ลานบ้านชลบถพิบูลย์

กันยายน 9, 2009

ฮูบแต้มแคมของ : ปัญญาด้านภาษา(ภาพ)

แต่ละวันในค่ายฮูบแต้มแคมของเราทั้งพี่เลี้ยงและเด็ก ๆ มีเรื่องยุ่ง ๆ ที่แสนสนุกให้ทำไม่ซ้ำกัน ทำกันจนเหมือนเราไม่มีช่วงเวลาจะพักเอาเสียเลย เพราะในขณะที่เราพักเราก็เหมือนรู้สึกว่าเราทำกิจกรรมเรียนรู้อยู่ ดังนั้นชีวิตการอยู่ในค่ายสามวันสองคืนจึงมากด้วยการเรียนรู้

การเรียนรู้ที่มากมาย กิจกรรมที่หลากหลายและผู้คนที่มาให้ความรู้กับเรา มีมากมากจนลิ้นชักในสมองของเด็ก ๆ เก็บเอาไว้ไม่หมด หลายคนเก็บเอาไว้มาก แต่พอจะเปิดลิ้นชักสมองก็พบว่ามันสับสนอลหม่านกันไปหมด จนไม่รู้ว่าลิ้นชักอันไหนเก็บเรื่องอะไร ลิ้นชักไหนเก็บกิจกรรมอะไร เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นแน่นอนในค่ายการเรียนรู้หรือแม้การใช้ชีวิตประจำวันของแต่ละคน

ในค่ายฮูบแต้มแคมของเราจึงหาเครื่องมือที่ให้เด็ก ๆ ได้ทบทวนการเรียนรู้ในแต่ละวันอย่างง่าย ๆ เพื่อให้เด็ก ๆ จดจำเรื่องราวที่แสนประทับใจในค่ายของเราไว้รำลึกถึงเมื่อช่วงเวลาในค่ายผ่านพ้นไป เครื่องมือนี้เราเรียกว่า การทบทวนความรู้ด้วยภาพ(Graphic Review)

“การทบทวนการเรียนรู้ด้วยภาพ” ว่ากันไปแล้วก็เหมือนจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูบแต้มที่เรากำลังศึกษากันในค่าย ภาพวาดชวนให้เราอ่านเรื่องด้วยภาพ ภาพเขียนแทนภาษาพูดหรือภาษาเขียน เพราะภาพเขียนถือว่าเป็นภาษาชนิดหนึ่ง การส่งเสริมการใช้ภาษาให้มีประสิทธิภาพจึงถือว่าเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วย ปัญญาด้านภาษา(Linguistic Intelligence)

ในจิตรกรรมฝาผนังวัดศรีมหาโพธิ์มีภาพจิตรกรรมฝาผนังไว้เล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก ผู้คนชาวบ้านหว้านใหญ่หลายคนแม้จำเนื้อหาเรื่องพระเวสสันดรได้ไม่หมดแต่การได้ดูภาพเขียนก็ทำให้เข้าใจและจดจำเนื้อหาหรือแก่นสารสำคัญในเรื่องได้มากขึ้น ทั้งนี้อาจจะมีภาษาเขียนกำกับในภาษาภาพเอาไว้ในบางช่วงบางตอน วิธีนี้ช่วยเติมเต็มคำสำคัญที่ต้องการสื่อสารหรือต้องการให้จดจำในภาพแต่ละตอน

เมื่อการเรียนรู้แต่วันในค่ายของเราผ่านไป ก่อนสวดมนต์เข้านอน ครูอุ้มชวนเด็กมาทบทวนกิจกรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละวันด้วยภาษาภาพ โดยมีครูคล่องช่วยเขียนเป็นภาพ เสมือนการย้อนบันทึกประจำวันของแต่ละคนตั้งแต่เช้ายันเย็น ซึ่งเด็กๆช่วยกันเติมเต็มรายละเอียดในแต่ละช่วงเวลา เมื่อสิ้นสุดภาพและคำสำคัญในแต่ละวันครูอุ้มกลับมาทบทวนเรื่องราวในภาพ เราพบว่าเด็ก ๆ จำกิจกรรมว่าใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ได้อย่างแม่นยำ

(ในภาพอ่านว่า ช่วงบ่ายที่ศาลาวัดเด็ก ๆ กำลังทำขันหมากเบ็งซึ่งประดิษฐ์จากใบตอง ซึ่งทุกคนสนุกสนานมากและทำได้ดี)

เครื่องมือนี้ช่วยในการเรียบเรียงและทบทวนประสบการณ์ในแต่ละวันของเด็ก ๆ ได้เป็นอย่างดี การเขียนภาพเป็นการช่วยระบายและปลดปล่อยอารมณ์ของเด็กต่อกิจกรรมการเรียนรู้นั้นได้ อีกทั้งยังส่งเสริมการคิดเชื่อมโยงให้กับเด็ก ๆในการใช้ภาพสื่อแทนภาษาเขียนได้ และที่สำคัญช่วยย้ำเตือนความทรงจำที่แสนพิเศษที่เกิดขึ้นในค่ายฮูบแต้มแคมของให้แก่เด็ก ๆ ซึ่งในวันสุดท้ายเราได้มอบสมุดบันทึกคืนให้แก่เด็ก ๆ ทุกคน เพื่อให้เขามีเครื่องมือแห่งความทรงจำ

กุมภาพันธ 13, 2009

ขอนแก่นจะก้าวสู่เมืองศิลปะได้อย่างไร?

