เหลื่อมล้ำอย่างเท่าเทียม

โดย withwit เมื่อ 18 February 2012 เวลา 10:20 am ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1641

วันก่อน (ประมาณ ปลายมค. ๒๕๕) ผมเขียนบทความลงบลอกเรื่อง ” ทัวร์อีสาน เยี่ยมหมู่บ้านเสื้อแดง” ..มีท่านผู้อ่านรายหนึ่งเขียนถามในบอร์ดว่า ….อาจารย์คะ ถามจริงๆนะคะ ไม่ได้ลองภูมิหรือกวน..อาจารย์คิดอย่างไรกับคำว่าเท่าเทียมคะ และแท้จริงแล้วคนเราเท่าเทียมกันได้ในเรื่องใด และในเรื่องใดที่ยังไงก็ไม่เท่าเทียม

นานๆ..ผมจะเจอคำถามที่ “กวน” ซักที ..ผมชอบคำถามกวนๆ แบบนี้มาก วันนี้เลยขอตอบ เท่าที่สติปัญญาระดับ “อาจารย์” (อ้วก) จะคิดออก (ธ่อ..ผมอจ.วิดวะนะ ไม่ได้จบปัดยาหรือจิดวิดยามาจากไหน)

ตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ ถ้ามี”ความเท่าเทียม” ที่ไหน มันก็ไม่มีการไหล เช่น ถ้าไม่มีความแตกต่างของความสูง น้ำก็ไม่ไหล (จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ)  ถ้าน้ำไม่ไหลมันก็ขัง มันก็เน่าเหม็น

ถ้ามีความเท่าเทียมของอุณหภูมิร่างกายและสิ่งแวดล้อม มันก็ไม่เกิดการไหลของความร้อนจากร่างกายสู่บรรยากาศ คนเราก็จะตาย และเน่า ในที่สุด

ยังมีตัวอย่างอีกมาก…ผมสรุปว่า “ความไม่เท่าเทียม” เป็นสิ่งจำเป็นใน “การไหล”  ซึ่งเป็นพื้นฐานแห่งการดำรงชีวิต

 

เอาอีกตัวอย่างก็ได้ โลกเป็นบริวารของดวงอาทิตย์(แดด)  มีความไม่เท่าเทียมด้านความร้อน ซึ่งทำให้เกิดการให้แสงสวางแก่โลกเราจากดวงแดด  ทำให้เรามีชีวิตอยู่ได้ ถ้าโลกเท่าเทียมดวงแดด เราจะมีชีวิตจนมาคิดเรื่องความเท่าเทียมได้ไหม

 

ระบบ ชั้นวรรณะของอินเดีย ที่คนส่วนใหญ่ดูหมิ่นนั้น ความจริงมีอะไรดีๆมากนัก ส่วนระบบคอมมิวนิสต์ทิ่คิดกันมานั้น (และนิยมกันมากในหมู่ “ปันยาชน” ช่วงหนึ่ง) โดยหวังจะให้เท่าเทียมกันหมด  แล้ววันนี้อยู่รอดไหม  ที่อยู่รอดเห็นมีแต่พวกคณะกรรมการบริหารพรรค ที่อ้วนฉุ ใส่สูตนั่งห้องแอร์เย็นฉ่ำในรถลิมูซีนกันหมด

หมาในกับเสือ ใครจะอยู่รอดได้นานกว่ากัน ในขณะที่หมาไนหากินเป็นหมู่ มีหัวหน้าฝูงที่ได้สิทธิมากกว่าสมาชิกกลุ่มในหลายด้าน (โดยเฉพาะการได้กินก่อนใครจากการล่า)  ส่วนเสือเท่าเทียมกัน ต่างคนต่างหา   มด ผึ้ง ก็มีราชินี มีมดทหาร มดงาน  ส่วนแรม (แพะภูเขา) ตัวผู้ต้องออกกำลังชนกันให้หมด ผู้ชนะเลิศรอบสุดท้ายคือผู้แข็งแรงสุดที่ได้สิทธิในการผสมพันธุ์แพร่เสปิร์มออกไปให้ตัวเมียทุกตัวในฝูง

 

ส่วนต้นหญ้าดูเหมือนมีสิทธิ์เท่าเทียมกันหมดในการถูกแทะเล็มกินโดยกวาง เก้ง ควาย ซึ่งเป็นอาหารของเสืออีกต่อ

 

คนเราจะเลือกใช้โมเดล หญ้า ควาย แรม หรือ เสือ ดีล่ะครับ

 

อาจารย์วิดวะอย่างผมคงคิดได้แค่นี้แหละครับ หึหึ

 

…คนถางทาง (๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)

 

 

 

 

 

