ปฏิบัติธรรม ๑๐…การเดินจงกรม (my way)

โดย withwit เมื่อ 3 August 2011 เวลา 7:59 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1800

 

 

สำหรับนักปฏิบัติธรรมนั้น นั่งสมาธินานๆแล้วมันเมื่อย เหน็บชา หรือ เบื่อ จิตตก  ก็อาจเปลี่ยนอิริยาบถ มาเดินสมาธิบ้างก็ได้  

 

ถ้าทำอย่างเป็นทางการก็เรียกว่าเดินจงกรม (ไม่รู้ว่ารากศัพท์มายังไงเหมือนกัน) เป็นการเดินกลับไปกลับมา ระยะทางยาวประมาณ 10 เมตร (จริงๆ มีกำหนดว่ายาวเท่าไรอย่างเป็นทางการแต่จำไม่ได้แล้ว)

 

วิธีเดินก็คือถอดรองเท้า มือประสานกันไว้ที่หน้าท้อง ตามองพื้นห่างจากปลายเท้าสักสองสามเมตร เดินไปสุดทาง เดินกลับ วนเวียนซ้ำอยู่แบบนี้ จะเรียกว่าเป็น พลสมาธิก็ได้ (dynamic meditation)

 

การเดินก็มีกันหลายรูปแบบ บางวิธีให้เดินช้ามาก  บางวิธีให้เดินช้า   บ้างให้เดินเร็วแบบเดินถนนธรรมดา

 

การเดินแบบช้ามากมักมาพร้อมกับสมาธิวิธี “ยุบหนอ พองหนอ”  พอเดินไปก็บริกรรม ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ

 

ส่วนผมไม่มีครู (ก็ดีไปอย่าง) จึงคิดวิธีเอาเอง (my way ..แบบฉัน) เป็นวิธีแบบเดินช้า (แต่ไม่ช้ามาก)  พอส้นเท้าจรดพื้น บริกรรมว่า  ”เกิดขึ้น”   พอลงเต็มฝ่าเท้า ก็บริกรรมว่า “ตั้งอยู่”  พอยกเท้าขึ้นตอนปลายนิ้วจะยกพ้นพื้น บริกรรมว่า “ดับไป”

 

 …เท้าซ้ายบริกรรม ..เท้าขวาบริกรรม…ทำไปเรื่อยๆ

 

เห็นว่า ทำแบบนี้จะเป็นการทำสมาธิและวิปัสสนาอ่อนๆพร้อมกันไป ที่ว่าเกิดขึ้นนั้นคือ เวทนา เกิด (เวทนา แปลว่าการรับรู้อารมณ์ ในที่นี้คืออารมณ์ที่เกิดจากการที่เท้าสัมผัสพื้นนั่นเอง เป็นอารมณ์กลางๆ ที่เรียกว่าอทุกขมสุข คือ ไม่ทุกข์ไม่สุข)  ตั้งอยู่ ก็เวทนาตั้งอยู่ ดับไป ก็เวทนาดับไป เพราะเท้าไม่สัมผัสแล้ว ก็ไม่มีเวทนา

 

พอเอนดอร์ฟินหลั่ง จะมีความสุขจากการเดิน จนลืมวันเวลาไปก็มี เหมือนนักกรีฑาลู่ วันไหนไม่ได้ออกมาวิ่งซ้อมก็หงุดหงิด มันเหมือนกับการขาดอะไรไปสักอย่าง ..อันนี้เรียกว่า วิปัสสนูกิเลส (กิเลสจากการทำวิปัสสนา)  ความจริงแล้วไม่น่าเรียกชื่อนี้ ควรเรียกว่า “สมถะกิเลส” เสียมากกว่า เพราะการทำวิปัสสนานั้นเป็นการฝึกปัญญาไม่น่ามีกิเลสนี้ แต่การฝึกสมถะ (เอาแต่สติ ความสงบ ไม่ฝึกปัญญา) มักจะเกิดความสุขประหลาดเหล่านี้