ศิลปกรรมร่วมสมัยเกิดขึ้นภายใต้โลกของความทันสมัยเป็นปริมณฑลที่เต็มไปด้วยวัฒนธรรมที่มีชีวิต คนในปัจจุบันสามารถบริโภคได้ และใช้มันกับกิจกรรมต่างๆในชีวิตประจำวัน ศิลปกรรมร่วมสมัยนั้นสร้างสรรค์แบบข้ามแดน ข้ามประเทศ ข้ามชุมชน อยู่คนละที่ละทางก็ยังสามารถสัมพันธ์กับวัฒนธรรมต่างแดนได้ นอกจากนั้นเราจะพบวัฒนธรรมข้ามยุคข้ามสมัย

null

เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาที่เมืองขอนแก่น เราจะพบเห็นปรากฏการณืของศิลปกรรมร่วมสมัยชัดเจนขึ้น เพราะที่นี่จัดงานถนนศิลปะ โดยความร่วมมือของคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและเทศบาลนครขอนแก่น เพื่อการลักดันและสร้างกระแสของ ขอนแก่นเมืองศิลปะ ตามแนวนโยบายของนายกเทศมนตรีเทศบาลนครขอนแก่น

การเริ่มต้นที่ดีที่เห็นได้ชัดคือการผลิตงานศิลปะเพื่อรับใช้คนใน มากกว่ามุ่งเน้นให้คนนอกบริโภค ที่ถนนศิลปะเมืองขอนแก่นเราจะพบเห็นงานทำมือของคนขอนแก่นเพื่อคนขอนแก่นด้วยราคาแบบคนขอนแก่นซื้อได้ ซึ่งตรอกย้ำได้ดีว่าศิลปะต้องรับใช้คนร่วมสมัย

งานสร้างสรรค์ไม่ได้เน้นรูปที่งานศิลปะประเภทของงานจิตรกรรม ปริตมากรรมเท่านั้นแต่ทว่างานศิลปะเชิงประยุกต์ศิลป์ที่คนซื้อนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันต่างหากที่ดึงดูคนในให้มาซื้อไปบริโภคได้มากกว่าไม่ว่าจะเป็น เสื้อยืดลายแนว ๆ รองเท้าเพ้นส์สีสันสวยงาม ถุงผ้าเล็ก ๆ สมุดบันทึกเล่มงาม โปสการ์ดแบบเท่ห์ ๆ

ในมิติของศิลปะข้ามพรมแดน เราจะเห็นดนตรีของคนขอนแก่นร่วมสมัยแต่เล่นดนตรีแนวใหม่ ๆ เช่น สะกา ซึ่งแต่ะวงขึ้นมาก็สร้างสีสันและแรงขับให้คนที่มาร่วมงานโยกย้ายส่ายสะโพกได้ งานนี้เห็นเด็กแนวทั้งหลาย ยิ้มรับอารมณ์ของแนวดนตรีใหม่ ๆ จากอีกซีกโลกได้อย่างเปิดเผย

ส่วนการข้ามผ่านมิติของกาลเวลาเราสามารถพบเห็นงานงานศิลปะพื้นบ้านมาอยู่บนเวทีของคนร่วมสมัย โดยคนร่วมสมัยได้อย่างไม่เขินอาย การหยิบเอาวรรณกรรมพื้นบ้านมาสร้างสีสันใหม่ ๆ เพื่อรับใช้คนทันสมัย

null

null

null

มิติที่ผมว่ามาเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างชัดเจนใน ถนนศิลปะ ปีนี้และมันจะยิ่งเข้มข้นหากหน่วยงานที่จัดกิจกรรมนี้มีการวางแผนและวางกลยุทธิ์ของการก้าวไปสู่ ขอนแก่นเมืองศิลปะ ต่อไป มองเห็นความสำคัญของคนในที่จะมาร่วมงานเช่นปีนี้ แล้วจะเห็นชัดว่า คนในเราสุนทรีย์ งานสร้างสรรค์พัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ และขอนแก่นก็จะได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐาน เมืองศิลปะ

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.silpagum.com

Powered by WordPress