ผักพื้นบ้านยอดนิยม ผสมเบาหวานแล้วอะไรดีบ้างเนอะ

อ่าน: 3215

บ้านสวนพอเพียงมีน้องแป๋มเข้ามาแจมชวนเชิญกินผักพื้นบ้าน ในฐานะสมาชิกก็อดไม่ได้ที่จะช่วยนำมาเผยแพร่ต่อให้ ในเมื่อชวนแล้ว ก็ขอเพิ่มข้อมูลในส่วนที่จะช่วยทำให้คนสบายตัวในการกินผักเหล่านี้ เมื่อมีเรื่องของความหวานผสมในตัวอยู่ในแบบใดก็แล้วแต่

คนสำคัญที่สุดก็คือคนเบาหวานที่ขอชวนใส่ใจในข้อมูลเหล่านี้สักหน่อยเพื่อที่จะได้มีตัวช่วยให้คุมเบาหวานให้ดีได้ จะได้หนีีห่างโรคร่วมที่แสนจะร้ายทั้งหลายได้เนอะ

การหันมารับประทานผักพื้นบ้านที่ขึ้นอยู่ตามริมรั้ว ริมธาร ตามกระบวนการธรรมชาติ ที่ไม่ต้องจัดการดูแล หรือกำจัดศัตรู ก็ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

ผักพื้นบ้านที่นำมาประกอบอาหารอยู่เป็นประจำในครัวเรือนนั้นต่างมีประโยชน์อนันต์ เชื่อว่าหลายคนที่ไม่เคยสนใจต้องกลับมามองและบริโภคอย่างเต็มใจทีเดียว

ตัวอย่างผักพื้นบ้านที่หาได้ง่ายและได้ประโยชน์มากมายที่น้องแป๋มยกข้อมูลมาให้ทั้งกะบิมีดังนี้ค่ะ   ขอเติมใส่ข้อมูลบางอย่างไว้ให้เลือกใช้เป็นสาระในการดูแลตัวเองในการเลือกเมนูผักบริโภคในแต่ละมื้อ แต่ละวัน ในตอนท้ายบันทึกก็แล้วกัน

1. พริก

คนมีปัญหาเรื่องไตทำงานไม่ดี ระวังการกินพริกด้วย เพราะว่าพริกแต่ละชนิดมีฟอสฟอรัสไม่เท่ากัน

พริกชนิดไหนที่คนมีปัญหาเรื่องไตกินได้ตามไป อ่านได้จากที่นี่

พริกทุกชนิดมีคาร์โบไฮเดรตเกือบเท่าๆกับเนื้อมะพร้าว หัวผักกาดขาว และ มันแกว  คนเป็นเบาหวานที่ไม่เป็นโรคไตกินแล้วปลอดภัย

2. สะระแหน่

3. โหระพา

4. ชะอม

5. หัวปลี

6. กระเทียม

7. ข่า

8. ถั่วพู

9. กะเพรา

10. ดอกแค

11. ผักชี

12. แมงลัก

13. ขจร

14. ขนุน

15. กระถิน

16. ขี้เหล็ก

17. ชะพลู

18. ผักกูด (เคยมีเรื่องราวเล่าไว้ในลานนี้แล้ว)

19. ตำลึง

20. มะระขี้นก

ทั้งหมด 20 รายการผักพื้นบ้าน  ยังมีเรื่องที่คนเป็นโรคไตพึงเรียนรู้ไว้ในเรื่องฟอสฟอรัสที่มันมีอยู่ในตัวด้วยนะคะ

รายละเอียดขอสรุปไว้ให้ดังนี้ค่ะ

กลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเกิน 70 มก.ต่อ 100 กรัม

ได้แก่ พรักยักษ์ พริกหวาน ใบขี้เหล็ก ดอกขจร  ชะอม กระเทียม(หัว) ใบกระเพา พริกอุบล

กลุ่มที่มีฟอสฟอรัสระหว่าง 40-70 มก.ต่อน้ำหนัก 100 กรัม

ได้แก่   แค (ยอด,ดอก) กระเทียม(ต้น)  ถั่วพู

กลุ่มที่มีฟอสฟอรัสระหว่าง 30-40 มก. ต่อน้ำหนัก 100 กรัม

ได้แก่ ตำลึง (ใบ,ยอด) กระถิน ผักกูด หัวปลี ใบแมงลัก ผักกูด

กลุ่มที่มีฟอสฟอรัสระหว่าง 20-30 มก. ต่อน้ำหนัก 100 กรัม

ได้แก่  ข่าอ่อน (หน่อ,หัว)  ขนุนสุก ใบชะพลู พริกหนุ่ม

กลุ่มที่มีฟอสฟอรัสต่ำ 10 ต่อน้ำหนัก 100 กรัม กินแล้วน้ำตาลไม่ขึ้นด้วย

ได้แก่  ดอกขี้เหล็ก ขนุนอ่อน  มะระขี้นก ใบสะระแหน่ ใบโหระพา

ในบรรดาทั้งหมดนี้ มีพืชที่คนเป็นเบาหวานพึงระวังให้มากๆเวลากินเข้าไป เพราะว่าทำให้น้ำตาลขึ้นทันทีได้สูงเท่ากับกินเผือก มัน เมื่อกินเข้าไปในจำนวนเท่าๆกัน คือ กระเทียม (หัว) ผักชี (ลูก)

« « Prev : ดูโหงวเฮ้งกันหน่อยดีมั๊ย

Next : มาดูกันหน่อยว่าเบาหวานจะลดได้หรือเปล่า » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 silt ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 ตุลาคม 2009 เวลา 8:49 (เช้า)

    คนเบาหวานที่มีอาการไตอ่อนแอ
    มาอ่านซึมซับความรู้แล้วครับ
    ขอบพระคุณในความห่วงใย….ครับผม

    เมนูวันนี้
    มื้อเช้า น้ำเต้าหู้ไม่ใส่น้ำตาล ข้าวสวยครึ่งทัพพี ผัดมันฝรั่งผงกระหรี่ครึ่งถ้วยเล็ก กาแฟดำ
    มื้อกลางวัน ข้าวสวยครึ่งทัพพี หมากค้อดอง กาแฟดำ กล้วยน้ำว้า ๑ ลูก
    บ่าย นมถั่วเหลืองชนิดหวานน้อย ๑กล่อง
    เย็น แกงผักกาดใส่ขิง ข้าวสวยสองช้อนโต๊ะ

  • #2 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 24 ตุลาคม 2009 เวลา 11:13 (เช้า)

    #1  5555 ดีจังอ้ายเปลี่ยน ที่ส่งบทเรียนมาให้พี่อีกแล้ว ชอบๆๆๆๆ

    ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูกินเจ ถึงแม้ว่าจะช้าไปหน่อย (เหลือไม่กี่วันก็หมดฤดูกาล) แต่ก็ถือว่ายังไม่สาย ยังใช้ได้สำหรับคนที่กินอยู่เป็นประจำเน้อ
    ขอบคุณๆ ที่ส่งของเล่นมาให้….หลายตัวที่บอกมานั้น….อยู่ในใจว่าจะเขียนออกมาเล่าให้ฟังทั้งน๊านเลย……

    แต่ที่ช้าไม่เขียนก็เพราะไม่มีคนเล่นด้วย……มีคนมาเล่นด้วยอย่างนี้…ชอบๆๆ…..อิอิ

    ว่าแต่เจ้านี่คืออะไร ไม่รู้จักอ่ะ “หมากค้อ”  มีรูปให้รู้จักไหมจ๊ะน้องชาย


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.019186019897461 sec
Sidebar: 0.05813193321228 sec