ห้องผ้าในพิธีกรรมเป็นห้องแรกที่ถูกจัดแสดง ดังนั้นเมื่อเข้ามาในนิทรรศการจึงจำต้องเห็นวัตถุที่จัดแสดงไว้ ซึ่งในการตะเวนหาผ้าในห้องนี้มีความยากตรงที่เราไม่ได้มีสิ่งของเหล่านี้ไว้ ในมือเพราะมันพิเศาและเฉพาะมาก ซึ่งวัตถุจัดแสดงที่สำคัญที่จัดไว้ในห้องนี้อาทิ
ผ้าผะเหวด ซึ่งเขียนเรื่องรางของพระเวสสันดรหนึ่งในทศชาติชาดกของชาวพุทธ ผ้าผะเหวดนี้วัดสำคัญ ๆ ของอีสานมีกันแทบทุกแห่งเำพราะบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่เป็นฮีตสำคัญของชาว อีสานเราเรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งเป็นบุญที่เน้นการให้ความสำคัญของการทานและสิ่งของหลายอย่างก็มีสัญญะ ของฝนและความอุดมสมบูรณ์ ผ้าผะเหวดเดิมใช้ผ้าฝ้ายที่ทอในชุมชนมีการจ้างช่างพื้นถิ่นอีสานเป็นช่างวาด ซึ่งมีลักษณะคุณค่าทางศิลปะไปในทางศิลปะพื้นบ้านเป็นสำคัญ ผ้าผืนนี้ยาวมากเพราะเขียนเรื่องพระเวสสันดรทั้งสิบสามกัณฑ์ซึ่งหัวเรื่องอา จะมีเรื่องพระมาลัยมาลัยแสนอยู่ด้วย
ชาวบ้านอีสานจะแห่ผ้าพระเหว ดนี้เข้าหมู่บ้าน ซึ่งต้องใช้จำนวนคนในการถือซึ่งยาวออกไปหลายสิบเมตร ซึ่งในอดีตใคร ๆ ก็อยากถือผ้ากัน เพราะเห็นเป็นสิริมงคลที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอัญเชิญพระเวสสันดรเข้า เมือง ดังนั้นเมื่อผ่านไปในคุ้มใดชาวบ้านที่รอชมก็จะได้ทบทวนเรื่องราวของเวสสันดร ชาดกไปในตัวด้วยเปรียบเหมือนนิทรรศการเคลื่อนที่นั้นเอง
แต่ เสียดายที่หลายวัดมักขาย(ให้นักสะสมหรือนายหน้าของเก่า) แลก(กับผ้าผะเหวดผืนใหม่ที่เขียนขึ้นสวยงามแบบฉบับศิลปะไทยภาคกลาง)หรือเผา ผ้าผะเหวดผืนเก่า ๆ ทิ้ง(เพราะเห็นเป็นสิ่งเก่า)
เด็กน้อยเมื่อสอนให้ระบายสีบ่อยไป เอะอะอะไรก็ระบายสี ทำให้จินตนาการแคบอยู่กับการระบายสี การปลูกฝังว่าศิลปะคือการระบายจึงเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่ศิลปะมีมากมายหลายแขนง วิจิตรศิลป์ก็มีตั้งมาก ดังนั้นครูศิลปะจึงต้องคิดหากิจกรรมใหม่ ๆ เพื่อกระตุ้นจินตนาการให้แก่เด็ก ๆ และเกิดประสบการณ์ที่หลากหลายเกี่ยวกับศิลปะและเทคนิคทางศิลปะ
(ภาพพิมพ์ของศิลปินไทย อ.ประหยัด พงษ์ดำ)
ภาพพิมพ์กับเด็กนั้นดูเหมือนจะยากไป แต่เราก็ปรับให้ภาพพิมพ์ง่ายได้ ก็ไม่ใช่เรื่องยากอะไร แทนที่เราจะไปซื้อแม่พิมพ์ยางพาราที่เขามีสำเร็จรูป เราก็ทำแม่พิมพ์เองจะไม่ดีกว่าหรือ แปลกพิเศษไม่เกลื่อนไม่ธรรมดา เรื่องนี้ทำได้ไม่ยาก ดังนั้นห้องเรียนศิลปะของเราวันนี้จึงสร้างงานศิลปะด้วยเทคนิคภาพพิมพ์จากผัก
เริ่มจากครูไปเดินตลาดมองหาวัตถุดิบเมื่อนำมาสร้างแม่พิมพ์ เลือกแบบเนื้อไม่แข็งมากและไม่นุ่มจนเกินไป ครูออตไปเที่ยวตลาดบางลำพูในเมืองขอนแก่นมืดไป ตลาดวายเสียก่อนดังนั้นฝักทอง มะละกอดิบ ฝรั่งดิบจึงไม่มี ที่ได้จึงได้แค่หัวผักกาดสีขาวและแครอทสีส้มซึ่งทั้งสองอย่างเหมาะที่เดียวที่จะนำมาทำภาพพิมพ์ขนาดไม่ใหญ่ เหมาะกับการจับของเด็ก
