ลานบ้านชลบถพิบูลย์

มกราคม 30, 2009

ขอนแก่นวันนี้ กับ คนแซ่เฮ

Filed under: Uncategorized — แท็ก: — ออต @ 11:48

เมื่อวานเกิดอาการ แผนสับสนทางจิต เพราะจิตวิปลาสไปทั่ว เนื่องจากขอนแก่นมีญาติธรรมของคนแซ่เฮ แวะ เวียน และผ่านมา ใจก็อยาก ใจก็อยากไปกอด แต่ภาระกิจฉุดรั้งเอาไว้เลยเกิดอาการสับสนทางจิต

เมื่อวานผมต้องขึ้นนำเสนอผลงานวิจัยที่เวทีประชุมวิชาการของมหาลิทยาลัยขอนแก่นภายใต้แนวคิด การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน โดยนำเสนอในกลุ่มสังคมและภูมิปัญญา โดยงานนี้ผมเอางานวิจัยเรื่องการพัฒนาลายผ้าร่วมกับช่างชาวบ้านมานำเสนอ เพื่อหวังว่าจะเป็นเสมือนตัวอย่างของพัฒนาผ้าทออีสานที่ นักพัฒนาท่านอื่น ๆจะลองเอาไปใช้

เมื่อวานอีกเช่นกัน ครูบาฯกับแม่หวีมาหาหมอที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เรื่องนี้มีเหตุอยากจะไปดูแลเพราะคิดว่าตัวเองยังเด็ก การวิ่งติดต่อประสานงานจะสะดวกสบายกว่าให้พ่อครูบาฯ ดำเนินการเอง เพราะมีประสบการณ์ว่าท่านอาจจะหาหมอได้ช้าและอาจจะตกเครื่องเพื่อไปเรียนที่ กทม ต่อในเครื่องบินเที่ยวเที่ยง

เมื่อวานอีกเช่นกัน นัดหมอสุธีเอาไว้เพื่อปรึกษาท่านเรื่องสรรพเพหเระ โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องกระบวนกร  ตอนเที่ยงที่ท่านต้องเช็คเอาท์จาก รร. ก็ไม่สามารถไปได้ ได้เพียงส่งสาวสวยไปรับและไปส่งร้านกาแฟ งานนี้กว่าจะร่วมประชุมวิชาการเสร็จก็ปาไปเกือบห้าโมงเย็นเป็นอันว่าปล่อยให้หมอนั่งดูสาวที่ร้านกาแฟไปก่อน

ในเวทีประชุมวิชาการคราวนี้ ผมออกจะไปทางไม่วิชาการนักเพราะมีเวลานำเสนอแค่สิบห้านาที ซึ่งแค่เกริ่นนำก็คงหมดเวลา ดังนั้นเพื่อให้เวลากระชับ ผมเอาผ้างามๆ มาแสดงให้ชมแทน และเนน้ให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมและแจกของรางวัลเล่นกันแบบสนุกสนาน ทำเอาวงวิชาการกลายเป็ฯวิชาการกึ่งวิชาขาดไป อิอิ (ตามประสา)

หลังเสร็จจากงานประชุมวิชาการก็ไปพยหมอสุธี ซึ่ง นั่งรอกับอาจารย์บางทรายและคุยกันออกรส ถึงแนวคิดกระบวนกร ผมเองสนใจเรื่องนี้อยู่แล้ว ได้แต่นั่งฟังคุณหมอเล่าถึงประสบการร์กระบวนกรของท่านและท่านอื่น ๆที่คุณหมอสัมผัสเช่น อาจารย์ไร้กรอบ หลวงพี่ติ๊ก ฟังแล้วได้ความรู้สนุกดีเห็ฯถึงนักพูดที่ดีอย่างหมอสุธี และ นักฟังนักวิเคราะห์ที่ดีอย่างอาจารย์บางทราย

ก่อนจะเสร็จสิ้นด้วยข้าวเย็นปลาเนื้ออ่อนน่งแจ๋วในมื้อเย็นวันนี้ และอำลาด้วยการกอดตามธรรมเนียมของเฮฮาศาสตร์  เหนื่อยดีจริง ๆ

ปล. ในงานประชุมวิชาการมีคนแซ่เฮปรากฎตัวโดยไม่ได้นัดหมาย

-อาจารย์ลูกหว้า…..มาร่วมฟังการนำเสนอผลงาน

-เล่าฮูแสวง……เมื่อวานนนี้ดังใหญ่ เพราะผู้นำเสนอในเวทกลาง ชมถึงงานวิจัยเรื่องการทำนาของท่าน

มกราคม 28, 2009

ถึงเวลาผลิตบัณฑิตสาขาผ้าทอพื้นบ้าน หรือยัง?

