ลานบ้านชลบถพิบูลย์

กรกฏาคม 30, 2009

ฮูบแต้มแคมของ : วัด วา อา ราม

ต้นสัปดาห์มีเหตุต้องเดินทางไปสกลนคร การไปคราวนี้เพื่อไม่ให้เสียเที่ยวผมจึงมีแผนเดินทางไปอำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหารด้วย อย่างน้อยก็เพื่อไปประสานงานเรื่องค่ายเด็กกับหน่วยงานในพื้นที่เอาไว้ จะได้ไม่เป็นแบบไปบีบบังคับคนในพื้นที่ หรือเป็นคนนอกเอาอะไรไปยัดให้้คนในเขาอึด อัด

ผมเดินทางไปวัดศรีมหาโพธิ์พบพระลูกวัดเพียงรูปเดียวแต่เจ้าอาวาสไม่อยู่ติดกิจนิมนต์นอกวัด ผมถือวิสาสะขอเบอร์โทรท่านเจ้าอาวาสจากพระลูกวัดแต่ก็ไม่ประสบผล อิอิ ไม่เป็นไรงานนี้จึงได้แต่เดินสำรวจ มองดูจุดเด่นจุดด้อยของพื้นที่หากสถานที่แห่งนี้ถูกจัดเป็นพื้นที่การเรียน รู้จริง ๆ จะได้มีทางเลือก หรือมีทางออกสำหรับการจัดกิจกรรม

วัดศรีมหาโพธิ์ บ้านหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ สถานที่มีสิมอันปรากฎจิตรกรรมฝาผนังหรือฮูบแต้ม เนื่องจากเป็นวัดเก่าดังนั้นพื้นที่ของวัดจึงเล็กเพราะไม่สามารถขยายพื้นที่ออกไปได้ เพราะมีบ้านของชาวบ้านอยู่ขนาบวัด ภายในวัดไม่ได้วางผังแม่บทการใช้พื้นที่ดังนั้นจึงปรากฎการทุบและการสร้างศาสนาคาร ภายในวัดจึงเห็น กองดิน กองหิน กองทราย กองไม้ถูกวางระแกะระกะ

ส่วนอาคาร ที่น่าจะเอาไว้ใช้ทำกิจกรรมสำหรับเด็กก็เห็นว่าขัดเคืองอยู่มาก เนื่องจากศาสนาคารของวัดที่สำคัญมี 3 หลังได้แก่ สิมเก่า กุฎิเก่า และศาลาการเปรียญ

ในส่วนของสิมเก่า เนื่องจากสิมนี้ขนาดเล็กมากดังนั้นการจัดกิจกรรมรวมสำหรับเด็ก 50 คนไม่เหมาะเป็นแน่แท้ แต่หากเอาไว้เป็นแหล่งเรียนรู้กลุ่มย่อย ๆ ก็เห็นว่าเหมาะดีมาก

กุฎิวัดเก่า กุฎิหลังเก่านี้เป็นอาคารที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เนื่องจากครั้งหนึ่งเคยใช้สถานที่แห่งนี้เป็นอาคารที่ว่าการอำเภอหว้านใหญ่มาก่อน รูปทรงอาคารได้รับอิทธิพลจากรูปแบบอาคารแบบฝรั่งเศษอยู่มาก ซึ่งปรากฎการณ์นี้พบเห็นอยู่ทั่วไปในแถบริมโขง ปัจุบันเป็นที่จำพรรษาของพระลูกวัด คิดแบบคนนอกอย่างผมเห็นว่าอาคารนี้เหมาะสมากที่จะทำเป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน ประเภทพิพิธภัณฑ์ชุมชน ดังนั้นอาคารนี้จึงไม่น่าจะใช้ได้

ส่วนอาคาร ศาลาการเปรียญหลังใหญ่เป็นอาคารสองชั้น มีพื้นที่พอสมควรสำหรับจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จะติดขัดก็พื้นที่สำหรับนอนเท่านั้นที่ไม่เหมาะสักเท่าไหร่ และหากมีกิจกรรมทางศาสนาก็จะทุลักทะเลพอสมควร

