ดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว มันมากเกินไป ระวังจะตายไวนะ
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว มันมากเกินไป ระวังตายไว (ไตวาย)
เราท่านคงเคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำให้ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว ซึ่งผมเชื่อว่าตัวเลขนี้ลอกมาจากตำราฝรั่งอีกต่อ (ตามเคย) ซึ่งผมเชื่อต่อไปว่าการดื่มน้ำในปริมาณขนาดนี้มันมากเกินจำเป็นไปประมาณ 1.5 เท่า ซึ่งจะทำให้คนไทยเราตายไวมากขึ้นอีกด้วย
ก่อนอื่นต้องคิดให้ออกในเบื้องต้นก่อนว่าฝรั่ง (เจ้าของทฤษฎี 8 แก้ว) นั้นร่างกายเขาใหญ่กว่าเรา พวกเขาเฉลี่ย 80 กก. ส่วนเราหนักเฉลี่ย 60 กก. หากเทียบส่วนตามบัญญัติไตรยางค์ ถ้าเขาดื่ม 8 เราก็ต้องดื่มเพียง 6 เท่านั้นเอง (… แต่แล้วเราก็ไปลอกตำราเขามาทั้งดุ้นอีกตามเคย ไม่ต่างอะไรกับที่ลอกระบบประชาธิปไตยเขามาใช้ทั้งดุ้น โดยไม่ปรับให้เข้ากับสังคมเราเสียก่อน)
ช้าก่อน..ยังไม่จบ..เรื่องมันยังมีอีกมาก…
หากวิเคราะห์ให้ละเอียดยิ่งขึ้นจะเห็นได้ว่าอาหารไทยที่คนไทยเรากิน เช่น ข้าวสวย ต้มยำ แกง ผักลวก นั้นมีน้ำเจืออยู่แล้วด้วยเป็นจำนวนมาก ผิดกับอาหารฝรั่งที่มักเป็นขนมปัง เนื้อปิ้ง ซึ่งแห้งกว่าอาหารบ้านเรามาก ทำให้เขาต้องดื่มน้ำมากกว่าเราเพื่อทำให้เกิดความชื้นที่เพียงพอต่อการย่อยอาหาร เพราะเชื่อได้ (โดยสำนึกพื้นฐานแม้ไม่ต้องเรียนมาทางด้านสุขภาพ) ว่าการย่อยอาหารนั้นมันคงต้องการความชื้นระดับหนึ่ง ถ้าแห้งเกินไปหรือแฉะเกินไปก็ไม่ดีทั้งนั้นแหละ
อาหารเช้าฝรั่งเขากินไข่ดาว หมูแฮม หนมปัง (มีน้ำน้อยมาก) ส่วนเรากินข้าว (ที่มีน้ำปนอยู่แล้วครึ่งแก้ว..บางคนกินข้าวต้มก็ยิ่งไปกันใหญ่) โดยกินกับแกงจืด (มีน้ำอีกหนึ่งแก้ว) ..เช้านี้เรากินน้ำมากกว่าฝรั่งไปแก้วครึ่งแล้วนะ
ส่วนอาหารกลางวันฝรั่งกินแซนด์วิช (ไม่มีน้ำเลย) ส่วนเรากินก๋วยเตี๋ยว (มีน้ำอยู่แล้วอีกแก้วครึ่ง) เย็นฝรั่งกินเสต็ก (ไม่มีน้ำ) ส่วนเรากินข้าว (น้ำครึ่งแก้ว) แกงต่างๆ หรือ ต้มยำ (น้ำอีกแก้ว)
รวมอาหารสามมื้อเรากินน้ำแบบ “ตามน้ำ” มากกว่าฝรั่งไปแล้ว 4 แก้วครึ่ง หักออกจากทั้งหมดที่ต้องกิน 6 แก้วให้เท่ากับฝรั่งตามหลักบัญญัติไตรยางศ์ ก็เท่ากับว่าเราควรกินน้ำเสริมเข้าไปเพียงวันละ 1 แก้วครึ่งเท่านั้นเอง (มื้อละ ครึ่งแก้ว)
ดังนั้นการดื่มน้ำทั้งวันให้ได้ประมาณ 8-10 แก้ว ตามที่นักวิชาการไทยไปลอกมาจากตำราฝรั่งนั้นผมเห็นว่ามันมากเกินไป 1-200% ซึ่งผมว่ามันจะเป็นผลร้ายต่อสุขภาพคนไทยหลากหลายประการ เหตุผลทั้งหมดที่จะยกอ้างมาสนับสนุนความเห็นนี้ ผู้เขียนคิดเอาเองทั้งสิ้น ไม่มีข้อมูลทางการแพทย์รับรอง ดังนั้นโปรดอ่านด้วยวิจารณญาณก่อนเชื่อหรือและถือปฏิบัติ