Filed under: Uncategorized — แท็ก: , — ออต @ 10:24

พรุ่งนี้มีภาระกิจต้องขึ้นนำเสนองานวิจัยในการประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น “การพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน” ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่โรงแรมโฆษะ จังหวัดขอนแก่น

ผมขึ้นนำเสนอในภาคบ่าย ๆ มีเวลาในการพูดงานวิจัยที่ตนเองทำราวยี่สิบนาที ซึ่งก็ไม่มากพอในการจะนำเสนอเรื่องที่พูด ดังนั้นจึงขอปูดเรื่องที่อาจจะไม่ใด้พูดไว้ในบันทึกนี้เสียเลย เผื่อท่านที่สนใจจะได้ตามอ่านกัน

ประเด็นเสนอแนะหลังจากงานวิจัยที่นำเสนอสิ้นสุดลงคือ การเพิ่มบัณฑิตสาขาวิชาเกี่ยวกับ ผ้าทอพื้นบ้านอีสาน ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีสถาบันอุดมศึกษา อาชีวะฯไหนในอีสานที่พัฒนาและผลิตอย่างจริงจัง ทั้ง ๆ ที่มีช่างทอผ้าและชุมชนทอผ้าในอีสานมากมาย มากมายพอพอกับอาชีพเกษตรกรรม

ในทางเศรษฐกิจการทอผ้าดูเหมือนจะเป็นอาชีพเสริมรายได้ที่สามารถสร้างเม็ดเงินได้มากที่เดียว หากยึดเป็นอาชีพหลักก็เห็นว่าสามารถหาเลี้ยงตนเอง ครอบครัวได้อย่างดีที่เดียว  แต่ปัญหาส่วนใหญ่ของช่างทออีสานคือการขาดรูปแบบลวดลายการทอผ้าใหม่ ๆ เท่านั้น

แต่ใหม่ ๆ ในความคิดของผมก็ไม่ควรเป็นการลงทุนที่มากเกินความสามารถของช่างพื้นบ้านที่เป็นชาวบ้าน ผมว่าลดการพึ่งพาเทคโนโลยีที่ไม่จำเป็นลงดีที่สุด เหมาะที่สุด  ซึ่งเราควรมองหาเทคโนโลยีในพื้นที่เป็นหลัก แบบนี้สอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงได้ดีนัก

ซึ่งงานวิจัยที่ทำก็สามารถตอบโจทย์เรื่องนี้ว่า ช่างทอพื้นบ้าน เทคโนโลยีการทอแบบพื้นบ้าน วัตถุดิบแบบพื้นบ้านก็สามารถพัฒนาเป็นผ้าทอที่คนร่วมสมัยให้การยอมรับและกล้าซื้อมาให้มาบริโภคได้เช่นกัน ดังนั้นหัวใจของการพัฒนาผ้าทออีสานอยู่ที่การออกแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับตลาด

แนวคิดสำคัญคือ ระบบการศึกษาได้พัฒนาผลิตบัณฑิตด้านนี้มากน้อยแค่ไหน เมื่อมองไปในมหาวิทยาลัยในเขตอีสานพบว่าไม่มีเลย ที่มีก็ไม่ได้เน้นการผลิตบุคคลากรด้านนี้แบบจริงจัง ซึ่งในความเป็นจริง เราขาดแคลน  เราต้องการ  เราช่างทอพื้นบ้านต้องการนักออกแบบมือใหม่ ๆ ลายใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาด

