ก่อนเดินทางไปเยี่ยมเมืองมุกตามบันทึกที่แล้ว ผมทำการบ้านก่อนไปเล็กน้อยและรู้สึกตื่นเต้นมากเมื่อเจอข้อมูลเกี่ยวกับจิตรกรรมฝาผนังอีสานวัด ศรีมหาโพธิ์ปรากฎอยู่อย่างน้อยก็สองแหล่งที่พอเข้าถึงข้อมูลได้นั้นคือจากหนังสือและเวบไซด์
วัดศรีมหาโพธิ์ ได้รับการกล่าวถึงในหนังสือชื่อ จิตรกรรมฝาผนังอีสานซึ่งแต่งโดยไพโรจน์ สโมสรและคณะจากมหาวิทยาลัยในนามโครงการสำรวจและถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนังอีสาน สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งมีเนื้อเกี่ยวกับประวัติของชุมชนหว้านใหญ่ให้ได้ศึกษา
แต่ที่ชวนให้ตื่นเต้นเห็นจะเป็นข้อมูลในเวบไซด์ โดยเฉพาะที่ออกจากหน่วยงานต่าง ๆในจังหวัดมุกดาหาร ซึ่งส่วนใหญ่ก็ copy ต่อ ๆ กันไป ไม่ได้ศึกษาข้อมูลใหม่ ๆ นัก ซึ่งเรื่องที่ชวนตื่นเต้นจากคำกล่าวอ้างคือ ภาพเขียนแสดงเรื่องราวในคราวที่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ (21 มิถุนายน พ.ศ. 2405 - 1 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 57 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาชุ่ม ต้นราชสกุลดิศกุล) ทรงเสด็จตรวจราชการหัวเมืองทางอีสานเมื่อ เมื่อ พ.ศ. 2449 หรือเมื่อร้อยปีที่ผ่านมา ซึ่งในขณะนั้นเมืองมุกดาหารยังขึ้นกับมณฑลอุดร
เมื่อเปรียบเทียบคราเสด็จตรวจราชการของเจ้านายจากบางกอกในปี 2449 กับปีที่สร้างสิมวัดศรีมหาโพธิ์ ปี 2467 ก็ไม่ได้ห่างไกลกันนัก ดังนั้นการปรากฎเรื่องราวของเจ้านายบนจิตรกรรมฝาผนังจึงเป็นเรื่องพิเศษฉับพลัน หรือถ้ามีจริงก็นับว่าช่างแต้มสมัยก่อนเป็นคนที่ทันเรื่อง ทันเหตุการณ์ ทันบ้าน ทันเมือง เอามาก ๆ ตอนเข้าชมผมพยายามหาภาพวาดเรื่องกรมพระยาดำรงฯ เสด็จหัวเมืองอีสานให้พบตามที่มีการกล่าวถึง
เมื่อสำรวจตลอดสามผนังที่ปรากฎจิตรกรรมฝาผนังอีสาน ผมก็ไม่พบภาพเขียนในเหตุการณ์ที่เจ้านายฝ่ายสยามพระองค์นี้ปรากฎอยู่ในจิตรกรรมฝาผนังวัดศรีมหาโพธิ์แต่อย่างใด ภาพที่มีความใกล้เคียงก็เห็นจะมีอยู่บ้างแต่หากดูรายละเอียดของภาพเขียนแล้วก็ไม่ได้มีสัญญะอะไรให้สืบค้น ตีความเป็นอย่างอื่นไปนอกจากภาพประกอบในเรื่องราว ซึ่งจิตรกรรมฝาผนังวัดศรีมหาโพธิ์เขียนเรื่อง พระเวสสันดรชาดก