เมื่อดูพื้นที่อาคารทั้ง สามแห่งแล้ว เห็นว่าเราพบจุดอ่อนของการจัดกิจกรรมอยู่เอามาก ๆ เพราะการจัดกิจกรรมการปลูกฝังแบบค่ายนั้นจำเป็นต้องการพื้นที่สำหรับเรียน รู้ ที่พักอยู่พอสมควร แบบนี้เราจะหาทางออกอย่างไร ตามต่อบันทึกหน้าครับ

(พี่น้องชาวเฮ สนใจร่วม trip นี้ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 1-3 กันยายน 2552 นี้ที่มุกดาหาร รบกวนช่วยแจ้งรายชื่อด้วยนะครับ ตอนนี้เห็นว่า ครูบา ท่านเทพรอกอด อาจารย์บางทราย จะร่วมชื่นชมสุนทรียภาพริมโขงแน่นอน อิอิ  ท่านไหนสนใจเชิญครับ http://lanpanya.com/somroay/archives/148)

กรกฏาคม 22, 2009

trip สำหรับชาวเฮฯรักเด็ก

Filed under: Uncategorized — แท็ก: , — ออต @ 14:39

ข่าวจากเมืองเหนือเรื่องเฮฮาสตร์ 10 ที่ขึ้นมาช่วงนี้ดูแรง ๆ ยังไงก็ไม่รู้ ส่วนเฮฮาศาสตร์ร่มธรรมก็ท่าจะมาแรงในอีกไม่นาน ดังนั้นกิจกรรมมินิชาวเฮแบบของออตไม่บอกไม่กล่าวท่าทางจะหาพี่น้องชาวเฮยาก ดังนั้นจึงถือโอกาสวันพุธที่สวยงามประกาศข่าวก่อนที่กระแสอื่น ๆจะกลบไปก่อน

กิจกรรมนี้ชื่อค่ายศิลปะลุ่มน้ำโขง ตอนฮูบแต้มแคมของ  โดยการสนับสนุนของศูนย์วิจัยพหุลักษณ์สังคมลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยที่เน้นงานวิจัยแบบพหุลักษณ์ทำงานภายใต้การเคารพวัฒนธรรมที่แตกต่าง  โดยแผนงานที่สำคัญประการหนึ่งคือ การปลูกฝังทางวัฒนธรรม(Cultivation)

ปีนี้แผนงานของเราบุกถิ่นของท่านบางทราย และลุงเปลี่ยน โดยกุมพื้นที่เขตตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร อันมีสิมวัดศรีมหาโพธิ์เป็นศูนย์กลางของการศึกษา กิจกรรมการปลูกฝังคราวนี้เราจัดในรูปแบบค่ายการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ของคนหลายวัยทั้งเด็กประถมศึกษา  เด็กมัธยมศึกษาตอนต้น เด็กมัธยมศึกษาตอนปลาย และพี่น้องชาวหว้านใหญ่ที่อยู่รายรอบวัดศรีมหาโพธิ์

กิจกรรมจะเริ่มไปเรื่อย ๆ ทั้งกิจกรรมการถอดรหัสทางวัฒนธรรมโดยนักวิชาการทางด้านประวัติศาสตร์ นักสุนทรียศาสตร์ นักวิชาการด้านสถาปัตยกรรมท้องถิ่น และนักประวัติศาสตร์ศิลปะ โดยเอาองก์ความรู้ที่นักวิชาการเหล่านั้นกรองแล้วมาแปรรูปโดยทีม นักสื่อความหมายทางวัฒนธรรม งานนี้จึงเคลื่อนไหวอยู่เรื่อย ๆ จนถึงวัดจัดค่าย

