ม๊อง เท่ง ม้อง ง ง

อ่าน: 2649

(เจ้าสำนักอารมณ์ดี)

เล่าต่อจากช่วงแรกนะครับ ..กว่าเราจะออกจากห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาได้ ก็ล่วงเลยกำหนดเวลาไปมากพอสมควร เดิมเราจะไปตั้งแค้มป์ทำอาหารเลี้ยงกันที่บ้านของท่านจอหงวนในตอนบ่าย แต่เรื่องที่อาจารย์บรรยายน่าสนใจจนยากที่จะแกะตัวออกมาได้ ยังมีเรื่องที่ต้องขอคำแนะนำอีกพะเรอ กว่าขบวนแม่งูเอ๋ยมาถึงบริเวณแสดงฝีมือแม่ครัวหัวป่าส์ พระอาทิตย์ก็ใกล้ลาลับโลกไปแล้ว ช่วงเวลาแดดล่มลมตกจึงคล้อยเคลื่อนไปเป็นเวลาตะวันตกดิน

อ่านต่อ »


ต๋อม ต๋อม ต๋อม..

อ่าน: 2583

(ถ่ายภาพจากมุมมองห้องพัก)

การที่เราไปเมืองหนึ่งเมืองใด สิ่งดึงดูดความสนใจของเราคงแตกต่างกันตามจริตหรือเป้าประสงค์ของที่ละกลุ่ม ส่วนผมมองไปที่ตัวคนเป็นอันดับแรก ความรู้ในตัวคนดีคนเก่งมีอานุภาพยิ่งนัก มันเป็นประจุพลังที่สร้างสรรค์ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าสามารถเอามาใช้ประโยชน์กับคนเบี้ยน้อยหอยน้อยได้ จะเป็นรายการร่วมด้วยช่วยกันทั้งแรงวิชาการและวิชาเกิน

แต่จะเกิดสิ่งเหล่านี้ได้ คงประกอบด้วยแรงใจเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันก็ซ่อนความหวังเล็กๆไว้ว่าถ้ามันจะนำไปสู่การปฏิบัติในวงกว้าง ก็จะช่วยพัฒนาการไปสู่ขั้นตอนที่สูงขึ้น บ้ า น เ มื อ ง มี เ รื่ อ ง ที่ ห า คำ ต อ บ ยั ง ไ ม่ เ จ อ อี ก ม า ก เมื่อทราบว่ามีผู้ทุ่มเททำงานด้วยจิตวิญญาณของนักวิจัยที่ไม่เคยท้อ จึงใจจดใจจ่อตั้งแต่ไม่เห็นหน้าค่าตา

จะเกิดเรื่องเช่นนี้ได้ไม่ใช่จะง่ายนะเธอ

ถ้าสวรรค์ไม่มีตา

ส่งท่านจอหงวนมาเป็นทูตต่อสายตรง

ทำให้คณะเราได้มีโอกาสเข้าไปเรียนรู้เรื่องพิเศษ

ในบรรยากาศพิเศษจากบุคคลพิเศษ

ธรรมดาที่ไหนเล่า

(อาจารย์บริการความรู้ให้แก่คณะเราอย่างเต็มที่)

ยามใดมีโอกาสได้พบผู้ที่ขลุกอยู่กับการเจาะหาตัวความรู้ ผมจึงตื่นเต้นนัก เหมือนปลากระดี่ได้น้ำ การจัดทีมเฮย่าโมคราวนี้ผสมผสานกันหลากหลาย มีทั้งนักวิชาการ-นักวิชาเกิน-นักธุรกิจ-นักปฏิบัติระดับรากหญ้าตัวจริง-และผู้สนใจใคร่รู้ที่เป็นสมาชิกใหม่ แม่ใหญ่มากับคุณลูกสาว ตั้งอกตั้งใจที่จะมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เต็มที่ ส่วนในกลุ่มชาวฮาหน้าเดิมก็รู้กันอยู่แล้ว จึงไม่ต้องห่วง ส..... ถ้าไม่ดูแคลนผู้ผลิตความรู้ วิชาความรู้ใหม่ๆก็จะเปิดประตูให้เราเข้าไปสัมผัส

ถนนทุกสายมุ่งบ้านย่าโม คณะส่วนใหญ่เดินทางมาถึงและทยอยเข้าที่พักไล่เลี่ยกัน รอทีมขอนแก่นที่มีอาว์เปลี่ยนติดต่องแต่งมาด้วย คณะฯมาถึงบ่ายสามโมงนิดหน่อย เรารีบต้อนรับแบบกระชับ ป้าหวานและคณะยิ้มได้ครึ่งเดียว กอดครึ่งกอด ทักทายกันครึ่งจังหวะ ท่านจอหงวนที่มารอรับอยู่แล้วบอกว่า..

