ลานบ้านชลบถพิบูลย์

ตุลาคม 28, 2008

วัดตาลเรือง 1

Filed under: Uncategorized — แท็ก: — ออต @ 18:30


เช้าของวันนี้ แดดจ้าแต่เช้าทำให้ต้องรีบเดินทางออกจากขอนแก่น ผมใช้เส้นทางขอนแก่น-ท่าพระ-บ้านเขื่อน ตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม เพราะเป้าหมายแรกของวันนี้อยู่ที่วัดตาลเรือง บ้านโคกกลางใหญ่ หมู่ 5 ตำบลเขวาไร่ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

ผมเคยไปวัดนี้เมื่อหลายปีก่อน คราวแรกที่ไปนั้นไม่ได้ถ่ายรูปอะไรเลย เพราะเจ้าอาวาสท่านไม่อยู่ที่วัด พบเพียงชาวบ้าน ซึ่งสอบถามก็ไม่ได้ความนัก บ้างก็จำได้เพียงลาง ๆ เกี่ยวกับเรื่องจิตรกรรมฝาผนังที่พบใน

สิมเก่าที่วัด แต่เนื่องจากมีการสร้างสิมใหม่แบบภาคกลางครอบลงไปจึงทำให้ชาวบ้านลืมเลือนภาพจิตรกรรมฝาผนัง

(คุณแม่ใจดี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ขณะมาเพล)

ความจริงนี่เป็นภูมิปัญญาสำคัญที่การเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังในผนังสิมด้านนอกแบบฉบับของช่างแต้มอีสาน เพราะผู้คนในชุมชนจะได้มีโอกาสเดินชมได้โดยรอบและไม่ต้องรบกวนเจ้าอาวาสให้ต้องมาเปิดสิมให้ เมื่อภาพจิตรกรรมอยู่ด้านนอกสิมก็เหมือนนิทรรศการถาวรที่ไม่ว่าจะไปเมื่อไหร่ก็ได้พบ ชายหรือหญิงก็ไม่มีความแตกต่างเนื่องจากสามารถชมได้โดยรอบ

การสร้างสิมใหม่แบบภาคกลางครอบ เป็นการปิดโอกาสการรับรู้เรื่องรา วของวรณณกรรมที่เขียน ความงาม ของภาพที่แต้ม และศีลธรรมจรรยาที่แฝงไว้ในจิตรกรรมฝาผนัง เรื่องนี้ไม่แต่ผู้หญิงที่เสียโอกาสเพราะสิมอีสานส่วนใหญ่ไม่อนุญาติให้ผู้หญิงเข้าไปด้านใน

ผู้ชายเองก็เสียโอกาสที่จะได้ไปเรียนรู้จากมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชน บทเรียนง่าย ๆ ที่น่าจะได้เรียนก็พลอยขาดโอกาสนั้นไป นาน ๆ ทีจะได้เข้าคราวหนึ่งเนื่องจากไม่ค่อยเปิดประตูสิม หากไม่มีกิจที่สำคัญ ส่วนฝ่ายผู้หญิงก็หมดสิทธิ์โดยไม่ต้องสงสัย

บ่ายสามโมงนิด ๆ

มหาสารคาม :27 ตุลาคม 2551

อภิธานศัพท์

  • สิม หมายถึง โบสถ์ น่าจะมาจากคำว่า สีม หรือ สีมา
  • ฮูบแต้ม หมายถึง จิตรกรรมฝาผนัง(ภาษาไทน้อยเขียนคำว่า รูป เป็น ฮูบ ส่วนคำว่าแต้มหมายถึงภาพจิตรกรรมสองมิติ)
  • ช่างแต้ม หมายถึง จิตรกร

ตุลาคม 26, 2008

ผ้าในฮูบแต้มอีสาน : ก้าวย่าง ย่างก้าว

จิตรกรรม

วันพรุ่งนี้มีกำหนดการต้องเดินทางไปเก็บข้อมูลภาคสนาม ตามโครงการวิจัยเรื่อง ผ้าในจิตรกรรมฝาผนังอีสาน ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจาก มูลนิเจมส์ เอช ดับเบิลยู ทอมป์สันปี 2551 ซึ่งหลังประกาสผลทุนแล้ว ก็ถึงคราวที่ต้องทำงานครับ
การเดินทางออกพื้นที่คราวแรกนี้ ผมมีโปรแกรมเดินทางไปวัดที่ปรากฎฮูบแต้มอีสานในเขตจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นเสมือนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในคราวนี้

หลังเก็บข้อมูลภาคเอกสารจากวรรณกรรมที่เขียนถึงฮูบแต้มอีสานในเขตจังหวัดมหาสารคาม พบว่าจิตรกรรมฝาผนังในมหาสารคามที่ปรากฎเอกสารกล่าวถึงมี 7 วัดซึ่งมีจิตรกรรมฝาผนังปรากฎบนสิมทั้งหมด และทั้งหมดก็เป็นสิมทึบแบบพื้นบ้าน

ในระยะ ยี่สิบปีที่ผ่านมา 3 ใน 7 สิมถูกทุบทำลายและมีการก่อสร้างสิมแบภาคกลางแทน การทำลาย ทุบ ทิ้งและสร้างสิมใหม่แบบวัฒนธรรมภาคกลางมีผลให้จิตรกรรมที่ปรากฎบนผนังของสิมถูกทำลายลงไปอย่างน่าเสียดาย ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากวัฒนธรรรมเอาอย่างและเลียนแบบวัฒนธรรมหลวงหรือวัฒนธรรมของศูนย์รวมอำนาจแห่งรัฐ