ซึ่งบางทีรัฐบาลเองก็พัฒนาไม่ตรงจุด ไม่ตรงหัวใจ  เอาช่างทอพื้นบ้านมาอบรมออกแบบ หมดไปกี่รุ่น กี่รุ่นก็ได้ผลน้อย ซึ่งตรงนี้ เราต้องเข้าใจความต้องการของช่างด้วย เพราะเขาไม่ต้องการเป็นนักออกแบบ แต่ต้องการเป็นช่างทอฝีมือดีที่สามารถทอผ้าได้ดีตามแบบที่ตลาดต้องการ  สวยงาม ตรงตรามความต้องการของคนนอก(ซึ่งเป็นผู้บริโภคหลัก)

ดังนั้นหากเพิ่มนักออกแบบมือใหม่ ที่เข้าใจงานทอพื้นบ้าน ก็น่าจะทำให้วงการทอผ้าของอีสานพัฒนาไปมาก เพราะแม่หญิงอีสานทอผ้ากันเป็นเสียส่วนใหญ่

มหาลัยในอีสานทำกันหน่อยนะครับ……………………………………………………..แม่ใหญ่ขอร้อง

ตีแตกอีสาน กับ งานพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม

Filed under: Uncategorized — แท็ก: — ออต @ 9:34

เมื่อคืนนั่งออนเอ็มกับครูบาฯ และคุยเรื่องสรรพเพเหระตามประสาครูกับลูกศิษย์จนลามไปจนถึงเรื่องงาน ตีแตกอีสาน ที่สวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน ในปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่จะถึงนี้

ที่สวนป่ามีอะไรจะอวดญาติมิตรมากมายก่ายกอง เพราะทุกพื้นที่มีคำสอนเอาไว้ กระจายไปทุกแห่ง ขอเพียงแต่ใครจะมองเห็นว่าคือความรู้เท่านั้นเอง เพราะความรู้มีอยู่ในธรรมชาติ ตัวคน หนังสือและ IT

ผมเองเป็นศิษย์สวนป่าฯ มีญาติจะไปเยี่ยมสวนป่าก็อยากหาอะไรไปนำเสนอหรือไปให้ญาติมิตรไปชมบ้าง ก็คิดได้แต่เรื่องการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรมที่ตนเองทำอยู่ นั้นคือการพัฒนาผ้าไหมมัดหมี่อีสาน ซึ่งคงมีอยู่อย่างเดียวนี่กระมังที่พอจะไปอวดกับเขาได้

เมื่อคืนจึงรับปากครูบาฯว่าจะเอาผ้าไหมไปโชว์ที่สวนงานในงานคราวนี้ แม้ความจริงผ้าที่จะไปโชว์ก็ไม่ได้มีมากเท่าใดนักเพราะในคราวที่เอาลงไปแสดงที่ กทม ขายหาค่ารถค่าลาไปหลายผืนจึงเหลือผ้ากลับมาน้อย แต่ช่วงนี้ก็จะพยายามให้ช่างทอเร่งทอผ้าออกมาให้ได้มากที่สุด งามที่สุด เท่าที่เวลาและปัจจัยจะเอื้ออำนวย

281097

ดังนั้นหากไม่มีอะไรผิดพลาด ญาติมิตรที่ไปงานตีแตกอีสานจะได้ชมผ้าไหมเป็น ของแถม ด้วยนะครับ

มกราคม 22, 2009

ทุกข์ของพี่น้องส่วยและเขมรใน พ.ศ. นี้

Filed under: Uncategorized — ออต @ 16:47

การอบรมเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงรุ่น3/2552 ของสวนป่า มหาชีวาลัยอีสาน ในงานรับผิดชอบของศูนย์เรียนรู้ของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ วันที่สองคือเมื่อวานนั้น เป็นการใช้กระบวนการตามแนวทางของมหาชีวาลัยอีสาน โดยใช้เครื่องมือที่เรียก เจ้าเป็นไผ

กระบวนการผลักความคิดและการทบทวนตัวเองของพี่น้องเกษตรกร เป็นงานแรก ๆ ที่เราสนใจเพราะหากวิทยากรไม่รู้อาการร้อนอาการหนาวของพี่น้องเกษตรกรแล้ว ก็คงป้อนยาและให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้ยากเต็มทน ดังนั้นกระบวนการทบทวนจึงดีทั้งต่อพี่น้องเกษตรและวิทยากร

