เห่อหรั่ง ระวังเมร็ง (กินแบบไต ไร้เมร็ง)
แอ่วล้านนาครานี้ ได้ข้อดีและความคิดหลายหลาก ที่อาจเป็นประโยชน์ต่ออนาคตชาติไทย
โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์เรา
(หนึ่งในสี่พยางค์แห่งสุภาษิตสำคัญของอีสาน นั้น คำว่า “กิน” มาก่อนใครเพื่อน …อิอิ)
เพราะ_ ยูอาว๊อดยูอิ๊ด_ (ดังที่คูปูแห่งเมืองสุราดตอกย้ำอยู่สะเหมอ)
แม้หมอเบิร์ด ณ แม่กก จะเตือนว่าอย่ากินลาบลู่เด็ดขาด แต่เรามันคนตะแบงที่อยากลองกินมา 20 ปีแล้ว พลันที่เห็นมีขายที่ริมแผงลอยริมโรงแรมราคาแสนไม่แพงริมถนนรอบเมืองเจียงนิว ก็เลยซื้อมาลองชิมดู
มีลาบหลู้ (เลือดสดๆ) หมกสมองหมู (แอบอ่องออ) เป็นต้น ต้องสารภาพว่ามันอร่อยพอควร (นี่ขนาดกินแต่ปาก แต่ใจไม่กินนะ)
โปรตีน คือ อะไร คนไทยไม่เคยรู้ แต่พอฝรั่งมันบอกว่าดี
ก็กินตามมันไปเหมือนสัตว์ที่ถูกจูง
นอกจากนี้มันยังโยนศัพท์พิสดารมาให้นักวิชาการไทยเรา เอามาช่วยโฆษณาต่อ
เช่น ไนอะซิน ไทอะมีน เบต้าแคโร(ส้น)ตรีน …ที่มีมากในแครอท บรอคคอลลี่ และ เก้าลอเก้า
มันเอารูปโครงสร้างทางพันธะเคมีมาขู่หน่อยเดียว นักวิชาการไทยก็ค้อมหัว กราบสามรา แล้วไปออกรายการทีวี ที่สปอนเซอร์โดยบริษัทขายอาหารฝรั่ง ชี้นำคนไทยทั้งประเทศว่าให้กินตามมัน
ปล่อยแม่กระถินริมรั้ว แคหน้าบ้าน ยอริมหน้าต่าง ให้เฉาตาย ทั้งที่มีวิตามินมากมาย (วิเคราะห์โดยเครื่องมือทันสมัยจากเมืองฝาหรั่ง)
ประวัติศาสตร์อาหารและการครองโลกที่น่าสนใจคือ บริษัทฝรั่งผลิตนมเหลือทิ้งมากมาย เมื่อประมาณพศ. ๒๕๐๐ แต่แทนที่จะเผาทิ้งก็เลยปิ๊งไอเดียว่าเอามาแจกให้คนไทยกินจะดีกว่า แถมโฆษณาโดยอ้อมว่า ถ้าอยากเจริญแบบฝรั่ง ก็ให้กินนมวัวแบบฝรั่งสิ
And the rest is history.
