ผักนี้มีดี

โดย สาวตา เมื่อ 28 กันยายน 2008 เวลา 16:08 (เย็น) ในหมวดหมู่ ชีวิต สุขภาพ, อาหารกับสุขภาพ #
อ่าน: 10866

เอ่ยให้ฟังเรื่องผักแล้วทำให้คิดถึงอดีตที่มีเหตุให้ได้พบและรู้จักกับจอมป่วนและน้องราณี ตอนที่ฉันนำทีมงานไปดูงานระบบบริการสาธารณสุขที่พิษณุโลก และได้ติดต่อผ่านจอมป่วนขอไปดูงานเทศบาลพิษณุโลก เพราะความชอบป่วนจอมป่วนจึงไปชวนน้องราณีให้มารู้จักกัน  หลังจากนั้นพี่ท่านก็ชักนำให้ไปพบพานกลุ่มเฮฮาศาสตร์ที่ภูเก็ตอีกต่อ จนทำให้ได้พบกับกัลยาณมิตรทุกท่านที่ได้สานสัมพันธ์และไมตรีต่อกันมาจนบัดนาวนี้แหละ

ในอดีตครั้งนั้นได้ไปเที่ยวภูหินร่องกล้ากันค่ะ  ไปแล้วก็ได้พบกับผักชนิดหนึ่งที่เป็นผักปลอดสารพิษที่ธรรมชาติสร้างไว้  กลับจากการไปพิษณุโลกครั้งนั้นฉันได้เขียนบันทึกถึงมันด้วย เจ้าผักที่ว่าคือผักกูดค่ะ   จึงขอยกเรื่องของมันมาบันทึกใหม่ให้อ่านกันค่ะ

ผืนดินที่ผักกูดมันขึ้นงาม จะเป็นพื้นที่ที่มีความชื้นสูง หรือที่ราบลุ่มที่มีน้ำขัง ถ้าเดินทางในป่าแล้วได้พบกับมันแสดงว่ามีแหล่งน้ำอยู่ไม่ไกลจากจุดนั้นแล้วค่ะ  เจ้าผักตัวนี้มีความไวกับสารพิษ สารเคมีมาก หากว่ามีสารพิษ สารเคมีในดินเมื่อไร มันจะตายเป็นเบือทันทีค่ะ  อันว่าความรู้นี้เอาไปใช้เวลาจะเลือกซื้อเอามันไปกิน และใช้ประโยชน์จากมันในการดูแลดิน วินิจฉัยดินได้นะค่ะ

ผักกูด 

ผักกูดนั้นมีไฟเบอร์แบบเมือกลื่นๆเป็นใยๆ  ในตัวของมันมีแคลเซียมสูง ใช้กินมันแทนนมที่ธงโภชนาการแนะนำไว้ก็ได้  อีกธาตุที่มันมีอยู่เยอะแยะ คือ ธาตุเหล็ก เจ้าผักชนิดนี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่หญิงมีครรภ์หลังคลอดควรจะได้กินเป็นอาหารบำรุงน้ำนมค่ะ  การที่มันมีไฟเบอร์แบบเมือกอยู่เยอะนั้นทำให้มันมีฤทธิ์เย็นในตัวหรือที่เต๋าเรียกว่าหยิน มันจึงมีฤทธิ์ลดไข้ได้ด้วย จึงเหมาะสำหรับคนป่วยด้วย  สรรพคุณทางยาของมันเรื่องนี้อยู่ที่รากหรือหัวของมันที่อยู่ใต้ดิน ไม่ใช่ส่วนใบและต้น  ส่วนของใบและต้นมีฤทธิ์ทางยาในแง่ของการช่วยระบาย  ถ้าเอาใบต้นมันมาพอกผิวหนังที่คัน มันช่วยระงับให้อาการผื่นคันสบายขึ้น  สำหรับคนที่เดินทางบ่อยๆไม่ได้พกยาอะไรติดตัวถเหากเกิดเป็นแผลที่มีเลือดออก รากของมันมีฤทธิ์ห้ามเลือดได้ด้วย