ผู้เขียนเชื่อว่าการดื่มน้ำมากเกินไป จะทำให้ฉี่ไสเกินไป และฉี่บ่อยเกินไป เพื่อคายน้ำส่วนเกิน ส่งผลให้ไตทำงานหนักเกินจำเป็น (เรียนรู้มาจาก “ตำราฝรั่ง” แบบกระท่อนแท่นว่าไตทำหน้าที่ส่งผ่านสิ่งโสโครกที่กรองออกจากเลือดไปสู่น้ำที่มันดูดซับเข้ามา ก่อนที่จะระบายน้ำเสียออกสู่ท่อปัสสาวะ) ดังนั้นการดื่นน้ำมากเกินไปอาจทำให้ไตเสื่อมเร็วกว่าปกติเนื่องเพราะไตต้องทำงานหนักกว่าปกตินั่นเอง ไตทำงานหนักแต่ได้ผลน้อย เท่ากับว่า โง่แล้วขยันหรือไม่ (ไตไม่โง่หรอกแต่เจ้าของไตต่างหาก)
วิถีสุขภาพแห่งมาโครไบโอติก (macrobiotic) ได้เสนอไว้อย่างน่าคิดว่าให้ดื่มน้ำให้น้อยที่สุด เพื่อที่ไตจะได้แห้ง พอมันแห้ง มันก็ดูดฟอกสารพิษจากเลือดได้ดี อุปมาดังฟองน้ำถ้ามันเปียกโชกเพราะน้ำมากเกินไปมันก็ดูดเช็ดทำความสะอาดอะไรไม่ได้หรอก แต่ถ้ามันแห้งมันจะดูดได้ดีมาก ซึ่งผมขอค้านว่า ฟองน้ำแห้งเกินไปก็ไม่ดีหรอก มันต้องชื้นเล็กน้อยจึงจะดูดได้ดีที่สุด สรุปคือ เปียกมากไปก็ไม่ดี แห้งมากไปก็ไม่ดี ต้องกำลังพอดีนะครับ คือคนไทยตัวเล็กๆ ควรดื่มน้ำวันละประมาณ 1-2 แก้วเท่านั้น แล้วแต่ว่าตัวเล็กใหญ่แค่ไหน
อย่าลืมด้วยว่าอากาศบ้านเรามีความชื้นสูงกว่าบ้านฝรั่งเขามาก (ความชื้นสัมพัทธ์ (relative humidity) บ้านเราเฉลี่ยประมาณ 70% ส่วนของเขาประมาณ 40%) ซึ่งข้อแตกต่างนี้จะทำให้ผิวหนังเราสูญเสียน้ำจากรูขุมขนน้อยกว่าเขา ก็ยิ่งต้องการน้ำเข้าร่างกายน้อยกว่าเขาเข้าไปอีก
ที่สำคัญกว่านั้นคือการหายใจเข้าออกนั้นเกิดการสูญเสียน้ำมากพอควร เพราะแต่ละวันเราหายใจมากทีเดียว อากาศเมืองฝรั่งแห้งกว่าบ้านเรามาก (ความชื้นสัมพัทธ์) ดังนั้นเมื่อเขาหายใจเข้าไปสู่ปอดความชื้นในร่างกายก็จะถูกดูดซับออกสู่ลมหายใจได้มากกว่าการหายใจในอากาศชื้นของบ้านเรา ก็ยิ่งทำให้เขาสูญเสียน้ำในร่างกายมากกว่าเรา (ดังนั้นก็ต้องดื่มน้ำชดเชยเข้าไปมากกว่าเรา) ลองสังเกตจากลมหายใจออกในหน้าหนาวของดาราในหนังฝรั่งสิ การที่เกิดควันขาวออกจากรูจมูกดาราฝรั่งนั้นแท้แล้วก็คือไอน้ำในลมหายใจที่มีความชื้นสูงเกิดการควบแน่น (condensation) ในอากาศเย็นออกกลายเป็นหมอกนั่นเอง ซึ่งแสดงว่าลมหายใจออกนั้นมีการดูดซับความชื้นออกมาจากร่างกาย (ที่ปนมากับเลือดในปอดเป็นส่วนใหญ่) ซึ่งการดูดซับความชื้นของเขามีมากกว่าของเราทุกลมหายใจเข้าออก ก็ยิ่งทำให้เขาต้องการน้ำเข้าไปชดเชยมากกว่าเราวันละหลายแก้ว
เมื่อพิจารณาปัจจัยประกอบหมดแล้วอาจเป็นไปได้ว่าเราควรดื่มน้ำเพียงวันละ 0 แก้วเท่านั้นเอง (ไม่ต้องดื่มเลย) เพื่อให้เกิดความสมดุลของระบบการชดเชยน้ำตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการดื่มน้ำตามที่ตำราฝรั่งบอกว่าต้องวันละ 8-10 แก้ว นั้นจึงเป็นการให้น้ำมากเกินจำเป็นสำหรับคนไทยเราไปถึง 1-200% ซึ่งผมว่านอกจากไตจะทำงานหนักเกินจำเป็นอย่างโง่เขลาแล้ว ยังน่าจะก่อผลร้ายต่อสุขภาพตามมาอีกมากหลาย
