วิธีลดการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาล

โดย withwit เมื่อ 4 January 2011 เวลา 12:33 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1819

วิธีรลดการจราจรติดขัดในช่วงเทศกาล

 

ปีใหม่สงกรานต์แต่ละปี การจราจรบนถนนมิตรภาพ จากสระบุรีสู่โคราช ขอนแก่น บุรีรัมภ์ ก็ติดขนัด ผู้คนหงุดหงิดอารมณ์เสีย บางคนด่ารัฐบาลว่าเอาเงินภาษีราษฎรไปทำอะไรหมด

 

ผมได้สำรวจพบว่าสาเหตุสำคัญประการหนึ่งคือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของตำรวจไทย ที่ไปเพิ่มพื้นผิวการจราจร เช่นถนนมี 4 เลน เขาก็คิดกันได้ว่าให้เพิ่มเลนวิ่งทางหนึ่งเป็น 3 เลน ส่วนอีกทางหนึ่งรถมีน้อยก็ลดให้เหลือ 1 เลน

 

ตรรกะของตำรวจไทยก็คือถ้าเราเพิ่มผิวการจราจรให้มากขึ้นมันก็น่าจะทำให้การจราจรไหลลื่นได้มากขึ้น แต่ผิดถนัดครับ ยิ่งเพิ่มผิวจราจร จาก 2 เลน เป็น  3 เลน ยิ่งทำให้รถติดหนักมากขึ้น 10 เท่า  10 เท่านะครับไม่ใช้เท่าเดียว

 

เหตุผลคือ คุณไม่ได้เพิ่มผิวการจราจรอย่างต่อเนื่องตลอดสาย แต่เพิ่มเป็นบางช่วงเท่านั้น เช่น ช่วงสีคิ้วลำตะคอง ประมาณ 10 กม. จากนั้นก็บีบจาก 3 ให้เหลือ 2  เหมือนเดิม

 

ไอ้ช่วงบีบกลับนี่แหละครับที่คือสาเหตุสำคัญของการติดขัด เพราะรถจากเลนที่สามต้องชะลอตัวลง แล้วเบียดเข้ามาในเลนที่สอง ทำให้รถในเลน  2 เบรคตัว แล้วตีออกไปเลนที่ 1 ทำให้เลน 1 เบรค และหยุดตัวไปหมดทั้งระบบในที่สุด

 

ถ้าปริมาณจราจรไม่มากนักผลเสียก็ไม่เท่าไร แต่ถ้าปริมาณรถมากเกินระดับหนึ่ง มันจะส่งผลให้รถติดยาวหลายกิโลเมตรในที่สุด เพราะรถที่ตามมาจะเบรคและหยุดต่อกันเป็นหางยาว  พอต้นขบวนออกตัว กว่าที่ท้ายขบวนจะออกตัวได้ก็กินเวลาเป็นชั่วโมง เพราะเสียเวลาในการออกตัวเป็นระลอก  หลักการนี้ไม่ต่างอะไรกับการติดไฟแดง พอไฟเขียวมาทำไมรถคันท้ายๆออกตัวไม่ได้ทันที บางทียังไม่ทันออกตัวไฟแดงมาอีกแล้วก็มี

 

 

ผมเคยเผชิญปรากฎการณ์นี้มาด้วยตนเองครั้งหนึ่ง บริเวณลำตะคองที่ตำรวจขยายช่องการจราจรให้ ระยะทาง 10 กิโลใช้เวลาประมาณ 1 ชม.  พอพ้นตรงนี้ ถนนเล็กลง เหลือเพียงสองเลน การจราจรก็พุ่งตัวเป็นปกติ วิ่งได้ 100 กม. ต่อชม.สบายๆ

 