ครูออตเอาหัวผักกาดและแครรอทมาล้้างและหั่นตามแนวขวางยาวชิ้นละ 2 นิ้ว โดยพยายามหั่นให้ตรงเพราะจะได้แกะแม่พิมพ์ได้ง่ายขึ้น หลังจากนั้นได้มีดแกะภาพพิมพ์เป็นรูปต่าง ๆ โดยไม่แกะเป็นรูปทรงแต่เน้นลวดลายเพื่อให้เด็กนำลวดลายไปสร้างสรรค์งานต่อ หากเป็นพวกรูปเด็กจะไม่คิดพัฒนารูปทรงแต่จะพิมพ์ลงไปแบบตรง ๆ เสียมากดังนั้นดูเหมือนรูปทรงสำเร็จจะปิดกั้นจินตนาการไปบ้าง
เมื่อได้แม่พิมพ์แล้ว ก็ผสมสีน้ำรอ ซึ่งอย่าให้เหลวมากเพราะเนื้อสีจะไม่เกาะแม่พิมพ์ เพื่อให้แน่ใจครูออตลองเอาแม่พิมพ์มาพิมพ์ลองดู ก่อนที่เด็ก ๆ จะเข้าห้องเรียน ซึ่งก็ได้ลวดลายต่าง ๆ ที่เป็นที่พอใจ หลากหลายและเพียงพอต่อจำหนวนเด็ก เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยครูออตก็เตรียมอุปกรณ์อื่น ๆ ไว้รอเช่น กระดาษ ผ้าเช็ด ถังสี ดินสอ เป็นต้น
เมื่อเด็ก ๆ มาครูออตแอบเอาแม่พิมพ์ไปซ่อนไว้ เริ่มวิชาศิลปะด้วยการกระตุ้นผ่านนิทาน ก่อนที่เด็ก ๆ จะลงมือวาดตามที่ตนเองชอบสนใจ เรื่องนี้ไม่มีการบังคับ แต่กระตุ้นให้เด็กเขียนด้วยภาพขนาดใหญ่หน่อย(เพราะเราต้องพิมพ์ ถ้าเล็กแม่พิมพ์จะทับภาพมองไม่เห็น) เมื่อเด็ก ๆ วาดเสร็จแล้ว ครูออตก็เอาแม่พิมพ์ออกมาโชว์ พร้อมแสดงการพิมพ์ภาพในแม่พิมพ์ต่าง ๆลงบนกระดาษจนครบ สุดท้ายครูออตบอกว่าวันนี้เราจะเปลี่ยนการระบายสีเป็นการพิมพ์ภาพแทน เด็ก ๆ สามารถเลือกแม่พิมพ์เพื่อลงสีผ่านแม่พิมพ์ได้อยา่งที่ตนเองต้องการ แต่ต้องไม่ลืมใช้แม่พิมพ์เสร็จต้องล้างแม่พิมพ์เพื่อให้คนอื่นใช้ต่อ
หลังสิ้นคำแนะนำ เด็ก ๆ ก็ต่างลงมือกันอย่างสนุกสนาน ครูออตเป็นเพีียงผู้ช่วยๆ และค่อยกระตุ้นเท่านั้น ว่างก็ออกมานั่งสังเกตพฤติกรรมของเด็ก ๆ ในห้อง พร้อมกับหาแนวทางในการพัฒนาและแก้ไข
- เด็กเล็ก ๆ บางคนไม่พิมพ์ภาพลงบนรูปที่วาดแต่พิมพ์ภาพลงบนกระดาษขาว ๆ ที่เป็นพื้น = เป็นความต้องการของเด็กแต่ละคร ครูต้องเข้าใจ
- เด็กบางคนใช้แม่พิมพ์เดิมแต่ไม่ยอมล้างสีเมื่อไปลงถ้วยสีใหม่สีจะสกปรก = ครูต้องอธิบายให้นักเรียนเข้าใจและหาถ้วยเปล่ามาให้เด็กคนนั้นเอาสีมาผสมข้างนอก ประเดี๋ยวจะเกิดสงครามในห้อง
- เด็กบางคนพิมพ์ภาพด้วยความรุนแรง แม่พิมพ์แตกยับเยินคนอื่นไม่ได้ใช้ = ครูลองทำให้เด็กดูว่ากดเพียงเบา ๆ สีก็ติดกระดาษได้โดยไม่ต้องใช้แรงมาก เพราะแม่พิมพ์เราเป็นธรรมชาติ แตก หัก พังง่าย
- เด็กบางคนเล่นแม่พิมพ์จนเบื่อ แทนที่จะกดแม่พิมพ์แต่เอามาพิมพ์มาลากระบาย=หากไม่รบกวนคนอื่นก็ปล่อยให้เขาใช้จินตนาการไป กด ไหล ระบาย ก็เป็นวิธีการแสดงออกเหมือนกัน เป้าหมายไม่ใช่ภาพสวยหรือภาพต้องใช้อย่างกิจกรรมนี้ต้องการ หากแต่เป็นประสบการณ์ทางศิลปะและโลกแห่งจินตนาการ
- หากเป็นเด็กโต บางงทีจะไม่ชอบแม่พิมพ์ที่ครูทำ = แทนที่ครูจะทำแม่พิมพ์ให้ อาจจะแบ่งส่วนหนึ่งให้เด็กทำเองแต่ต้องระวังมีดแกะให้ดี อาจจะเกิดอันตรายได้ ครูควรดูแลอย่างไกล้ชิดมาก ๆ การทำแม่พิมพ์ต้องใช้เวลามาก ครูควรคำนาณเวลาให้เหมาะสม
- หลังพิมพ์ภาพ อาจะจสามารถตกตแ่งด้วยเทคนิคอื่นเช่น สีน้ำ สีชอลค์ โปรเสตอร์ ปะติดได้ไม่จำกัดครับ