ดังนั้นวัดที่เหลืออยู่และเป็นเป้าหมายของการเดินทางไปมหาสารคาม เพื่อ ศึกษาคราวนี้ของผมเหลือเพียง 4 วัดคือวัดตาลเรือง อำเภอโสุมพิสัย,วัดบ้านยางซวง อำเภอบรบือ,วัดโพธารามและวัดป่าเรไรย์ อำเภอนาดูน สี่วัดที่เหลืออยู่และเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในงานศึกษาเรื่องผ้าของผม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหลักฐานที่อายุกว่า 80 ปีขึ้นไปทั้งนั้น

ในสัปดาห์นี้หากเครื่องมือสื่อสารของผมไม่ก่อปัญหา ผมจะรายงานสดวันต่อวันให้ได้อ่านเอาสนุกนะครับ อิอิ ไปพักก่อนนะครับ เจอกันใหม่มื้ออื่น

ตุลาคม 14, 2008

ฮูบแต้มอีสาน : วันพระ(พุทธ)เจ้าเปิดโลก

 

จิตรกรรมไทยภาคกลาง นิยมเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง วันพระเจ้าเปิดโลก บริเวณหลังองค์พระประธานในพระอุโบสถ ซึ่งเป็นพุทธประวัติตอน พระเจ้าเปิดโลก

พระเจ้าเปิดโลกกล่าวถึง วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์มาสู่โลกมนุษย์ หลังวันออกพรรรษานั้น ปรากฎเหล่าเทวดาจำนวนมากได้ตามส่งเสด็จอย่างสมพระเกียรติ พระพุทธเจ้าทรงเนรมิตให้เทวดา มนุษย์ และสัตว์นรกมองเห็นกันและกันตลอดทั้ง ๓ โลก คือ สวรรค์ มนุษย์ และนรก

ส่วนในจิตรกรรมฝาผนังอีสาน ไม่นิยมเขียนจิตรกรรมฝาผนังในตอนนี้ เมื่อสองปีก่อนได้เดินทางสำรวจจิตรกรรมฝาผนังพบว่า ตอนนี้ไม่ปรากฎที่วัดไหนเลย แต่ตอนที่สำคัญที่เชื่อมโยง โลกมนุษย์ สวรรค์ นรกให้ประสานกันเป็นวรรณกรรมเรื่อง พระมาลัยมากกว่าที่กว่าถึงพระมาลัยโปรดสัตว์นรก สนทนาธรรมกับพระอินทร์ และบอกเล่าเรื่องราวแก่มนุษย์

ความจริงเรื่องตอนนี้คนอีสานแก่ ๆ จะไม่ค่อยรู้จักหรือจำพุทธประวัติตอนนี้ไม่ได้ คนอีสานจะจำวรรณกรรมเกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติได้ดีกว่าเช่น พระเวสสันดร พระมาลัย เรื่องจากวรรณกรรมสองเรื่องถูกนำมาแปรรูปเป็นวัฒนธรรมอย่างอื่น ๆ บ่อยกว่าเช่น  เทศมหาชาติ  จิตรกรรมฝาผนัง ผ้าพระเวส หมอลำเรื่องต่อกลอนหรือแม้แต่หมอลำกลอน

ตุลาคม 11, 2008

สำรวจสถานภาพจิตรกรรมฝาผนังในจังหวัดมหาสารคาม

(more…)

ตุลาคม 10, 2008

เรียนเรื่องวัฒนธรรมจากหลักฐานในประวัติศาสตร์ศิลป์

Filed under: Uncategorized — ออต @ 2:56

เมื่อสองปีที่แล้ว เพื่อนชาวต่างชาติและผมขอทุนวิจัยเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังในอีสานกลางจากมูลนิธิจิมทอมสันป์ ซึ่งเดินทางค้นหาความหมาย แนวคิดและสาระที่ปรากฎในจิตรกรรมฝาผนังอีสาน ซึ่งผลผลิตของงานวิจัยชุดนี้กำลังจะถูกเผยแพร่ในรูปหนังสือเรื่อง จิตรกรรมฝาผนังอีสาน

ปีนี้เพื่อนชาวต่างชาติ ผลักดันและสรางแบบทดสบให้ผมเขียนโครงการวิจัยขอทุนสนับสนุนเองบ้างหลังจากที่เรียนรู้กับเธอมาหนึ่งปี ผมนั่งเขียนประเด็นวิจัยอยู่หลายสัปดาห์จนกระทั่งมาสุกงอมที่งานวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมผ้าในจิตรกรรมฝาผนังอีสาน ความจริงงานวิจัยนี้เนการผนวกงานที่ผมสนใจสองอย่างเข้าไว้ด้วยกันนั้นคือ

จิตรกรรมฝาผนังอีสาน และ เรื่องผ้าทอของคนพื้นถิ่น

ผมส่งเค้าโครงไปเพื่อขอทุนเมือนเดือนกรกฏาคม และได้รับข่าวดีไม่นานมานี่ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ได้รับงบสนุบสนันจากมูลนิธิจิมทอมสันป์ และงานกำลังจะเริ่มลงมือในเร็ววันนี้ ซึ่งก้ต้องขอบคุณมูลนิธิฯที่ให้โอกาสในการทำงาน และขอบคุณเพื่อนชาวต่างชาติที่ช่วยสนับสนุนทั้งผลักและดัน

อย่างไร คงจะได้เขียนความคืบหน้าของงานบันทึกต่อ ๆ ไป

Powered by WordPress