม ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 ธันวาคม 2009 เวลา 20:57 (เย็น)

    -ความที่ป้าจุ๋มทำงานด้านเคมี มีอยู่วันหนึ่งก็เกิดซนๆขึ้นมาเอาน้ำอัดลมยี่ห้อหนึ่งมาวัดค่าpH(ความเป็นกรดเป็นด่าง)ดู พบว่ามีค่า 4.5 ก็ต๊กกะใจ เพราะถือว่ามีความเป็นกรดค่อนข้างสูงค่ะ เลยเลิกซื้อน้ำอัดลมเข้าบ้านตั้งแต่บัดนั้นมา แต่บางครั้งเวลาไปทานส้มตำนอกบ้านก็ยังอดดื่มมั่งไม่ได้(ดื่มแก้เผ็ดค่ะ) ก็ทำให้การทานส้มตำวันนั้นมีรสชาติเพิ่มขึ้นอีกค่ะ…อิอิ
    -ขอบคุณสาวตาที่หาข้อมูลดีๆมาให้อ่านค่ะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.048815011978149 sec
Sidebar: 0.10505700111389 sec