คราวนี้ลองมาเพ่งดูระบบการไหลเวียนเลือดและหัวใจ(วาย)กันหน่อยนะ
ทฤษฎีฝรั่งที่นักวิชาการไทยเราเอามาเล่าต่อด้วยความภูมิใจว่าการกินน้ำมากจะทำให้เลือดใส ทำให้เลือดไหลลื่นได้ง่าย แต่ถ้ากินน้ำน้อยเลือดจะหนืดข้น ทำให้ไหลยาก จนทำให้กลายเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้เพราะพอเลือดไหลยาก หัวใจก็ต้องออกแรงดันมากกว่าปกติเพื่อให้เลือดไหลไปได้ ก็เลยต้องสร้างความดันให้สูงกว่าปกตินั่นเอง โห..ฟังดูน่าเชื่อถือมาก เพราะเข้ากันได้กับสามัญสำนึกของเราท่าน
แต่ผู้เขียนขอให้ข้อคิดว่าการที่เลือดใสขึ้นก็หมายความว่าปริมาณเลือดที่ไหลจะต้องมากขึ้นด้วย ทั้งนี้เพื่อนำเซลเม็ดเลือดที่ดูดสารอาหารไปหล่อเลี้ยงร่างกายให้ได้ในปริมาณที่เพียงพอเท่าเดิม (เป็นการชดเชยความเข้มข้นที่ลดลงด้วยปริมาณที่มากกว่า) ดังนั้น..ความเร็วของการไหลของเลือดใสขึ้นก็จะต้องสูงขึ้นกว่าเลือดที่ข้นหนืด
แต่ตามหลักวิศวกรรมศาสตร์นั้นการไหลในท่อที่มีหน้าตัดคงเดิมนั้น ถ้าความเร็วสูงขึ้น 2 เท่า เครื่องสูบส่ง (หัวใจในที่นี้) ต้องทำงานหนักมากขึ้น 8 เท่า (กฎความเร็วยกกำลังสาม) แต่ความหนืดที่ลดลงของเลือดที่ใสขึ้นอาจช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจที่เพิ่มขึ้นนี้ได้เล็กน้อย (ประมาณ 2 เท่าเป็นอย่างมาก) ดังนั้นการใสขึ้นของเลือดจากการดื่มน้ำมากนั้นอย่างดีที่สุดก็ช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจที่มากขึ้นจาก 8 เท่ามาเหลือแค่ 4 เท่า
สรุปคือ ตามหลักวิศวกรรมศาสตร์และหลักโภชนาการเลือดที่ใสขึ้นน่าจะเป็นผลร้ายต่อหัวใจ และหลอดเลือดมากกว่าเลือดที่ข้นขึ้นเสียอีก (เรื่องนี้น่าสนใจมาก ทำเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้เลย หมอคนไหนสนใจโทรมาคุยกับผมได้ ที่ 044 224414 ถ้าได้รางวัลโนเบลจากเรื่องนี้ก็อย่าลืมผมด้วยกะแล้วกัน)
ถ้านักวิชาการไทยเรายังลอกระบบดื่มน้ำ (และกินอาหาร) ของฝรั่งมาใช้ทั้งดุ้นโดยไม่ปรับให้เข้ากับสภาพร่างกายของคนไทยเรา อีกหน่อยคนไทยก็คง”ตายไว” (ไตวาย) กันหมด และหัวใจวายกันก่อนเวลาอันควร
แม้ระบบประชาธิปไตยก็ไปลอกเขามาใช้ทั้งดุ้น แล้วเทิดทูนกันหนักหนา จนใครแตะต้องไม่ได้ ซึ่งผู้เขียนเคยนำเสนอระบบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ที่เข้ากันได้กับลักษณะสังคมไทยมาหลายรูปแบบ ก็ถูกรุมก่นด่า หาว่าไม่เป็น “ประชาธิปไตย” ซึ่งเรื่องนี้อาจนำไปสู่อาการ “ไทวาย” ที่เลวร้ายกว่า “ไตวาย” และหัวใจวายจากการลอกระบบดื่มน้ำฝรั่งเสียอีก
ทวิช จิตรสมบูรณ์…..๔ ธค. ๒๕๕๒
ปล.