ข้อที่ควรระวังในการกินคือการก่อก้อนดินก้อนกรวดในไตคน ความหมายฉันก็คือ มันมีผลึกที่จับตัวแล้วจะก่อให้เกิดก้อนได้นะค่ะ ผลึกที่ว่าเวลาก่อตัวขึ้นในไตของคน  ภาษาของฉันเรียกก้อนนี้ว่า “นิ่ว” ค่ะ  ผลึกที่เกิดจากผักกูดเป็นผลึกจำพวกที่สารออกซาเลทค่ะ  เวลาปรุงมันเพื่อกินจึงควรเป็นรูปปรุงสุกเพื่อลดสารตัวนี้ค่ะ

เจ้าผักตัวนี้ให้ประโยชน์กับคน แต่ว่าเป็นพิษกับสัตว์อื่นๆ ใครที่เลี้ยงสัตว์ รักสัตว์พึงรู้ว่า มันเป็นพิษกับวัวและม้านะค่ะ  อยากรู้เรื่องนี้ให้ตามไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ http://www.lunarcot.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=433318 

ผักกูดในธรรมชาติมีอยู่ 3 ชนิด จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับเฟิร์นค่ะ แยกแยะความต่างด้วยลักษณะของสีใบและต้น  สำหรับคนใต้มีกินไม่ขาดด้วยมีแหล่งใหญ่อยู่ที่หมู่2 ต.บ้านนา กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จ.พัทลุง ผลผลิตที่เขาเก็บได้อยู่ที่วันละ 60 กก.จากพื้นที่ 3 ไร่ ซึ่งในปี 2539 สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรกก.ละ 15 บาท โดยทำงานแค่รดน้ำ ใส่ปุ๋ยคอกบ้างเท่านั้นเองค่ะ 

    

ถึงแม้ว่าเจ้าผักตัวนี้จะมีประโยชน์ในแง่คุณค่าทางอาหารอย่างที่กล่าวไว้แล้ว ก็ยังมีข้อพึงระวังสำหรับคนที่เป็นโรคไตวายอยู่ด้วย เรื่องของเรื่องคือมันมีธาตุฟอสฟอรัสอยู่ด้วยสูง  คนเป็นโรคไตวายเขาห้ามกินอาหารที่มีสารฟอสฟอรัสสูงค่ะ ที่ห้ามกินนั้นเพราะว่าจะทำให้สารฟอสเฟตมันคั่งในร่างกายแล้วให้โทษ 

ยังมีอีกเรื่องที่ต้องระวังเรื่องการกินผักกูด เรื่องนี้เจาะจงที่การกินผักกูดตระกูลที่ชื่อ ผักกูดเกี๊ยะ (Pteridium aquilinum) ไอ้ผักกูดพันธุ์นี้กินแล้วต้องระวังเรื่องการเป็นมะเร็งค่ะ

ผักกูด 1 ขีดหรือ 100 กรัม มีโปรตีน 1.7 กรัม ธาตุเหล็ก 36.3 กรัม ฟอสฟอรัส 35 มิลลิกรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม แป้ง 2.2 กรัม วิตามินซี 15 มิลลิกรัม ความรู้อย่างนี้เวลาเอาไปใช้ก็ใช้กะๆได้นะค่ะ  สำหรับคนที่กินมังสะวิรัติในแง่โปรตีน  แป้งที่ให้ออกมาจากผักกูดมีจำนวนพอๆกับที่ได้จากเต้าหู้อ่อนขาวค่ะ

สำหรับผักกูดนี้มีต่างชาติคือญี่ปุ่นทำเป็นอาหารสำเร็จรูปขาย อยู่ในรูปผักดองที่เขาเรียกมันว่า “วาราบิบิ”ค่ะ  ชาวอะบอริจินในออสเตรเลียเขาเอาลำต้นและรากใต้ดินของผักกูดมาย่างไฟแล้วเอาไปทุบให้แหลก แล้วจึงเอาไปปรุงกิน ผักกูดของเขาเป็นพันธุ์ผักกูดขม  เขาใช้มันเป็นแหล่งอาหารที่ให้แป้งกันค่ะ 