เราเคลื่อนพลกันเถอะ อาจารย์รออยู่

จะเห็นว่าเวลาเพื่อการเรียนรู้นั้นสำคัญยิ่งนัก

รถเคลื่อนตามกันไปเป็นงูกินหาง

แม่งูเอ๋ย กินน้ำบ่อไหน?

กิ น น้ำ บ่ อ สุ ร น า รี . .

(นักวิทยาศาสตร์ ผู้อุปการะความรู้ในครั้งนี้)

ชาวเฮไปถึงหน่วยวิจัยเชื้อจุลินทรีย์ฯ ถ้าพูดแบบชาวบ้าน..ก็เหมือนเจ้าบ้านจูงเราเข้าไปนั่งกลางบ้าน เมินห้องรับแขกหรือพิธีการให้เยิ่นเย้อ..ไปนั่งอยู่ท่ามกลางเครื่องไม้เครื่องมือที่เต็มไปด้วยหลอดแก้วและอุปกรณ์ละลานตา เป็นการเรียนรู้ในสภาพจริง มีจอLCD.กางอยู่ เกริ่นแนะนำกันนิดหน่อย ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง แห่งโครงการสาขาวิชาจุลชีววิทยา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อาจารย์ฉายภาพขึ้นจอพร้อมกับเรียงรายสิ่งที่เตรียมบรรยายให้เราเป็นการเฉพาะ เล่าถึงกระบวนการทำงานที่พอเหมาะกับกึ๋นของพวกเรา ให้เห็นว่าวิชาจุลชีววิทยา คิด-ทำอะไร และกำลังทำอะไรต่อๆไป

ตรงจุดนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญอย่างยิ่ง

ที่บทบาทของมหาวิทยาลัยถ่ายเทความรู้ลงไปสู่ภายนอก

เป็นกรณีตัวอย่างการขยายผลสิ่งที่โลดเต้นออกจากหลอดแก้ว

กระตุ้นแก่นความรู้ให้แตกออกไปเหมือนตัวจุลินทรีย์

เพื่อจะเชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้เป็นวงจร

เกิดเกลียวความรู้ไปปลุกกระแสสังคมไทยให้ตื่น

แทนที่จะอยู่ในกรอบเฉพาะการสอนนักศึกษาในห้อง หรือส่งผลวิจัยกับหน่วยงานที่ให้ทุน หรือมอบให้กับภาคธุรกิจเอกชนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ถ้าเปิดกว้างให้คนทั่วไปที่สนใจได้รับรู้บ้าง คำว่าสังคมอุดมปัญญาก็จะไม่ได้เป็นเพียงคำพูดให้ดูดี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ เ ป็ น ก า ร เ ริ่ ม ต้ น เ พ า ะ ห น่ อ อ่ อ น ส ติ ปั ญ ญ า  ที่ไม่ดูแคลนว่า..คนนอกจะรู้เรื่องอะไร จะรับวิชาการชั้นสูงได้ไหม จะไม่เสียเวลาหรือ จะเกิดประโยชน์ตรงไหนอย่างไร?

สิ่งที่อาจารย์ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง อธิบายเรื่องราวของการทำงาน ว่าอาจารย์ไปเก็บตัวอย่างจุลินทรีย์จากแหล่งที่ทำปลาส้ม ทำน้ำปลา ทำเชื้อเหล้าพื้นเมือง มาวิเคราะห์ให้เห็นจุดตั้งต้นว่า..ท่านเริ่มที่เรื่องติดดิน เมื่อได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แล้ว ก็นำผลดีที่พบไปแก้ไขให้กับอุตสาหกรรมน้ำปลา ปลาส้ม ฯลฯ ไปพัฒนาจุดด้อยที่อันตรายให้เกิดความปลอดภัยในวงกว้าง