- 1) น่าสังเกตว่ายังไม่เคยได้ยินผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพท่านใดในโลกนี้ออกมาบอกว่ามนุษย์เราต้องการอากาศเข้าสู่ร่างกายเป็นปริมาณเท่านั้นเท่านี้ต่อวัน ทั้งที่อากาศสำคัญกว่าน้ำเสียอีก ขาดน้ำสามวันก็ยังไม่ตาย แต่ขาดอากาศ 3 นาทีก็ตายแล้ว ซึ่งกรณีการหายใจนี้เราปล่อยให้เป็นหน้าที่ของธรรมชาติร่างกายในการกำหนดอัตราการหายใจ โดยเราไม่เข้าไปแทรกแซงกำหนดกฎเกณฑ์อะไรให้มากเรื่องมากความ แต่ทำไมเรากลับไปกำหนดเรื่องการต้องการน้ำเล่า?? ทำไมไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติของร่างกาย? แต่เชื่อหรือไม่ว่าความต้องการน้ำและอากาศก็สามารถ “ฝึก” ได้ แต่ต้องการวิทยายุทธวิถีพุทธในขั้นสูงสักหน่อย เช่นการเข้าสมาธิในขั้นสูงนั้นต้องการอากาศในการหายใจน้อยมาก (ซึ่งสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายที่รู้จักการจำศีลต่างก็รู้เคล็ดลับนี้ เช่น หมี กบ ปลาไหล เป็นต้น)
- 2) ผู้เขียนได้วิเคราะห์มานานด้วยแล้วว่า ไม่เพียงแต่การดื่มน้ำมากเกินไป แม้แต่การกินอาหารมากเกินไปก็จะตายไวด้วย เนื่องเพราะระบบย่อยอาหารต้องทำงานหนักมาก ซึ่งส่งผลให้หัวใจก็ต้องทำงานหนักกว่าปกติเพื่อสูบฉีดเลือดไปรับส่งสารอาหารที่ย่อยสลายแล้วไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆในปริมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหัวใจ หลอดเลือด ตับ ไต ทั้งระบบก็ต้องสึกหรอมากขึ้นเป็นเงาตามตัว (อวัยวะทั้งหลายนั้นสังเกตได้ว่ามีเพียง “สมอง” เท่านั้นที่ยิ่งใช้งานมากก็ยิ่งมีสุขภาพดีขึ้น) ลองสังเกตดูสิ พระป่าฉันอาหารวันละหนึ่งมื้อ อาหารก็ไม่ค่อยมีคุณค่า (ข้าวราดน้ำปลาร้า จิ้มผักป่า เสียเป็นส่วนใหญ่) น้ำก็ดื่มน้อย และทำงานทั้งวัน (เช่นเดินจงกรม ธุดงค์ กวาดลานวัด) แต่กลับมีอายุยืนเกินค่าเฉลี่ยกันเป็นส่วนใหญ่ หลายรูปมีอายุเกินร้อยปี น่าจะเป็นกลุ่มชนที่มีอายุยืนโดยเฉลี่ยสูงที่สุดในโลก (ผู้เขียนเคยเขียนคอมเม้นท์เรื่องนี้เป็นภาษาอังกฤษและได้ลงในนิตยสารไทม์มาแล้ว) สมัยผู้เขียนบวชพระสามเดือนได้มีโอกาสเดินธุดงค์หนึ่งเดือน ก็เดินทั้งวัน วันละประมาณ 20 กม.แบกย่ามและกลดที่หนักอีกต่างหากแต่ฉันมื้อเดียวและดื่มน้ำน้อยมาก ไม่เกินสามแก้วต่อวัน ก็อยู่ได้ดี คงเพราะร่างกายปรับตัวตามเงื่อนไขนี่เอง
« « Prev : ลดพื้นที่ทำนา..หันมาทำอุตสาหกรรมป่าไม้กันดีกว่า
Next : ทำนาด้วยกบ มด และสมอง (ตอนที่ ๑/๒๐) » »
9 ความคิดเห็น
อ่านเรื่องนี้แล้วโดนใจมาก เคยสงสัยเกี่ยวเรืื่องนี้เหมือนกัน เคยโง่กินตามจนท้องโย้