พี่น้องเขมรและพี่น้องส่วย ได้ถก แลก เปลี่ยน เสนอและปรับทุกข์-สุขของตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยเปิดโอกาสให้นั่งล้อมลงอาบแดด ก่อนจะรวมตัวกันอีกครั้งในการนำเสนอภาพของทุกข์และสุขของคนเกษตรกลุ่มชาติพันธุ์ เมขรและส่วน พ.ศ. นี้


(น้อย หนุ่มชาวส่วยผู้มีผักกิน มีปลากินแต่ไม่มีเงินเก็บเงินออมพอจะขอสาว นี่ไม่มีเมียกอดก็ทุกข์)

(พี่ไชโย หนุ่มชาวเขมร ร่ายถึทุกข์แสนสาหัสของความแล้งของคนอีสาน ผ่านภาษาที่สวยงามแต่ทว่าทุกข์)

เมื่อบทสรุปและประมวลทุกข์ของคนพี่น้องไทยเขมรและไทส่วยก็พบว่ามีความทุกข์ใกล้เคียงกัน นั้นคือ

บ่มีอยู่ อันหมายถึง การมีบ้านที่ไม่เป็นบ้าน มีบ้านก็ไม่ได้อยู่บ้านต้องออกบ้านไปหาอยู่ที่อื่น
บ่มีกิน อันหมายถึง ไม่มีกิน เมื่อจะกินก็ต้องไปซื้อเขากิน
บ่มีใช้ อันหมายถึง บางคนปลูกผัก เลี้ยงไก่ อยู่บ้านก็พอได้แต่เมื่อตาจนต้องใช้เงินก็ไม่มีเงินใช้ ต้องกู้ ต้องยืม ฟ
บ่มีแฮง อันหมายถึง การเจ็บไข้ได้ป่วย เครียด
นี่เป็นทุกข์ของพี่น้องส่วยและเขมรที่ผมตกตะกร่อนมาฝากครับ

มกราคม 20, 2009

ชาวนาเขมร ปะทะ ชาวนาลาว ในพื้นที่ชาวสวนป่าฯ

Filed under: Uncategorized — แท็ก: — ออต @ 14:48

วันนี้ผมอยู่ที่สวนป่าของครูบาสุทธินันท์ หลังจากห่างจากผืนป่าปลูกขนาดใหญ่ไปราวแปดเดือน ด้วยติดภารกิจด้านการเรียน หลังเสร็จสิ้นทุกอย่าง ครูน้อยแห่งสวนป่าก็เรียกตัวมาเรียนรู้การฝึกอบรมเกษตรกรในโครงการอบรมเศรษฐกิจพอเพียง รุ่นที่ 2 ของสวนป่ามหาชีวาลัยอีสาน

สวนป่าวันนี้แม้จะอยู่ในช่วงแล้ง แต่ก็เขียวชะอุ่มเพราะมีกล้าไม้ โดยเฉพาะเอกมหาชัยกว่าห้าพันต้นเรียงรายรอบแปลงเพาะปลูก พร้อมกับแปลงผักสวนครัวที่งดงามและกำลังงามน่าผัก น่าต้มยำ น่านึ่ง สรุปแล้วคือน่ากิน อิ อิ

การอบรมคราวนี้เป็ฯรุ่นที่สองของปี 2552 ซึ่งกิจกรรมจะมีในระหว่างวันที่ 20-25 มกราคม 2552 โดยมีพี่น้อ’เกษตรเข้าร่วมอบรมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ 50 คน ซึ่งตอนนี้กำลังทยอยมา ซึ่งรุ่นนี้พิเศษที่เราจะได้เจอเกษตรสองกลุ่มชาติพันธุ์นั้นคือ พี่น้องไทลาว และพี่น้องเขมร

นี่เป็นครั้งแรกของผมที่ได้มีโอกาสร่วมกิจกรรมการอบรมในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นพี่น้องชาติพันธุ์เขมร ซึ่งออกไปทางตื่นเต้นเพราะเป็นครั้งแรก(มันของธรรมดา ปลอบใจตัวเองเอาไว้) ซึ่งในช่วงเย็นเป็นหน้าที่ของผมที่จะขึ้นเวทีผมเตรียมแนวคิดการเรียนรู้ของมหาชีวาลัยอีสานไว้นำเสนอกับพี่น้อง

