รู้ทันลุงโฮ
ลุงโฮ จะเป็นคนเดียวกับ ลุงแก่งตา ในเพลงไทยดำรำพันหรือไม่ คงต้องรอผลวิจัยสักหน่อย แต่ผมขอตั้งข้อสังเกตลุงโฮต่อว่า ท่านมักแต่งงานกับสาวต่างพันธุ์เพื่อเหตุผลทางการเมือง ภรรยาคนแรกของท่านเป็นหญิงจีน เพื่อนพ้องร้องด่ากันขรม แต่ท่านก็ไม่ฟัง เพราะท่านต้องการกำลังทหารจีนมาช่วยกู้ชาติ ทั้งที่ก็เกลียดจีนยังกะขี้
ท่านบอกเพื่อนว่า ข้ายอมดมขี้จีนสิบปีดีกว่ากินขี้ฝรั่งเศสไปตลอดชีวิต (สุดยอดอุปมา) …แล้วท่านก็ได้กองกำลังทหารจีนมาช่วยจริง ในการรบที่เดียนเบียนฟู (เมืองแถนของไทยดำ)
ทหารอีกส่วนหนึ่งคือทหารไทยดำนี่เอง ..ท่านเอามาจากไหนหรือ ? ..ผมว่าเอามาจาก “เมีย” อีกแล้ว คือเมียคนที่สอง (หรืออาจที่มากกว่านั้น เพราะลุงโฮนี่เจ้าชู้เอาการทีเดียว) ที่เอาเมียเป็นคนไทยดำ ผมเดาว่า หาเมียการเมืองอีกแล้ว คือต้องการมัดใจคนไทยดำ เอามาเป็นพวกในการกู้ชาติ
ทำไมลุงโฮเลือกเอา เมืองแถน เป็นเมืองแรกในการรบกับฝรั่งเศส มันน่าคิดมากๆ
ผมเดาว่าลุงโฮไม่อาจรวมกำลังคนเวียตได้ เลยเอากำลังคนไทยดำนี่แหละมาช่วยรบ ผสมกับกำลังจีน โดยอาจปลุกระดมคนไทยดำว่ารบเอาเมืองไทยคืน อาจจะพร้อมคำสัญญาว่า ชนะแล้ว จะยกให้เป็นประเทศไทยดำไปเลยก็เป็นได้
และนี่คือต้นเค้าที่ผมเดาจากเนื้อเพลงไทยดำว่า “ลุงแก่งตา ท่านส่างสา บ้านเมืองไว้ให้” ถ้าลุงแก่งตา คือ ลุงโฮ แล้ว ส่างสา คือ สัญญา ก็แปลได้ว่า ลุงโฮท่านสัญญาบ้านเมืองไว้ให้ (สัญญาตอนจะเข้าตีเมืองแถนนั่นไง)
การรบชนะที่เดียนเบียนฟู คือ บันไดขั้นแรกที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เวียตนามได้เอกราชจากฝรั่งเศส
เท่ากับว่าคนไตแต้ๆที่นำเอกราชมาให้แก่เวียตนาม
เรื่องแบบนี้นักประวัติศาสตร์ไทยหัวทื่อคิดกันไม่ออกหรอก กลับคิดไปแต่จะยกเขมรให้เป็นขอมอยู่นั่นแหละ (เช่น ดร. ชาญวิทย์ ดร. นิธิ)
..คนคลำถาง (๒๗ มิย ๕๔)
« « Prev : คนไทยมาแต่ไหนกันแน่ (สรุปกันได้เสียทีแล้ว)
Next : พิเรนได้ใจ..พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนไทย » »
3 ความคิดเห็น
ห้า ห้า ห้า อาจารย์บทนี้เป็นนักประวัติศาสตร์เยี่ยมเลยครับ
พี่บางทรายครับ ผมว่าประวัติศาสตร์มันสนุกมากครับ เสียแต่ว่ามันต้องค้นมาก และคิดมากด้วย เรื่องคิดพอไหว แต่เรื่องค้นเหลือวิสัยครับ โชคดีที่วันนี้มันมาให้ค้นอยู่ปลายนิ้ว ก็พอได้อาศัยครับ
แต่เรื่องขอมนั้นผมอ่านหนังสือเป็นสิบเล่มนะครับ ผนวกกับ อินเตอร์เน็ตเข้าไป สักวันผมจะเขียนรวมเล่มให้จงได้ มีอ้างอิง เชิงอรรถให้มันดูเป็นวิชาการน่าเชื่อมากกว่าวาดมวยวัดแบบที่ผ่านๆมา
เห็นด้วยครับ ประวัติศาสตร์บอกอะไรเราเยอะ โดยเฉพาะรากเหง้าของบรรพบุรุษที่พยายามส่งต่อจิตวิญญาณมาให้ลูกหลานนะครับ