วันนี้ได้มีโอกาสกินอาหารพิสดารอีกมากหลายที่ลำพูน เช่น ต้มขม (ขี้วัวอ่อนผสมน้ำดี) …ยอมรับว่าอร่อยมาก ขนาดทำใจว่าจะอ้วกไว้ล่วงหน้า
หมกเห็ดถอบ (หรือเห็ดเผาะในภาษาภาคกลาง)
..แกงผักเชียงดา (แม้เค็มไปหน่อย สู้แกงตูนที่ออกเปรี้ยวนิดๆ ที่ได้กินเมื่อมื้อกลางวันไม่ได้ แต่ก็เอาไปเกรด B )
แกงฺฮังเล พื้นๆ กลายเป็นอร่อยมาก ที่เปลี่ยนรสชาติจาก ที่เผ็ดๆ เค็มๆ มาเป็นหวาน ๆ เสียบ้าง
มาแอ่วเหนือวันนี้ ผมได้ทั้งธาตุอาหาร ความอร่อย พร้อมมิตรภาพเปี่ยมล้น
คนมีบุญเท่านั้นแหละ จึงจะได้มีโอกาสเช่นนี้
แต่คิดกันบ้างไหมว่าคนไทยเราก็มีโอกาสแบบนี้กันทุกคน
แต่บางคน ไม่”ฉวย” โอกาสให้เหมาะเหม็ง
เลยต้องกินอาหารเปี่ยมมะเร็งกันต่อไป ตามที่นายฝรั่งชี้นำ
…คนถางทาง
« « Prev : บทที่ไทยไม่เคยเรียนจากการเสียดินแดนให้ฝรั่งเศส
Next : กลับตาลปัตร (๑๙)…บวชชีภิกษุณี » »
6 ความคิดเห็น
อาจารย์ค่า…อาหารอาณานิคมเลยยังไม่ได้กินเน๊อะ …ตะแรกนึกว่าจะพาไปกินอาหารอาณานิคม เช่นไอติมมะเกี๋ยง รสโปรดปรานของครูบาและหมอจอมป่วน…อิอิ
ใช่..ได้ยินแว่วๆว่า เจอเบ็ด เคยจำได้ตอนหนุ่มๆว่ามันป็นอย่างไร แต่ตอนนี้กึ๊ดบ่ออก ว่ามันเป็จะได๋ เอ้อ..cherbet หรือ sherbet หรือ shirbet สะกดจะได๋ก็จ่ำบ่ถืกแล้ว
อดกินอาหารอาณานิคม แต่ว่าได้พรรณไม้มันสาคู สาเก และอีกอย่างจำชื่อบ่ได้แล้ว จากครูรามและครูอึ่ง
ต้นที่อาจารย์บอกว่ารสชาติเหมือนแฮก ชื่อ โปร่งฟ้า. ค่า ^^
แมน..โปร่งฟ้า เฮ้อ ความจำเรา
ผมยังวิจารณ์ว่า ชื่อซ้ำกับโปร่งฟ้า อีกพันธุ์หนึ่ง ซึ่งใบเขาจะเป็นความหนาความบางต่างกัน ตรงส่วนบางมองเห็นทะลุฟ้า เข้ายาหลายอย่างเสียด้วย (ฤษีเพื่อนกันสอนไว้นานแล้ว)
และเอ้อ..ขอบคุณหลายๆเด๊อครับ ที่ให้การต้อนรับและเลี้ยงดูจนพุงไม่ยอมหุบ หลงมาอังกอร์ราชเมื่อไหร่ จะพาไปกินต้มเพลี้ยแม่มูนเป็นการตอบแทน อิอิ
กินผักพื้นบ้านปลอดภัย สบายใจด้วยครับ เพราะปลูกง่ายแมลงไม่ชอบหรือแมลงอาจจะหาไม่เจอเพราะเขาปลูกตามขอบริมรั้วกันไม่ เหมือนผักสามัญประจำตลาดที่แมลงชอบ ปลูกทีละเยอะๆแมลงก็รุมกัดกิน ชาวสวนก็เลยประเคนยาฆ่าแมลงใส่ วันก่อนเป็ดผมตายหมดเลย เพราะกินเศษผักกาดขาว กะหล่ำดอก
สุขภาพดีแน่ๆครับ กับผักที่ได้มีโอกาสพาอาจารย์ไปชิม เช่นแกงตูน ลาบ ผักเซียงดา สระแหน่ ผักแพว อ้มกบ โปร่งฟ้าก็ไม่มีแมลงรบกวน ยินดีที่ได้ต้อนรับอาจารย์
ถือเป็นบุญปากผมที่ได้กินที่ร้าน และเด็ดกินที่สวนโรงเรียนอีกหลายใบ