ความรู้ในแนวคิดของมหาชีวาลัยอีสานประกอบด้วยความรู้ที่อยู่ในธรรมชาติ ความรู้ที่อยู่ในตัวคน ความรู้ที่มีอยู่ในตำราหนังสือ และความรู้ใน IT ซึ่งหาเราสามารถนำเอาความรู้ทั้งสี่ส่วนมาปรับใช้ในการเรียนรู้แล้ว ก็จะทำให้เราเข้าใจแนวคิดของการปรับตัวในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน

ส่วนกิจกรรมในการเรียนรู้จะเป็นอย่างไร ขอไปจัดชุดการเรียนก่อนนะครับ

มกราคม 13, 2009

เก็บข่าวมาเล่า : งานทอผ้าประยุกต์ เสน่ห์กลิ่นอายอีสาน

ยังไม่ถึงขั้นปั้นเป็นธุรกิจ แต่ทว่ามีเค้าลางที่สามารถสร้างเป็นธุรกิจได้…เฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่รักงานผ้าทอฝีมือไทย กับการทำงานของกลุ่มอีสานเทกซ์ไทล์ คนทำงานเกี่ยวกับการวิจัยลายผ้าโบราณ จากนั้นก็นำมาประยุกต์สร้างลวดลายใหม่ในแนวร่วมสมัย

สำรวย เย็นเฉื่อย ช่างทอผ้า หนึ่งในคณะทำงานโครงการจินตนาการใหม่ไหมมัดหมี่อีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เล่าว่า ได้ทุนวิจัยเพื่อทำโครงการดังกล่าวประมาณ 1.5 แสนบาทจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป้าหมายคือศึกษาวิจัยลายผ้าทอโบราณของคนไทยในท้องถิ่นอีสาน จากนั้นก็ทำประยุกต์ ออกแบบลายผ้าขึ้นใหม่ที่ยังมีกลิ่นอายโบราณ แต่มาในรูปลักษณ์ใหม่ ให้คนรุ่นใหม่สามารถใส่ได้

“แนวคิดเบื้องต้นก็คือ ลายผ้าทอโบราณ เป็นลายที่สวยและมีเสน่ห์ก็จริง แต่ทว่าการใช้งานไม่สามารถทำให้แพร่หลายได้ คนรุ่นใหม่เมื่อเห็นลายผ้าโบราณก็จะบอกว่าเป็นลายสำหรับคนแก่ ฉะนั้นการใช้งานจึงจำกัด จำกัดทั้งในกลุ่มลูกค้าและการออกแบบเพื่อใช้งาน ทางคณะอาจารย์จึงมีแนวคิดว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ให้ลายผ้าไทยโบราณยังคงดำรงอยู่ แต่ขณะเดียวกันก็สามารถขยายกลุ่มคนใส่ให้กว้างขวางขึ้น ทั้งหมดจึงเป็นที่มาของโครงการจินตนาการใหม่ไหมมัดหมี่อีสาน ที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2550…” สำรวยกล่าวถึงที่มาของผ้าลายไทยลวดลายประยุกต์ ที่ถูกรังสรรค์ขึ้นมาจนได้มาโชว์ในงานเทศกาลเที่ยวอีสาน 2009 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-18 มกราคม 2552 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

สำรวย เย็นเฉื่อย กล่าวว่า การทำงานที่ผ่านมา เรามีการทำงานร่วมกับชาวบ้านรุ่นแม่เฒ่า ที่มีความชำนาญในการทอผ้าลวดลายโบราณ ศึกษาในวิธีการทำงานของลวดลายต่างๆ จากนั้นก็นำลวดลายเก่ามาปรับโดยใส่แนวคิด ใส่ไอเดียเข้าไปเพิ่ม โดยการออกแบบให้ร่วมสมัยขึ้น โดยยังคงมีกลิ่นอายลายผ้าโบราณๆ อยู่