ได้แง่คิดมุมมองเอามาพิจารณาได้อย่างสมบูรณ์ ขอบคุณ ครับ
โอย ตามอ่านซะคิดไม่ทันเลยค่ะ ^ ^
เอาแค่เรื่องการกินอาหารก่อน เบิร์ดเห็นด้วยกับการกินน้อยเพราะอาหารมีเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต และร่างกายเรานี่แหละค่ะที่จะบอกเองว่าต้องการกินอาหารประเภทไหนบ้าง (คือตัวเบิร์ดเองไม่ชอบการบังคับหรือตีกรอบว่าต้องกินอาหารตามนี้ๆๆๆถึงจะสุขภาพดี แต่เชื่อว่าการกินที่ดีที่สุดคือกินตามที่ร่างกายบอกเรา)
มาถึงเรื่องน้ำ เบิร์ดไม่สนใจว่าใครบอกให้กินเท่าไรเพราะฐานความเชื่อมันอยู่ที่ร่างกายบอกเราว่าอย่างไร และทางการแพทย์แน่นอนว่าอะไรที่มากเกินไปไม่ดีทั้งนั้น ไม่นานมานี้ก็มีข่าวเรื่องของคุณแม่ลูกสามที่เสียชีวิตจากการดื่มน้ำมากเกินไป http://en.wikipedia.org/wiki/Water_intoxication
อาจารย์พูดถูกว่าน้ำเกี่ยวข้องกับการทำงานของไต และน้ำมากไปมันทำให้ความเข้มของเกลือในเลือดน้อยลงซึ่งส่งผลทำให้สมองของคุณแม่ลูกสามบวมจนเสียชีวิตในเวลาต่อมา
แต่เบิร์ดยังอิ๊กคะลิกอยู่ว่าน้ำจะเป็นพิษได้น่าจะเกิดจากการดื่มน้ำจำนวนมากในระยะเวลาสั้นมากกว่าจำนวนเฉลี่ยในการดื่มน้ำทั้งวันค่ะอาจารย์ เพราะในระหว่างวันเรามีการสันดาปในร่างกายเยอะพอควร รวมทั้งกิจกรรมต่างๆด้วย ซึ่งมันน่าจะมีผลต่อการดูดซึมน้ำระหว่างวันไม่มากก็น้อย
ดังนั้นแม้จะน่าคิดว่าการดื่มน้ำวันละ 8 แก้วน่าจะมากเกินไป แต่มันก็ยังมีข้อขัดแย้งว่ามีคนไม่น้อยที่ดื่มในจำนวนนี้หรือมากกว่านี้แล้วพบว่าสุขภาพดีขึ้น (คนเป็นนิ่วและไม่มีโรคอื่นมักได้รับการแนะนำให้ดื่มน้ำเยอะขึ้นค่ะ เพราะมีสุภาษิตรพ.ว่าน้ำน้อยย่อมแพ้นิ่ว) และมีคนจำนวนไม่น้อยที่มีโรคหรือกินยาบางอย่างก็ไม่สามารถดื่มน้ำได้มากเท่า
คงไปลงที่ว่าร่างกายจะบอกเราเองถ้ารู้จักสังเกตเพื่อหาจุดพอดีสำหรับตัวเองมั้งคะ เพราะไม่ว่าจะดื่มวันละ 8 แก้ว หรือน้อยขนาดไม่เกิน 3 แก้วต่อวันตามที่อาจารย์กล่าวมาก็ล้วนอยู่บนปฏิปทาของตัวเองทั้งสิ้น
(ขอจองเรื่องอุบัติเหตุกับเด็กยุคใหม่ก่อนนะคะ เพราะติดใจหลาย 55555555)
ท่านน้ำฟ้าฯ
ที่ผมว่ามานั้นมันเป็น “ค่าเฉลี่ย” ของคนทั้งประเทศน่ะครับ ที่สอนกับในตำราสุขศึกษา ส่วนเรื่องเฉพาะแต่ละบุคคลก็ต้องว่ากันไปตามเงื่อนไขเฉพาะนะครับ
ขอให้มีสุขกะเพียบดีตลอดไปเด๊อ …(ภาษาข้าเหม็นปนลาวนะเนี่ย)
ท่านน้ำฟ้าฯ ทวีต เอ๊ยโพสต์ว่า
“…… เบิร์ดไม่สนใจว่าใครบอกให้กินเท่าไรเพราะฐานความเชื่อมันอยู่ที่ร่างกายบอกเราว่าอย่างไร และทางการแพทย์แน่นอนว่าอะไรที่มากเกินไปไม่ดีทั้งนั้น ..”