 

 

…คนถามธรรม (๓ สค. ๕๔)

 

« « Prev : ปฏิบัติธรรม ๙…กลเม็ดเพื่อทำสมาธิให้ได้ผลเร็ว

Next : ปฏิบัติธรรม ๑๑…จะบรรลุธรรมต้องฟันฉับที่ the weakest link ของห่วงโซ่ปฏิจจสมุปบาท » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

6 ความคิดเห็น

  • #1 sutthinun ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 August 2011 เวลา 8:15 pm

    อยากจะนอน จงกรม บนรถไส 5555

  • #2 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 3 August 2011 เวลา 8:26 pm

    อย่างนั้นน่าเป็น นอนจงก”ล”ม นะบาท่าน ๕๕
    ให้ได้สามรอบเท่านั้น ก่อนนำสู่ อนัตภาพ อิอิ

  • #3 Nothing ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 August 2011 เวลา 12:44 pm

    แล้วถ้าเราหยุดระหว่างเดิน เช่น หยุดพักเหนื่อย เราจะำกำหนดยังไงครับ?

  • #4 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 August 2011 เวลา 5:39 pm

    ถ้าใช้บริกรรมแบบ ยุบหนอ พองหนอ ก็น่าบริกรรมว่า “ยืนหนอ” นะครับ

    ถ้าใช้ระบบ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อาจกลับมาที่ลมหายใจ กำหนดลมหายใจเข้าออก พร้อมบริกรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แบบนั่งสมาธิครับ

    ความจริงดีนะครับการหยุดเดิน เปลี่ยนเป็นยืนเฉยๆ เช่น ตอนเดินสุดทาง อาจยืนเฉยๆ แม้ไม่เหนื่อยก็ตาม เป็นการยืนสมาธิ ..ส่วนตอนหมุนวนตัวกลับ ก็อาจเพ่งไปที่อาการหมุนตัว ก็ได้อารมณ์สมาธิในทุกอิริยาบท

    การบริกรรม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป นี้ผมเพิ่งคิดได้ไม่นานนี้ ลองปฏิบัติดูแล้ว ดีมากๆ ครับ สมาธิเกิดไว้ แถมได้ปัญญาแว่บๆ ไปพร้อมกัน นี่ถ้าคิดออกแต่เมื่อ 20 ปีก่อน?

  • #5 Nothing ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 August 2011 เวลา 7:23 pm

    ขอบคุณครับ จะน้อมนำไปใช้ดู ยังเพิ่งเตรียมอนุบาลอยู่เลยครับ
    ถ้าคิดออกเมื่อยี่สิบปีก่อนจะเป็นอย่างไร? แล้วตอนนี้ไม่ทันแล้วหรือครับ?

  • #6 withwit ให้ความคิดเห็นเมื่อ 4 August 2011 เวลา 10:35 pm

    ผมเคยพูดล้อเล่นไว้แล้วว่าจะพาต้วเองกลับไประดับเก่าที่เคยทำได้ ได้ทันก่อนลาโลกไหม อย่าว่าแต่ถึงฝั่งเลย ไม่เป็นไรครับ อย่างน้อยก็สะสม โมเมนธรรมไว้ อิอิ

    ช่วงนี้มีอาการแปลกๆ หลายครั้ง คือ ถูกดูดให้ไปเข้าสมาธิโดยอัตโนมัติ แบบที่เราไม่ได้มีเจตนา ก็เลยนั่งทำบนเก้าอี้ทำงาน เดี๋ยวมีคนมาหาก็ออกมา แล้วก็เข้าใหม่ เป็นเวลาครึ่งวัน (คอรัปชั่นเวลาทำงานหรือเปล่าเนี่ย :-) (ถ้าเป็นชาวคริสต์อาจเชื่อไปแล้วว่าพระเจ้ามาส่งข่าว จะให้เป็น messenger)


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.39075684547424 sec
Sidebar: 0.24094319343567 sec