เมื่อพูดถึงผัก นอกจากไฟเบอร์ก็ต้องพูดถึงวิตามินไปด้วย วิตามินที่อยู่ในผักกูดจัดอยู่ในกลุ่มวิตามินที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นหากล้างมันบ่อยและนาน วิตามินที่มีก็จะหมดลง วิตามินที่มันมีเป็นพวกวิตามินซีมากที่สุด มีบีหนึ่ง บีสองอยู่บ้างค่ะ  สำหรับสารเคมีที่มีประโยชน์ในตัวของมันคือตัวเบต้า-แคโรทีนค่ะ 

    

ผักกูดจัดเป็นไม้พันธุ์สกุลเฟิร์น ใครอยากจะรู้ว่าเขาจัดกลุ่มมันยังไง ให้ตามไปอ่านที่นี่ http://www.fernsiam.com/FernWorld/Taxonomy/Bleachnacaeae/Stenochaena/

ผักกูดเป็นเฟิร์นที่มีลักษณะเป็นกอ เอามาปลูกในบ้านเป็นไม้ประดับได้นะ มีรากแตกเป็นฝอยและเป็นกระจุก ส่วนรากและไหลคือส่วนที่ใช้แพร่พันธุ์  ส่วนใบจะใบของมันนั้นแตกเป็นคู่ขนานคล้ายขนนก การแตกเป็นคู่ขนานนี้จะแตกในแนวก้านใบไปตลอด ตรงยอดอ่อนและส่วนปลายของใบจะม้วนงอแบบก้นหอยและมีขนอ่อนๆ ส่วนนี้คือส่วนที่ผู้คนเอาไปใช้เป็นอาหารกินกัน ส่วนใบของมันแตกออกมาจากรากเหง้าที่อยู่ใต้ดินและยาวประมาณ 1 เมตร

ผักกูด  ผักกูด  ผักกูด

อย่างที่เอ่ยถึงแล้วว่าผักมีประโยชน์ในแง่ไฟเบอร์และให้วิตามิน จะกินผักกูดอย่างไร ปรุงเป็นอาหารใปในแต่ละเมนูอย่างไร ก็จะให้ประโยชน์ต่างออกไป  คือจะบอกว่า สำหรับจำพวกผักนั้น รูปของผัด ยำ แกง ต้ม ไม่ได้ให้ประโยชน์ทางอาหารเท่ากันทุกประการได้ค่ะ

ก่อนจบบันทึกนี้ก็ขอนำเอาเมนูผักกูดมาฝาก ตามไปอ่านที่นี่ดูนะค่ะ เป็นเมนูยำผักกูด 2 แบบค่ะ หนึ่งนั้นคนไทยปรุงกัน อีกหนึ่งนั้นพ่อครัวต่างชาติเขาปรุงขึ้นมาค่ะ

http://singburi.doae.go.th/acri/www/food/food104.htm

http://bangkokbiznews.com/jud/taste/20071201/news.php?news=column_25187521.html

อาเหลียงพูดถึงความอยากทำฝายแม้ว ก็เลยขอชวนไปเที่ยวชมหมู่บ้านจัดการน้ำ ที่ชื่อว่า หมู่บ้านผักกูดในจังหวัดมุกดาหารกันก่อนตกลงใจเรื่องการทำฝายของตัวเองค่ะ

http://www.mukdahan.go.th/king1.htm

 

 

 

 

« « Prev : ของฝากคนไม่ชอบกินผัก

Next : เส้นหลบ-เส้นแตกง่ายเกิดจากอะไร » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 Sasinand ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กันยายน 2008 เวลา 16:39 (เย็น)

    พืชผัก ก็มีดี มีไม่ดีเหมือนกัน อย่าทานซ้ำซากน่ะดีที่สุด และควรศึกษาก่อนกินอะไรด้วยนะคะ
    เช่นที่เขียนในลานเจ๊าะแจีะค่ะ