ฮ่าๆ…ยกเว้นยาครับ หมอและเภสัชกรมักต้องการให้เรากินให้มาก เช่นยาปฏิชีวนะต้องกินให้ครบคอร์ส ยาบางอย่างต้องกินตลอดชีวิตเลยนะ เช่นยาลดความดันโลหิต
ผมมานั่งวิเคราะห์ว่า อ๋อ..ก็บริษัทยามันสั่งมาน่ะซี่ …มีบทความวิจัยรองรับเป็นปี่ขลุ่ย คนเรากลัวตาย หมอสั่งอะไรก็ทำตามกันโม้ด
อีกทั้ง “ยาเสพติด” ทั้งหลายนั้น มันก็ “บอก” ร่างกายของเราให้กินมากกว่าปกติเสมอ ไม่ใช่หรือ
อย่าคิดว่าน้ำ จะไม่กลายเป็นยาเสพติดสำหรับบางคนไปได้นะครับ …ส่วนอากาศนั้นมันเสพติดกันมาจนเคยชินกันไปหมดแล้ว โดยเฉพาะโอโซนริมทะเล และ ภูเขา..อิอิ
แหม อาจารย์อ่ะ! ทำเอาต้องกลับมาคุยต่อเรื่องนี้อีกจนได้ 555
เบิร์ดคิดว่าอาจารย์ก็คงเห็นแบบเดียวกันคือการสั่งแบบ mass นั้นแม้จะดูขาดเหตุผลไปบ้างเพราะความเป็นจริงมันมีรายละเอียดที่ไม่เท่ากันตามลักษณะของบุคคลหรือความจำเป็น(แม้แต่การกินยาบางชนิดก็มีผลต่อความเข้มข้นของเลือดเช่นแคลเซียมเพื่อป้องกันกระดูกพรุน คนที่กินยานี้ประจำต้องดื่มน้ำเยอะ)
แต่การโน้มน้าวแบบ mass นี้ทำเพื่ออะไร? เอาล่ะอาจมีคำตอบแบบเบิร์ดก็ได้ว่า”ไม่ทราบ” เพราะไม่มีคนคิดสุขบัญญัติ 10 ประการมาตอบซักทีนี่คะว่าที่ทำตอนนั้นมีความคิด ความคาดหวังอะไรอยู่ในหัว แต่อนุมานเอาว่าน่าจะหวังดีล่ะ(มั้ง)
ประเด็นจึงอาจไม่อยู่ที่ว่ากินน้ำกี่แก้วถึงจะดีหรือมาก-น้อยเกินไป(เพราะ”ดี”หรือ”มาก-น้อยเกินไป” ก็ไม่มีนิยามหรือขนาดที่แน่นอนเหมือนกัน จนบางทีอาจเป็นแบบนี้ก็ได้ด้วยนะคะ http://lanpanya.com/skk222a1/2010/05/09/soree-bad/ )
ส่วนการเป็นสิ่งเสพติดหรือไม่ก็น่าจะเข้าข่ายเดียวกัน,ฮา …ดังนั้นน่าจะไปอยู่ที่”การเลือก”เป็นหลัก เพราะเมื่อใดที่เริ่มโยนคำถามหรือแนวคิดใหม่เข้าไป นั่นหมายถึงการก่อกวนให้ผู้เลือก ได้เริ่มเห็นถึงเหตุของการเลือกนั้นชัดเจนขึ้น และรับผิดชอบการเลือกของตนเองมากขึ้น เหมือนประชาธิปไตยไงคะ ^ ^
เบิร์ดเชื่อว่าปัจจัยเรื่องอายุยืนของพระธุดงค์หรือแม้แต่การดำรงอยู่ด้วยปัจจัยที่มี”แค่เพียงพอ”สำหรับดำรงชีวิตอยู่ในแต่ละวันตามที่อาจารย์ยกตัวอย่างมา ไม่น่าจะมีเหตุจากการดื่มน้ำเพียงอย่างเดียวเพราะอาจารย์ก็กล่าวถึงหลายปัจจัยมาก (เหมือนประชาธิปไตยอีกแล้ว อิอิอิ)
ไตเป็นเขื่อนกักน้ำ สะกัดปล่อยน้ำในอัตราที่พอดีเมื่อน้ำพอ
เขื่อนตัน น้ำท่วมปอด
แต่ถ้ามีตัวช่วยดูดน้ำอยู่ในน้ำมากๆ เช่นน้ำตาล เขื่อนก็ปล่อยน้ำมาก ผืนดินก็แห้งเหมือนการปล่อยน้ำทิ้งยามน้ำหลาก
เรื่องดื่มน้ำมากกี่แแก้วเป็นเพียงค่าพยากรณ์เหมือนกรมอุตุเตือนว่าฝนจะตกกี่เปอร์เซนต์ของพื้นที่ แล้วก็คอยแหงนฟ้าดูเอาว่าพื้นที่นั้นบนหัวเราหรือเปล่า
ที่ดีกว่าคือรู้จักพิจารณาพื้นที่ของตัวเองว่ามีความชุ่มชื้นเพียงพอและต้องการน้ำมากหรือน้อย