ค่ายห้องเรียนวัฒนธรรมจัดขึ้นแน่นอนในระหว่างวันที่ 1-3 กันยายน 2552 ที่วัดศรีมหาโพธิ์ เรามีการนอน นั่ง ฟัง เล่น เรียน หลับ ร่วมกันที่นั้น งานนี้จึงถือโอกาสเชิญพี่น้องเฮฮาศาสตร์ที่ว่างในช่วงเวลาดังกล่าว มุ่งหน้าสู่มุกดาหารไปงาน มินิเฮฮาศาสตร์กัน ซึ่งแผนงานที่จะรอเชิญเข้าร่วมจะแจ้งรายละเอียดให้ทราบในลำดับถัดไป

ตอนนี้ขอจองวันไว้ก่อนครับ  ท่านไหนสนใจแจ้งได้นะครับจะได้จัดส่งรายละเอียดไปให้เมื่อมีการเคลื่อนไหวในวินาทีต่อไป

บันทึกที่เกี่ยวข้อง

กรกฏาคม 14, 2009

การสร้างสิมหันหน้าสู่เบื้องตะวันตก : ปรากฎการณ์ก่อนการผสานทางวัฒนธรรม

Filed under: Uncategorized — ออต @ 12:05

มีข้อให้พิจารณากันมากเกี่ยวกับความพิเศษของงานศิลปกรรมอีสานที่แตกต่างจากพวกศิลปกรรมอีสานด้วยกันเอง ปรากฎการณ์แบบนี้สำหรับผมไม่ใช่สิ่งที่น่าประหลาดใจเลย เพราะหากท่านเดินทางไปทั่วอีสานและไม่เหมารวมว่าคนอีสานเหมือนกันหมด ท่านจะเห็นความไม่เหมือนกันหรือความผิดขนบของงานศิลปกรรมหลายชิ้นในเขตอีสาน

กรณีสิมเก่าวัดศรีมหาโพธิ์ก็เช่นเดียวกัน ความพิเศษที่ว่าหากศึกษาและวิเคราะห์สังเคราะห์พูดคุย เราก็เห็นแนวทางที่พอจะหาข้อสรุปเบื้องต้นได้ ส่วนข้อสรุปนี้ก็ไม่ถือเป็นข้อยุติหากมีงานศึกษาอื่น ๆ เข้ามาคัดค้าน ต้แย้งหรือมีมิติการตีความแบบใหม่ที่ชวนให้เชื่อได้

การหันหน้าสิมไปสู่เบื้องตะวันตกของสิมเก่าวัดศรีมหาโพธิ์ บ้านหว้านใหญ่ ตำบลหว้านใหญ่ อำเภอหว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหารนั้นเป็นความพิเศษที่แตกต่างจากมโนทัศน์ของเรา ๆ ที่ยึดถือในรูปแบบการสร้างสิมหันหน้าไปสู่เบื้องตะวันออก ปรากฎการณ์นี้ผมเอาไปเล่า อ่าน ค้น และเรียบเรียงมาพอสรุปได้ความถึงวัฒนธรรมอีสานก่อนการผสานทางวัฒนธรรม อันเป็นปรากฎการณ์หนึ่งของวัฒนธรรม(Culture)

สิมวัดสรีมหาโพธิ์ เป็นสิมขนาดเล็กรูปแบบศิลปะพื้นบ้านอีสานบริสุทธิ์ คือมีขนาดเล็กมาก เดิมคาดว่าเป็นสิมโปร่งแต่มีการปิดทึบด้วยหน้าต่างไม้ในภายหลัง ภายในมีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามเรื่องพระเวสสสันดรชาดกซึ่งมีรูปแบบไม่ซ้ำใคร ตัวศาสนาคารหันหน้าไปสู่เบื้องตะวันตกหันหลังให้กับแม่น้ำโขงซึ่งห่างไปราวสิบเมตร

การหันหน้าไปสู่เบื้องตะวันตกนั้นมีนักวิชาการทางสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน ให้คำอธิบายไว้อย่างน้อยที่ค้นเจอก็สองท่านคือ รศ.ดร วิโรฒ ศรีสุโร (ปรมาจารย์ด้านสถาปัตยกรรมอีสานอดีตคณบดีคณะศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี) และ ผศ.ดร ทรงยศ วีระทวีมาศ (คณบดีคณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นคนปัจจุบัน) ซึ่งทั้งสองท่านได้ให้เหตุผลของการหันหน้าสิมไปสู่เบื้องตะวันตกตรงกันว่า