ส่วนเรื่องใหญ่ๆระดับอภิมหาจุลินทรีย์นั้น ท่านอาจารย์ค้นพบเชื้อจุลินทรีย์ตัวใหม่ครั้งแรกในโลกด้วยตนเองถึง200ตัว ถ้าเทียบกับคำว่าน้ำหยดลงหิน กว่าหินจะกร่อนอย่างไร การค้นพบเชื้อจุลินทรีย์ตัวใหม่ของโลกคงยากและซับซ้อนมากกว่านั้น นักวิจัยต้องนั่งส่องกล้องดูความเป็นไปของเชื้อแต่ละตัวนับพันนับหมื่นๆครั้ง ถ้าไม่รัก-ไม่ศรัทธา-ไม่รับผิดชอบ-ไม่กระหายใคร่รู้-ร ะ ดั บ ค น บ้ าเจ้าตัวเล็กที่บางทีต้องใช้กล้องขยายเป็นล้านเท่า ไม่มีทางที่จะได้พบได้รู้จักอานุภาพรอบด้านของเชื้อแต่ละตัว มันเป็นงานหินที่เรียกว่าโคตรมหาหินเชียวแหละเธอ

ไม่อย่างนั้นเขาจะมอบรางวัลโนเบลให้คนประเภทไหนละครับ

ด้วยสติปัญญาแค่กิ้งกืออย่างผม ฟังแล้วปลื้มนักที่ประเทศของเรามียอดมนุษย์ระดับโลก ผมไม่ได้โม้เกินเหตุหรอกนะครับ อาจารย์นำเชื้อใหม่ๆที่ค้นพบไปขึ้นทะเบียนโลก ตั้งชื่อในนามของคนไทยไว้แล้วหลายตัว บางคนทั้งชีวิตค้นแทบตายอาจจะไม่ได้ไม่เจอสักตัว นอกจากที่พบแล้ว ยังตามสะกดรอยจุลินทรีย์ต่อๆไปในอนาคตอีกละ ไม่รู้จะอึ้งกิมกี่หมื่นตระหลบแล้วเธอเอ๋ย

คนเก่งจริงถ่อมตัวเหลือเกิน

อาจารย์พูดเบาๆยิ้มระบายตาเป็นประกาย

ตรงกันข้ามกับสิ่งที่ค้นพบ

ถ้าขยายผลไปสู่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรม

มูลค่าไม่รู้กี่หมื่นกี่แสนล้านบาท

กระบวนการบางตัวเราค้นพบดีกว่าที่ทั่วโลกมีอยู่ในขณะนี้

มีฝรั่งหลายชาติติดต่ออยากได้

แต่อาจารย์บอกว่าสิ่งเหล่านี้เก็บไว้ในประเทศไทยให้คนไทย เท่านั้น!

ผมขอย้ำอีกครั้งหนึ่งว่าให้ช่วยจำชื่อผศ.ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง

เผื่อในวันข้างหน้ามีไอ้โม้งมาอุ้มอาจารย์ไปเราจะได้ช่วยกันไปตาม..

อาจารย์กรุณาอธิบายหลายเรื่อง เช่น การวิจัยการผลิตพลาสติกPLAจากแป้งมันสำปะหลัง จุลินทรีย์เพื่อวิถีเขียว –พลาสติกย่อยสลายได้โดยทางชีวภาพ-พลังงานทดแทน-สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เรื่องอาหาร-มหัศจรรย์การหมัก-การถนอมอาหาร-ผลิตภัณฑ์ใหม่ อาหารคนและสัตว์ โครงการวิจัยยีสต์และราที่ใช้ในการผลิตสารมีมูลค่าและอาหารสัตว์ที่มีโปรตีนสูง อาจารย์ค้นพบวิธีใช้ลูกแป้งของเชื้อผสม ที่มีประสิทธิภาพสูงในการผลิตอาหารสัตว์โปรตีนสูงด้วยกระบวนการหมักที่ง่ายและต้นทุนต่ำ ซึ่งผลผลิตที่ได้มีโปรตีน15.3% ซึ่งสูงกว่ารายงานทดลองหมักทั่วไปที่ได้ปริมาณโปรตีน 11.3%

ผลการหมักพืชอาหารสัตว์ อาจารย์ได้ส่งให้กองวิจัยอาหารสัตว์ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อาจารย์ยังเล่าเรื่องการใช้เชื้อบางตัวไปใส่ในกระเพาะโค ที่หน่วยวิจัยทำการเจาะกระเพาะเพื่อล้วงเอาผลการเกิดบักเตรีในกระเพาะโคมาวิจัยต่อไป