จากนั้นก็นำลวดลายที่ออกแบบใหม่ไปให้ช่างทอผ้ารุ่นเก่าทำ ซึ่งเขาก็สามารถทำได้ ซึ่งในช่วงเวลาของการทำงาน ก็จะเกิดคำถามที่โต้เถียงและก่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกันว่า ลายเดิมก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องเป็นลายใหม่, ลายใหม่ที่ออกมาจะขายได้หรือ คนซื่อจะชอบหรือ ฯลฯ จากงบประมาณที่ได้ กับระยะเวลาการทำงานปีเศษ

การทำงานออกแบบลายผ้าอยู่ภายใต้ 3 แนวคิด คือ

1.เป็นผ้าใหม่ที่ประยุกต์มาจากลวดลายโบราณ การทอผ้าสมัยโบราณ นั้นส่วนใหญ่เขาจะทอลายเดียวกันทั้งพื้น ยกตัวอย่างลายปราสาทลายพญานาค เขาก็จะทอลายเดียวกันทั้งผืน เราก็ประยุกต์สร้างลวดลายใหม่ขึ้นมา โดยมีกลิ่นอายของลายโบราณผสมอยู่ เอาลายประสาทมาเพียงบางส่วน และใช้การออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟิกมาช่วยบ้าง

2.แนวคิดลายใหม่ที่มาจากวัฒนธรรมอีสาน และแนวคิดที่ 3 ลายใหม่ที่ดัดแปลงมาจากความเชื่อ หรือปรากฏการณ์ความเชื่อของคนอีสาน ที่ส่วนใหญ่จะเป็นความเชื่อที่ดี ยกตัวอย่างลายกบกินเดือน

จนได้ลายผ้าใหม่ออกมาประมาณ 30 ลาย ซึ่งแต่ละลายได้มีการจดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

สำรวยกล่าวต่อว่า จนถึงขณะนี้โครงการวิจัยได้สิ้นสุดแล้ว แต่เนื่องจากการทำงานจริงๆ ในพื้นที่ยังไม่จบ ทางกลุ่มจึงได้เดินหน้าต่อ ก่อตั้งเป็นโรงเรียนช่างทอผ้าขึ้น ซึ่งถือเป็นกระบวนการหาทางออกของคนอีสาน ในการสืบสานมรดกทางวัฒนธรรมเรื่องการทอผ้า อันจะทำให้ผ้าทอพื้นเมืองที่ทำด้วยมือคงอยู่สืบรอยมือรอยเท้าของบรรพชนให้คงอยู่ตราบนานเท่านาน ในขณะเดียวกันก็สามารถรับใช้คนร่วมสมัยได้อย่างไม่เขินอาย

เป้าหมายโรงเรียนช่างทอผ้า ต้องการสนับสนุนให้พัฒนาทุนทางปัญญาให้มีค่าสำหรับการใช้ชีวิตในวัฒนธรรมที่มีการแปรเปลี่ยนไป แนวคิดหลักที่นำมาใช้ในการสร้างกระบวนการคือแนวคิดเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย โรงเรียนช่างทอผ้าจึงจำลองเอาแนวคิดของการเรียนรู้แบบโบราณที่ไม่แยกการศึกษาออกจากวิถีวัฒนธรรม นำมาสร้างให้เป็นกระบวนการเรียนรู้คือ แม่สอนลูกสาว เอื้อยสอนน้อง ญาติพี่น้องสอนกัน ส่วนพ่อบ้านก็จะสอนลูกชายในการผลิตอุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็น ดังนั้นการเรียนการสอนแบบนี้จะสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อคนในครอบครัว

“ใช้คำว่าโรงเรียน แต่จริงๆ แล้วไม่ได้มีห้องเรียนอะไรใหญ่ เราก็เรียนกันใต้ถุนบ้าน ให้แม่เฒ่ารุ่นเก่ามาต่อยอดไอเดียกับช่าง ทอผ้ารุ่นเก๋า เพื่อสร้างงานใหม่ขึ้นมา…”

ตอนนี้ถือว่าในขั้นตอนการเรียนรู้ด้านการออกแบบลายผ้า จนถึงการผลิตที่เน้น ใช้เส้นไหมสาวมือ เพื่อให้เกิดลายผ้าที่ เป็นธรรมชาตินั้นสำเร็จในระดับหนึ่งแล้ว สเต็ปต่อไปยังคงต้องทำต่อ คือ การตลาด ซึ่งเรื่องนี้ค่อนข้างสำคัญที่จะช่วยตอกย้ำความมั่นใจได้มากขึ้น