« « Prev : ปลูกป่าแก่น้ำท่วม..วิจารณ์นโยบายรัฐบาล๒

Next : รัฐบาลปล้นประชาชนแบบเงียบเชียบ? » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

7 ความคิดเห็น

  • #1 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 February 2012 เวลา 3:18 pm

    สัตว์โลกที่น่าสงสารที่สุดคือ …

    แรมที่ชนเขาชนะเลิศนี่แหละครับ ..โห.ต้องสืบพันธุ์กับตัวเมียทั้งฝูง ทั้งที่สวยน่ารัก และขี้เหร่น่าเกลียด กิริยามรายาทก็ทรามอีกต่างหาก แต่เขาก็ต้องทำหน้าที่ของเขา เพื่อความอยู่รอดของเผ่าพันธุ์ ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจาก “ความรัก” แต่รักในที่นี้คือ รักในเผ่าพันธุ์ ไม่ใช่รักส่วนบุคคล

    น่าทำวิจัยมากเลยว่า แรมผู้ชนะเลิศนี้ เขามีลำเอียงบ้างไหม เช่น แอบไปหาตัวเมียตัวหนึ่งใด “บ่อย” เป็นพิเศษ กว่าตัวอื่นๆ ถ้าใช่ เพราะเหตุใด

  • #2 bangsai ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 February 2012 เวลา 5:20 pm

    เห็นด้วยกับอาจารย์ครับ แต่คสามเท่าเทียมนั้นมีความหมายในอีกนัยหนึ่ง คือ ความเท่าเทียมที่เป็นนามธรรม เช่น สิทธิตามกฏหมาย นั้นย่อมมีความเท่าเทียมกัน ตามตัวหนังสือนะครับ

    ความเท่าเทียมกันในโอกาส เช่น ทุกคนที่บรรลุนิติภาวะแล้วเท่าเทียมกันในการไปลงคะแนนเสียงเลือกตั้งผู้แทน…
    ความเท่าเทียมกันในสิทธิการมีชีวิตอยู่ อันนี้เป็นหลักการสากลด้วยซ้ำไป…
    ความเท่าเทียมของหญิงชาย….ในการเข้ารับสมัครเลือกตั้งต่างๆ….

    แต่เท่าที่กล่าวมานั้นเป็น “หลักการ” ที่อ้างอิงกันมา แต่ในทางปฏิบัติจริงไม่เป็นเช่นนั้นเสนมอไป
    โดยเฉพาะ การแอบอ้าง เช่นต่างเชิดชูหลักการประชาธิปไตย และโจมตีเผด็จการ เพราะประชาธิปไตยเปิดกว้างสำหรับทุกคน(ในหลักการ) และโจมตีเผด็จการว่า (รวบอำนาจไว้ที่ผู้กุมอำนาจเท่านั้น)

    ทางการเมืองปัจจุบันชอบอ้างหลักการนี้ และตีให้เป็นเรื่องใหญ่ เขย่าให้ประชาชนเห็นคล้อยตาม แต่ในทางปฏิบัติ ระบบประชาธิปไตยนั้น ผู้มีอำนาจ มีเงินคือผู้ได้เปรียบในการทำอะไรต่อมิอะไร ไม่ใช่ความเท่าเทียมหรอก มัยลับลวงพรางต่างหาก ในทางตรงข้าม บางประเทศที่ปกครองด้วยระบอบเผด็จการคอมมิสนิสต์ หรือสังคมนิยม กลับเป็นเผด็จการเพื่อคนส่วนใหญ่ เพื่อคนยากจนก็มี

    ความเท่าเทียมมีในหลักการ แต่ในความเป็นจริงมันขึ้นกับคน…

    นี่เป็นมุมเล็กๆของความเห็นนะครับ ส่งผ่านความเห็นไปที่สาวท่านนั้นด้วยครับ อิอิ

  • #3 putarn ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 February 2012 เวลา 6:11 pm

    อาจารย์ตอบได้กวนแบบวิดวะดีค่ะ อ่านแล้วขำมากๆ ตกลงความเท่าเทียมไม่มีในโลกใช่ไหมคะ ที่ถามย้ำเพราะปกติก็คิดเช่นน้ันอยู่เสมอค่ะ

  • #4 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 18 February 2012 เวลา 6:33 pm

    พี่บางทรายครับ ความเท่าเทียม “ตามกฎหมาย” ที่พี่ว่ามานั้น มันร่างโดยใครครับ ส่วนใหญ่ร่างโดยคนที่มีความรู้ “สูงกว่า” ทั้งนั้น

    พระพุทธเจ้าเองยังยอมรับในความไม่เท่าเทียม เช่น แบ่งบุคคลเป็นปุถุชน โสดาบัน …อรหันต์ และบุคคลพึงกราบไหว้ (ทำอัญชุลีกรรม) ต่ออริยบุคคลเป็นต้น