พูดถึงอาหารโคผมนะดิ้นปัดๆอยู่แล้ว เล่าให้อาจารย์ฟังว่าปีนี้เกิดความแห้งแล้งอย่างมาก หญ้าที่ปลูกไว้แห้งสลดกรอบพับกับดิน จะทำอาหารหมักตามที่เคยมีการแนะนำ ต้นทุนวัตถุดิบก็สูงมาก ไม่ว่าจะเป็นมันสำปะหลัง-กากน้ำตาล ฯลฯ ไม่คุ้มกับการลงทุนเลี้ยงโคแบบชาวบ้านทั่วไป ชาวบ้านส่วนมากแก้ปัญหาไม่ตก จึงจำขายโคผอมๆทิ้งในราคาถูก วิกฤติแล้งเที่ยวนี้ส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงปศุสัตว์รายย่อยทั่วประเทศ ถ้าติดตามข่าวจะทราบว่ามีโคล้มตายจำนวนมาก

ผมแก้ปัญหาด้วยการไปตัดใบไม้มาสับเลี้ยงโค

ช่วยแก้ไขวิกฤติอาหารโคได้อย่างเหลือเชื่อ

ทำให้เกิดกำลังใจคิดต่อว่าจะทำอย่างไรให้ดีกว่านี้

ก็คิดแบบชาวบ้านตาโปๆ เช่น

:: หมักผลไม้พื้นถิ่นมาทำไวน์ราดอาหารโค

:: ปลูกขนุนละมุด ที่เนื้อนิ่มหอมหวานมาสับผสมให้มีกลิ่นชวนกิน

:: ปลูกมันมือเสือแล้วเอามาสับตากแห้งผสมอาหารให้โค

:: ปลูกอ้อย แล้วตัดทั้งลำมาสับผสมกับใบไม้ ทดแทนการซื้อโมลาส

:: ขุดเอาหัวกราวเครือขาวที่ปลูกไว้แล้วมาบดแห้งผสมอาหารโค

:: ขุดเอาขมิ้นขาว/ผลน้ำเต้า/ผัก/ที่คัดทิ้งมาสับผสมอาหารให้โค

:: ปลูกพันธุ์ไม้ชนิดต่างๆที่โคชอบ ไว้ตัดเอาใบไปตัดเลี้ยงโค

(ไวน์หวดข่าขวดแรกของโลกเกิดขึ้นแล้ว)

อาจารย์กระตุกต่อมคันเรื่องการหมักอาหารสัตว์ ว่ามีบริษัทบางแห่งทำจำหน่าย ขายดีจนผลิตไม่ทัน แต่วิธีการยังไม่ดีนัก ยังมีน้ำแฉะอยู่ก้นถุง แนะนำว่า..เรื่องนี้ยังมีช่องทางพัฒนาและมีความเป็นไปได้ที่จะขยายผลเป็นอาชีพได้ไม่ยาก คนที่ตกอยู่ในท่ามกลางของปัญหาอาหารสัตว์ จึงสนใจเรื่องการหมักใบไม้เพื่อการเลี้ยงสัตว์ด้วยใจระทึก

(คอไวน์กำลังทดลองคุณภาพ) “ความรู้ที่ชิมได้”

ก่อนหน้าที่ชาวเฮจะมาเยี่ยมอาจารย์ ผมฝากลูกหวดข่ามากับท่านจอหงวนครึ่งกระสอบปุ๋ย ในช่วงท้ายของการบรรยาย อาจารย์หยิบเอาน้ำหวดข่าที่หมักมาให้เราชิมหนึ่งแก้ว พวกเราได้ลองลิ้มรสไวน์หวดข่าชุดแรกของโลก ผมไม่ได้ทึกทักเอาเองนะครับ ทุกคนบอกว่ารสชาติกลมกล่อมหอมอร่อย อาจารย์บอกว่า..ยังไม่ได้ที่นะ ว่าแล้วก็ชวนเราไปดูขวดหมักไวน์หวดข่า มีทั้งที่ทำแบบใส่ยีสต์และไม่ใส่ มีทั้งแบบแช่ตู้เย็นแบบตั้งไว้ภายภายนอก คงต้องการเปรียบเทียบแบบวิชาการและวิชาเกินของชาวบ้าน


