ลานบ้านชลบถพิบูลย์

กุมภาพันธ 27, 2010

วัตถุจัดแสดง : ห้องผ้าในพิธีกรรม

Filed under: Uncategorized — ออต @ 15:33

ห้องผ้าในพิธีกรรมเป็นห้องแรกที่ถูกจัดแสดง ดังนั้นเมื่อเข้ามาในนิทรรศการจึงจำต้องเห็นวัตถุที่จัดแสดงไว้ ซึ่งในการตะเวนหาผ้าในห้องนี้มีความยากตรงที่เราไม่ได้มีสิ่งของเหล่านี้ไว้ ในมือเพราะมันพิเศาและเฉพาะมาก ซึ่งวัตถุจัดแสดงที่สำคัญที่จัดไว้ในห้องนี้อาทิ

ผ้าผะเหวด ซึ่งเขียนเรื่องรางของพระเวสสันดรหนึ่งในทศชาติชาดกของชาวพุทธ ผ้าผะเหวดนี้วัดสำคัญ ๆ ของอีสานมีกันแทบทุกแห่งเำพราะบุญผะเหวดหรือบุญเดือนสี่เป็นฮีตสำคัญของชาว อีสานเราเรียกว่า บุญผะเหวด ซึ่งเป็นบุญที่เน้นการให้ความสำคัญของการทานและสิ่งของหลายอย่างก็มีสัญญะ ของฝนและความอุดมสมบูรณ์  ผ้าผะเหวดเดิมใช้ผ้าฝ้ายที่ทอในชุมชนมีการจ้างช่างพื้นถิ่นอีสานเป็นช่างวาด ซึ่งมีลักษณะคุณค่าทางศิลปะไปในทางศิลปะพื้นบ้านเป็นสำคัญ  ผ้าผืนนี้ยาวมากเพราะเขียนเรื่องพระเวสสันดรทั้งสิบสามกัณฑ์ซึ่งหัวเรื่องอา จะมีเรื่องพระมาลัยมาลัยแสนอยู่ด้วย

ชาวบ้านอีสานจะแห่ผ้าพระเหว ดนี้เข้าหมู่บ้าน ซึ่งต้องใช้จำนวนคนในการถือซึ่งยาวออกไปหลายสิบเมตร ซึ่งในอดีตใคร ๆ ก็อยากถือผ้ากัน เพราะเห็นเป็นสิริมงคลที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอัญเชิญพระเวสสันดรเข้า เมือง  ดังนั้นเมื่อผ่านไปในคุ้มใดชาวบ้านที่รอชมก็จะได้ทบทวนเรื่องราวของเวสสันดร ชาดกไปในตัวด้วยเปรียบเหมือนนิทรรศการเคลื่อนที่นั้นเอง

แต่ เสียดายที่หลายวัดมักขาย(ให้นักสะสมหรือนายหน้าของเก่า) แลก(กับผ้าผะเหวดผืนใหม่ที่เขียนขึ้นสวยงามแบบฉบับศิลปะไทยภาคกลาง)หรือเผา ผ้าผะเหวดผืนเก่า ๆ ทิ้ง(เพราะเห็นเป็นสิ่งเก่า)

3 ความคิดเห็น »

  1. เห็นทีไรก็เข้าใจแรงศรัทธาของของชาวบ้านอีสานต่อศาสนา ความเชื่อ ที่ยิ่งใหญ่เสมอ

    ความคิดเห็น โดย bangsai — กุมภาพันธ 28, 2010 @ 7:08

  2. อยากทราบว่าจัดแสดงที่ไหนค่ะ และผ้าผะเหวดผืนนี้นี่ของที่ไหนค่ะ

    ความคิดเห็น โดย mee — มีนาคม 11, 2011 @ 13:33

  3. ขอบคุณสำหรับความรู้นะครับ

    ความคิดเห็น โดย Satawat — ธันวาคม 14, 2011 @ 12:25

RSS feed for comments on this post. TrackBack URL

แสดงความคิดเห็น

*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word

Powered by WordPress