และก็เหตุผลเดียวกันนี้แหละ ที่ทำให้ถนนวงแหวนมอเตอร์เวย์ชลบุรีบางช่วงที่เคยราบรื่นดีพอสมควร ต้องติดหนักในบางครั้ง เพราะดันไปเพิ่มผิวการจราจรให้เป็น 3  เลน ใน “บางช่วง ”   ถ้าทำต้องทำตลาดสายอย่าทำเพียงบางช่วง มันจะยิ่งร้ายกว่าเดิมเสียอีก

 

 

ผลพวงอีกประการของการนี้ก็คือ มันทำให้เกิดอุบัติเหตุจากการเบียดตัวตัดหน้ากันเพิ่มขึ้น และพอชนกัน ก็หยุดมาทะเลาะกัน รถก็ยิ่งติดหนึบมากขึ้นอีก 10 เท่า

 

อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้รถติดคือช่วงขึ้นเขา แล้วรถหนักเช่น รถบรรทุก และ รถโดยสารซึ่งวิ่งได้ช้ามาก ไปวิ่งปิดเลนถนนหมดทุกเลน เช่น บริเวณแก่งคอย ในช่วงประมาณ 10 นาทีนี้รถจะมาออต่อหางกันยาวหลายกิโล ดังนั้นตำรวจต้องไปกำกับดูแลเป็นพิเศษในการบังคับให้รถหนักวิ่งเลนซ้ายเท่านั้น ในช่วงขึ้นเขา ห้ามแซงเด็ดขาด

 

อีกเหตุผลคือ การเอาเปรียบกันด้วยการลงไปวิ่งไหล่ถนน ลักษณะเหมือนกับขยายเลนจาก 2 เป็น 3 เลนทุกประการ เพราะพอถึงคอสะพานวิ่งไปไม่ได้ก็ต้องตีเข้า แล้วมาเบียดให้รถบนถนนหลักต้องชะลอตัว ดังนั้นตำรวจควรไปรออยู่ตรงคอสะพานแล้วจับปรับไอ้พวกนี้ให้หนัก (คงได้เงินหลาย เอาเข้าหลวงสักครึ่งนึงเด๊อ)

 

…ทวิช จิตรสมบูรณ์ (ช่วงสงกรานต์ ๒๕๔๘)

« « Prev : สังคมเศรษฐกิจฐานปัญญา (วึสเดิ้มเบสด์อึเคอะน่ะมิ่)

Next : ลดพื้นที่ทำนา..หันมาทำอุตสาหกรรมป่าไม้กันดีกว่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

3 ความคิดเห็น

  • #1 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 January 2011 เวลา 3:18 pm

    น่าสนใจครับ ใครมี simulation ลองจำลองแบบจราจรนี้ออกมาหน่อยซิครับ

  • #2 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 5 January 2011 เวลา 12:28 pm

    ท่าน bangsai ครับ ผมเคยคิดจะทำ simulation อยู่ แต่มันยากมากทีเดียว อาจลองให้นศ. ลองทำดูสักวันครับ ในสรอ. มันเคยมีคนขึ้นเฮลิคอปเตอร์ไปถ่ายรูปถนนที่รถติด ซึ่งมี 6 เลน ปรากฎว่าสาเหตุมาจากการที่มีรถวิ่งช้าอยู่คันหนึ่งในเลนหนึ่ง ทำให้รถที่ตามหลังมาต้องตีออกไปเล่นอื่น ก็เกิดการสะดุด แพร่กระจายออกไปทุกเลนในที่สุด และถ้าปริมาณการจราจารหนาแน่นถึงระดับวิกฤต การจราจรจะ “หยุด” นิ่งทั้ง 6 เลนเลย เมืองไทยเราก็เกิดเหตุการณ์แบบนี้บ่อยๆ ครับ ผมเคยเจอกับต้วเองหลายครั้ง

    ทวิช

  • #3 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 6 January 2011 เวลา 8:12 pm

    เป็นมุมที่น่าสนใจค่ะ นอกจากนี้มีเรื่องของผิวจราจรที่กระบ่อนกระแบ่นร่วมด้วยหรือเปล่าคะ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.1225368976593 sec
Sidebar: 0.54767107963562 sec