ผมให้โฉมยงเอาไวน์ที่ทำเองไปด้วย1ขวด

ช่วงที่ดวลไก่ย่าง งัดออกมาให้คณะฯลองชิม

ขวดเดียวไม่พอ ร้ อ ง ข อ เ ป็ น ลั ง

(หวดข่า-ผลไม้จากป่าเดินทางไปสู่ห้องวิจัยของนักวิทยาศาสตร์มืออาชีพ)

หลายปีมาแล้ว ในการประชุมวิชาการประจำปีสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ผมได้รับเชิญให้ไปบรรยายเรื่องการวิจัยของไทบ้าน และแนวโน้มของการเชื่อมโยงระหว่างนักวิจัยนักวิชาการในสถาบัน หลังจากนั้นก็เงียบ

ต๋อม..ครั้งที่1

จนกระทั้ง4ปีต่อมา โดยการนำของ ศ...วิจารณ์ พานิช ได้ชวนนักศึกษาอาจารย์ในโครงการช้างเผือกทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดร.หนุ่มสาวรุ่นใหม่ นักวิจัยรุ่นเดอะในมหาวิทยาลัยต่างๆ ยกทีมลงมาลุยสวนป่า เพื่อให้เห็นกับตาว่า..นั ก วิ จั ย น่ า จ ะ ค้ น ห า หั ว ข้ อ ก า ร วิ จั ย ร่ ว ม กั บ ช า ว บ้ า น ไ ด้ ให้ท่านเหล่านั้น เห็นทิศทางของการทำวิจัยที่ส่งผลต่อประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นโดยตรงกับท้องถิ่น แต่แล้ว..ทุกอย่างก็..

ต๋อม ครั้งที่2

พระอาจารย์ใหญ่ไม่ยอมแพ้ ให้ผมคัดครูอาจารย์ที่มีแววจะสร้างรูปแบบในแนวทางนี้ โดยมหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยงหลัก อัดฉีดงบประมาณให้ไม่อั้น แต่แล้วทุกอย่างก็เป็นไปทุลักทุเล จนผมต้องสารภาพบาปขอยกธงขาว

ต๋อม ครั้งที่3

ผมจึงซาบซึ้งกระดองใจมาก วิธีการที่จะเพาะเชื้อให้กระบวนการวิจัยเกิดในหัวใจของคนไทยนั้น มันเหมือนกับขืนโคให้กินหญ้า จุดพอดี จุดลงตัว อยู่ที่ไหน เป็นยังไงก็ไม่รู้

หลังจากผมยกธงขาวแล้ว ผมก็กลับมาทบทวนปัญหาที่ค้างคาใจ ทำอย่างไรวิชาความรู้ในห้องแล็ปของสำนักวิจัยต่างๆ มันจะสร้างสะพานความร่วมมือร่วมใจถึงกันได้ อีกนานไหมที่จะเห็นนักวิจัยมืออาชีพมาเดินอี๋อ๋อกับนักวิจัยไทบ้าน ฝ่ายหนึ่งเข้มแข็งด้านวิทยาการ กับ อีกฝ่ายหนึ่งที่เข้มแข็งทางด้านปฏิบัติ หลอมความเข้าใจเข้าด้วยกัน แล้วช่วยกันแสวงหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมใหม่ๆ มาลงเรือลำเดียวกันแก้วิกฤติทางด้านวิทยาการให้กับบ้านเมืองของเรา ผมขายความคิดเรื่องนี้ไปหลายเวทีหลายวาระ แม้แต่การประชุมนักวิจัยของกรมวิชาการเกษตรก็เคยไปนำเสนอ แต่..ก็ต๋อม..ๆๆๆ

เรื่องที่เล่าข้างบนผมไม่ได้โทษใครนะครับ

ผมโทษตัวเองนี่แหละที่ไม่มีกึ๋นพอที่จะไปจุดประกายใครได้

เพิ่งจะมาปีนี้แหละครับ ..ช่องเล็กๆเท่ารูเข็มที่ปลายอุโมงค์ กำลังขยายผ่านกล้องจุลทัศน์ในห้องแล็ปมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่ผมขออนุญาตในที่นี้ที่จะเอาเรื่องที่ประจักษ์ในครั้งนี้ ไปบอกเล่าในเวทีประชุมวิชาการนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยทักษิณ ในวันที่25 เดือนพฤษภาคม และไปโม้อีกรอบในงานประชุมวิชาการป่าไม้ ในวันที่29 เดือนมิถุนายน ที่กรมป่าไม้