    ระบบปชต. ก็ตลก ที่ไม่ให้เด็กมีสิทธิโหวตเท่ากับผู้ใหญ่ ทั้งทีเด็กจำนวนมาก ฉลาด กว่าผู้ใหญ่โง่ๆ ที่ขายเสียงเสียอีก

  • #5 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 19 February 2012 เวลา 11:55 pm

    สรอ. ดูเหมือนจะเป็นประเทศแรก ที่เน้นเรี่องความเท่าเทียม

    ประโยคแรกของเอกสารประกาศอิสระภาพจากอังกฤษ เขียนโดยโทมัสเจฟเฟอร์สันในปี คศ. 1776, คือ…

    We hold these truths to be self-evident, that all men are created equal, that they are endowed by their Creator with certain unalienable Rights,…

    นั่นก็เป็นไอดีลเอามากๆ แต่ในทางปฏิบัติสถานะทางการเงินมันก็แบ่งชนชั้นคนโดยอัตโนมัติดังที่รู้กันอยู่ ความเท่าเทียมทางกฎหมายที่พี่บางทรายว่ามาก็จริงอยู่ มันบัญญัติไว้จริง แต่คนรวยเขาเท่าเทียมมากกว่า เพราะเขามีเงิน “จ้างทนาย” ที่แพงกว่า ก็ได้ทนายที่เก่ง และชนะคดีมากกว่า (ทนายที่ usa แพงมากๆ คิดเป็น ชม. เช่น ชมละ 500 usd.)

  • #6 น้ำฟ้าและปรายดาว ให้ความคิดเห็นเมื่อ 20 February 2012 เวลา 6:44 pm

    อิอิอิิ เพราะส่วนตัวก็คิดว่าความเท่าเทียมที่ตะโกนกันอยู่ลั่นๆนั้นมันตลก มัน Ideal มากๆ

    ถ้ามองในแง่ของสิทธิตามกฎหมาย มันก็ไม่เท่าอยู่ดี อย่างข้าราชการถ้าทำผิดกม.ไม่ใช่โดนกฎหมายอย่างเดียวยังมีวินัยข้าราชการด้วย หรือถ้ารอดกม.แต่มีคนเล่นวินัยก็ผิดอยู่ดี ในขณะที่คนทั่วไปไม่ต้องโดนวินัยด้วย หรือสิทธิเลือกตั้งก็เหมือนกัน ทำไมเด็กๆไม่มีสิทธินั้น? ทั้งๆที่ในรร.ก็ให้เด็กเลือกประธานนร.เองตั้งแต่อนุบาล

    หรือความฉลาดของคนก็เหมือนกัน ไม่มีที่เท่าเทียมกันเป๊ะหรอกค่ะ ต่อให้ตัวเลขเท่ากันก็ตาม สถานะและความเป็นอยู่เป็นสิ่งที่เราควรยอมรับว่ายังไงก็ต่าง ลำดับพี่น้องก็ต่างในเรื่องสิทธิหน้าที่ แม้แต่เพศก็เหมือนกัน มะรึดกที่พ่อแม่จะให้ มักให้กับลูกหญิงหรือชายที่อยู่ด้วย?

    และถูกอย่างอาจารย์ว่านั่นแหละค่ะ ถ้ามันเท่ากัน มันก็ไม่ถ่ายเท เปลี่ยนแปลง แต่น่าสนใจในกรณีของสมการสมดุลย์ที่ 2 ข้างเท่ากัน (แต่ตัวแปรมันเปลี่ยนแปลงได้..หรือเปล่า?) แบบนี้จะเรียกว่าเท่าเทียมได้มั้ยคะ แล้วถ้าเปรียบกับสังคมตัวแปรในสมการที่ 2 ข้างเท่ากัน จะเปรียบเป็นอะไรดี หรือกฎการเท่ากันของสมการคือกฎหมาย?

  • #7 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 21 February 2012 เวลา 4:29 am

    เรื่องสมการของท่านน้ำฟ้าฯ น่าคิดครับ

    อีกอย่างคือความไม่เท่าเทียมนี่แหละ ที่เป็นพลังผลักดันสังคมให้ก้าวหน้าไปได้ จนคนจนก็มุมานะเรียน ทำมาหากิน จะได้ “เท่าเทียม” กับ คนรวยสักวันหนึ่ง มันเป็นพลังทำให้โลกเจริญ

    usa ตระหนักในพลังนี้มาก เขาจึงส่งเสริมให้เกิดระบบ สมองไหล จากชาติจนมายังชาติเขา ทำให้ usa กลายเป็นมหาอำนาจทุกวันนี้


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.45622181892395 sec
Sidebar: 0.33896017074585 sec