“สำหรับลวดลายที่ออกมา ถือเป็นทรัพย์สินทางปัญหา แต่ถ้านักธุรกิจกลุ่มไหนที่ชอบลวดลายที่ออกแบบ และอยากทำตลาด ก็ สามารถติดต่อได้ที่ www.isantextiles.net …” สำรวยกล่าวทิ้งท้าย

(ที่มา : วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 4070 )

มกราคม 11, 2009

“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”

Filed under: Uncategorized — ออต @ 16:18

ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”

ขออนุญาติยกเอาปรัชญาการทำงานของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ แห่งสำนักมหาชีวาลัยอีสานและคณะผู้ริเริ่มและพัฒนากระบวนการเฮฮาศาสตร์ ขึ้นมาโปรยที่หัวบันทึกเพื่อให้ตนเองระลึงถึงการทำงานในช่วงที่ผ่าน ครูบาฯมักสอนเสมอในการทำงานหากจะต้องรอให้พร้อมคงไม่ได้ทำอะไรกันแน่ ดังนั้นการทำงานบนฐานความไม่พร้อมจึงเป็นโจทย์สำคัญในการทำงานของคน เพราะไม่มีอะไรพร้อมไปซะทุกอย่างในโลก

ช่วงที่ผ่านมาสาละวนอยู่กับการทำบ้านหลังใหม่ ตามที่เคยเล่าไปแล้ว ว่าจะใช้เป็นที่อยู่ที่กินที่หลับที่นอนที่ทำงาน ที่พบปะแลกเปลี่ยนข้อมูลใหม่ เก่า สำหรับคนที่สนใจงานพัฒนาผ้าทอและเรื่องศิลปวัฒนธรรมของอีสานและที่อื่น ๆ

(สภาพบ้านเก่าในซอยหน้าเมือง 11 ในเขตเทศบาลนครขอนแก่น ก่อนการบูรณะและซ่อมแซม เป็นบ้านเก่าสองชั้น ชั้นบนทำด้วยไม้แต่ผุมาก ส่วนด้านล่างก่อปูนและร้าวไปมากเช่นกัน)

(สภาพการแต่งแต้มสีเพื่อขับให้บ้านมีสีสัน ได้เพื่อน ๆ ที่ทำงานตกแต่งมาช่วยออกไอเดียและความคิดจนกระทั่งออกมาเป็นบ้านหลังน้อย ที่รอคอยท่านมาเยี่ยมเยือน)

แต่การทำงานก็ไม่ได้พร้อมเท่าไหร่นักเพราะว่า มันไม่พร้อมโดยเฉพาะเรื่องงบประมาณ แต่หากมันไม่เริ่มมันก็จะไม่ได้ทำ จึงเริ่มซะเลย ซึ่งการทำงานเกือบหนึ่งเดือนที่ผ่านมาก็คลานเป็นเต่าด้วยเหตุผลที่ว่าไปก่อนหน้า เพราะงานบูรณะซ่อมเซมบ้านเก่าเอามาปัดฝุ่นใหม่มันก็เหนื่อยพอตัวและใช้งบประมาณเอามาก

เพื่อน ๆ ที่เคยทำบ้านมักบอกผมเสมอว่าเวลาทำบ้าน มันจะบาน และตามมาด้วยอาการบ้า อิอิอิ หากครบสูตรตามนี้มีหลังต้องพึ่งจิตแพทย์กันแน่ แต่ดีที่ยังคงกำคาถาของครูบาฯ ท่องเอาไว้ให้ขึ้นใจ ให้ขึ้นใจและให้ขึ้นใจ

“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”
“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”
“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”
“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”
“ทำงานบนฐานความไม่พร้อม”
สาธุ ขอให้เสร็จก่อนมีนาคม จะได้มีญาติมิตรมาเยี่ยมที่บ้านซะที