    มะรุมทำเป็นแกงส้มอร่อยมาก ทานบ่อยๆ ราคาก็ไม่แพง
    พืชมหัศจรรย์”มะรุม”
    มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae
    เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วน ทั้งยอด ดอก และฝักเขียว
    แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ
    ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก “ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม” ภาคเหนือเรียก “มะค้อมก้อน” ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก “กาแน้งเดิง” ส่วนชานฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก “ผักเนื้อไก่” เป็นต้น
    ผู้เฒ่าผู้แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม
    นิตยสารหมอชาวบ้านปีที่ 29 ฉบับที่ 338 มิถุนายน 2550

    ข้อควรระวัง ในคนที่เป็นโรคเลือด G6PD ไม่ควรรับประทาน การกินมะรุม อาจจะทำให้เป็นอันตรายต่อเม็ดโลหิตแดงอย่างมาก
    ส่วนตัวแล้ว มีความเห็นว่า ไม่ว่าอาหารอะไร ไม่ควรกินซ้ำซากอยู่อย่างเดียว นานเกินไป เพราะอาจจะดีในแง่หนึ่ง แต่อีกด้านหนึ่ง อาจมีผลไม่ดีได้ เช่น มะละกอ กินมากก็มือเหลืองไปหมด เป็นต้น

  • #2 BM.chaiwut ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กันยายน 2008 เวลา 16:59 (เย็น)

    ผักกูดต้มกะทิกับน้ำพริก. สุดยอด * * * * * (ห้าดาว)

    วันก่อนมีงานทำบุญบ้านญาติ มีผักกูดต้มกะทิกับน้ำพริก… เจ้าภาพเตรียมไว้เป็นหม้อโตๆ เป็นที่ถูกอกถูกใจบรรดาพระคุณเจ้าและญาติโยม เพราะว่ามีเพียงพอไม่จำเป็นต้องเกรงใจว่าของจะหมด (5 5 5…)

    เจริญพร

  • #3 หมอเจ๊ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 28 กันยายน 2008 เวลา 16:59 (เย็น)

    กินดี จึงมีความหมายที่ กินพอดี พอเพียง ยังไงละค่ะพี่ กินดี เพื่อให้อยู่ดี นี่คือความหมายของคำว่า “กินดี อยู่ดี” ที่แท้ค่ะ

  • #4 rani ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 กันยายน 2008 เวลา 13:13 (เย็น)

    สวัสดีคะพี่หมอเจ๊
    เพิ่งรู้ประโยชน์ อย่างละเอียดก็วันนี้นี่แหละค่ะ เวลาเดินทางไปเที่ยว เขามีขายตามรายทางก็มีชอบมากเหมือนกัน ซื้อทุกครั้ง ผักถ้าสด ๆจะมีรสหวานนิดๆ เคยทานเป็นยำด้วย ผัดด้วยคะ แต่ทุกอย่างมีคุณก็มีโทษ เลือกที่จำเป็นดีที่ทานแล้วเป็นคุณ ที่สุด ทุกอย่างอยู่ที่เราเลือกใช่ไหมคะ อิอิ
    อยากบอกว่าคิดถึงพี่หมอค่ะ แล้วเจอกันที่เชียงรายนะคะ

  • #5 สิทธิรักษ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 2 ตุลาคม 2008 เวลา 0:49 (เช้า)

    สวัสดีครับ หมอเจ๊
    ผมชอบผักกูดผัดน้ำมันหอย อร่อยดีครับ

  • #6 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 ตุลาคม 2008 เวลา 21:14 (เย็น)

    พวกมังสวิรัติอย่างพี่ ชอบนักครับ
    หมอไม่แนะนำให้พี่กินหน่อไม้และผักบางชนิดเพราะทำให้เป็นนิ่วอย่างน้องหมอเจ๊กล่าว
    เพราะจุดอ่อนของพี่คือเผลอๆจะเป็นนิ่วทันทีถ้าไม่ระวังการกินพืชผักต่างๆ ตอนนี้ก็กำลังเป็นที่ไต กำลังทานยาละลานตามคุณหมอป้าจุ๋มแนะนำครับ เดือน พ.ย.นี้ไปตรวจสอบดูผลครับ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่
You must be logged in to post a comment.

Main: 0.038431167602539 sec
Sidebar: 0.096451997756958 sec