ขอบคุณท่านจอหงวน รศ.ดร. ทวิช จิตรสมบูรณ์ ชนวนจุดระเบิดเรื่องนี้

ขอบคุณ ผศ.ดร.สุรีลักษณ์ รอดทอง ที่เป็นพิมพ์เขียวให้กับเรื่องนี้

ขอบคุณพี่น้องชาวเฮที่เป่าน้ำและคอยหิ้วปีกเข้ามุม

ขอบคุณทุกคอมเมนท์ที่จะแนะนำความคิดเห็นต่อเรื่องนี้


เสียดายไม่ได้เป็นเหลนเขยย่า

อ่าน: 1609

สมัยผมเป็นเด็กบ้านนอกไกลปีนเที่ยง ไม่เคยได้ไปไหนก็เขาหรอกนะครับ จนกระทั้งเข้าโรงเรียน ได้อ่านในหนังสือ เจอเรื่องของคุณหญิงมุก-คุณหญิงจัน เจอคำว่าเกาะภูเก็ต มันเป็นอย่างไรหนอ เห็นในโปสกร์าดส.ค.ส. ก็ทึ่งอึ้งๆๆๆ อ่านเจอเรื่่องวัดพระแก้ว ภูเขาทอง วัดอรุณ คุณหญิงโม ก็เห็นแต่ในรูปภาพ คำว่าเมืองอุบล เมืองโคราช มันช่างอยู่ไกลแสนไกลสุดหล้าฟ้าเขียว

จนกระทั้งโตมาหน่อย ดูเหมือนจะเรียนอยู่ชั้นป.3

แม่พาขึ้นรถไฟเข้ากรุงเทพครั้งแรก

ออกจากสถานีสุรินทร์จะไปบางกอก

หัวจักรรถไฟสมัยใช้ฟืน ต้องหยุดเติมน้ำเติมฟืนตามสถานีจังหวัดใหญ่่

รถเปิดวู๊ดเสียงดังวิ่งฉึกฉักๆ ไม่ได้แปลงเสียงเป็น

ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง หรอกนะ

เด็กบ้านนอกนั่งไม่ลง ยืนดูวิว 2 ข้างทางทั้งวัน

ยิ่งตอนรถไฟเข้าโค้งแถวๆลาดบัวขาว

วกไปวนมาท่ามกลางดงพระยาไฟ

อะไรๆที่มันเป็นครั้งแรกในชีวิตมันตื่นเต้นระดับบอกไม่ถูก

อ่านต่อ »


วาระแห่งกอดคึดฮอดหลาย

อ่าน: 1431

(ฟ้าฝนเป็นใจผักเขียวไสวให้เด็ดมาชิม)

.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ได้กรุณามอบหนังสือเนื่องในวาระวันเกิดมาให้ ชื่อ“พนักงานเบอร์1 อาจารย์ขยันเขียนขยันส่งหนังสือ ออกเล่มใหม่ครั้งใดก็ฝากมาให้ด้วยไมตรีจิต การอ่านมีความสำคัญมากในการกำหนดว่า อนาคตเราจะเป็นเช่นไร หนังสือเล่มดังกล่าวมานอนเอ้งเม้งนานแล้ว ตั้งใจจะหยิบใส่กระเป๋าเวลาเดินทางด้วยรถทัวร์ ความหนากำลังเหมาะน่าจะอ่านจบพอดีระหว่างเดินทาง แต่ช่วงนี้เว้นวรรคอยู่บ้าน การรักมาแซงคิวการอ่าน จึงติดค้างไว้ พรุ่งนี้จะเดินทางไปกราบย่า จึงคว้าใส่กระเป๋าเอาไปด้วย พอเปิดดูแว๊บๆ..เอ๊ะ !

อ่านต่อ »


ออตโอดโอย

อ่าน: 1265

:: วาสนาหมาน้อยละห้อยโหย

ดิ้นแดโดยปัดปัดเหมือนหมัดกัด

เฮโคราชคลาดคิดเหมือนผิดนัด

จึงขอจัดรายการมาบ้านนี้

:: วิสาขะมาสละแรงปลูกป่า

กินข้าวปลากินผักกินบักมี่

ถ้ามาถึงนอนผึ่งดวงฤดี

ชมจันทราราตรีประดับดาว

อ่านต่อ »



Main: 1.5853419303894 sec
Sidebar: 0.30400896072388 sec