การสร้างสิมหันหน้าไปในทิศอื่นนอกจากทิศตะวันออกว่า สิมอีสานในสมัยก่อนไม่ได้เคร่งครัดในการหันหน้าสิมไปสู่ทิศตะวันออกนัก ทั้งนี้เพราะไม่มีกฎเกณฑ์บังคับทางพระวินัยในเรื่องนี้ คงจะพิจารณาเอาตามสภาพภูมิประเทศและทางสัญจรเป็นหลักอย่างเดียวกับ วัดหน้าพระเมรุในสมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งหันหน้าไปทางทิศใต้ที่มีลำคลองเป็นทางสัญจรที่สำคัญในสมัยนั้น วัดในแถบอีสานที่สิมไม่ได้หันหน้าไปสู่ทิศตะวันออกเช่น สิมวัดกลางโคกค้น(จังหวักาฬสินธุ์ หันหน้าสิมไปทางทิศตะวันตก) สิมเก่าวัดศรีสะเกษ(จังหวัดสกลนคร หัน

หน้าสิมไปทางทิศตะวันตก) สิมเก่าวัดศรีจันทร์[1] (จังหวัดขอนแก่น หันหน้าไปทางทิศใต้ซึ่งเป็นถนนศรีจันทร์ถนนสายหลักเมืองขอนแก่น)

กรณีนี้หากมองในมิติการผสานทางวัฒนธรรมเราจะพบสิมอีสานที่พบในอีสานในยุคต่อ ๆ มา ที่นิยมหันหน้าไปสู่เบื้องตะวันออกนั้นน่าจะเกิดจากการรับเอาและผสานทางวัฒนธรรมมาจากกรุงเทพฯ กรณีนี้มีประเด็นทางวัฒนธรรมที่น่าสนับสนุนโดยเฉพาะกรณีการขยายพุทธศาสนาแบบกรุงเทพฯมาสู่อีสาน

ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 4 ) ความรุ่งเรืองของพุทธศาสนาเจริญเป็นลำดับจากยุค ใครศรัทธาสร้างวัดก็เป็นคนโปรด ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 3) ซึ่งปรากฎพระสงฆ์จากภาคอีสานได้เริ่มเดินทางเข้ามาศึกษาปริยัติธรรมในกรุงเทพมหานคร ตามสำนักพระปริยติธรรมต่าง ๆ ตั่งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2369 อาทิ พระอริยวงศาจารย์(สุ้ย)จากอุบลมาศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดสระเกศ พระครูบุญมาจากเมืองพนานิคมมาศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดจักรวรรดิ์ราชาวาส ท่านพระครูหลักคำพิมพ์จากเมืองขอนแก่นมาศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดสามจีน เป็นต้น โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปริยัติธรรมนำจารีตทางพระพุทธศาสนาจากกรุงเทพฯไปขยายสู่ชุมชนในเขตภาคอีสาน เมื่อพระสงฆ์เหล่านี้กลับไปยังท้องถิ่นได้มีการเปิดสอนพระปริยัติธรรม ก่อสร้างถาวรวัตถุเลียนแบบกรุงเทพในท้องถิ่นของตน[2]

ดังนั้นต่อมาเมื่อมีการติดต่อกับกรุงเทพฯทั้งการปกครองและการศาสนารูปแบบของสิมจึงเปลี่ยนไปพร้อม ๆ กับแนวคิดกานพสร้างสิมที่หันหน้าไปสู่เบื้องตะวันออกและนิยมสร้างพระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธานภายในสิม

กรณีการสร้างสิมเก่าวัดศรีมหาโพธิ์จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่ประการใด


[1] ปัจจุบันรื้อแล้ว

[2] เปรมวิทย์ ท่อแก้ว,การก่อตั้งและขยายตัวของธรรมยุตินิกายในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(พ.ศ.2394-2473).ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2534.

Powered by WordPress