เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์???

โดย withwit เมื่อ 29 January 2011 เวลา 9:27 pm ในหมวดหมู่ ไม่ได้จัดหมวดหมู่ #
อ่าน: 1997

คิดให้ดีก่อนทำ…การเมืองภาคประชาชน
คำว่า “การเมืองภาคประชาชน”  นั้น กลายเป็นมนต์ตราศักดิ์สิทธิ์ที่กลุ่มคนทุกฝ่ายต่างยกอ้างเพื่อประโยชน์แห่งกลุ่มตนเสมอมา อย่างน้อยก็ตั้งแต่เมื่อประมาณสักพศ. ๒๕๔๘ เป็นต้นมา

ผมถามก่อนว่า “การเมือง” คืออะไร และ “ประชาชน” คืออะไร และทำไมต้องเอาคำสองคำนี้มาสนธิกันด้วย

ถ้าไม่เข้าใจความหมายของคำสองคำนี้อย่างถ่องแท้ แล้วยังมั่วเอามาสนธิกันแบบนี้ ก็ยิ่งจะไม่เข้าใจกำลังสอง ซึ่งอาจ ทำความเสียหายให้สังคม ชาติ ได้มากทีเดียว

คำว่า การเมือง นั้น ผมว่ามันต้องมี ภาคประชาชน มาเกี่ยวข้องโดยปริยายอยู่แล้ว ไม่งั้นก็ไม่น่าเรียกได้ว่าเป็น การเมือง เพราะ เมือง ไม่อาจมีได้ถ้าไม่มี พลเมือง (หรือประชาชนนั่นเอง)

สรุปคือ ประชาชน คือ พลเมือง นำสู่การเมือง ซึ่งก็ต้องเป็นการเมืองภาคประชาชนโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว

ดังนั้น การเมืองภาคประชาชน ที่กำลังเห่อกันอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ กลไกทางการเมืองที่ซ้อนการเมือง(ภาคประชาชนโดยอัตโนมัติ)อีกต่อ ก็ยิ่งวุ่นวายกันไปหนัก จนไม่รู้ว่า ประชาชนที่เลือกตั้งนักการเมืองมา กับประชาชนที่ไม่ยอมรับนักการเมืองนั้น ภาคไหนถือกันว่าเป็น “ประชาชน” มากกว่ากัน  (ธรรมศาสตร์รักกัน ๆ …”เหลืองแดงครองใจ ซึ่งในน้องพี่”  ที่ห้อมล้อมด้วย  “รั้วแดงกำแพงเหลือง”  ใกล้สพานมัฆวานรังสรรค์ …เพลงสุนทราภรณ์)

ผมได้สรุปเป็นบทความหลากหลายมานานแล้วว่า ประชาชนไทย ต่างจาก ประชาชนฝรั่ง แบบฟ้ากะเหวก็ว่าได้ แต่ทำไมไทยเรา (ที่เป็นฟ้ามานาน) กลับต้องไปลอกเอาระบบการเมืองเหวๆ แบบฝรั่ง มาใช้ด้วยเล่า

จากนั้นผมได้เคยบัญญัติศัพท์ไว้ว่า “คุณภาพ คือ ภาพที่เป็นคุณ”

วันนี้เราเชื่อกันว่า การเมืองที่ดีคือการเมืองคุณภาพ ที่ต้องมี “ภาคประชาชน” คอยตรวจสอบ และคานอำนาจ

โดยเราเอง ในฐานะประชาชน”คนหนึ่ง” ก็ยังคง งงๆ อยู่ว่า การเมืองคืออะไร คุณภาพคืออะไร และ ประชาชนคืออะไร  และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ดี” คืออะไร   ถ้ายังงงตามที่ว่ามานี้ก็น่าจะมีการทำ “ประชา” พิจารณ์แล้วให้โหวตการเสียก่อนดีไหม ..เอ้าใครเห็นด้วย “ไม่ต้อง” ยกมือ

ก่อนที่จะไปสมาทานปชต.  เราน่าจะให้นิยามของคำเหล่านี้ได้อย่างสมบูรณ์ ปราศจากข้อขัดแย้งของทุกฝ่าย  ซึ่งนิยามเหล่านี้นั้น เราต้องตกลงกันให้ดีเสียก่อน ถือเป็นบันไดขั้นแรกที่สำคัญยิ่ง ก่อนที่จะก้าวบันไดขั้นต่อไป 

อุปมาเช่น รัฐบาลทุกชุดต่างเน้นการ “พัฒนา” โดยไม่รู้ว่า พัฒนา คืออะไร ดังนั้นยิ่ง พัฒนามากเท่าไร ประชาชน ก็ยิ่งยากจนเพียงนั้น

 

ลองไปคิดดูเถิด ส่วนใหญ่ เราทำอะไร เราเองยังไม่รู้คำจำกัดความของมันเลย อย่าว่าแต่ทำแล้วมันจะส่งผลข้างเคียงกว้างไกลอย่างไร

…สองชาติ ใจเต็ม (๑๕ ตค ๕๓)

 

« « Prev : ขอมสยามเขมร..(๒)..หลักฐานเพิ่มเติม

Next : ขอม สยาม เขม ทฤษฎีใหม่ (๓)..หลักฐานด้านภาษาและสีผิว » »


ผู้ใช้ Facebook สามารถให้ความเห็นที่นี่ได้ โดยกด Like เพื่อแสดงตัว

2 ความคิดเห็น

  • #1 สาวตา ให้ความคิดเห็นเมื่อ 30 January 2011 เวลา 1:53 pm

    5555…อาจารย์ชวนให้กำหนดนิยามหรือคำจำกัดความอีกคนแล้ว…อย่างนี้ต้องไปชวนหมอจอมป่วนมาแลกเปลี่ยน…กำหนดนิยามแล้วได้อะไร..อิอิ

    ในความเห็นส่วนตัวนั้น มองว่า “การเมือง” อยู่ในตัวคนทุกคนและทุกเวลา และเมื่อไรมันแสดงออกมาแล้วส่งผลต่อสังคม จะมากหรือน้อยก็ตาม นั่นแหละคือการเมืองละคะ ไม่ว่าใครจะมีอาชีพอะไรก็ไม่เกี่ยว

  • #2 ทวิช จิตรสมบูรณ์ ให้ความคิดเห็นเมื่อ 31 January 2011 เวลา 3:21 pm

    นิยาม สำคัญที่สุดเลยครับ เช่น ความจน คืออะไร ถ้ายังไม่รู้แล้ว”นักการเมือง” ไปช่วยแก้จน บ่อยครั้งยิ่งจนลงไปกว่าเก่า ทั้งที่มีรายได้มากกว่าเดิม

    การเมืองนั้น ผมว่ามันต้องมีขีดจำกัด ไม่ใช่ว่าปชช. จะต้องไปยุ่งทุกเรื่อง ก็ไม่ต้องทำมาหากิน หรือ ฟังเทศน์ฟังธรรมกันพอดี ขอบเขตเส้นแบ่งระหว่าง ปชช. และ นักการเมืองอยู่ตรงไหนดีละครับ

    ไม่งั้นมันป่วน เลือกเข้าไปแล้วก็ไปเดินขบวนไล่เขาออกอยู่เรื่อยๆ


แสดงความคิดเห็น

ท่านอยากจะเข้าระบบหรือไม่


*
To prove you're a person (not a spam script), type the security word shown in the picture. Click on the picture to hear an audio file of the word.
Click to hear an audio file of the anti-spam word


Main: 0.36017394065857 sec
Sidebar: 0.10799789428711 sec