เนื่องจากอาจารย์เขียนได้ไอเดียน่าทึ่งค่ะ และสะกิดต่อมอยากตอบ ทั้งๆที่ปกติจะพูดน้อย (ฮา)
“แต่ตามหลักวิศวกรรมศาสตร์นั้นการไหลในท่อที่มีหน้าตัดคงเดิมนั้น ถ้าความเร็วสูงขึ้น 2 เท่า เครื่องสูบส่ง (หัวใจในที่นี้) ต้องทำงานหนักมากขึ้น 8 เท่า (กฎความเร็วยกกำลังสาม) แต่ความหนืดที่ลดลงของเลือดที่ใสขึ้นอาจช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจที่เพิ่ม ขึ้นนี้ได้เล็กน้อย (ประมาณ 2 เท่าเป็นอย่างมาก) ดังนั้นการใสขึ้นของเลือดจากการดื่มน้ำมากนั้นอย่างดีที่สุดก็ช่วยลดภาระการ ทำงานของหัวใจที่มากขึ้นจาก 8 เท่ามาเหลือแค่ 4 เท่า”
ขอบคุณข้อความตรงนี้ ที่ทำให้ได้คำตอบว่า ทำไมคนที่ยังไม่มีความดันโลหิตสูง แต่เข้าข่ายเริ่มก้าวต่อไปที่จะมีความดันโลหิตสูงขึ้นจึงมีเลือดที่ข้นกว่าคนทั่วไป และทำไมเมื่อคนได้ปรับตัวให้เลือดของเขามีความใสขึ้น ความไม่สบายเล็กๆน้อยๆภายในร่างกายของเขาที่เคยมีจึงหายไปได้
“สรุปคือ ตามหลักวิศวกรรมศาสตร์และหลักโภชนาการเลือดที่ใสขึ้นน่าจะเป็นผลร้ายต่อ หัวใจ และหลอดเลือดมากกว่าเลือดที่ข้นขึ้นเสียอีก (เรื่องนี้น่าสนใจมาก ทำเป็นวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกได้เลย หมอคนไหนสนใจโทรมาคุยกับผมได้ ที่ 044 224414 ถ้าได้รางวัลโนเบลจากเรื่องนี้ก็อย่าลืมผมด้วยกะแล้วกัน)”
ขอบคุณข้อความตรงนี้เช่นกัน ที่ช่วยยืนยันว่า หลักการที่หมอใช้ดูแลคนไข้ โดยหลีกเลี่ยงการให้น้ำในคนที่ปัญหาของหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว นั้นเป็นเรื่องที่ใช่เลยว่า ไม่ได้ทำร้ายหัวใจคนไข้ให้แย่ลง
ตามหาคนโค๊ดกับสังคมเรื่องการให้น้ำ “๘-๑๐ แก้วต่อวัน” มาเหมือนกันค่ะอาจารย์ แต่ก็ยังหาตัวไม่เจอ ที่ตามหาก็เพราะเห็นด้วยว่าการให้ข้อมูลเรื่องดื่มน้ำแบบว่าไปเรื่อยนี้ “อันตราย” จะทำให้คนป่วยด้วยโรคน้ำเป็นพิษได้
เมื่อตามรอยลองดูว่าตัวเลขมาได้ยังไง ก็ไปเจอว่า สูตรนี้เขาใช้กับการรักษาคนที่ “ป่วย” เวลาเข้าร.พ. และใช้กับคนที่ไม่มีปัญหาของอวัยวะเหล่านี้ หัวใจ ไต ตับ ปอด เสื่อมถอยการทำงาน สูตรนี้ใช้เพื่อประคองให้สมองยังทำงานได้ดีในการเป็นแม่ทัพคอยสั่งการอวัยวะต่างๆให้ทำงานสู้โรค ระดมพลังของอวัยวะต่างๆมาช่วยให้อยู่รอด
ตามรอยมาได้อย่างนี้ก็เลยเชื่อว่า คนที่นำมาบอกปรารถนาดี โดยลืมไปว่า ทุกอย่างมีด้านบวกและลบ เห็นด้านบวกว่าทำให้คนป่วย “ส่วนใหญ่” รอดพ้นจากการเสียชีวิต เลยลืมด้านลบ และลืมไปอีกหลายมุมว่า การใช้คำตรงข้าม แค่ใส่คำว่า “ไม่” ลงตรงหน้า คำว่า “ป่วย” มิได้หมายความว่าสามารถนำมาประคองให้ “สุขภาพดี” ได้เสมอไป
“น้ำ” สำคัญสำหรับการอยู่รอดของสมอง
“ความอุ่นพอดี” สำคัญสำหรับได้อากาศพอเพียงสำหรับการอยู่รอดโดยปอด
“การไร้ของเสียคั่ง” สำคัญสำหรับการอยู่รอดโดยไต
