ทุกข์ของพี่น้องส่วยและเขมรใน พ.ศ. นี้
การอบรมเกษตรตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงรุ่น3/2552 ของสวนป่า มหาชีวาลัยอีสาน ในงานรับผิดชอบของศูนย์เรียนรู้ของครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ วันที่สองคือเมื่อวานนั้น เป็นการใช้กระบวนการตามแนวทางของมหาชีวาลัยอีสาน โดยใช้เครื่องมือที่เรียก เจ้าเป็นไผ
กระบวนการผลักความคิดและการทบทวนตัวเองของพี่น้องเกษตรกร เป็นงานแรก ๆ ที่เราสนใจเพราะหากวิทยากรไม่รู้อาการร้อนอาการหนาวของพี่น้องเกษตรกรแล้ว ก็คงป้อนยาและให้คำแนะนำที่ถูกต้องได้ยากเต็มทน ดังนั้นกระบวนการทบทวนจึงดีทั้งต่อพี่น้องเกษตรและวิทยากร
พี่น้องเขมรและพี่น้องส่วย ได้ถก แลก เปลี่ยน เสนอและปรับทุกข์-สุขของตนเอง ครอบครัวและชุมชน โดยเปิดโอกาสให้นั่งล้อมลงอาบแดด ก่อนจะรวมตัวกันอีกครั้งในการนำเสนอภาพของทุกข์และสุขของคนเกษตรกลุ่มชาติพันธุ์ เมขรและส่วน พ.ศ. นี้
(น้อย หนุ่มชาวส่วยผู้มีผักกิน มีปลากินแต่ไม่มีเงินเก็บเงินออมพอจะขอสาว นี่ไม่มีเมียกอดก็ทุกข์)
(พี่ไชโย หนุ่มชาวเขมร ร่ายถึทุกข์แสนสาหัสของความแล้งของคนอีสาน ผ่านภาษาที่สวยงามแต่ทว่าทุกข์)
เมื่อบทสรุปและประมวลทุกข์ของคนพี่น้องไทยเขมรและไทส่วยก็พบว่ามีความทุกข์ใกล้เคียงกัน นั้นคือ
บ่มีอยู่ อันหมายถึง การมีบ้านที่ไม่เป็นบ้าน มีบ้านก็ไม่ได้อยู่บ้านต้องออกบ้านไปหาอยู่ที่อื่น
บ่มีกิน อันหมายถึง ไม่มีกิน เมื่อจะกินก็ต้องไปซื้อเขากิน
บ่มีใช้ อันหมายถึง บางคนปลูกผัก เลี้ยงไก่ อยู่บ้านก็พอได้แต่เมื่อตาจนต้องใช้เงินก็ไม่มีเงินใช้ ต้องกู้ ต้องยืม ฟ
บ่มีแฮง อันหมายถึง การเจ็บไข้ได้ป่วย เครียด
นี่เป็นทุกข์ของพี่น้องส่วยและเขมรที่ผมตกตะกร่อนมาฝากครับ
พี่เคยทำงานที่ชายแดนไทยสสุรินทร์ 2 ปี ทำไปเสียวๆเหยียบกับระเบิดไป สมัยนั้นยังมีเขมรแดงอยู่
ทำงานกับชาวเขมรและส่วยต้องเข้าใจเขามากๆ เหมือนพี่ทำงานกับโซ่ดงหลวงขณะนี้
ความทุกข์ของคนนั้น หากมองจากมุมของคนกลุ่มหนึ่งเขาสรุปว่าเป็นเพราะ “ระบบคิด” ซึ่งระบบคิดนี้ก็มาจากเบ้าหลอมชีวิตของเขา
ในสภาพเหมือนๆกันทำไมคนผู้ไทจึงมีสภาพโดยรวมดีกว่าไทยโซ่ หากเอามุมมองดังกล่าวมาอธิบายก็จะพบความจริงส่วนหนึ่งว่า คนผู้ไทยนั้นมีกระบวนการคิดที่เปิดกว้าง และทันสมัยกว่าหากมองในแง่ของการปรับตัวไปตามกระแสสังคม ตรงข้ามไทยโซ่ปรับตัวช้ากว่า จึงส่งผลให้การรับแนวคิดใหม่ๆ กระบวนการประกอบชีวิตหใม่ๆ ดำรงชีวิตในทิศทางใหม่ พัฒนากระบวนการยังชีพใหม่ ผู้ไทยทำได้ดีกว่าไทยโซ่
เมื่อทราบแล้วจะทำอย่างไรไปพัฒนาเขา….
อย่างแรกที่สุกคือ การปรับกระบวนการคิดใหม่
การคิดใหม่มิใช่วิ่งตามทุนนิยม แต่ทำอย่างไรจะอยู่รอดปลอดภัยภายใต้ระบบทุนนี้ คุยกันสามวันสามคืน แล้วก็สร้างวิสัยทัศน์ เป้าหมาย กระบวนการวิธีการ แผนงาน ฯลฯ ขึ้นมาแล้วค่อยๆปรับตัวกันไป ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆที่มีอยู่ในชนบท
ทุกข์แน่นอนครับ วิถีดำรงชีวิตแบบเก่าในสังคมใหม่นั้น ทุกข์มากขึ้นในความรู้สึก..ครับ
ดีมากครับที่เก็บภาพสะท้อนนี้มา
ความคิดเห็น โดย bangsai — มกราคม 25, 2009 @ 21:11
ขอบพระคุณอาจารย์บางทรายครับ
ความคิดเห็น โดย ออต — มกราคม 26, 2009 @ 15:46