(ภาพเขียนผนังทิศใต้ของสิมวัดศรีมหาโพธิ์ อำเภอหว้านใหญ่ จังงหวัดมุกดาหาร)
ซึ่งภาพตอนดังกล่าวนั้นเป็นภาพตอนขบวนแห่พระเวสสันดรกลับเมือง ปรากฎอยู่ผนังฝั่งทิศใต้ของสิม ซึ่งในขบวนแห่กลับเมือง ในจิตรกรรมฝาผนังอีสานทุกวัดที่เขียนเรื่องนี้จะให้ความสำคัญมาก หลายวัดการเขียนภาพนตอนนี้กินพื้นที่การเขียนมากเช่น ภาพขบวนแห่พระเวสสันดรกลับเมืองวัดยางซวง จ.มหาสารคาม วัดสนวนวารีพัฒนาราม จ.ขอนแก่น ดังนั้นภาพที่ปรากฎจึงไม่ใชภาพเจ้านายราชสำนักสยามอย่างแน่นอน การทึกทักเอาว่าภาพคนมีหนวดคือสมเด็จฯกรมพระยาดำรงนั้น เห็นที่จะตีความง่ายไป
ในบันทึกต่อไป ขอเขียนถึงสถาปัตยกรรมวัดศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดที่หันหน้าสิมไปทางทิศตะวันตก เรื่องนี้มีที่มาที่ไป หรือ ขนบอะไร ตามต่อครับ
การลอกภาพวาดกันของเด็กไม่ใช่เรื่องผิดแต่ประการใดโดยเฉพาะเด็กที่ผ่านโรงเรียนที่ครูใช้คะแนนเป็นตัววัดผลการเรียนของนักเรียน นักเรียนที่วาดรูปได้คะแนนน้อยย่อมหันไปลอกภาพวาดของเด็กที่ได้คะแนนมากเป็นธรรมดา แต่ที่ HUG SCHOOL ครูออตไม่ได้เน้นคะแนนเราจึงมีแนวทางที่จะเปลี่ยนจากเด็กช่างลอกเลียนแบบมาเป็นเด็กนักสร้า้งสรรค์ อย่างเช่นกรณีน้องจิ่นนี่และน้องมิ้น
เด็กทั้งสองคนมีพื้นฐานจากโรงเรียนเดียวกันคือเรียนห้องเดียวกัน ครูสอนคนเดียวกัน มาเรียนที่ HUG SCHOOL พร้อม ๆ กันเพราะผู้ปกครองต่างชวนกันมา เมื่อมาแรก ๆ ทั้งสองคนเปรียบเสมอืนคนคนเดียวกัน ไม่ยอมหนีไปไหนคนเดียว เมื่อจะไปไหนต่อไหน ทำอะไรก็ต้องไปด้วยกันไม่ยอมห่าง รวมทั้งการเรียนศิลปะด้วย
เด็กทั้งสองคนต่างกันตรงที่น้องมิ้นเป็นนักสร้างสรรค์ มีจินตนาการและอดทนมีสมาธิ แม้จะมีเรื่องงอแงมาจากบ้านแต่เมื่อมาถึงห้องเรียนศิลปะน้องมิ้นจะปรับตัวเร็วมากและสนุกสนานในการเรียนศิลปะกับเพื่อน ๆ การวาดการทำงานมากในครั้งแรก ๆ เราจึงเห็นน้องมิ้นทำงานเสร็จเรียบร้อยสวยงาม สร้างสรรค์และของานกลับทุกครั้ง
น้องจินนี่เป็นเด็กหญิงน่ารักพูดน้อย อาการติดเพื่อนเป็นพฤติกรรมแรก ๆ ที่น้องจินนี่แสดงออกให้ครูเห็นนอกจากนั้นการลอกเลียนงานของเพื่อนอย่างน้องมิ้นจึงมีให้ครูออตเห็นบ่อย ๆ เมื่อแรกหากน้องมิ้นวาดปลา น้องจินนี่ก็จะวาดปลา น้องมิ้นวาดบ้าน น้องจิ่นนี่ก็จะไม่วาดอย่างอื่นนอกจากนั้น