“อาหาร” สำคัญสำหรับการให้พลังงานเพื่อนำพาร่างกายไปได้ตลอดรอดฝั่ง โดยมีตับและตับอ่อนเป็นหลักสำคัญ
“น้ำเลือด” สำคัญสำหรับการเป็นที่รวมของด่านป้องกันร่างกายให้อยู่รอดจากสิ่งรุกรานภายนอก
“เม็ดเลือด” สำคัญสำหรับนำพาอาหารและอากาศไปให้ส่วนต่างๆของร่างกาย
ทั้งหมดนี้ต้องการ “น้ำ” เพื่อปรับสมดุล จำนวนเท่าไร ความสำคัญไม่ได้อยู่ที่สูตร แต่อยู่ที่ “รู้จักตัวเอง” มากแค่ไหน อย่างที่อาจารย์กล่าวไว้
โดยส่วนตัวนั้นนำสูตรนี้ มาใช้ในการบำบัดคนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคยอดฮิตอย่างเรื่องความดันเลือดสูง และเบาหวานให้ใช้ปรับตัวเองเพื่อให้ห่างโรค ส่วนคนที่ปกติดีไม่เสี่ยงกับเรื่องนี้ก็ไม่ได้เน้น
โดยส่วนตัวเช่นกัน ให้ความเคารพว่า การเรียนรู้ที่ดีคือการรู้จักมีข้อสังเกต วิเคราะห์ และสรุป ด้วยมุมมองส่วนตัว แล้วนำมาใช้ดูแลตัวเองให้ได้มาซึ่ง “สุขภาพดี” ที่ตนเองปรารถนา เพราะเจ้าของร่างกายเท่านั้นที่รู้ว่า “ตนเอง” ต้องการสุขภาพอย่างไร
เห็นความรู้ที่เผยแพร่แล้วได้รับการย่อยและวิเคราะห์อย่างนี้แล้ว ดีใจ คนที่มีสติเท่านั้นที่สามารถดำรงตนอย่างนี้ได้ เมื่อความเชื่อได้รับการลงมือทำแล้วได้มาซึ่งสุขภาพอย่างที่ปรารถนาได้ ก็ดีใจด้วย สูตรของใครไม่สำคัญเท่าสูตรของตัวเองค่ะ
ก็แค่เข้ามาแลกเปลี่ยนว่า เรื่องของ “น้ำ” มีมากกว่าเรื่อง “ไตวาย” ขอชวนให้มองหลายมุมก่อนนำพาชีวิตต่อไป เพราะชีวิตเป็นเรื่องขององค์รวมมีสามารถแยกส่วนโดยเฉพาะการมองแต่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งเพียงมุมเดียว
มือเร็วกว่าความคิด กดแล้วดีดเลยไม่ทันแก้ประโยคสุดท้าย ก็ขอแก้นะคะ “ชีวิตเป็นเรื่องขององค์รวม “มิสามารถ” แยกส่วน….”
ไหนก็เข้ามาแก้แล้วก็เลยขอความรู้สักหน่อย
ความชื้นสัมพัทธ์ที่สามาารถคงอุณหภูมิน้ำที่ไหลผ่านท่อซึ่งมีหน้าตัดคงเดิมให้อยู่ที่ ๓๗ องศาเซนติเกรดตลอดเวลานั้น ต้องใช้น้ำเท่าไร มีหลักทางวิศวกรรมอธิบายให้เข้าใจง่ายๆได้มั๊ยค่ะ
คุณสาวตาครับ
หลักความชื้นสัมพัทธ์ คือความชื้นที่คิดหน่วยเป็นร้อยละ ความชื้น100 คือ ชื้นเต็มที่ 0 คือแห้งสนิท ครับ แต่ 100 ของวันที่ร้อน มีไอน้ำในอากาศมากกว่า 100 ของวันที่เย็นครับ ผิวของเราในอากาศที่มีความชื้นสูงย่อมระเหยน้ำได้ช้ากว่า ดังนั้นทำให้เรารู้สึกร้อนกว่าปกติ (เช่นในเมืองร้อนแบบบ้านเรา) เพราะการระเหยน้ำที่ผิวหนังทำให้เรารู้สึกว่าเย็นได้ เนื่องจากการระเหยต้องการความร้อนแฝง (latent heat) ครับ
คำถามของคุณ ผมไม่อาจตอบได้ (และไม่น่ามีคำตอบนะครับ) แต่ผมเข้าใจว่าร่างกายปกติมีกลไกรักษา T ให้อยู่ที่ 37 จึงต้องมีกลไกการระบายความร้อนออกจากร่างกายด้วย และผมเชื่อว่านี่คือเหตุผลว่าทำไมฝรั่งผิวหยาบกว่าคนบ้านเรา