มกราคม 10, 2009

หนาวนี้ พี่ไม่หนาวตาย

Filed under: Uncategorized — แท็ก: — ออต @ 10:38

ฤดูหนาวแห้ง ๆ ของทุกปี ลมหนาวมักจะทำร้ายคนเราด้วยการหอบเอาความหนาวเหน็บมาฝากเราประจำ ตอซังข้าวที่เขียวเมื่อปลายคนมาถึงตอนนี้มันเหี่ยวและขาวซีดไปทันตา ข้าวในนาที่เหลืองทองมาถึงตอนนี้มันไม่เหลืออะไรอีกแล้ว ตอนนี้เหลือเพียงความหนาวที่อาบตรงผิวกำพร้าของเรา

หนาว ๆ แบบนี้คงต้องพึ่งเสื้อหนาวให้อุ่นตัวอุ่นใจสักสองตัวเป็นอย่างน้อย แต่เสื้อที่อุ่นในความรู้สึกของผมนั้นไม่ใช่เสื้อราคาแพงหรือแบรนด์เนมอะไร แต่เป็นเสื้อผ้าที่ทอด้วยมือ โดยเฉพาะผ้าฝ้ายเข็นมือเพราะเมื่อใส่ในหน้าหนาวมันจะอุ่นขึ้นมาทันใด เมื่อย้ายไปใส่หน้าร้อนมันก็จะเย็นสบาย ราวกับเป็นเสื้อวิเศษ

เช่นเดียวกับผ้าห่มฝ้ายที่ผมหอบมาจากเมืองเลย เป็นผ้าห่มที่ใส้ในเป็นใส้ที่ทำมาจากฝ้ายแท้ ๆ ที่ชาวเมืองเลยปลูกกันเอง และนำมาสู่กระบวนการทำเป็นใส้ในของผ้าห่ม ส่วนตัวผ้าห่มที่ห่อใส้ในผ้าฝ้ายนุ่ม ๆ ก็น่าจะเข้ากันได้ดี ยิ่งเมื่อมาห่อหุ้มให้เราเป็นตัวดักแด้ก็ดูเหมือนเราจะเป็นดักแด้ที่อุ่นจนไม่อยากลุกจากที่นอน

ข้อนี้เป็นสิ่งพิสูจน์ความขยันของคนอีสานได้เป็นอย่างดี ใครขี้เกียจปลูกฝ้าย ขี้เกียจทอผ้าก็รับความหนาวเหน็บไปเต็ม ๆ ส่วนพี่น้องอีสานที่ขยันปลูกฝ้ายและเรียนรู้การทอผ้าก็จะมีเสื้อมีผ้าห่มที่อุ่น ๆ เอาไว้คลายหนาว

ทุกวันนี้แม้ไม่ต้องปลูกฝ้ายเอง หรือทอผ้าไว้ใช้เอง แต่ใครขยันก็คงไม่เดือดร้อนในยามที่เหน็บหนาวเท่าไหร่นัก เพราะฤดูกาลเวียนไปแต่ความขยันจะนำพาเราไปสู่ความอบอุ่น อิอิ สรุปได้ไงเนี่ย?

มกราคม 3, 2009

Amazing I-San Fair 2009

มาฝากข่าวถึงญาติมิตรที่บางกอกครับ ออตและช่างทอสองคนได้รับเชิญให้ไปร่วมงาน Amazing I-San Fair 2009 ที่จัดโดย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

http://photos1.hi5.com/0021/670/312/yUM0bJ670312-02.jpg

ซึ่งานนนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมทั้งขานรับนโยบายการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากขึ้น

กิจกรรมภายในงาน
- การแสดงทางศิลปะวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- โซนข้อมูลเพื่อการท่องเที่ยวทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- กิจกรรมสันทนาการบนเวทีกิจกรรม

ในส่วนของออตและช่างทอผ้าได้เข้าร่วมกิจกรรมดังนี้
-การแสดงผ้าทอร่วมสมัยจำนวน 40 ผืน
-การสาธิตการทอผ้าไหมมัดหมี่แบบ ผ้าปูม
-การออกแบบลายผ้าด้วยตนเองอย่างง่ายที่สามารถทอด้วยเทคนิคไหมมัดหมี่

รายละเอียดอื่น ๆ
Date: 15 - 18 January, 2009
Owner: Tourism Authority of Thailand
10 a.m. - 8 p.m.
Plenary Hall 1-3, Hall C2, Meeting Room

Powered by WordPress