การลอกเลียนงานน้องมิ้นชัดเจนจนภาพจะกลายเป็นภาพเดียวกัน ส่วนมิ้นเองก็ไม่ได้สนใจว่าใครจะลอกงานของตนเอง ยังคงมุ่งมั่นทำงานต่อไป อีกอย่างที่เห็นชัดคือสมาธิในการทำงานของจิ่นนี่มีน้อย วาดได้นิดก็เหนื่อย ปวดแขน เมื่อยและสารพัดที่อ้าง สุดท้ายก็ขอมานั่งใกล้ ๆ ครูออตและเล่าสรรพเหระตามประสาเรื่องที่น้องจินนี่อยากเล่า
ครูออตเล่าสถานการณ์นี้ให้ผู้บริหารฟังอยู่เรื่อย ๆ และพยายามเปลี่ยนนักลอกเลียนมาเป็นนักสร้า้้งสรรค์ กิจกรรมประการหนึ่งคือการฝึกให้นักเรียนของเราคิดเยอะ ๆ (ที่ไม่ได้หมายถึงคิดมาก) การคิดเยอะ ๆ เท่ากับน้องจิ่นนี่มีทรัพยากรในสมองมาก ๆ ดังนั้นช่วงแรกจึงไม่ได้เน้นที่ภาพขนาดใหญ่แต่ให้วาดบนกระดาษ a4 ไม่เน้นการลงสีแต่เน้นลายเส้น
ที่นั่งระหว่างทั้งสองคน ครูออตก็พยายามเปลี่ยนแปลงให้นั่งตรงข้ามแทนที่จะนั่งเรียงกัน อย่างน้อยก็ลดโอกาสของการเลียนแบบภาพของกันและกัน ซึ่งการเปลี่ยนตำแหน่งการนั่งทำงานก็นับว่าได้มากเพราะทั้งสองคนเปลี่ยนคู่สนทนาเป็นคนอื่นนอกจากเพื่อนตนเอง อิทธิพลส่งผลต่อกันจึงน้อยลงไปมาก
ในการเรียนกลาง ๆ คอร์สเราพบว่าสถานการณ์เปลี่ยนเล็กน้อย แต่อยู่ในความคาดหวังที่ดีของครูเพราะน้องจิ่นนี่มีพฤติกรรมบางอย่างเปลี่ยนไป แม้ไม่ชัดเจนแต่ก็เป็นสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากแรกเริ่มเรียน การวาดของจิ่นนี่แม้จะลอกบ้างแต่ก็เป็นการปรับรูปทรงให้แตกต่างเช่นในทะเลน้องมิ้นวาดปลา น้องจินนี่ก็เปลี่ยนเป็นวาดเต่า,น้องมิ้นวาดบ้านน้องจิ่นนี่จะวาดตึก สำหรับครูออตแล้วมันเป็นสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี เพราะแม่รูปทรงจะต่างกันเล็กน้อยแต่รอบ ๆ บ้านที่น้องจิ่นนี่วาด มีอะไรต่อมิอะไรมากมาย
สำหรับคอร์สศิลปะเด็กที่โรงเรียนนี้มีจำนวน 12 ครั้งสัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายที่น้องจินนี่กับน้องมิ้นมาเรียน และเมื่อมานั่งดูอย่างพิจารณาครูออตพบพัฒนาการของเด็กนักลอกคนนี้ กลายเป็นนักสร้า้งสรรค์อย่างที่เราต้องตะลึง ในชั่วโมงนี้รูปวาดของทั้งสองไม่เหมือนกันเอาเสียเลย มิหนำซ้ำน้องจิ่นนี่ทำงานของตนเองเสร็จก่อนใครเพื่อนในห้อง นี่เป็นปรากฏการณ์ที่ช่วยบอกครูออตว่าน้องจินนี่มีสมาธิมากขึ้นตามลำดับ
(ผลงานในสัปดาห์สุดท้ายของจินนี่)